Tag Archives: ไขมัน

ผู้ผลิตน้ำตาลในสหรัฐฯ รู้มาตั้งแต่ 50 ปีที่แล้วว่าการบริโภคน้ำตาลมีผลร้ายต่อสุขภาพ

ผู้ผลิตน้ำตาลในสหรัฐฯ รู้มาตั้งแต่ 50 ปีที่แล้วว่า การบริโภคน้ำตาลมีผลให้ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจวาย ทั้งยังเป็นสาเหตุของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ รู้ได้อย่างไร? รู้จากการทดลองในหนู แต่เมื่อทราบผลดังกล่าว บริษัทผู้ผลิตน้ำตาลก็ยกเลิกการสนับสนุนงานวิจัยดังกล่าวทันที ปัจจุบัน สหรัฐฯเป็นประเทศที่มีอัตราการบริโภคน้ำตาลสูงสุดในโลก แล้วไทยล่ะ? Continue reading

7 อาการที่อาจจะบ่งบอกว่าคุณขาดวิตามินดี

วิตามินดี หมายถึง เซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมแคลเซียมเหล็กแม็กนีเซียมฟอสเฟตและสังกะสี ในมนุษย์ สารประกอบที่สำคัญที่สุดในกลุ่มนี้ คือ วิตามินดี3 (หรือ คอเลแคลซิเฟรอล [cholecalciferol]) และวิตามินดี2 (เออร์โกแคลซิเฟรอล [ergocalciferol]) คอเลแคลซิเฟรอลและเออร์โกแคลซิเฟรอลสามารถดูดซึมจากอาหารและอาหารเสริมได้ มีอาหารน้อยชนิดมากที่มีวิตามินดี การสังเคราะห์วิตามินดี (โดยเฉพาะคอเลแคลซิเฟรอล) ในผิวหนังเป็นแหล่งของวิตามินดังกล่าวตามธรรมชาติที่สำคัญเพียงแหล่งเดียว การสังเคราะห์วิตามินดีของผิวหนังจากคอเลสเตอรอลอาศัยการได้รับแสงแดด (โดยเฉพาะรังสียูวีบี)

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า วิตามิน D และแคลเซียม มีความสำคัญอย่างมากกับสุขภาพของกระดูกของเรา แต่นอกจากนี้แล้ว มันยังมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง? ผลงานวิจัยล่าสุดเผยว่าวิตามิน D มีบทบาทต่อสุขภาพของหัวใจ การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และส่งผลต่อการมีอายุยืนยาวด้วย บทความนี้จะตอบคำถามว่าวิตามิน D มีประโยชน์อย่างไรกับคุณ รวมถึงประมาณที่ร่างกายของคุณต้องการ รวมถึงแหล่งอาหารที่คุณจะได้รับวิตามินชนิดนี้

วิตามิน D มีประโยชน์อะไรกับเราบ้าง?

ผลงานวิจัยล่าสุดเผยวิตามิน D มีประโยชน์ต่างๆ ดังนี้:

  • ช่วยให้อายุยืนยาว งานวิจัยล่าสุดเผยว่าวิตามิน D สามารถช่วยลดการตายที่เกี่ยวเนื่องกับโรคมะเร็ง โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผลจากวิเคราะห์การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 18 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ที่รับประทานวิตามิน D ในปริมาณระหว่าง 400–830-IU เป็นประจำทุกวันช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเนื่องจากโรควิถีชีวิต
  • ช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับวิตามิน D ในร่างกายที่เพียงพอช่วยทำให้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบดี ขึ้น
  • รักษาระดับความดันเลือด วิตามิน D ช่วยให้การทำงานของหลอดเลือดเป็นไปด้วยดี โดยงานศึกษาแสดงให้เห็นว่าหากเราได้รับวิตามิน D เพียงพอ (เช่น ไม่ขาดวิตามินชนิดนี้) จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคความดันสูง
  • ปกป้องกระดูก วิตามิน D และแคลเซียม ช่วยปกป้องกระดูกจากการเป็นโรคกระดูกผุ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกที่เกิดจากโรคกระดูกผุด้วย

แล้วเราต้องการวิตามิน D มากขนาดไหน?

นี่คือปริมาณการบริโภควิตามิน D ที่เหมาะสมในแต่ละวัน:

อายุ RDI
ทารก 0 – 12 เดือน 400 IU
เด็กอ่อน 1 – 4 ปี 400 IU
4 ปีขึ้นไป 400 IU

เราจะได้วิตามิน D จากไหน

มีวิธี หลักสามวิธีในการได้รับวิตามิน D: แหล่งอาหาร การรับแสงแดดอย่างปลอดภัย และจากการรับประทานวิตามินเสริม แต่ละวิธีก็มีข้อจำกัดของตนเอง แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะสามารถช่วยพิจารณาว่าวิธีใดในการได้รับ วิตามิน D ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ

แหล่งโภชนาการ
แหล่ง อาหารตามธรรมชาติที่อุดมไปด้วยวิตามิน D ได้แก่ ปลาที่มีมัน เห็ดตากแห้ง และไข่แดง นอกจากนี้ ยังมีอาหารที่ได้รับการเสริมวิตามิน D ลงไป เช่น นมวัว นมที่ไม่ได้จาก อาทิ นมจากข้าว ถั่วเหลือง อัลมอนด์ และข้าวโอ๊ต น้ำส้ม เนยหรือสเปรดแบบต่างๆ โยเกิร์ต และซีเรียลอาหารเช้า

นี่คืออาหารที่ให้วิตามิน D:

ปลาที่มีมัน

  • 30–35 µg ต่อน้ำมันตับปลา 1 ช้อนโต๊ะ
  • 8–13 µg ต่อปลาแซลมอน 3 oz
  • 5–9 µg ต่ปลาซาร์ดีน หรือแมคเคเรล 3 oz
  • 5 µg ต่อทูน่าในน้ำมันกระป๋อง 3 oz

แหล่งทางธรรมชาติอื่นๆ

  • 0.5 µg ต่อไขแดงขนาดกลาง 1 ใบ
  • 0.3 µg ต่อตับวัว 3 oz
  • 0.4–63 µg ต่อเห็ด 100 กรัม

อาหารที่เสริมอาหารบางชนิดลงไป

  • 2.5 µg ต่อนมวัว 1 ถ้วย (ปริมาณจริงอาจแตกต่างจากนี้ได้)
  • 2.5 µg ต่อน้ำส้ม 1 ถ้วย
  • 1.0 µg ต่อซีเรียลพร้อมรับประทาน 1 ถ้วย

แสงแดด
การที่คุณได้รับแสงแดดเป็น เวลา 5-30 นาที เป็นประจำสองครั้งต่ออาทิตย์เป็นวิธีที่ร่างกายจะดูดซึมวิตามิน D ได้อย่างเพียงพอ พื้นที่ในการโดนแสงอาทิตย์นั้นควรเน้นไปที่บริเวณใบหน้า แขน ขา หรือหลัง โดยไม่ต้องทายากันแดด ระหว่างช่วงเวลาที่แดดแรง เช่น 10.00-15.00 น. ร่างกายของเราสามารถผลิตวิตามิน D อย่างต่ำถึง 10,000 IU ภายในระยะเวลาเพียง 30 นาที ในแสงแดด ซึ่งเราเรียกกันว่าปริมาณรังสีต่ำสุด (minimal erythemal dose) แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรังสี UV ในแสงอาทิตย์อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ American Academy of Dermatology จึงแนะนำให้เรารับวิตามินผ่านทางอาหาร หรืออาหารเสริมมากว่า

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกสองสามปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการได้รับวิตามิน D ที่เราต้องการจากแสงแดดเพียงอย่างเดียว:

สภาพภูมิศาสตร์

  • คนที่อาศัยอยู่เหนือ 37th parallel อาจมีปัญหาในการได้รับวิตามิน D ในปริมาณที่เพียงพอจากแสดงแดดในช่วงฤดูหนาว
  • เมืองที่อยู่เหนือ 37th parallel ได้แก่ ซานฟรานซิสโก เดนเวอร์ เซนต์หลุยส์ ชิคาโก นิวยอร์ก และริชมอนด์ นั่นหมายความว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาอยู่เหนือเส้นนี้

ครีมกันแดด

  • ครีมกันแดด แม้จะมีค่า SPF ต่ำแค่ SPF8 ก็สามารถป้องกันการดูดซึมของรังสี UVB เข้าร่างกายได้ในอย่างมาก

การบดบังของเมฆ

  • วันที่มีเมฆมากอาจะส่งผลต่อการลดลงของรังสี UV ได้มากถึง 50% การอยู่ในร่มจะลดระดับรังสีเพิ่มขึ้นอีก 10%

ปริมาณเมลานินในผิวหนัง

  • งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าคนที่มีผิวสีเข้มจะมีระดับวิตามิน D ต่ำกว่าคนที่มีผิวที่ขาวกว่า
  • งานวิจัยเพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่าหากต้องการดูดซึมวิตามิน D ในปริมาณที่เท่ากัน คนอเมริกันผิวดำจะต้องโดนแสงแดดมากกว่าคนผิวขาวทั่วไปถึง 10 เท่า

เสื้อผ้า

  • เสื้อผ้าดูดซับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตส่วนใหญ่ไว้ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าในบางประเทศที่กำหนดให้ประชาชนในประเทศต้องใส่ เสื้อผ้าแขนยาวคลุมตัว จะมีการรายงานถึงการเกิดโรคขาดวิตามิน D ที่มากกว่า

ฤดูกาล

  • ในช่วงหน้าหนาว แม้ว่าแสงแดดจะส่องสว่างมากกว่า แต่โฟตอน UVF ซึ่งเป็นตัวผลิตวิตามินจะผ่านชั้นโอโซนในองศาที่เฉียงกว่าเดิม ซึ่งทำให้ถูกดูดซับโดยโอโซน จึงเหลือไม่ถึงผิวของเรา แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างปี คนส่วนใหญ่ที่ได้รับปริมาณวิตามิน D ที่พอเหมาะสามารถสะสมวิตามิน D ไว้ในเนื้อเยื่อไขมัน เพื่อใช้ในหน้าหนาวได้

วิตามินเสริม
แม้ว่าอาหารควรเป็นทางเลือก แรกในการได้รับวิตามิน D แต่คนบางคนอาจพบว่าการบริโภคอาหารเพื่อให้ได้ปริมาณวิตามิน D ที่เพียงพอเป็นเรื่องยาก หากคุณเลือกรับประทานวิตามินเสริม ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณ และควรจำไว้ว่า Institute of Medicine กำหนดปริมาณการบริโภควิตามิน D สูงสุดไว้ที่ 2,000 IU สำหรับผู้ใหญ่ ดังนั้น จึงควรกำหนดปริมาณบริโภคของคุณไว้ต่ำกว่านั้น

สรุป… วิตามินมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

คำตอบ: วิตามิน D ช่วยให้คุณแข็งแรง มันช่วยปกป้องหัวใจและระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงช่วยรักษาให้กระดูกของคุณแข็งแรงด้วย!

7 อาการต่อไปนี้ อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกหรือเตือนว่าคุณอาจจะขาดหรือมีภาวะพร่องวิตามินดี 

1. ผิวคุณคล้ำหรือหมองลงง่ายกว่าปกติ
2. จิตใจหดหู่ไม่สดใส วิตามินดีมีส่วนช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยควบคุมอารมณ์ให้แจ่มใส
3. ผู้มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นมีมีความเสี่ยงต่ออาการขาดวิตามินดีมากกว่าผู้ที่มีอายุต่ำลงมา
4. ผู้ทีมีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน การมีมวลไขมันที่มากย่อมทำให้ร่างกายต้องการวิตามินดีที่มากขึ้นตามไปด้วย
5. ปวดกระดูก/ปวดเมื่อย และ/หรือ อ่อนเพลียเรื้อรัง อาจเป็นได้จากทั้งอาการพร่องวิตามินดีชั่วคราว หรืออาการขาดวิตามินดี
6. อาการเหงื่อออกหัว, หัวเปียก
7. ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้และอวัยวะภายในช่วงท้อง หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ อาจมีผลต่อการดูดซึมธาตุอาหารและไขมันรวมถึงวิตามินดีด้วย

เรียบเรียง : blot.etcpool.com
ขอบคุณที่มาข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5

http://www.healthyandnaturallife.com/7-signs-you-may-have-a-vitamin-d-deficiency/
https://www.goodfoodgoodlife.in.th/%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99-D-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0a

เรื่องของ “กะทิ”

ไขมันในกะทิเป็นไขมันไม่อิ่มตัว มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่ทำร้ายหัวใจและหลอดเลือด ต่างจากไขมันชนิดอิ่มตัวที่ได้มาจากเนื้อสัตว์

น้ำกะทิ หรือน้ำมันมะพร้าว สามารถผ่านทางเดินอาหารในลำไส้เล็ก ร่างกายดูดซึมเข้ากระแสเลือด นำไปใช้พลังงานได้ทันที!!

กะทิ จะทำร้ายร่างกายก็ต่อเมื่อกินคู่กับของของหวาน ดังนั้นเมื่อกินแกงกะทิแล้ว ไม่ควรกินขนมหวานอย่างพวกทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ฯลฯ เพราะว่าไขมันของกะทิ้มื่อเจอความหวานของน้ำตาล จะทำให้น้ำตาลมีความเหนียว เข้าไปเกาะตามผนังหลอดเลือดด้านใน คือตัวกะทิเองไม่มีพิษหรอก แต่มีเหตุผลอื่นที่ทำให้มันมีพิษ

ฉะนั้น “อย่าไปรังเกียจ กะทิ เลยนะ”

เครดิต : “สูตรลับ ดับโรค” ตำรับ อ.สุทธิวัสส์ คำภา สมาคมภัตตาคารไทย

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=432946606751899&set=a.351510768228817.83981.121814971198399&type=1&theater

มหัศจรรย์ น้ำมันมะพร้าว

มาลดความอ้วนด้วยน้ำมันมะพร้าว

ผู้อ่านไม่ต้องแปลกใจ ทำไมฉบับนี้ผู้เขียนจึงต้องหยิบเรื่องการลดความอ้วนมาเขียนทั้งที่ไม่ได้เป็นหมอ ผมเองได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับมหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าวที่ อาจารย์ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย ได้เขียนไว้น่าสนใจมากๆ เกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวที่มีความมหัศจรรย์มากมาย ที่ยังไม่รู้และไม่เข้าใจ แต่พอได้อ่านได้สัมผัส และได้ทดลองใช้กับผู้เชียนเองได้ผลดีมากต่อร่างกาย โดยเฉพาะเกี่ยวกับการลดความอ้วนและน้ำหนักได้ดี การที่ผมได้หยิบเอาเรื่องเกี่ยวกับความอ้วนมาเขียนนั้นก็เพราะว่า อดเป็นห่วงสุขภาพเพื่อนสมาชิกไม่ได้ เพราะความอ้วนเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ มากมายรวมถึงมีภาวะที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมากกว่าคนปกติ โรคที่พบบ่อย ได้แก่ ไขมันในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นคนอ้วนมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงกว่าคนปกติถึง 2 เท่า โรคหัวใจ และมีโอกาสเป็นโรคหัวใจเสื่อมถึง 70% โรคเบาหวาน โรคข้อเสื่อม และข้ออักเสบ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็งบางชนิด และโรคอื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งทำให้เสียบุคลิคภาพดูไม่สวยงาม

ในปัจจุบันจะได้เห็นได้ว่านิยมผู้ที่มีรูปร่างผอมเพรียว โดยเฉพาะวงการนางแบบที่ต้องการรูปร่างเป็นใบเบิกทาง สำหรับบางคนที่เกิดมาหุ่นดีถือว่าโชคดีไป แต่บางคนเกิดมาหุ่นไม่ดีแล้วแถมยังกินไม่บันยะบันยังแล้วความอ้วนก็จะตามมาอย่างทันตาเห็น แต่พ่อจะลดน้ำหนักก็ลดยาก ก็หันไปพึ่งหมอทั้งดูดไขมัน กินยา ลดความอ้วน กินมากเข้าก็มีปัญหาสุขภาพและผลข้างเคียงมากมาย สำหรับการกินยาเพื่อลดความอ้วน ก็จะได้ผลเพียงชั่วครั้งชั่วคราว พอหยุดยาก็กลับมากินอาหารแบบทวีคูณ หรือภาษาอังกฤษ เรียกว่า YoYo ซึ่งทำให้เสียงทั้งเงินและสุขภาพ

ทำไมเราจึงอ้วน

กินอาหารมากเกินไป อาหารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพื่อนำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน แต่ถ้าหากรับประทานมากเกินไปและใช้ไม่หมด เนื่องจากไม่มีการออกกำลังกาย หรือไม่มีกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน อาหารก็จะเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อสำรองใช้ยามจำเป็น จึงเป็นสาเหตุของความอ้วน

ความผิดปกติของต่อมที่ควบคุมการเจริญเติบโต คนที่เป็นโรคที่ต่อมธัยรอยด์ทำงานในระดับต่ำกว่าปกติ (hypothyroidism) ทำให้มีอัตราการเมทาบอลิสซึมช้าลง โดยเฉพาะไปเพิ่มไขมันเลว LDL แต่น้ำมันมะพร้าวสามารถเปลี่ยน LDL ให้เป็นเปรกนีโนโลน (prenenolone) โปรเจรเตอรอล (progesterol) และดีไฮโดรปิแอนโดรสเตอรอล (dehydropiandrosterol DHEA) สารเหล่านี้ช่วยทำให้คงระดับการเผาผลาญอาหาร จึงไม่มีอาหารสะสมเป็นไขมัน (Lee, 2005) ในทำนองเดียวกันกบผู้สูงวัยก็มักจะอ้วนขึ้น ทั้งนี้้เพราะความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์

กินไขมันไม่เพียงพอ มีผลงานวิจัยที่แสดงว่า คนที่บริโภคอาหารที่มีไขมันอย่างเพียงพอจะกินอาหารน้อยกว่าคนที่พยายามลดไขมันในอาหาร ยิ่งคุณกินน้อยลงเท่าไหร่ ปริมาณแคลอรีก็น้อยลงตามไปด้วย การได้ปริมาณไขมันในอาหารอย่างเพียงพอมีความจำเป็นสำหรับการลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ และอย่างถาวร เหตุผลอันหนึ่งที่ไขมันมีความจำเป็นสำหรับการลดความอ้วน เพราะมันทำให้เราอิ่มทนไม่หิวเร็ว

การเคี้ยวอาหารน้อยลง มีข้อสังเกตว่า คนอ้วนมักจะรับประทานอาหารรวดเร็ว ไม่ค่อยเคี้ยวทำให้รับประทานได้มากกว่า จะมีการส่งสัญญาณจากกรเพาะไปยังสมองให้รับรู้และอิ่ม (ชุติมา, 2550) ดังนั้นจึงไม่เกิดความอยากกิน ผลคือเรากินอาหารน้อยลง

น้ำมันมะพร้าวช่วยลดความอ้วนได้อย่างไร

หลายท่านอาจมีคำถามที่ค้านอยู่ในใจว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันที่อิ่มตัวและเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะไม่ทำให้อ้วนไปกันใหญ่หรือ? ด้วยคุณสมบัติของน้ำมันมะพร้าวนั้นมันจะมีคุณสมบัติหลายประการ คือ (Fife, 2005 a)

1. ให้พลังงานน้อย และเปลี่ยนเป็นพลังงานทันที : เนื่องจากเป็นกรดไขมันขนาดกลาง น้ำมันมะพร้าวจึงเป็นไขมันที่มีพลังงานน้อยที่สุด คือเพียง 8.6 แคลอรี่ต่อกรัม เปรียบเทียบกับไขมันชนิดอื่นๆ ซึ่งให้พลังงานถึง 9 แคลอรีต่อกรัม นอกจากนั้น น้ำมันมะพร้าวยังย่อยได้ง่าย และเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว เมื่อบริโภคเข้าไป มันจะผ่านจากลำคอไปยังกระเพาะต่อไปยังลำไส้ แล้วไปเปลี่ยนเป็นพลังงานในตับ ภายในเวลา 24 ชั่วโมง โดยไม่เปลี่ยนเป็นไขมันที่จะไปสะสมในร่างกายเช่นเดียวกับน้ำมันอื่นๆ จากการศึกษาเปรียบเทียบการบริโภคน้ำมันชนิดต่างๆ Ingle และคณะ (1999) และ Enig (1999) พบว่ากรดไขมันอิ่มตัวที่มีสูตรโครงสร้างสั้น ลดการสังเคราะห์และการเก็บสะสมไขมัน ดังนั้นการบริโภคเนยหรือน้ำมันมะพร้าว ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวที่สูตรโครงสร้างสั้นและปานกลาง จึงมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการลดความอ้วน โดยการบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำ แต่เป็นไขมันที่มีโอเลกุลมีความยาวมาก และโดยเฉพาะเป็นน้ำมันที่ไม่อิ่มตัวกลับอ้วนกว่าเดิม

2. กระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ : น้ำมันมะพร้าว กระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้การเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน หรือเมตาบอลิซึม ทำงานได้รวดเร็วขึ้น จึงช่วยทำให้อาหารอื่นที่รับประทานเข้าไร้อมกับน้ำมันมะพร้าว เปลี่ยนไปเป็นพลังงานจึงมาสะสมเป็นไขมันร่างกาย

3. ช่วยนำไขมันที่สะสมไว้มาใช้เป็นพลังงานนอกจากตัวของมัน และอาหารที่บริโภคเข้าไปพร้อมกัน จะเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างรวดเร็วแล้ว น้ำมันมะพร้าว ซึ่งไปเร่งกระบวนการเมตาบอลิซึมในอัตราที่สูงขึ้น ทำให้เกิดความร้อนสูง (thermogenesis) คล้ายกับบุคคลประเภทไฮเปอร์ธัยรอยด์ (hyperthyroid) ที่ต่อมธัยรอยด์ทำงานในอัตราที่สูงกว่าคนธรรมดา บุคคลพวกนี้จึงใช้พลังงานมาก (เพราะเป็นคนประเภทกระฉับกระเฉง และไม่อ้วน) เพราะอาหารที่รับประทานเข้าไปพร้อมกับน้ำมันมะพร้าว ถูกเผาผลาญเป็นพลังงานจนหมดสิ้นไม่สะสมเป็นไขมันในร่างกาย และจากผลของ thermogenesis ยังไปนำไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ ออกมาใช้เป็นพลังงาน ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงช่วยลดความอ้วนได้

วิธีใช้น้ำมันมะพร้าวเพื่อลดความอ้วน

เราสามารถบริโภคน้ำมันมะพร้าวเพื่อลดความอ้วนได้หลายวิธี ที่นิยมและแพร่หลายคือ

1. บริโภคน้ำมันโดยตรง ได้แก่ การนำน้ำมันมะพร้าวเข้าปากโดยใช้ช้อน หรือดื่มจากภาชนะ การใช้ช้อน จะช่วยให้กะปริมาณได้ใกล้เคียงกับที่ต้องการ เช่น กี่ช้อนโต๊ะ ในขณะที่ดื่มจากภาชนะ สะดวก แต่กะปริมาณไม่ได้ดี หลายคนมักจะคิดว่า การบริโภคน้ำมันมะพร้าว เป็นของยาก เพราะใจคิดอยู่เสมอว่าน้ำมันมะพร้าว ก็คือน้ำมันพืช ซึ่งเหนียวเหนอะหนะ และเวลาดื่มเข้าไปในลำคออาจคลื่นไส้ แต่ในความเป็นจริง น้ำมันมะพร้าวมีกลิ่นหอม ไม่เหนือเหนอะหนะและสามารถดื่มลงคอได้โดยสะดวก ไม่มีติดอยู่ที่คอเหมือนน้ำมันพืชชนิดอื่น การรับประทานน้ำมันมะพร้าวจะรับประทานในอัตรา 1-2 ช้อนโต๊ะก่อนอาหาร 30 นาที หรือทุกวันหลังจากตื่นนอน ให้ดื่มน้ำอุ่น 1 แก้ว ผสมกับน้ำมันมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะทันที (เติมน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำหนักตัวทุกๆ 23 กิโลกรัมที่เกินจากน้ำหนักมาตราฐาน) จะเป็นสูตรลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน

2. ผสมในอาหารและเครื่องดื่ม น้ำมันมะพร้าวสามารถเข้ากันได้กับอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด เช่น ซุป โจ๊ก แกงจืด น้ำส้ม น้ำผลไม้ ชา กาแฟ โอวัลติน ฯลฯ โดยไม่ได้ทำให้อาหารและเครื่องดื่มเปลี่ยนรสชาติ หรือสูญเสียคุณค่าทางอาหาร และความอร่อยไป

3. ปรุงไปในอาหาร เราสามารถใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหารได้ โดยการผัด หรือทอด (ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนเป็น ทรานส์แฟตส์ (trans fats) ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เหมือนน้ำมันไม่อิ่มตัวทั้งหลายที่ถูกกับความร้อนสูง) หรือแม้แต่เป็นตัวทำให้อาหารไม่ติดกระทะ หรือภาชนะ เช่นในการเจียวไข่ ทำพิซซ่า

4. ใช้ร่วมกับสปา สปา (spa) เป็ฯคำย่อของศัพท์ภาษาละติน Sanus Per Aqua หมายถึง วิธีการดูแลสุขภาพโดยการทำความสะอาด และเสริมอาหารบำรุงให้ลึกถึงผิวชั้นใน มีิวิธีต่างๆ เช่น การนวด การบำบัดด้วยน้ำ การใช้กระแสไฟฟ้า ปัจจุบันมีการใช้น้ำมันมะพร้าวในกิจการสปามากมาย เพราะซึมเข้าในร่างกายได้เร็ว มักผสมด้วยน้ำมันหอมระเหยเพื่อช่วยให้มีกลิ่นหอม โดยใช้นวดเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และในขณะเดียวกัน ก็ช่วยลดความอ้วนไปในตัว

พิมพ์จาก ข่าวสาร สหกรณ์ออมทรัพย์กรมวิชาการเกษตร จำกัด คณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 35 ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2553

เอกสารอ้างอิง

ณรงค์ โฉลมเฉลา.2552.น้ำมันมะพร้าวลดความอ้วนได้อย่างไร?.เอกสารวิชาการฉบับที่ 2/2552.ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย,กรุงเทพฯ

ณรงค์ โฉมเฉลา.2552.สวยด้วยน้ำมันมะพร้าว เอกสารวิชาการฉบับที่ 1/2552.ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย,กรุงเทพฯ

ชุติมา ศิริกุลชยานนท์.2550.การเคี้ยวรักษาโรคอ้วนและสมองเสื่อมได้จริงหรือ.วารสารโภชนาการ:ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน หน้า :38-39