Tag Archives: เศรษฐกิจ

10 เรื่องต้องจัดการ เมื่อตกงาน

ต้องยอมรับว่า”ตัวเลขคนตกงาน”และกระแสเลย์ออฟมนุษย์เงินเดือน ที่กำลังระบาดไปทั่วโลกในเวลานี้ หากเป็น1ในความโชคร้าย มีอะไรบ้างที่ต้องการจัดการ

ไม่เพียงตั้งรับพายุร้าย ด้วยความสงบ  หากแต่คุณยังต้องเค้นสติให้กลับมาโดยไว  ถ้าต้องกลายเป็นหนึ่งในผู้เคราะห์ร้ายที่”ตกงาน” อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย  เพราะหลังจากตกงาน ยังมีหลากเรื่องราวและหลายธุรกรรมการเงินให้คุณต้องลงมือจัดการ  ฉะนั้น อย่ามัวนั่งจิตตก จมอยู่กับความเศร้า หรือฟูมฟายกับความโชคร้ายของตัวเอง ลองมาดูกันว่า 10 อย่างที่คุณต้องจัดการหลังจากตกงานมีอะไรบ้าง Continue reading

ในปีที่ผ่านมา คนรวยสุด พวก 1% ของโลกยังคงกอบโกยทรัพย์สิน 82%

ในปีที่ผ่านมา คนรวยสุด พวก 1% ของโลกกอบโกยทรัพย์สิน 82% พูดอีกอย่าง รายได้จากการผลิต+การค้าขายในโลก 4 จาก 5 เหรียญเข้ากระเป๋านายทุนที่มีอยู่แค่หยิบมือเดียวทั้งหมด ตามการสำรวจของ #Oxfam

เรียกว่าในขณะที่คนรวย ๆ ขึ้น แต่ประชากรจนสุดของโลก 3.7 พันล้านคน ไม่มีรายได้เพิ่มขึ้นเลยในปีที่ผ่านมา Continue reading

FB : เปิบข้าว ชาวนาไทย

วันนี้มีอีกเพจช่องทางช่วยสนับสนุนสินค้าทางตรงจากชาวนาไทยมานำเสนอ การจะช่วยชาวนาได้ต้องสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อเศรษฐกิจรากฐานของประเทศเรา

ข้อมูลที่นำมาเสนอนี้เป็นตัวอย่างจากหน้าเพจ ส่วนข้อมูลอัพเดตปัจจุบันขอให้กดติดตามและรับข้อมูลโดยตรงจากที่เพจได้เลย FB : เปิบข้าว ชาวนาไทย

 

:: blog.etcpool.com

ช่วยชาวนาขายข้าว

screen-shot-2559-11-17-at-13-41-36

:: blog.etcpool.com

4 วิธีใช้เงินแบบเศรษฐีญี่ปุ่น

คนที่ประสบความสำเร็จกับคนที่ไม่ประสบความสำเร็จต่างกันตรงไหน? ความสามารถ? สติปัญญา? รูปร่าง หน้าตา? คนญี่ปุ่นมองว่า คนสองกลุ่มนี้แตกต่างกันที่ “วิธีคิด” ค่ะ ลองมาดู 4 วิธีคิดของผู้บริหาร นักธุรกิจญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จกันนะค่ะว่า คนกลุ่มนี้มีวิธีใช้เงินที่แตกต่างจากคนธรรมดาอย่างไร

1. อิสรภาพจากสายตาคน สู่อิสรภาพในการใช้เงิน

กิโมโนที่มีราคาแพงจริงๆ ด้านนอกจะดูเรียบธรรมดา แต่ด้านใน ทอเป็นลวดลายดอกไม้หรือลายมังกรละเอียดสวยงาม ทว่า คนภายนอกไม่สามารถทราบความงามเหล่านั้น มีแค่ผู้สวมใส่ที่รับรู้ถึงคุณค่าและความนุ่มสบายของชุดกิโมโนชุดนั้น

คนญี่ปุ่นมองว่า เราไม่จำเป็นต้องแสดงออกให้ผู้อื่นรู้ถึงฐานะ คนรวยไม่จำเป็นต้องใส่สร้อยทองเส้นใหญ่ๆ หรือเพชรเม็ดโตเพื่อแสดงว่าฉันเป็นใคร เราเป็นคนธรรมดา คนอื่นจะได้ปฏิบัติกับเราแบบธรรมดา และเราจะได้รู้จักคนคนนั้นอย่างแท้จริง

จงอย่าใช้เงินเพื่อภาพลักษณ์ตัวเอง แต่จงใช้เงินเพื่อผู้อื่น

มันจะไม่มีที่สิ้นสุดหากเรามัวแต่มองว่า ฉันต้องถือกระเป๋ายี่ห้อนี้ ขับรถรุ่นนี้ ทานอาหารที่ร้านนี้ เพราะต้องการแสดงว่าฉันเป็นคนมีระดับ

ผู้บริหารญี่ปุ่นพาลูกน้องไปเลี้ยงอาหารค่ำที่ภัตตาคารหรู ไม่ใช่เพราะอยากให้ลูกน้องเห็นว่าตัวเองมีสตางค์ แต่เพราะต้องการแสดงความรู้สึกขอบคุณอย่างลึกซึ้งที่ลูกน้องร่วมเหนื่อยยากกันมา

เจ้าของธุรกิจสวมเสื้อผ้าแบรนด์ดัง เพราะรูปแบบแพทเทิร์นดี เนื้อผ้าดี ไม่ได้ใส่เพราะอยากให้คนเห็นโลโก้ของแบรนด์นั้นแล้วรู้ว่าตนมีปัญญาซื้อ

การใช้เงินไปกับสิ่งที่ตนเองรัก หรือเพื่อคนที่ตนเองรักจะทำให้เรามีอิสระและมีความสุขในการใช้เงินมากกว่าการใช้เงินเพื่อรักษาหน้าตาและภาพลักษณ์ของตนเองเพียงอย่างเดียว Continue reading

บทความน่าสนใจ : ขายดีจนเจ๊ง

ไปเจอมาน่าสนใจมากๆ สำหรับการทำธุรกิจ ขออนุญาตินำมารวบรวมบันทึกไว้….

ขายดีจนเจ๊ง

1795497_534749179978163_1747024348_n

คนค้าขายบางคน บางเจ้า ขายดีจนเจ๊ง…
ไม่ได้ผิดหรอกครับ ผมหมายความอย่างนั้นจริงๆ ขายดี…จนกระทั่งธุรกิจเจ๊ง แล้วต้องปิดตัวลงแบบเจ้าตัวยังงงๆ กับชีวิตว่าเกิดอะไรขึ้นเหตุการณ์เช่นนี้ มักเกิดขึ้นกับ SMEs ในบ้านเรา ที่เริ่มต้นเติบโตมาจากระบบเจ้าของคนเดียว มีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เอาความเชี่ยวชาญนั้นมาทำธุรกิจ จนประสบความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า มีลูกค้ามากมายแต่อยู่ๆ ก็เกิดอาการซวนเซ แล้วเจ๊งไปซะง่ายๆ มีเพื่อนรายหนึ่ง อยู่ในอาการที่ว่ามานี้ โชคดีที่มาถามก่อนเจ๊ง เพื่อนมาถามผมว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งๆ ที่ธุรกิจไปได้ดี ลูกค้ามากมาย ยอดขายแต่ละวัน…นับเงินเมื่อยมือ แต่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้ในธุรกิจ เหมือนเติมไม่เต็ม ตลอดหลายปีที่ทำธุรกิจมา

 

ผมเริ่มต้นจากคำถามง่ายๆ ว่า “เป็นเจ้าของกิจการมีเงินเดือน เดือนละเท่าไหร่?

“เงียบ…แทนคำตอบ ก่อนที่จะถามกลับมาว่า ทำไมต้องมีเงินเดือน ในเมื่อเป็นเจ้าของอยู่แล้วผม

ถามคำถามที่สอง “แล้วเจ้าของใช้เงิน เดือนละเท่าไหร่?

“ลังเลนิดหนึ่ง ก่อนจะตอบว่า ไม่รู้ว่าเดือนละเท่าไหร่ เพราะจะใช้อะไรก็หยิบไปจากลิ้นชัก ไม่ได้จดไว้ว่าเท่าไหร่ อาศัยว่าถ้าเงินพอก็หยิบไปได้ ถ้าไม่พอ ก็รอให้เงินพอก่อน แล้วค่อยหยิบผมถามคำถามที่สาม “เงินที่หยิบจากลิ้นชักไป เอาไปซื้ออะไรบ้าง”คราวนี้สาธยายยาวเหยียด…ก็ซื้อทุกอย่าง กินข้าว ซื้อของเข้าบ้าน เลี้ยงสังสรรค์ ผ่อนรถ…ฯลฯ

ผมสรุป…”นั่นแหละสาเหตุ”