สุดยอดวิธีการแสนฉลาดของเกษตรกร จ. มหาสารคาม ท่านนี้คือ คุณพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เกษตรกรรุ่นใหม่ จ.มหาสารคาม ที่ปลูกผักแนวอินดี้ ในเนื้อที่ 7 ไร่ครึ่ง ลองผิดลองถูกจนได้วิธีการปลูกผักให้เก็บเกี่ยวได้ตลอด 365 วัน แบบที่ว่า โรคและแมลง”งง”จนมากินผักไม่ถูก เพราะน้องเขาปลูกพืชคละชนิดกัน ไล่ไปตามอายุเก็บเกี่ยว จากนั้นขยายสู่แปลงอื่น ทยอยลงไล่วันกันไปโดยอาศัยปฏิทินเพาะปลูกที่คิดขึ้นเอง!!
Tag Archives: เกษตรกร
‘เดชา ศิริภัทร’ : กระดูกสันหลังของชาติถูกมอมเมาด้วยปุ๋ยเคมีและประชานิยมเกษตร
เกษตรอินทรีย์กับการ “ปรับสมดุลธรรมชาติ”
“เป้าหมายหลักของเกษตรอินทรีย์ไมใช่แค่การปลูกพืชปลอดสารพิษ คุณภาพดี ขายได้ราคาแพง อินทรีย์แปลว่ามีชีวิต เกษตรอินทรีย์คือการใช้สิ่งมีชีวิตเป็นตัวตั้ง เช่น ปุ๋ย ก็ต้องปุ๋ยอินทรีย์ ทุกอย่างต้องมาจากธรรมชาติ เราเคารพธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาติอย่างสอดคล้อง โดยไม่เอาเปรียบ ไม่ทำลาย” ‘เดชา ศิริภัทร’ หรือ ‘อาจารย์เดชา’ ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนชาวนา จ.สุพรรณบุรี เริ่มการสนทนาด้วยการอธิบายว่าหลักสำคัญที่แท้จริงของเกษตรอินทรีย์คืออะไร
อย่างไรก็ดียังมีเกษตรอินทรีย์ที่ ‘เพี้ยน’ จากหลักการ เช่น การใช้สมุนไพรฉีดฆ่าแมลงทุกตัวทั้งแมลงดีและแมลงไม่ดี(ศัตรูพืช) แม้จะเป็นสารธรรมชาติแต่ก็อยู่ร่วมกับธรรมชาติไม่ได้เพราะทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล เช่น ฉีดสมุนไพรบางอย่างอาจไปฆ่าแมงมุมซึ่งเป็นแมลงดีที่ช่วยกินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เกษตรกรอินทรีย์จริงๆจะต้องเป็นเพียงผู้ช่วยหรือนักจัดการระบบธรรมชาติให้สมดุล
“เช่น หอยเชอร์รี่ศัตรูต้นข้าว ชาวนาทั่วไปก็เอายาเคมีไปฆ่ามัน แต่ศึกษาให้ดีจะรู้ว่าหอยพวกนี้มีศัตรูคือเป็ด แค่เลี้ยงเป็ดมาปล่อยในนาข้าว มันก็จะกินหอยเชอร์รี่โดยที่เราไม่ต้องทำอะไร หรือถ้าจะใช้สมุนไพรกำจัดแมลงก็ต้องใช้ที่เป็นตัวคุมจำนวนไม่ใช่ตัวฆ่า เช่น ใช้สารสะเดาฉีดไปที่พืชถึงจะโดนแมลงก็ไม่ตายเพราะไม่ใช่สารฆ่าแมลง แต่สะเดาจะถูกดูดซึมไปในต้นพืช เมื่อแมลงศัตรูพืชกินพืชต้นนั้น ก็จะได้รับสารสะเดาที่ทำหน้าที่คล้ายๆกับฮอร์โมนควบคุมการลอกคราบเข้าไป พอมันลอกคราบไม่ได้ มันก็ตายและลดจำนวนลง”
อ.นัน บรรยายโซลาร์เซลล์ FMTV อโศก
โซลาร์เซลล์เพื่อเน้นลดรายจ่ายได้พลังงานสะอาดในด้านการเกษตร ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรให้ประหยัดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และมีพลังงานฟรีจากธรรมชาติใช้พึ่งพาตนเองได้ รวมถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในการแปลงไฟจากระบบโซลาร์ใช้งานในพื้นที่ห่างไกลหรือที่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ให้ชีวิตมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
ธนาคารต้นไม้ ช่วยในการลดโลกร้อนและช่วยเกษตรกรปลดหนี้
เป็นเรื่องเก่าหน่อยแล้ว แต่เป็นแนวคิดที่ดีมากๆ
ปีงบประมาณ 2551
ธนาคารต้นไม้ ช่วยในการลดโลกร้อนและช่วยเกษตรกรปลดหนี้
ธัญญลักษณ์ เหล็กพิมาย
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกต่างตื่นตัวต่อสถานการณ์ภาวะโลกร้อนและผลกระทบมากยิ่ง ขึ้น โดยหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนก็ได้พยายามคิดหาโครงการและแนวทางในการแก้ไข ปัญหานี้มากขึ้นด้วย โดยแนวทางหนึ่งที่ถูกรณรงค์ส่งเสริมมากที่สุด ก็น่าจะเป็น การรณรงค์ให้ผู้คนช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ เกิดโลกร้อนนั่นเองค่ะ แต่การรณรงค์เชิญชวนอย่างเดียวก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่หากมีเรื่องของผลตอบแทนหรือรายได้เข้ามาเกี่ยวข้อง โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็น่าจะมีมากขึ้นนะคะ ซึ่งแนวคิดในการสร้างรายได้จากการปลูกต้นไม้ก็เกิดขึ้นแล้วในบ้านเราค่ะ นั่นก็คือ การจัดตั้งธนาคารต้นไม้