Tag Archives: วิตามิน

7 วิธีง่ายๆ ให้ตื่นมาอย่างสดชื่นในยามเช้า

บางเช้าตื่นมารู้สึกเหมือนกับยังไม่ได้นอนมาเลย บางครั้งก็ไม่สดชื่นเท่าที่ควร มีหาวิธีที่จะช่วยให้เราตื่นมาแล้วสดชื่นทันที มีพลังงานต่อสู้กับงานได้ทั้งวันกันเถอะ

1. ไม่ใช้ “กาแฟ”
แม้จะชินและอยากจิบกาแฟในยามเช้า เพื่อหวังกระตุ้นพลัง สลัดความเหนื่อยล้า ที่จริงแล้ว กาแฟช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่น หายเหนื่อยล้าได้แค่ช่วงสั้นๆ เท่านั้น เพราะพลังชีวิตของคุณจะตกต่ำลงอีกครั้ง เมื่อกาแฟหมดฤทธิ์ บางคนต้องจิบกาแฟทั้งเช้า สาย บ่าย ค่ำ กลายเป็นคนติดกาแฟ ดังนั้นการจิบกาแฟเพื่อต่อสู้กับความเมื่อยล้าของร่างกาย จึงมิใช่ทางออกที่ยั่งยืน หากแต่จะกักเก็บพลังแห่งความอ่อนล้านั้นเอาไว้

2. หลับอย่างต่ำ 7 ชั่วโมง
ร่างกายของแต่ละคน อาจต้องการเวลานอนที่ไม่เท่ากัน แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ก็ควรจะนอนให้ได้วันละ 7 ชั่วโมงหรือ 8 ชั่วโมงยิ่งดี ถึงจะเรียกว่าเหมาะ เพราะร่างกายจะได้มีเวลามากพอในการซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเองอย่างเต็มที่ ที่สำคัญควรจะเข้านอน และตื่นในเวลาเดียวกันทุกวัน ไม่เว้นแม้กระทั่งวันหยุด เพื่อให้ร่างกายได้เกิดความเคยชินว่าต้องตื่นขึ้นมาในเวลาใด ตื่นขึ้นมาก็จะได้ไม่รู้สึกงัวเงีย แต่จะกระปรี้กระเปร่า พร้อมรับวันใหม่ในทุกเช้า

3. เดินเร็วประจำ ออกกำลังฟิตร่างกาย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถือว่ามีประโยชน์มากโขต่อร่างกาย เพราะจะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) สร้างความสุข และพลังกายพลังใจให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าอยู่ตลอด ถ้าอยากสดชื่นควรหมั่นออกกำลังกาย การเดินเร็วดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องพึ่งอุปกรณ์ออกกำลังราคาแพง หรือเข้าฟิตเนส แพง ๆ แค่เดินเร็ว อย่างต่ำวันละ 20 นาที ทำให้ได้สม่ำเสมอ

Continue reading

7 อาการที่อาจจะบ่งบอกว่าคุณขาดวิตามินดี

วิตามินดี หมายถึง เซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมแคลเซียมเหล็กแม็กนีเซียมฟอสเฟตและสังกะสี ในมนุษย์ สารประกอบที่สำคัญที่สุดในกลุ่มนี้ คือ วิตามินดี3 (หรือ คอเลแคลซิเฟรอล [cholecalciferol]) และวิตามินดี2 (เออร์โกแคลซิเฟรอล [ergocalciferol]) คอเลแคลซิเฟรอลและเออร์โกแคลซิเฟรอลสามารถดูดซึมจากอาหารและอาหารเสริมได้ มีอาหารน้อยชนิดมากที่มีวิตามินดี การสังเคราะห์วิตามินดี (โดยเฉพาะคอเลแคลซิเฟรอล) ในผิวหนังเป็นแหล่งของวิตามินดังกล่าวตามธรรมชาติที่สำคัญเพียงแหล่งเดียว การสังเคราะห์วิตามินดีของผิวหนังจากคอเลสเตอรอลอาศัยการได้รับแสงแดด (โดยเฉพาะรังสียูวีบี)

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า วิตามิน D และแคลเซียม มีความสำคัญอย่างมากกับสุขภาพของกระดูกของเรา แต่นอกจากนี้แล้ว มันยังมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง? ผลงานวิจัยล่าสุดเผยว่าวิตามิน D มีบทบาทต่อสุขภาพของหัวใจ การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และส่งผลต่อการมีอายุยืนยาวด้วย บทความนี้จะตอบคำถามว่าวิตามิน D มีประโยชน์อย่างไรกับคุณ รวมถึงประมาณที่ร่างกายของคุณต้องการ รวมถึงแหล่งอาหารที่คุณจะได้รับวิตามินชนิดนี้

วิตามิน D มีประโยชน์อะไรกับเราบ้าง?

ผลงานวิจัยล่าสุดเผยวิตามิน D มีประโยชน์ต่างๆ ดังนี้:

  • ช่วยให้อายุยืนยาว งานวิจัยล่าสุดเผยว่าวิตามิน D สามารถช่วยลดการตายที่เกี่ยวเนื่องกับโรคมะเร็ง โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผลจากวิเคราะห์การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 18 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ที่รับประทานวิตามิน D ในปริมาณระหว่าง 400–830-IU เป็นประจำทุกวันช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเนื่องจากโรควิถีชีวิต
  • ช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับวิตามิน D ในร่างกายที่เพียงพอช่วยทำให้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบดี ขึ้น
  • รักษาระดับความดันเลือด วิตามิน D ช่วยให้การทำงานของหลอดเลือดเป็นไปด้วยดี โดยงานศึกษาแสดงให้เห็นว่าหากเราได้รับวิตามิน D เพียงพอ (เช่น ไม่ขาดวิตามินชนิดนี้) จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคความดันสูง
  • ปกป้องกระดูก วิตามิน D และแคลเซียม ช่วยปกป้องกระดูกจากการเป็นโรคกระดูกผุ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกที่เกิดจากโรคกระดูกผุด้วย

แล้วเราต้องการวิตามิน D มากขนาดไหน?

นี่คือปริมาณการบริโภควิตามิน D ที่เหมาะสมในแต่ละวัน:

อายุ RDI
ทารก 0 – 12 เดือน 400 IU
เด็กอ่อน 1 – 4 ปี 400 IU
4 ปีขึ้นไป 400 IU

เราจะได้วิตามิน D จากไหน

มีวิธี หลักสามวิธีในการได้รับวิตามิน D: แหล่งอาหาร การรับแสงแดดอย่างปลอดภัย และจากการรับประทานวิตามินเสริม แต่ละวิธีก็มีข้อจำกัดของตนเอง แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะสามารถช่วยพิจารณาว่าวิธีใดในการได้รับ วิตามิน D ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ

แหล่งโภชนาการ
แหล่ง อาหารตามธรรมชาติที่อุดมไปด้วยวิตามิน D ได้แก่ ปลาที่มีมัน เห็ดตากแห้ง และไข่แดง นอกจากนี้ ยังมีอาหารที่ได้รับการเสริมวิตามิน D ลงไป เช่น นมวัว นมที่ไม่ได้จาก อาทิ นมจากข้าว ถั่วเหลือง อัลมอนด์ และข้าวโอ๊ต น้ำส้ม เนยหรือสเปรดแบบต่างๆ โยเกิร์ต และซีเรียลอาหารเช้า

นี่คืออาหารที่ให้วิตามิน D:

ปลาที่มีมัน

  • 30–35 µg ต่อน้ำมันตับปลา 1 ช้อนโต๊ะ
  • 8–13 µg ต่อปลาแซลมอน 3 oz
  • 5–9 µg ต่ปลาซาร์ดีน หรือแมคเคเรล 3 oz
  • 5 µg ต่อทูน่าในน้ำมันกระป๋อง 3 oz

แหล่งทางธรรมชาติอื่นๆ

  • 0.5 µg ต่อไขแดงขนาดกลาง 1 ใบ
  • 0.3 µg ต่อตับวัว 3 oz
  • 0.4–63 µg ต่อเห็ด 100 กรัม

อาหารที่เสริมอาหารบางชนิดลงไป

  • 2.5 µg ต่อนมวัว 1 ถ้วย (ปริมาณจริงอาจแตกต่างจากนี้ได้)
  • 2.5 µg ต่อน้ำส้ม 1 ถ้วย
  • 1.0 µg ต่อซีเรียลพร้อมรับประทาน 1 ถ้วย

แสงแดด
การที่คุณได้รับแสงแดดเป็น เวลา 5-30 นาที เป็นประจำสองครั้งต่ออาทิตย์เป็นวิธีที่ร่างกายจะดูดซึมวิตามิน D ได้อย่างเพียงพอ พื้นที่ในการโดนแสงอาทิตย์นั้นควรเน้นไปที่บริเวณใบหน้า แขน ขา หรือหลัง โดยไม่ต้องทายากันแดด ระหว่างช่วงเวลาที่แดดแรง เช่น 10.00-15.00 น. ร่างกายของเราสามารถผลิตวิตามิน D อย่างต่ำถึง 10,000 IU ภายในระยะเวลาเพียง 30 นาที ในแสงแดด ซึ่งเราเรียกกันว่าปริมาณรังสีต่ำสุด (minimal erythemal dose) แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรังสี UV ในแสงอาทิตย์อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ American Academy of Dermatology จึงแนะนำให้เรารับวิตามินผ่านทางอาหาร หรืออาหารเสริมมากว่า

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกสองสามปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการได้รับวิตามิน D ที่เราต้องการจากแสงแดดเพียงอย่างเดียว:

สภาพภูมิศาสตร์

  • คนที่อาศัยอยู่เหนือ 37th parallel อาจมีปัญหาในการได้รับวิตามิน D ในปริมาณที่เพียงพอจากแสดงแดดในช่วงฤดูหนาว
  • เมืองที่อยู่เหนือ 37th parallel ได้แก่ ซานฟรานซิสโก เดนเวอร์ เซนต์หลุยส์ ชิคาโก นิวยอร์ก และริชมอนด์ นั่นหมายความว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาอยู่เหนือเส้นนี้

ครีมกันแดด

  • ครีมกันแดด แม้จะมีค่า SPF ต่ำแค่ SPF8 ก็สามารถป้องกันการดูดซึมของรังสี UVB เข้าร่างกายได้ในอย่างมาก

การบดบังของเมฆ

  • วันที่มีเมฆมากอาจะส่งผลต่อการลดลงของรังสี UV ได้มากถึง 50% การอยู่ในร่มจะลดระดับรังสีเพิ่มขึ้นอีก 10%

ปริมาณเมลานินในผิวหนัง

  • งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าคนที่มีผิวสีเข้มจะมีระดับวิตามิน D ต่ำกว่าคนที่มีผิวที่ขาวกว่า
  • งานวิจัยเพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่าหากต้องการดูดซึมวิตามิน D ในปริมาณที่เท่ากัน คนอเมริกันผิวดำจะต้องโดนแสงแดดมากกว่าคนผิวขาวทั่วไปถึง 10 เท่า

เสื้อผ้า

  • เสื้อผ้าดูดซับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตส่วนใหญ่ไว้ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าในบางประเทศที่กำหนดให้ประชาชนในประเทศต้องใส่ เสื้อผ้าแขนยาวคลุมตัว จะมีการรายงานถึงการเกิดโรคขาดวิตามิน D ที่มากกว่า

ฤดูกาล

  • ในช่วงหน้าหนาว แม้ว่าแสงแดดจะส่องสว่างมากกว่า แต่โฟตอน UVF ซึ่งเป็นตัวผลิตวิตามินจะผ่านชั้นโอโซนในองศาที่เฉียงกว่าเดิม ซึ่งทำให้ถูกดูดซับโดยโอโซน จึงเหลือไม่ถึงผิวของเรา แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างปี คนส่วนใหญ่ที่ได้รับปริมาณวิตามิน D ที่พอเหมาะสามารถสะสมวิตามิน D ไว้ในเนื้อเยื่อไขมัน เพื่อใช้ในหน้าหนาวได้

วิตามินเสริม
แม้ว่าอาหารควรเป็นทางเลือก แรกในการได้รับวิตามิน D แต่คนบางคนอาจพบว่าการบริโภคอาหารเพื่อให้ได้ปริมาณวิตามิน D ที่เพียงพอเป็นเรื่องยาก หากคุณเลือกรับประทานวิตามินเสริม ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณ และควรจำไว้ว่า Institute of Medicine กำหนดปริมาณการบริโภควิตามิน D สูงสุดไว้ที่ 2,000 IU สำหรับผู้ใหญ่ ดังนั้น จึงควรกำหนดปริมาณบริโภคของคุณไว้ต่ำกว่านั้น

สรุป… วิตามินมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

คำตอบ: วิตามิน D ช่วยให้คุณแข็งแรง มันช่วยปกป้องหัวใจและระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงช่วยรักษาให้กระดูกของคุณแข็งแรงด้วย!

7 อาการต่อไปนี้ อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกหรือเตือนว่าคุณอาจจะขาดหรือมีภาวะพร่องวิตามินดี 

1. ผิวคุณคล้ำหรือหมองลงง่ายกว่าปกติ
2. จิตใจหดหู่ไม่สดใส วิตามินดีมีส่วนช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยควบคุมอารมณ์ให้แจ่มใส
3. ผู้มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นมีมีความเสี่ยงต่ออาการขาดวิตามินดีมากกว่าผู้ที่มีอายุต่ำลงมา
4. ผู้ทีมีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน การมีมวลไขมันที่มากย่อมทำให้ร่างกายต้องการวิตามินดีที่มากขึ้นตามไปด้วย
5. ปวดกระดูก/ปวดเมื่อย และ/หรือ อ่อนเพลียเรื้อรัง อาจเป็นได้จากทั้งอาการพร่องวิตามินดีชั่วคราว หรืออาการขาดวิตามินดี
6. อาการเหงื่อออกหัว, หัวเปียก
7. ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้และอวัยวะภายในช่วงท้อง หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ อาจมีผลต่อการดูดซึมธาตุอาหารและไขมันรวมถึงวิตามินดีด้วย

เรียบเรียง : blot.etcpool.com
ขอบคุณที่มาข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5

http://www.healthyandnaturallife.com/7-signs-you-may-have-a-vitamin-d-deficiency/
https://www.goodfoodgoodlife.in.th/%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99-D-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0a

วิตามินและโรคข้อ

ก่อนที่ท่านจะรับวิตามินหรืออาหารเสริมหรือสมุนไพร โปรดปรึกษาแพทย์ประจำตัวท่านก่อนทุกครั้งโดยเฉพาะผู้ที่ตั้งครรภ์หรือวางแผน ว่าจะตั้งครรภ์หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว และได้รับยาอยู่เป็นประจำ หากแพทย์ไม่แนะนำให้ท่านรับประทานท่านควรจะหยุดยานั้นและถามถึงเหตุผล แต่หากท่านยังดื้อดึงที่จะรับประทานต่อก็ลองอ่านคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ให้แน่ใจว่าท่านได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อนที่จะรับวิตามินหรือสมุนไพร เพราะบ่อยครั้งที่ท่านผู้ป่วยวินิจฉัยโรคเองและซื้อยาหรือวิตามินหรือสมุนไพรรับประทานเอง ซึ่งอาจจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพของท่าน
  • โปรดจำไว้ว่ายาหรือสมุนไพรอาจจะมีผลต่อยาที่ท่านรับประทานอยู่
  • ยาหรือสมุนไพรอาจจะมีผลต่อการตรวจเลือดและปัสสาวะ
  • เมื่อเวลาจะใช้ให้เริ่มใช้เพียงชนิดเดียว ให้จดชื่อยาและผลข้างเคียงของยา
  • อย่ารับประทานยาหรือสมุนไพรเกิน 3 เดือนโดยที่ไม่ได้รับการตรวจประเมินจากแพทย์
  • ยาหรือสมุนไพรบางอย่างต้องรับประทานระยะหนึ่งจึงจะออกฤทธิ์
  • อย่ารับประทานยาวิตามินหรือสมุนไพรเป็นปริมาณมาก เพราะอาจจะเกิดยาเกินขนาด
  • ต้องบอกชื่อยาและสมุนไพรให้แพทย์ทราบ
  • หากเกิดอาการผิดปกติให้แจ้งแก่แพทย์

รายการข้างล่างเป็นวิตามินที่อาจจะนำมาใช้บรรเทาอาการของโรคข้อ

Vitamin A

ประโยชน์ เป็นวิตามินต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันทำลายเซลล์
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีทั้งรายงานว่าได้ผลและไม่ได้ผล มีรายงานหนึ่งหากใช้ร่วมกับวิตามิน อี จะช่วยชะลอการดำเนินของโรคข้อเสื่อม แต่อีกรายงานหนึ่งบอกทำให้ทำให้ข้อเสื่อมเป็นมากขึ้น
ขนาดที่ใช้ แนะนำให้ใช้ 700-900mcg
ข้อแนะนำ ไม่แนะนำให้รับประทานเกินกำหนด แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน เอได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว ผลไม้สีส้ม หากได้มากไปอาจจะเกิดพิษ

Vitamin B3 หรือ Niacin

ประโยชน์ ใช้รักษาอาการของโรคข้อคือ ปวดข้อ ข้อติด อาการของโรคข้อเสื่อมและรูมาตอยด์
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีรายการศึกษาพบว่าหากผู้ป่วยได้รับวิตามิน B3 รวมกับยาแก้ปวดสามารถลดปริมาณยาแก้ปวดได้ร้อยละ 13
ขนาดที่ใช้ 10-25 มก.ต่อวัน
ข้อแนะนำ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น แหล่องอาหารสำคัญคือ เนื้อ ปลา ถัว ยีสต์

Vitamin B5 Panothentic acid

ประโยชน์ ใช้ลดอาการปวด และข้อติดของโรครูมาตอยด์
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีรายงานว่าวิตามิน B5 ช่วยลดอาการข้อติดและอาการปวดในผู้ป่วยโรค
ขนาดที่ใช้ ขนาดที่ใช้ 250 มก.ต่อวัน
ข้อแนะนำ หากได้วิตามินมากไปจะทำให้เกิดท้องร่วง แหล่งอาหารที่สำคัญคือ ถั่ว เนื้อสัตว์ ธัญพืช ไข่

Vitamin B6 Pyridoxine Vitamin B12

ประโยชน์ ลดระดับ homocysteine ในผู้ป่วยโรค SLE
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานว่าการได้รับวิตามิน B6ร่วมกับกรดโฟลิกจะลดระดับ homocysteine ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเกิดอัมพาตและ SLE
ขนาดที่ใช้ B6 5 mg.B12 1MG ร่วมกับกรดโฟลิก 1 mg
ข้อแนะนำ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ แหล่องอาหารที่สำคัญได้แก่ ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ ปลา กล้วย ธัญพืช

Vitamin C Ascorbic acid

ประโยชน์ เป็นส่วนสำคัญในการสร้าง collagen และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ใช้รักษาข้อเสื่อม
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ จากการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดข้อเสื่อมและชะลอการเกิดข้อเสื่อม แต่การศึกษาในสัตว์ให้ผลแย้งกัน
ขนาดที่ใช้ ขนาดที่แนะนำ 75-90 มก.ต่อวัน
ข้อแนะนำ วิธีดีที่สุดคือได้วิตามินซีจากธรรมชาติแหล่องอาหารที่ดีคือผลไม้รสเปรียว ผัก การได้รับวิตามิน ว๊ระดับสูงจะทำให้เกิดอาการปวดท้องและท้องร่วง

Calcium

ประโยชน์ เมื่อใช้ร่วมกับวิตามิน ดีจะป้องกันกระดูกพรุน มีบทบาทในการแข็งตัวของเลือดและการบีบตัวของกล้ามเนื้อ
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ผู้หญิงวัยทองทุกคนควรได้รับแคลเซียมเสริมทุกคน
ขนาดที่ใช้ ขนาดที่ใช้ 1000-1200 มก.วัน
ข้อแนะนำ หากมีนิ่วในไตไม่ควรรับแคลเซียม การได้รับวิตามิน ดี และฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มการดูดซึมธาตุแคลเซียม แหล่องอาหารที่สำคัญคือ นม เนื้อสัตว์ ปลา ถั่วเหลือง นม

Vitamin D

ประโยชน์ สร้างเนื้อกระดูก ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ช่วยชะลอการเกิดโรคข้อเสื่อม
ขนาดที่ใช้ ขนาดที่ใช้ 400-800 IU ต่อวัน
ข้อแนะนำ เราสามารถสังเคราะห์วิตามิน ดีจากแสงอาทิตย์ ไม่ควรได้รับวิตามินนี้ในรายที่มีนิ่วในไต แหล่องสำคัญของอาหารคือ ปลาแซลมอน

Vitamin E

ประโยชน์ ลดอาการของโรคข้อเสื่อมและรูมาตอยด์
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ลดอาการปวดข้อในโรคข้อเสื่อมและรูมาตอยด์
ขนาดที่ใช้ ขนาดที่ใช้รักษาอาการปวดข้อคือ 400-600 IU ต่อวัน
ข้อแนะนำ ขนาดสูงอาจจะทำให้เลือดออก แหล่งอาหารที่สำคัญคือธัญพืช ถั่ว น้ำมันพืช

Folic acid

ประโยชน์ ลดระดับ homocysteine
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานว่าการได้รับวิตามิน B6ร่วมกับกรดโฟลิกจะลดระดับ homocysteine ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเกิดอัมพาตและ SLE
ขนาดที่ใช้ B6 5 mg. B12 1MG ร่วมกับกรดโฟลิก 1 mg
ข้อแนะนำ การใช้วิตามินขนาดสูงจะมีปัญหาทางอารมณ์ แหล่องอาหารที่สำคัญคือ ผักและผลไม้

Magnesium

ประโยชน์ ลดอาการปวดและการอักเสบ
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานว่าสามารถลดอาการปวดในโรคfibromyalgia
ขนาดที่ใช้ ขนาดที่ใช้ 300-600 มก.ต่อวัน
ข้อแนะนำ โรค fibromyalgia เกิดจากการขาดธาตุนี้เมื่อได้รับธาตุนี้จะทำให้อาการดีขึ้นอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง ไม่ควรใช้ในคนที่มีโรคไต แหล่องอาหารคือถัว ธัญพืช

Manganese

ประโยชน์ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ลดอาการปวดข้อจากโรคข้อเสื่อม
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ รับประทานร่วมกับสังกะสี ทองแดงและแคลเซียมป้องกันโรคกระดูกพรุน หากได้ธาตุนี้ร่วมกับสาร glucosamine-chondroitin-manganese จะช่วยลดอาการปวดในข้อเสื่อม
ขนาดที่ใช้ 5 มก.ต่อวัน
ข้อแนะนำ ใช้ขนาดสูงอาจจะทำให้เกิดมือสั่น เกร็ง ไม่ควรใช้ในโรคตับ แหล่องอาหารที่สำคัญคือ ผักใบเขียว ถั่ว ชา ธัญพืช

Selenium

ประโยชน์ ลดอาการปวด ข้อติดและการอักเสบของโรครูมาตอยด์
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาที่ได้ผลดีต้องได้รับร่วมกับน้ำมันปลา
ขนาดที่ใช้ 50-200mcg ต่อวัน
ข้อแนะนำ ธาตุนี้เราต้องการเพียงเล็กน้อยหากได้มากไปอาจจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย แหล่องอาหารคือ ตับ ปลา ปู ข้าวสาลี

Zinc Sulfate

ประโยชน์ ลดอาการปวด ข้อติดและการอักเสบของโรครูมาตอยด์และโรคเรื้อนกวาง
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ยังมีหลักฐานไม่มากสนับสนุนในการใช้
ขนาดที่ใช้ 12-15 mgต่อวัน
ข้อแนะนำ ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน การดื่มกาแฟจะลดการดูดซึมของธาตุสังกะสี รบกวนการทำงานของ steroid แหล่งอาหารคือ เนื้อ นม ไข่ขาว ถั่ว ข้าวสาลี

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/rheumatoid/supplement.htm