ความเป็นมาและการเดินทางของชา
ตามตำนานของชาวจีน จักรพรรดิเสินหนง เป็นผู้ค้นพบเครื่องดื่มชนิดนี้ ท่านเชื่อว่าการต้มน้ำดื่มสามารถป้องกันโรคต่างๆได้ แต่ด้วยความบังเอิญระหว่างการเดินทางในป่า ได้มีใบไม้ชนิดหนึ่ง ตกลงไปในด้วยน้ำร้อน แทนที่ท่านจะเทน้ำที่มีสีออกเหลืองนั้นทิ้งไปเสีย กลับทดลองดื่ม จึงได้มีเครื่องดื่มมหัศจรรย์ชนิดนี้เกิดขึ้น ก่อนคริสตกาลประมาณ 2,700ปี
คศ. 618-907 สมัยราชวงค์ถัง (Tang Dynasty) ชาได้กลายเป็นเครื่องดื่มประจำชาติจีน
คศ. 780 หลูหยู่ ได้เขียนบันทึกเล่มแรมเกี่ยวกับชา ชื่อ “ชาชิง” Ch’a Ching
คศ. 1107-1125 จักรพรรดิหุ่ยเซิง ทรงเขียนตำราชา ชื่อ “Ta Kuan Ch’a Lun”
จากนั้นวัฒนธรรมการดื่มชาได้แพร่กระจายไปยังประเทศอื่นๆ เริ่มจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ประเทศในตะวันออกกลาง จนกระทั่งปี 1620 ชาวดัชต์(ฮอลันดา) ได้นำชาเข้าสู่ประเทศฮอลแลนด์
ก่อนที่เราจะรู้จักชื่อทางวิทยาศาสตร์ของต้นชาที่เรียกว่า คาเมลเลีย ไซเนนซิส Camellia Sinensis ชาได้ถูกเรียกเป็นอีกหลายชื่อ เท่าที่พบตามหลักฐานในประวัติศาสตร์จีน ประเทศต้นกำเนิดของชา มีการบันทึกไว้ว่า คำว่า “ทู” (T’u) ที่แปลว่า ผักหรือใบไม้ที่มีรสขม คำว่า “เกียกิวทิว” แปลว่า ต้นไม้ใบเขียวตลอดปี เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกชา ชาวจีนมณฑลยูนนานเรียกชาว่า “มิ้ง” คล้ายกับคำว่า “เมี่ยง”ที่ภาคเหนือของประเทศไทยใช้เรียก เมี่ยงที่ผลิตจากใบชาเช่นเดียวกัน
ระหว่างปีคศ. 728-804 การดื่มชาได้แพร่หลายอย่างรวดเร็วในวัฒนธรรมของจีน บันทึกเกี่ยวกับชาเล่มแรกของโลก เขียนโดยหลูหยู่ ที่ชื่นชอบการดื่มชา จึงค้นคว้าหาแหล่งที่มาของชา วิธีการผลิต อุปกรณ์ชงชา การชงชาที่ถูกวิธี และธรรมเนียมการชาชง พร้อมกับเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ชา” แทนชื่ออื่นๆ และเป็นที่นิยมเรียกอย่างมาก
เมื่อชาวยุโรปล่องเรือเข้ามาทำการค้ากับจีน จึงนำใบชากลับไปด้วย นอกเหนือจากผ้าไหมและเครื่องเทศต่างๆ ชาวจีนมณฑลฟูเจี้ยนเรียกใบชาตามภาษาท้องถิ่นว่า “เต” (Tay) ซึ่งชาวฮอลันดาใช้ชื่อนี้เรียกชากลับไปด้วย ต่อมากลางศตวรรษที่ 18 คำว่า Tay ถูกนำมาสะกดและจำกัดความใหม่เป็น Tea และได้บรรจุไว้ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษมาจนถึงปัจจุบัน
เพิ่มเติมได้ที่ “ทำความรู้จักชา” http://www.time-for-tea.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=307857&Ntype=2
http://www.time-for-tea.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=361875
ทำความรู้จักกับต้นชา
ชาเป็นพืชที่มาจากพืชในตระกูลคาเมลเลีย ชื่อทางพฤกษศาสตร์ของชาคือ คาเมลเลีย ไซเนนซิส (Camellia Sinensis) มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศจีน เจริญเติบโตในแถบที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูง อากาศเย็น สามารถขึ้นได้ดีในเขตอบอุ่น และมีฝน จึงทำให้แหล่งปลูกชากระจายอยู่ตั้งแต่ละติจูดที่ 45 องศาเหนือในรัสเซีย ถึง 50 องศาใต้ในทวีปแอฟริกา ชาปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 – 2,000 เมตร ผลผลิตชาส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปเอเชียโดยพื้นที่ที่มีการปลูกชามากจะอยู่ระหว่างแนวเหนือใต้ ตั้งแต่ ประเทศญี่ปุ่นถึงอินโดนีเซีย และแนวตะวันออก-ตะวันตก จากประเทศอินเดียถึงญี่ปุ่น เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้จะอยู่ในเขตมนสุมมีอากาศอบอุ่นและมีปริมาณน้ำฝนมาก เหมาะกับต้นชาที่กำลังเจริญเติบโต
ชามีสกุลย่อยๆ แยกออกได้อีกกว่า 3,000ชนิด แต่ว่าที่ปลุกกันเป็นหลักก็มีเพียงแค่ 3 สายพันธุ์ใหญ่ๆ คือ
1. ชาอัสสัม ชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia Sinensis Var. assamica (Mast.) เป็น ไม้พุ่มขนาดกลางถึงใหญ่ บางครั้งอาจพบได้ว่ามีความสูงถึง 17 เมตร และมีขนาดใหญ่กว่าชาในกลุ่มอื่นอย่างเด่นชัด ชาอัสสัมจะถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาจีนและชาดำ ชาอัสสัมจะเติบโตเร็ว ทนแล้ง สามารถแบ่งออกเป็นพันธุ์ย่อยๆได้ 5 สายพันธุ์คือ
1.1 พัีนธุ์อัสสัมใบจาง – ต้นมีขนาดเล็ก ยอดและใบมีสีเขียวอ่อน ลักษระในเป็นมันวาว ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอ ให้ผลผลิตต่ำและคุณภาพไม่ดี เมื่อนำมาทำชาจีนจะมีสีน้ำตาล
1.2 พันธุ์อัสสัมใบเข้ม ยอดและใบมีสีเขียวเข้ม ใบนุ่มเป็นมัน มีชนปกคลุม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี เมื่อนำมาทำชาจีนจะมีสีดำ
1.3 พันธุ์มานิปุริ เป็นพันธุ์ที่แข็งแรง ให้ผลผลิตสูง ใบมีสีเขียวเข้มเป็นประกาย ของใบหยักแบบฟันเลื่อย ทนแล้งได้่ดี
1.4 พันธุ์พม่า ใบมีสีเขียวเข้ม ใบแก่มีสีเขียวแกมน้ำเงิน ใบกว้าง แผ่นใบเป็นรูปไข่ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
1.5 พันธุ์ลูไซ ขอบใบหยักลึก ปลายใบเห็นได้ชัด
2. ชาจีน มีชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia Sinensis Var. sinensis เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-6 เมตร ชาจีนจะถูกนำไปใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาเขียวโดยใช้ยอดอ่อนที่มี 1 ยอดตูมและ 3-4 ใบบาน
ชาจีนจะทนทานต่ออุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่ผันแปรได้ดี ผลผลิตต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม ชาพันธุ์นี้ปลูกมากในประเทศจีน สายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะแตกต่างกันไป ในแต่ละท้องที่เช่น สายพันธุ์ชิงชิงอูหลง ชิงชิงต้าพัง เตกวนอิน เป็นต้น
3. ชาเขมร มีชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia Sinensis Var.Indo-China ชาในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นไม้พุ่มลำต้นเดี่ยวขนาดใหญ่ มีความสูงของทรงพุ่มประมาณ 5 เมตร
ต้น ชาเป็นพืชที่มีลักษณะเป็นพุ่ม ใบเขียว และหากปล่อยให้เจริญเติบโตเองในป่า มันจะให้ดอกสีขาวส่งกลิ่นหอมในฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเมื่อดอกชาเติบโตเต็มที่จะให้ผลชาที่ภายในมีเมล็ดเล็กๆ ตั้งแต่หนึ่งถึงสามเมล็ด ส่วนในการแพร่พันธุ์ ต้นชาจะต้องได้รับการผสมละอองเกสรกับต้นชาต้นอื่นๆ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนยีนและโครโมโซมซึ่งกันและกัน เมื่อชาต้นใหม่เจริญเติบโตมันจะคงคุณลักษณะที่เข้มแข็งบางส่วนของพ่อแม่ต้น พันธุ์ ด้วยวิธีการนี้ ต้นชาจึงถือได้ว่าเป็นพืชที่มีคุณลักษณะเด่นเฉพาะตัวของมันเอง
ต้น ชาสามารถเจริญเติบโตได้สูงตั้งแต่ 15-30 ฟุต แต่ในการปลูก เกษตรกรมักรักษาระดับความสูงของต้นชาให้อยู่ในระดับประมาณ 3-5 ฟุต เพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยวใบชาอ่อน นอกจากนี้การปล่อยให้ต้นชาสูงเกินไป ใบอ่อนที่เหมาะสำหรับการเก็บเพื่อผลิตชาแห้งนั้น จะถูกแสงแดดเผาไหม้ได้ และเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เกษตรกรมักปลูกต้นชาภายใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่อื่นๆ เช่นกัน
การเก็บเกี่ยวชา
ส่วนที่เราต้องการจากต้นชาเพื่อมาทำเครื่องดื่มนั้น อยู่ส่วนบนสุดของต้นหรือใบอ่อน กล่าวคือ คุณภาพของชาที่ดีนั้นต้องผลิตจากใบอ่อน (ยอดบนสุด) และอีกสองใบถัดไป สิ่งที่น่าสนใจและจดจำคือการเก็บเกี่ยวใบอ่อนและยอดที่ได้รับการยอมรับว่าจะ ได้มาซึ่งผลผลิตชาที่ดีนั้น ถือว่าการใช้มือคนเก็บเป็นวิธีที่ดีที่สุด นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้แต่ประเทศที่ได้ผลิตชามาเป็นเวลานานเช่น จีน ไต้หวันหรือประเทศญี่ปุ่นที่มีค่าแรงสูง ก็ยังใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยวยอดชาใบอ่อน เพราะเครื่องจักรมักดึงเอาใบและหน่อส่วนที่หยาบ หรือเป็นเป็นกิ่ง ตลอดจนส่วนอื่นๆของต้นชา ที่สำคัญเครื่องจักรไม่สามารถแยกความแตกต่างของความอ่อน แก่ของใบชาได้ดีเท่าคน
ใบ ชาที่ดีที่สุดนั้นต้องเล็กที่สุด และที่ปลายต้องเรียว ที่หัวจะมีความคมและแหลม ใบชาแบบนี้จะมีราคาแพง ในอดีตจะมีเพียงกษัตริย์เท่านั้นที่ได้ดื่ม คุณภาพของชาที่ดีคือการใช้ใบที่เป็นใบแรก รองลงไปคือใบที่ 2-3 และ 4 ดังนั้นเกษตรกรปลูกชาจึงต้องดูแลต้นชาอย่างดีอยู่เสมอ เพราะถ้าใบชาแก่เกินไปคุณภาพจะลดลงและทำให้ราคาที่ได้ถูกลงด้วย บรรดา แมลงที่สามารถทำความเสียหายให้ต้นชานั้นมีถึง 150 ชนิดด้วยกัน และอีกทั้งมีเชื่อรามากกว่า 380 ชนิดที่สามารถทำความเสียหายต้นชาได้ตลอดเวลา
คุณภาพ และราคาของชา ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของการเก็บชา และฤดู ชาที่มีคุณภาพดีที่สุดต้องเป็นใบชาที่เก็บก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นเต็มที่ และเก็บอีกครั้งเมื่ออาทิตย์ตกดิน เพราะความร้อนจะไม่รุนแรงนัก แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เก็บในช่วงเช้า เพราะมีความชื้นสูง ดังนั้นจึงเลือกเก็บเวลากลางวัน ส่วนฤดูการเก็บเป็นปัจจัยต่อราคาของชาเช่นเดียวกัน ในฤดูใบไม้ผลิจะผลิตชาได้ีดีที่สุด แต่ถ้าเป็นช่วงต่อระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนคุณภาพจะตก ตามธรรมเนียมแล้ว ไม่มีใครเก็บชาในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว เพราะเป็นเวลาที่ต้นชาจะมีโอกาสฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิม แต่ในปัจจุบันการเก็บใบชาเก็บได้ทั้ง 4 ฤดู ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิตตลอดปี
http://www.time-for-tea.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=5319818
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา นั้นหมายถึง การจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ
“ชา” ตามความหมายที่เราต้องการ อ้างอิงตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ คือ น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง. ดังนั้นชาตามความหมายจากการอ้างอิงนี้เราหมายถึง พืชชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze วงศ์ Theaceae เมื่อนำใบมาผ่านกรรมวิธีต่างๆแล้วนำมาชงจะกลายเป็นเครื่องดื่ม
มีอะไรในใบชา
จากความเชื่อแต่โบราณที่ว่า ชาเป็นยาอายุวัฒนะและสามารถแก้โรคต่างๆ ได้สารพัดโรค ตั้งแต่ปวดศีรษะ ลดความเครียด ช่วยย่อยอาหาร ล้างสารพิษ ป้องกันโรคหัวใจ เพิ่มภูมิต้านทาน ไปจนกระทั่งป้องกันฟันผุ ซึ่งการวิจัยในปัจจุบันก็ยืนยันสนับสนุนความเชื่อเหล่านั้น แน่นอนว่าคุณสมบัติที่เป็นยาสารพัดโรคของชานั้นได้มาจากสารเคมีต่างๆที่อยู่ในใบชา นั่นเอง ซึ่งสาระสำคัญ ๆ ได้แก่ เคทิซิน คาเฟอิน แทนนิน เป็นต้น
เคทิซิน
ความลับของชาอยู่ที่ปริมาณสารเคทิซิน โพลีฟีนอล (Catechin Polyphenol) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาร Epigallocatechin-3-Gallate (EGCG)
ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก (เชื่อว่าดีกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า) จึงช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับความเสียหายจากอนุมูลอิสระ ช่วย
กำจัดการลุกลามของเซลล์เนื้องอก ทั้งยังเข้าไปแทรกแซงในกระบวนการก่อตัวและในกระบวนการลุกลามของมะเร็ง โดยไม่ทำลายเนื้อ
เยื่อส่วนดี โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมาก และ
มะเร็งปอด การใช้สารสกัดจากชาเขียวในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการฉายแสงและเคมีบำบัดจะทำให้เซลล์ปกติถูกทำลายน้อยลง นอกจากนี้
ยังช่วยลดระดับ LDL คลอเรสเตอรอล และยับยั้งการก่อตัวแบบผิดปรกติของก้อนเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหัวใจวายและลมชัก
มีรายงานจากทีมนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิจัยโรคมะเร็งในบริติชโคลัมเบียว่า ชาสามารถยับยั้งการสร้างไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
รุนแรงได้ ซึ่งสารไนโตรซามีนนั้นเป็นสารที่เกิดจากสารพวกดินประสิวในอาหารทำปฏิกิริยากับสารจำพวกโปรตีนที่มีในเนื้อสัตว์และอาหาร
ทะเลกลายเป็นไนโตรซามีน ซึ่งกอ่มะเร็งได้หลายฃนิด ดังนั้นถ้านิยมบริโภคอาหารจำพวกไขมัน แอลกอฮอล ์ เนื้อสัตว์และไม่ค่อยรับ
ประทานอาหารที่มีกากสูงก็ควรดื่มน้ำชาไปพร้อมๆ กันด้วย ก็จะช่วยลดไขมันหรือสพิษที่อาจปะปนในอาหารได้
คาเฟอีน (Caffeine)
สาร เคมีที่เรารู้จักกันดีนี้ก็มีอยู่ในชาประมาณร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนัก ซึ่งสารคาเฟอีนในน้ำชานี่เองที่ไปกระตุ้นให้สมองสดชื่นแจ่มใส
หายง่วง เนื่องจากมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เพิ่มการเผาผลาญอาหาร เพิ่มการทำงานของหัวใจและไต แต่อย่างไรก็ตามเด็กและผู้ป่วยโรคหัวใจ
ก็ไม่ควรดื่มชาเนื่องจากคาเฟอีนมีคุณสมบัติในการกระตุ้นประสาทและบีบหัวใจ ถ้าต้องการดื่มชาจริงๆ ก็ควรดื่มชาที่สกัดสารคาเฟอีนออก
แล้ว ซึ่งในการชงชานั้นพบว่าใน 3 นาทีแรกจะได้คาเฟอีนออกมาในปริมาณที่สูง โดยทั่วไปในชา 1 ถ้วย จะมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 10-50
มิลลิกรัม และในน้ำชายังมีสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับคาเฟอีนชนิดอื่นๆ ที่ช่วยในการขับปัสสาวะ โดยไปกระตุ้นให้ไตขับน้ำปัสสาวะมากขึ้น
และยังช่วยขยายหลอดลมอีกด้วย แต่มีงานศึกษาวิจัยบางชิ้นพบว่า น้ำชาที่ได้จากชาเขียวหรือชาดำที่สกัดเอาสารคาเฟอีนออกไป กลับ
ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันการก่อมะเร็งหรือเนื้องอก ข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความสนใจขึ้นว่าบางทีคาเฟอีนในใบชาอาจจะเป็นสารออก ฤทธิ์
ตัวหนึ่งที่มีผลทางการแพทย์ก็เป็นได้้
แทนนิน
ฝาดชา (Tannin) เป็นสารที่มีรสฝาด พบในใบชาแห้งประมาณร้อยละ 20-30 โดยน้ำหนัก ใช้บรรเทาอาการท้องเสียได้ ดังนั้นหาก
ต้องการดื่มชาให้ได้รสชาติที่ดีนั้น ไม่ควรทิ้งใบชาค้างไว้ในกานานเกินไป เพราะสารแทนนินจะออกมามาก ทำให้น้ำชามีรสขมฝาด
แต่ถ้าหากต้องการบรรเทาอาการท้องเสียก็ควรต้มใบชานานๆ เพื่อให้มีปริมาณสารแทนนินออกมามาก นอกจากนั้นสารแทนนินยัง
ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหัวใจและขยายผนังหลอดเลือด จึงทำให้ชาเขียวเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วย
นอกจากนี้ ชายังประกอบไปด้วยกรดอะมิโนคือ ธีอานีน (Theanine) สารแคโรทีนอยด์ คลอโรฟิลล์และโปรแอนโธไซยานิติน ที่พบ
ในสารสกัดจากเมล็ดองุ่น เปลือกสน บลูเบอร์รี่และใบแปะก้วย สารเหล่านี้จะถูกดูดซึมสู่ทางเดินอาหารได้ถึงร้อยละ 90 แล้วแผ่กระจาย
ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ภายใน 5 นาทีและยังคงออกฤทธิ์อยู่ในช่วงเวลา 6-14 ชั่วโมง ซึ่งสารพัดสารเคมีที่มีประโยชน์ในใบชาเหล่านี้นี่เอง
ที่ทำให้ชาเป็นยารักษาโรคได้สารพัดและเป็นยาอายุวัฒนะที่เชื่อถือกันมาตั้งแต่โบราณกาล
ที่มา http://www.time-for-tea.net
http://www.teatester.com
Like this:
Like Loading...