Tag Archives: ยา

หยวกกล้วย : ช่วยขจัดของเสียในลำไส้

หยวกกล้วย ช่วยขจัดของเสียในลำไส้ หยวกกล้วยอ่อน คือแกนในต้นกล้วยอ่อน เป็นผักพื้นบ้านที่พบได้ทั่วไปในภาคเหนือภาคอีสานเหนือและภาคใต้

คนโบราณบอกว่า ต้องกินแกงหยวกกล้วยอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อไปพันเอาสิ่งตกค้าง เช่น กระดูก เส้นผม รวมทั้งคุณไสยที่ตกค้างอยู่ในท้องออกมา จากความเชื่อที่มีเหตุผลทีเดียว คือเพราะหยวกกล้วยประกอบด้วยเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำเป็นส่วนใหญ่ Continue reading

ความรู้ใกล้ตัว : ยากับอาหารและเวลาในการทานยา

ยาส่วนใหญ่กับมื้ออาหาร แบ่งหลัก ๆ หยาบ ๆ เป็น :
• ยาห้ามกินพร้อมอาหาร หรือต้องกินตอนท้องว่าง (แพทย์มักกำหนดเจาะจงให้กินก่อนอาหาร 15-30 นาที)
• ยาที่ไม่มีผลกับอาหาร ขอแค่กินตามเวลาเท่านั้น
• ยาที่ต้องกินพร้อมอาหาร

ภาพ : thaihealth.or.th

Continue reading

ร่วมด้วยช่วยกัน : ร่วมบริจาคเวชภัณฑ์ที่ท่านไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว

มาสร้างบุญบารมีกัน
ยาที่ท่านไม่ทานแล้วเหลืออยู่ในตู้ยา โปรดนำมาบริจาคให้กับคนไข้ที่ต้องการ เป็นการสร้างทานบารมีที่ได้กุศลสูงสุด เพราะถูกเนื้อนาบุญ

โรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก ต้องการยาเหล่านี้จำนวนมาก ไม่ต้องห่วงว่าเป็นยาอะไร หมดอายุหรือไม่ เพราะ รพ.มีเภสัชกรที่จะคัดแยก และตรวจสอบยาหมดอายุ

โปรดส่งไปที่
นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์
ผอ.โรงพยาบาลอุ้มผาง
อ.อุ้มผาง จ.ตาก 63170

ขอบคุณที่มา : Vachira Ruangpornvisuti

อภัยภูเบศรชู ‘หญ้าดอกขาว’ สมุนไพรลดอยากอาหาร ทางเลือกคุมน้ำหนักอย่างปลอดภัย

5 ธันวาคม 2559

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม  ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยหญ้าดอกขาวพบว่ามีสรรพคุณช่วยลดความอยากสูบบุหรี่ ลงได้ เนื่องจากในหญ้าดอกขาวจะมีสารไนเตรด ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ประสาทรับรู้รสบริเวณลิ้นมีความรู้สึกชา ทำให้ผู้ที่บริโภคหญ้าดอกขาวเข้าไปจะไม่รับรู้รสชาติใดๆ ส่งผลให้ไม่มีความอยากจะสูบบุหรี่  อย่างไรก็ตาม สำหรับการรับประทานหญ้าดอกขาวนั้นจริงๆ แล้วสามารถรับประทานได้ตามความต้องการ เพราะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ร่างกายสามารถขับออกเองได้ ทั้งนี้ นอกจากการจะใช้หญ้าดอกขาวเป็นตัวช่วยในการเลิกสูบบุหรี่แล้ว ยังพบอีกว่าหญ้าดอกขาว มีสรรพคุณช่วยลดความอยากอาหารได้ ซึ่งประจวบเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก นอกจากการลดอาหารไขมันสูง การออกกำลังกายแล้ว การรับประทานหญ้าดอกขาวก่อนทานอาหารทุกมื้อ ก็มีส่วนช่วยได้ เนื่องจากในหญ้าดอกขาว มีสารไนเตรดที่มีอยู่ในหญ้าดอกขาวจะไปเคลือบต่อมรับรสที่อยู่บริเวณลิ้นทำให้เวลารับประทานอาหารเข้าไปจะรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย จนทำให้รับประทานอาหารได้น้อย ทั้งยังช่วยลดความอยากรับประทานอาหารลงได้อีกด้วย

fffff Continue reading

เห็ดหลินจือ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเห็ดหลินจือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ganoderma Lucudum
ชื่ออังกฤษ : Reishi,Ling Zhi
ชื่อท้องถิ่น : เห็ดหลินจือ,เห็ดหมื่นปี หรือ เห็ดหิมะ

ตามประวัติเห็ดหลินจือเป็นยาจีน (Chinese traditional medicine) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนมีคนนับถือมากที่สุดได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็น “เทพเจ้าแห่งชีวิต” (Spiritual essence) มีพลังมหัศจรรย์บำรุงร่างกายใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และยังสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ชาวจีนโบราณต่างยกย่องเห็ดหลินจืออย่างเหนือชั้นว่าดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน นอกจากจะมีสรรพคุณเหนือชั้นกว่าแล้วยังปลอดภัยไม่มีพิษใด ๆ ต่อร่างกาย

เห็ดหลินจือธรรมชาติสายพันธุ์ Ganoderma lucidum เกาะอยู่บนต้นไม้ปกคลุมด้วยมอสสีเขียว อาศัยอยู่ท่ามกลางบรรยากาศกลางป่าเย็นชุ่มฉ่ำ ชวนให้เพลิดเพลินเป็นสุขใจแก่ผู้พบเห็น มีลักษณะดอกคล้ายใบพัด มีก้านดั่งไม้เท้าชูดอกงามสง่า มีลวดลายงดงามเหมือนลายโบราณที่เรียกว่า“หยู่อี้” มีความหมายในทำนองสมใจปรารถนาชาวจีนโบราณต่างยกย่องให้เห็ดหลินจือเป็น เห็ดสิริมงคล เป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตและโชคลาภ ดังจะเห็นได้จากบรรดารูปปั้นกังใสหรือรูปเทพเจ้า “ฮก ลก ซิ่ว” ที่มีความหมายถึง ความเป็นสิริมงคลทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่ามีเทพเจ้าบางองค์ถือดอกเห็ดหลินจืออยู่ในมือ อุปมา ดั่งคุณธรรมอันสูงส่งแก่ผู้มีไว้ครอบครอง

เห็ดหลินจือ มีสารอาหารที่จะเจ้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้ทำหน้าที่เป็นปกติ สามารถต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ต้านการจับตัวของบิ่มเบิอด ลดน้ำตาลในเลือด ฯลฯ หลายท่านบอกว่าเป็นยาอายุวัฒนะ คือเป็นยาที่รับประทานให้ชีวิตยืนยาวและสุขภาพดี Continue reading

สูงวัยอย่างมีคุณภาพด้วย “สมุนไพร” ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร “เราอยากกระตุ้นให้ประชาชนขบถ”

สิ่งที่เรียกว่า “สังคมผู้สูงวัย” ดูเหมือนประเทศไทยไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้พ้น

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมรับมือแต่เนิ่นๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง

เช่นที่ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ผนึกกำลังกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ-เอกชน จัดงานด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อ “เฮลท์แคร์ 2016” ภายใต้ธีม “สร้างสุขผู้สูงวัย” นับเป็นงานมหกรรมสุขภาพเพื่อผู้สูงวัยครั้งแรกของไทย

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร คือหนึ่งในหน่วยงานด้านสุขภาพที่มีบทบาทเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องการแพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพรมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ด้วยความมุ่งหวังที่จะทำให้ภูมิปัญญาในการใช้สมุนไพรของประเทศไทยได้รับการสืบสาน ส่งต่อ ให้พืชสมุนไพรกลับมาเป็นที่แพร่หลายเหมือนดังแต่ก่อน

และผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในเรื่องนี้เห็นจะเป็นใครอื่นไปไม่ได้ ! Continue reading

น้ำตำลึงมะนาว บำรุงสายตา กระดูก และป้องกันโรคโลหิตจาง

คุณประโยชน์ :
– 
มีวิตามินเอสูง บำรุงสายตา
วิตามินซี ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
ป้องกันโลหิตจาง และโรคมะเร็ง
ยังมีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูก

น้ำตำลึงมะนาว

ส่วนประกอบ :
ใบตำลึง 50 กรัม
น้ำมะนาว 3 ลูก
น้ำผึ้ง 1/4 ถ้วยตวง (ตามความชอบ)
น้ำสะอาด 1 ลิตร
เกลือป่นเล็กน้อย

วิธีทำ :
ล้างใบตำลึง นำมาปั่น กับน้ำให้ละเอียด กรองแยกเอากากออก
ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำเชื่อม และเกลือ

ที่มา :
facebook.com/Man Nature
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://kaijeaw.com/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7/

อาหารธรรมชาติก็เป็นยาที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง

ยาแก้ปวดธรรมชาติ ยานอนหลับ ยาบำรุงไต ยาลดไขมัน
1.ยาบำรุงไตธรรมชาติ:มันมือเสือ
2.ยานอนหลับธรรมชาติ:กล้วยหอม
3.ยาผิวหนังธรรมชาติ:เก๊กฮวย
4.ยาแก้หวัดธรรมชาติ:มะนาว
5.ยาโรคกระเพาะธรรมชาติ:กะหล่ำปลี
6.ยาแก้ปวดธรรมชาติ:ขิง
7.ยาลดความดันธรรมชาติ:คึ่นไช่
8.ยาลดไขมันธรรมชาติ:ซันจา
9.ยาลดเบาหวาน
ธรรมชาติ:กุ้ยพ้วย
10.ยาแก้อักเสบ
ธรรมชาติ:น้ำผึ้ง
11.ยาแก้ท้องร่วง
ธรรมชาติ:บ๊วย
12.วิตามินธรรมชาติ:สรอเบอรี่
13.ยาชลอความแก่ธรรมชาติ:องุ่น
14.ยาล้างสารพิษธรรมชาติ:แก้วมังกร
15.ยาต้านมะเร็ง
ธรรมชาติ:กระเทียม
16.ยาธรรมชาติลดการบวมน้ำ:น้ำลูกเดือย
17.ยาธรรมชาติช่วยให้ผิวขาว:หัวไช้เท้า
18.ยาธรรมชาติช่วยย่อยอาหาร:สับปะรด
19.ยาบำรุงปอด
ธรรมชาติ:เห็ดหูหนูขาว
20.ยาธรรมชาติช่วยให้สดชื่นลดอาการเหนื่อยล้า:น้ำส้มเช้ง
ขอให้ช่วยกันส่งต่อข้อมูลสุขภาพนี้ให้แก่คนในครอบครัวและเพื่อนๆของท่าน

ที่มา : เฟซบุ๊คเพจ สมชาย ตั้ง

ผักกระสัง ผักที่ไม่ควรมองข้าม

ผักกะสังกลับมาให้คนได้รับรู้อีกครั้งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

จากการที่ไปส่งเสริมการปลูกวัตถุดิบสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ที่บ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ชุมชนที่นี่มีภูมิปัญญามากมายในการใช้สมุนไพรและการกินผักพื้นบ้าน แต่เมื่อมีการปลูกพืชตามระบบเคมีทำให้ผักพื้นบ้านหลายชนิดหายไป และไม่กล้าเก็บผักรอบบ้านหรือตามหัวไร่ปลายนามากินอีก เพราะรู้ว่าเพิ่งฉีดยาฆ่าหญ้าหรือยาฆ่าแมลงไป เมื่อหันมาปลูกวัตถุดิบสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ ผักพื้นบ้านหลายชนิดกลับมางอกงาม พวกเขากล้าเก็บผักพื้นบ้านมากินไม่ต้องเสียเงินซื้อผักจากตลาดอีก ผักกะสัง เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น

ผักกะสังมีรสเผ็ดหอม มีสรรพคุณทางหยาง (จัดแบ่งง่ายๆ ว่า หยินคือเย็น หยางคือร้อน) เรื่องรสยาเผ็ดหอมนี้ ยังพออธิบายได้อีกมุมมองหนึ่งว่า ผักกะสังกับพริกไทยนั้นเป็นพี่น้องกัน มีคนลองนำเอาผักกะสังมาขยายใหญ่ให้เท่าต้นพริกไทย มองใบสีเขียวใสๆ ให้เป็นสีเขียวเข้ม ก็จะเห็นหน้าตาผักกะสังเหมือนกับต้นพริกไทย นอกจากนี้ถ้าได้กินผักกะสังที่ยังมีเมล็ดเกาะกันเป็นช่อ คล้ายช่อเมล็ดพริกไทย ก็จะได้ลิ้มรสเผ็ดนิดๆ ซ่าน้อยๆ ที่ลิ้น ผักกะสังเป็นผักสมบูรณ์แบบชนิดหนึ่งทั้งรสชาติ รูปร่างหน้าตาโดยนำมากินสดๆ หรือลวกกินกับน้ำพริก กินเป็นสลัด หรือยำกินก็ได้ หรือนำมาจัดเป็นแจกันผักขนาดเล็กเป็นผักแกล้มบนโต๊ะกินข้าวก็น่าชมไม่น้อย ผักกะสังถือว่า

เป็นผักต้านมะเร็งชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า ผักกะสังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและมีวิตามินซีสูง เรียกได้ว่าวิตามินซีน้องๆ มะนาว คือมะนาว ๑๐๐ กรัม มีวิตามินซี ๒๐ มิลลิกรัม ส่วนผักกะสังมีอยู่ ๑๘ มิลลิกรัม รวมทั้งทางสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เคยวิเคราะห์หาธาตุอาหารในพืชผักต่างๆ พบว่าผักกะสัง ๑ ขีด หรือ ๑๐๐ กรัม มีเบต้าแคโรทีน ราว ๒๘๕ ไมโครกรัมเทียบหน่วยเรตินัล การที่ผักกะสังมีธาตุอาหารต้านมะเร็งอยู่สูงขนาดนี้ ผักกะสังจึงจัดว่าเป็นผักต้านมะเร็งชนิดหนึ่ง

“ยำผักกะสัง” โด่งดังขึ้นจากการที่หมู่บ้านดงบังต้องการให้คนเข้าไปชมวิถีการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ จึงได้พัฒนาตนเองเพื่อเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว ได้มีการค้นหาเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน สิ่งที่พวกเขาเชี่ยวชาญนอกจากการปลูกต้นไม้แล้ว แม่บ้านของชุมชนนี้ทำอาหารอร่อยมาก เช่น แกงบอน แกงปลาดุกใส่ไพลดำ ยำผักกะสังและตำรับอาหารอื่นๆ อีกมากมาย แต่เมื่อเปิดตลาดออกไปอาหารที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือยำผักกะสัง มีสื่อมวลชนมากมายไปชิมและนำสูตรมาเผยแพร่ ปัจจุบันสูตร “ยำผักกะสัง” ของหมู่บ้านดงบังเป็นที่รู้จักกันดี ไม่มีการจดสิทธิบัตร ใครจะเชื่อว่าผักกระสังเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ แต่ได้นำมาปลูกในประเทศที่มีอากาศร้อนทั่วๆ ไปรวมทั้งประเทศไทย แต่เราลืมมันไปจากกลไกผักตลาดที่ผลิตแบบเคมี ต้องขอบคุณชาวบ้านดงบังที่ทำให้ผักกระสัง กลับมาสู่สังคม

ผักกะสัง…รักษาโรคลักปิดลักเปิด
ในตำรายาไทยระบุไว้ว่าใบของผักกะสังใช้ในการรักษาโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งพอจะอธิบายได้ว่า ในผักกะสังมีวิตามินซีและสารอาหารสูง ซึ่งการรักษานั้นใช้ทั้งการกินและการบดต้นแปะบริเวณที่เลือดออกตามไรฟัน

ผักกะสัง…รักษา เริม ฝี มะเร็งเต้านม
หมอยาพื้นบ้านของไทยใช้ผักกะสังเป็นยาไม่มากนักส่วนใหญ่ใช้พอกฝีและสิวโดยใช้ต้นสดตำพอกฝี หรือใช้น้ำคั้นทาสิว ในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ใช้ทั้งต้นสดบดประคบฝี หรือตุ่มหนอง และโรคผิวหนังอื่นๆ เช่นกัน ซึ่งจากการศึกษาสมัยใหม่พบว่าผักกระสังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านแบคทีเรียหลายชนิด ทั้งยังมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งจะช่วยกำจัดเนื้อตายทำให้ฝีแตกได้ง่าย และสิวยุบเร็วขึ้น

“ผักกะสังรักษาเริมและมะเร็งเต้านม” ความรู้นี้ไม่ค่อยแพร่หลายนักแต่แมะ (มือลอ มะแซ) ที่บ้านกำปงบือแน ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลาบอกว่า ผักกะสังเป็นยารักษาเริม มะเร็งเต้านม และฝี ในการรักษาเริมนั้นจะนำต้นผักกะสังผสมกับขมิ้นและข้าวสาร (ฮูยงงูกุมาตอกูยิ) ตำให้ละเอียดแล้วพอกทิ้งไว้ ๑ คืน และนำใบมาตำขยำแปะทาเม็ดที่เป็นใต้ราวนม แก้มะเร็งเต้านม ข้อมูลที่ว่าผักกะสังใช้รักษามะเร็งนี้ไม่เคยรู้มาก่อนเลยและเป็นที่น่าทึ่งตรงที่ว่ามีรายงานการศึกษาพบว่า สารในผักกะสังมีฤทธิ์ต้านมะเร็งด้วย นอกเหนือไปจากการแก้อักเสบและแก้ปวด

ผักกะสัง…แก้อักเสบ ข้ออักเสบ เก๊าท์
หมอยาพื้นบ้านบางคนบอกว่ากินผักกะสังแก้ปวดข้อ ซึ่งในประเทศฟิลิปปินส์มีการกินผักกะสังสดๆ หรือนำมาต้มกิน เพื่อรักษาโรคเก๊าท์และข้ออักเสบ โดยนำผักกะสังต้นยาวสัก ๒๐ เซนติเมตร ต้มกับน้ำ ๒ แก้ว ให้เหลือประมาณ ๑ แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละ ครึ่งแก้ว เช้า-เย็น ปัจจุบันผักกะสังเป็นสมุนไพรตัวหนึ่งที่ฟิลิปปินส์กำลังศึกษาวิจัยเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคข้ออักเสบรวมทั้งโรคเก๊าท์จากการที่ผักกระสังสามารถลดปริมาณกรดยูริคในกระแสเลือด

ผักกะสัง…บำรุงผิว บำรุงผม
ผักกะสังยังเป็นสมุนไพรสำหรับผู้หญิงอีกชนิดหนึ่งนอกจากใช้รักษาสิวแล้ว สาวๆ สมัยก่อนยังใช้น้ำต้มผักกะสังล้างหน้าบ่อยๆ จะทำให้ผิวหน้าสดใส และนอกจากนี้ คุณสารีป๊ะ อาแวกือจิ ที่บ้านกำปงบือแน ตำบลจะกวั๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา บอกว่าผักกะสังเป็นยาสระผมทำให้ผมนุ่มโดยนำใบขยำกับน้ำชโลมศีรษะให้ศีรษะเย็น ป้องกันผมร่วง ทำให้ผมนุ่ม ซึ่งอธิบายได้ว่าผักกะสังมีธาตุอาหาร มีความเป็นกรดอ่อนๆ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย

ข้อควรระวัง
ในผู้ที่แพ้พืชที่มีกลิ่นฉุนประเภท mustard (พืชที่เป็นเครื่องเทศทั้งหลาย) ไม่ควรรับประทาน

สูตรยำผักกะสัง

  • ผักกระสังหั่นชิ้นพอประมาณ ๑-๒ ทัพพี
  • น้ำมะนาว ๑-๒ ช้อนโต๊ะ
  • กุ้งแห้ง ๑-๒ ช้อนโต๊ะ
  • พริกขี้หนูแห้งทอดพอประมาณ
  • มะม่วงซอย ๑-๒ ช้อนโต๊ะ
  • หัวหอมซอยพอประมาณ
  • แครอทซอยฝอยๆ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ
  • ถั่วลิสงคั่วพอประมาณ
  • ขิงซอย ๑-๒ ช้อนโต๊ะ
  • หมูหยอง พอประมาณ
  • โหระพา สะระแหน่ ไว้แต่งกลิ่นนิดหน่อย
  • น้ำปลา ๑-๒ ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย ๑-๒ ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

รวมเครื่องปรุงทุกอย่างเข้าด้วยกัน ปรุงรสตามใจชอบ พร้อมตักเสิร์ฟได้เลย

ในยุคน้ำมันแพง แต่ไม่แล้งปัญญา หากเข้าใจธรรมชาติ นำผักกะสังที่ขึ้นได้ทั่วไป และมีสรรพคุณทางยามากมาย นำมาเป็นอาหารสุขภาพรสเด็ด ประหยัดทั้งเงิน ยังเสริมสร้างสุขภาพอีกด้วย ผักกะสังเป็นสมุนไพรที่มีประวัติการใช้เป็นยามากมาย ในโบลิเวียมีบันทึกที่มีอายุนับพันปีชื่อ Altenos Indians document กล่าวไว้ว่า ผักกะสังทั้งต้นบดผสมน้ำใช้กินเพื่อห้ามเลือด ใช้ส่วนรากต้มกินรักษาไข้ ใช้ส่วนเหนือดินโปะแผล นอกจากนี้ ในประเทศอื่นๆ ที่มีผักกะสังขึ้นอยู่จะใช้ผักกะสังในการรักษาอาการปวดท้องทั้งแบบธรรมดาและปวดเกร็ง ฝี สิว แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก อ่อนเพลีย ปวดหัว ระบบประสาทแปรปรวน หัด อีสุกอีใส มีแก๊สในกระเพาะ ปวดข้อรูมาติก และยังมีการใช้เฉพาะบางท้องถิ่นเช่น ในบราซิลใช้ในการลดคอเลสเตอรอล ในกียานา (Guyana) ใช้ในการขับปัสสาวะ ลดไข่ขาวในปัสสาวะ ในแถบอเมซอนใช้ขับปัสสาวะ หล่อลื่น หัวใจเต้นผิดปกติ ส่วนในมาเลเซียเชื่อว่าการรับประทานผักกะสังจะช่วยรักษาโรคตาและต้อ (glaucoma) ปัจจุบันมีสารสกัดจากผักกะสังจำหน่ายในต่างประเทศ

ที่มา : เพจมิตรสหายท่านหนึ่งในเฟซบุ๊ค และ thrai.sci.ku.ac.th