Tag Archives: ยาไทย

เห็ดหลินจือ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเห็ดหลินจือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ganoderma Lucudum
ชื่ออังกฤษ : Reishi,Ling Zhi
ชื่อท้องถิ่น : เห็ดหลินจือ,เห็ดหมื่นปี หรือ เห็ดหิมะ

ตามประวัติเห็ดหลินจือเป็นยาจีน (Chinese traditional medicine) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนมีคนนับถือมากที่สุดได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็น “เทพเจ้าแห่งชีวิต” (Spiritual essence) มีพลังมหัศจรรย์บำรุงร่างกายใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และยังสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ชาวจีนโบราณต่างยกย่องเห็ดหลินจืออย่างเหนือชั้นว่าดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน นอกจากจะมีสรรพคุณเหนือชั้นกว่าแล้วยังปลอดภัยไม่มีพิษใด ๆ ต่อร่างกาย

เห็ดหลินจือธรรมชาติสายพันธุ์ Ganoderma lucidum เกาะอยู่บนต้นไม้ปกคลุมด้วยมอสสีเขียว อาศัยอยู่ท่ามกลางบรรยากาศกลางป่าเย็นชุ่มฉ่ำ ชวนให้เพลิดเพลินเป็นสุขใจแก่ผู้พบเห็น มีลักษณะดอกคล้ายใบพัด มีก้านดั่งไม้เท้าชูดอกงามสง่า มีลวดลายงดงามเหมือนลายโบราณที่เรียกว่า“หยู่อี้” มีความหมายในทำนองสมใจปรารถนาชาวจีนโบราณต่างยกย่องให้เห็ดหลินจือเป็น เห็ดสิริมงคล เป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตและโชคลาภ ดังจะเห็นได้จากบรรดารูปปั้นกังใสหรือรูปเทพเจ้า “ฮก ลก ซิ่ว” ที่มีความหมายถึง ความเป็นสิริมงคลทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่ามีเทพเจ้าบางองค์ถือดอกเห็ดหลินจืออยู่ในมือ อุปมา ดั่งคุณธรรมอันสูงส่งแก่ผู้มีไว้ครอบครอง

เห็ดหลินจือ มีสารอาหารที่จะเจ้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้ทำหน้าที่เป็นปกติ สามารถต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ต้านการจับตัวของบิ่มเบิอด ลดน้ำตาลในเลือด ฯลฯ หลายท่านบอกว่าเป็นยาอายุวัฒนะ คือเป็นยาที่รับประทานให้ชีวิตยืนยาวและสุขภาพดี Continue reading

ตำรับยากวนมะกรูด กินแก้ปวดเมื่อย แขน ขา ชา ไม่มีแรงอ่อนเพลีย หนาวง่าย

20

สรรพคุณ :
แก้ลม มือเท้าชา แก้กษัย แก้ปวดสรรพางค์กาย ช่วยขับลม ผายลมอ

สูตร :
ลูกมะกรูด 33 ลูก นำไปต้มสุก พริกไทย เกลือ แห้วหมู บอระเพ็ด อย่างละ 1 ถ้วยชา บดละเอียดจากนั้นนำไปกวนผสมมะกรูด กวนจนเข้ากันแห้งดี ปั้นได้ ทำเป็นลูกกลอน

วิธีรับประทาน :
ครั้งละ 2-3 เม็ด ลูกกลอน ก่อนอาหาร เช้า เย็น

ขอบคุณที่มา :
https://www.facebook.com/abhaiherb/photos/a.136960229702392.26552.136694259728989/1118271478237924/?type=3
http://www.rak-sukapap.com/2016/07/7-11.html

ยาหอม

วันนี้มีอาการเกี่ยวกับลมเลยได้ถึงคราวหยิบจับยาหอมมาทาน เลยทำให้นึกสนใจลองหาข้อมูลเรื่องยาหอมมาเก็บรวบรวมไว้ ขอรวบรวมไว้ ณ เท่าที่หาได้ในขณะนี้ค่ะ เครดิตของแต่ละแหล่งข้อมูลอยู่ท้ายของแต่ละบทความเลยค่ะ


262018_229970100365259_100000568111797_921644_6049295_n

women.thaiza.com

ยาหอมไทยแต่ดั้งเดิมมา

ยาหอม แสดงว่ายานั้นต้องหอม โบราณตรงไปตรงมาแบบนี้เสมอ แล้วยานั้นหอมได้อย่างไร หอมแบบไหน

ทำอย่างไร และใช้อย่างไร

ตำรับยาต้องประกอบด้วยสมุนไพรสองชนิดขึ้นไปเสมอ ยาหอมจึงเป็นยาไทยที่ปรุงจากของหอมหลากหลาย ชนิดมาจากพืชบ้างสัตว์บ้างและแร่ธาตุต่างๆบ้าง มาทั้งจากต่างประเทศ เรียกเครื่องหอมเทศ และมาจากถิ่นที่ของตนในที่นี้ขอเรียก เครื่องหอมไทย นำมาผสมผสานกัน ได้เครื่องหอมเป็นยา ซึ่งความหอมที่ได้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของสรรพคุณรักษาด้วย หมอไทยจึงทำยานั้นให้หอม เป็นการรักษาทางกลิ่นสัมผัส ในแผนไทยเรากำหนดสรรพคุณของสมุนไพรด้วยรสของสมุนไพรนั้น โดยแบ่งเป็น รส จะขอกล่าวเพียง รส คือ รสหอมร้อน และ รสหอมเย็น

เมื่อนำมาทำเป็นยาหอมจะได้ยาหอม รส คือ ยาหอม ออกทางร้อน และยาหอมที่ไม่ร้อนไม่เย็น เรียก ยาหอม ออกทางสุขุม ใช้รักษาอาการทางลมที่แตกต่างกันเป็น กอง คือกองลมในไส้,นอกไส้ ใช้ยาหอม ออกทางร้อน และกองลมตีขึ้นเบื้องบน ใช้ยาหอม ออกทางสุขุม แต่ถ้าจะกล่าวโดยละเอียด ยาหอมสุขุม ยังแบ่งออกเป็น ยาหอมสุขุมร้อน และยาหอมสุขุมเย็นอีก ที่หมอไทยแบ่งออกโดยละเอียดด้วยเหตุที่ลมร้อนนั้นร้อนต่างกัน ลมจึงไปก่ออาการได้หลายตำแหน่งในร่างกาย ตามธรรมชาติของความร้อนไอร้อนที่ลอยขึ้นบนเสมอ Continue reading

สูงวัยอย่างมีคุณภาพด้วย “สมุนไพร” ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร “เราอยากกระตุ้นให้ประชาชนขบถ”

สิ่งที่เรียกว่า “สังคมผู้สูงวัย” ดูเหมือนประเทศไทยไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้พ้น

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมรับมือแต่เนิ่นๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง

เช่นที่ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ผนึกกำลังกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ-เอกชน จัดงานด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อ “เฮลท์แคร์ 2016” ภายใต้ธีม “สร้างสุขผู้สูงวัย” นับเป็นงานมหกรรมสุขภาพเพื่อผู้สูงวัยครั้งแรกของไทย

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร คือหนึ่งในหน่วยงานด้านสุขภาพที่มีบทบาทเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องการแพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพรมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ด้วยความมุ่งหวังที่จะทำให้ภูมิปัญญาในการใช้สมุนไพรของประเทศไทยได้รับการสืบสาน ส่งต่อ ให้พืชสมุนไพรกลับมาเป็นที่แพร่หลายเหมือนดังแต่ก่อน

และผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในเรื่องนี้เห็นจะเป็นใครอื่นไปไม่ได้ ! Continue reading

ยาไทยรักษาเริม

สมัยตอนเป็นเด็กวัด ที่วัดท่าเรือแกลง
เป็นเริมขึ้นเอว หลวงตาบอกว่า ไอ้หนู
มึงไปหาลูกกล้วยอ่อนมาทา หายครับ
แล้วก็บอกต่อผู้คนมาตลอด หายทุกราย
บางรายรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนชื่อดัง
ในระยองไม่หายก็มาหายกับผมจะใช้
กล้วยน้ำหว้าที่อ่อนอ่อนนะครับ
หลักการ
เคยปรึกษา นพ.ฉลอง ควรหา ว่า
ทำไมมันจึงได้ผล ท่านบอกว่า
เชื่อไวรัส มันตายเอง ยางกล้วยมัน
ไปช่วยยึดไม่ให้เชื้อกระจาย เมื่อมัน
กระจายไม่ได้ มันก็ตาย
บอกไว้เป็นวิทยาทาน เขื่อไม่เชื่อไม่เป็นไร
(ทาวันละครั้ง จนหายนะครับ)

13241134_577627392407071_663249706003968129_n

ที่มา : มนตรี สังข์สุวรรณ, FB นพดล อุ่นตา

เนื้อหาตำรายาไทยโบราณ

โหลดมาเก็บไว้เลยเอามาแปะ

Click to access %E0%B8%9B%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D.pdf

Click to access %E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93.pdf

 

🙂

ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ๒๘ ขนาน

แต่เดิมยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณมีอยู่ ๑๖ ขนาน เมื่อปลายปี ๒๕๓๗ ได้มีประการยกเลิกยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณเดิมทั้ง ๑๖ ขนาน แล้วกำหนดขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณเดิมอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง และกำหนดขึ้นมาใหม่เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งสิ้น ๒๘ ขนาน
ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณที่กำหนดขึ้นมาใหม่นี้ เป็นยาบรรจุเสร็จการจำหน่ายโดยทั่วไปจะจำหน่ายได้เฉพาะยาที่บรรจุเสร็จตามรายระเอียดและขนาดบรรจุที่กำหนดไว้เท่านั้น

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่ ๒

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๖(๕) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการยา จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑. ให้ยกเลิกประกาศยาแผนโบราณที่เป็นยาสามันประจำบ้านตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ระบุยาสามัญประจำบ้าน ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๑๑

ข้อ ๒. ให้ยาแผนโบราณซึ่งมีชื่อ ปริมาณของวัตถุส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน คำเตือนและขนาดบรรจุ ต่อไปนี้ เป็นยาสามัญประจำบ้าน

๑. ยาหอมเทพจิตร

วัตถุส่วนประกอบ

  • ลูกจันทน์ ดอกจันทร์ ลูกกระวาน กานพลู จันทร์แดง จันทน์ขาว กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะลูด อบเชย เปราะหอม แฝกหอม หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
  • ผิวมะกรูด ผิวมะงั่ว ผิวมะนาว ผิวส้มตะรังกะนู ผิวส้มจีน ผิวส้มโอ ผิวส้มเขียวหวาน หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • ผิวส้มซ่า หนัก ๒๘ ส่วน ดอกพิกุลทอง ดอกบุญนาค ดอกสารภี เกสรบัวหลวง ดอกบัวขม ดอกบัวเผื่อน หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • ชะมดเช็ด การบูร หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • โกศสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐจุฬาลัมพา โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาว-ภาณี เทียนสัตตบุตย์ เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • พิมเสน หนัก ๔ ส่วน ดอกมะลิหนัก ๑๘๔ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง ผสมน้ำดอกไม้เทศ ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
สรรพคุณ แก้ลม บำรุงหัวใจ
ขนาดรับประทาน ครั้งละ ๕-๗ เม็ด
ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

๒. ยาหอมทิพโอสถ

วัตถุส่วนประกอบ

  • ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกมะลิ เกสรบัวหลวง ดอกกระดังงา ดอกบัวจงกลนี หัวแห้วไทย กระจับ ฝาง จันทน์ขาว จันทร์เทศ กฤษณา ชะลูด อบเชย สมุลแว้ง สนเทศ วานน้ำ กระชาย เปราะหอม ดอกคำไทย ชะเอมเทศ สุรามฤต ข่าต้น ลูกจันทน์ หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสีหนักสิ่งละ ๒ ส่วน
  • เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ การบูร หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • ชะมดเช็ดพิมเสน หนักสิ่งละ ๒ ส่วน

วิธีทำ ชนิดผง บดเป็นผง ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน ละลายน้ำดอกไม้ หรือน้ำสุก
ขนาดรับประทาน ชนิดผง ครั้งละ ๑/๒-๑ ช้อนกาแฟ ชนิดเม็ด ครั้งละ ๕-๗ เม็ด
ขนาดบรรจุ ชนิดผง ๑๕ กรัม ชนิดเม็ด ๓๐ เม็ด

๓. ยามหานิลแท่งทอง

วัตถุส่วนประกอบ

  • เนื้อในเม็ดสะบ้ามอญสุม กระดูกกาสุม กระดูกงูเหลือมสุม หวายตะค้าสุม เม็ดมะกอกสุม ลูกมะคำดีควายสุม ถ่านไม้สัก จันทร์แดง จันทร์เทศ ใบพิมเสน ใบหญ้านาง หมึกหอม หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • เบี้ยจั่น คั่วให้เหลือง ๓ เบี้ย

วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด ปิดทองคำเปลว หนักเม็ดละ ๐.๕ กรัม
สรรพคุณ แก้ไข้ แก้หระกายน้ำ แก้หัด อีสุก อีใส
ขนาดรับประทาน รับประทานครั้งละ ๒ ครั้ง ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๓-๔ เม็ด เด็ก ครั้งละ ๑-๒ เม็ด
ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

๔.ยาเขียวหอม

วัตถุส่วนประกอบ

  • ใบพิมเสน ใบผักกระโฉม ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย ใบสันพร้าหอม รากแฝกหอม จันทร์เทศ จันทน์แดง ว่านกลีบแรด ว่านร่อนทอง เนระพูสี พิษนาศน์ รากไคร้เครือ ดอกพิกุล เกสรบุนนาค เกสรสารภี เกสรัวหลวง หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • ระย่อม หนัก ๑/๔ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ ละลายน้ำสุก หรือน้ำดอกมะลิแก้พิษหัด พิษสุกใส ละลายน้ำรากผักชีต้มทั้งรับประทานและชโลม
ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๔–๖ครั้ง ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ เด็ก ครั้งละ ๑-๒ ช้อนกาแฟ
ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

๕.ยาประสะกะเพรา

วัตถุส่วนประกอบ

  • พริกไทย ขิง ดีปลี กระเทียม น้ำประสานทองสะตุ หนักสิ่งละ ๒ ส่วน ชะเอมเทศ หกากิงคุ์ หนักสิ่งละ ๘ ส่วน
  • เกลือสินเธาว์ หนัก ๑ ส่วน
  • ผิวมะกรูด หนัก ๒๐ ส่วน ใบกะเพรา หนัก ๔๗ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๑ กรัม
สรรพคุณ แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ละลายนำสุก หรือน้ำใบกะเพราต้มแก้ท้องแน่น จุกเสียด ใช้ไพลเผาไฟพอสุก ฝนแทรก
ขนาดรับประทาน รับประทาน เช้า เย็น เด็กอายุ ๑-๓ เดือน ครั้งละ ๔-๖ เม็ด
ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

๖. ยาเหลืองปิดสมุทร

วัตถุส่วนประกอบ

  • แห้วหมู ขมิ้นอ้อย เปลือกเพกา รากกล้วยตีบ กระเทียมคั่ว ดีปลี ชันย้อย ครั่ง สีเสียดเทศ สีเสียดไทย ใบเทียน ใบทับทิม หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • ขมิ้นชัน หนัก ๖ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๑ กรัม
สรรพคุณ แก้ท้องเสีย ใช้น้ำเปลือกลูกทับทิม หรือเปลือกแคต้มกับน้ำปูนใส เป็นกระสาย ถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน
ขนาดรับประทาน รับประทาน วันละ ๓ เวลา ก่อนอาการ เด็กอายุ ๓-๕ เดือน ครั้งละ ๒ เม็ด เด็กอายุ ๖–๑๒ เดือน ครั้งละ ๓-๔ เม็ด เด็กโต ครั้งละ ๕-๗ เม็ด
นาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

๗. ยาอำมฤควาที

วัตถุส่วนประกอบ

  • รากไคร้เครือ โกฐพุงปลา เทียนขาว ลูกผักชีลา เนื้อลูกมะขามป้อม เนื้อลูกมะขามป้อมเนื้อลูกสมอพิเภก หนักสิ่งละ ๗ ส่วน น้ำประสานทองสะตุ หนัก ๑ ส่วน
  • ชะเอมเทศ หนัก ๔๓ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้ไอ ขับเสมหะ ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือ ใช้จิบหรือกวาดคอ
ขนาดรับประทาน ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ เด็กลดลงตามคอ
ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

๘. ยาประสะมะแว้ง

วัตถุส่วนประกอบ

  • สารส้ม หนัก ๑ ส่วน
  • ขมิ้นอ้อย หนัก ๓ ส่วน
  • ใบสวาด ใบตานหม่อน ใบกะเพรา หนักสิ่งละ ๘ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง ผสมน้ำสุกแทรกพิมเสนพอควร ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
สรรพคุณ แก้ไอ แก้เสมหะ ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือ รับประทานหรือใช้อม
ขนาดรับประทาน เด็ก ครั้งละ ๑-๒ เม็ด
ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

๙. ยาจันทน์ลีลา

วัตถุส่วนประกอบ

  • โกฐสอ โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา จันทร์เทศ จันทร์แดง ลูกกระดอม บอระเพ็ด รากปลาไหลเผือก หนักสิ่งละ ๔ ส่วน

วิธีทำ ชนิดผง บดเป็นผง ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเป็นเม็ดหนักเม็ดละ ๐.๕ กรัม
สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน
ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๔ ชั่วโมง ชนิดผง เด็ก ครั้งละ ๑/๒-๑ ช้อนกาแฟ ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑-๒ ช้อนกาแฟ ชนิดเม็ด เด็ก ครั้งละ ๑-๒ เม็ด ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๓-๔ เม็ด
ขนาดบรรจุ ชนิดผง ๑๕ กรัม ชนิดเม็ด ๓๐ เม็ด

๑๐. ยาตรีหอม

วัตถุส่วนประกอบ

  • เนื้อลูกสมอเทศ เนื้อลูกสมอพิเภก เนื้อลูกมะขามป้อม ลูกผักชีลา หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • รากไคร้เครือ โกศสอ ชะเอมเทศ น้ำประสานทองสะตุ ลูกซัดคั่ว หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • เนื้อลูกสมอไทย โกฐน้ำเต้าใหญ่นึ่งสุก หนักสิ่งละ ๒๒ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
สรรพคุณ แก้เด็กท้องผูก ระบายพิษไข้
ขนาดรับประทาน รับประทานก่อนอาหารเช้า เด็กอายุ ๑-๒ เดือน ครั้งละ ๒-๓ เม็ดเด็กอายุ ๓-๕ เดือนครั้งละ ๔-๕ เม็ด เด็กอายุ ๖–๑๒ เดือน ครั้งละ ๖-๘ เม็ด

๑๑.ยาประสะจันทน์แดง

วัตถุส่วนประกอบ

  • รากเหมือนคน รากมะปรางหวาน รากมะนาว เปราะหอม โกฐหัวบัว จันทร์เทศ ฝางเสน หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • เกสรบัวหลวง ดอกบุนาค ดอกสารภี ดอกมะลิ หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • จันทน์แดง ๓๒ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้ไข้ตัวร้อน กระหายน้ำ ละลายน้ำสุกหรือน้ำดอกมะลิ
ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๓ ชั่วโมง ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ เด็ก ครั้งละ ๑/๒ ช้อนกาแฟขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

๑๒. ยาหอมอินทจักร์

วัตถุส่วนประกอบ

  • สะค้าน รากช้าพลู ขิง ดีปลี รากเจตมูลเพลิงแดง ลูกผักชีลา โกฐสอ โกฐเขมา โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐจุฬาลัมพา โกฐเชียง โกฐกักกรา โกฐน้ำเต้า โกฐกระดูก เทียนดำ เทียนขาว เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนเยาวพาณี จันทน์แดง จันทร์เทศ เถามวกขาว รากหญ้านาง เปลือกสมุลแว้ง กฤษณา กระลำพัก บอระเพ็ด ลูกกระดอม กำยาน ขอนดอก ชะมดเช็ด ลูกจันทน์ ดอกจันทร์ ลูกกระวาน การพลู รากไคร้เครือ ลำพันแดง ดอกสารภี ดอกพิกุล ดอกบนนาค ดอกจำปา ดอกกระดังงา ดอกมะลิ ดอกคำไทย ฝางเสน ดีงูเห่า ดีหมูป่า ดีวัว พิมเสน สิ่งละ ๑ ส่วน

วิธีทำ ชนิดผง บดเป็นผง ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
สรรพคุณ แก้ลมบาดทะจิต ใช้นำดอกมะลิ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้น้ำลูกผักชี เทียนดำต้ม ถ้าไม่มีใช้น้ำสุก แก้ลมจุกเสียด ใช้น้ำขิงต้ม
ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๓ ชั่วโมง ชนิดผง ครั้งละ ๑/๒-๑ ช้อนกาแฟ ชนิดเม็ด ครั้งละ ๕–๑๐ เม็ด
ขนาดบรรจุ ชนิดผง ๑๕ กรัม ชนิดเม็ด ๓๐ เม็ด

๑๓.ยาประสะไพล

วัตถุส่วนประกอบ

  • ผิวมะกรูด ว่านน้ำ กระเทียม หัวหอม พริกไทย ดีปลี ขิง ขมิ้นออ้ย เทียนดำ เกลือสินเธาว์ หนักสิ่งละ ๘ ส่วน
  • การบูร หนัก ๑ ส่วน
  • ไพล หนัก ๘๑ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้จุกเสียด แก้ระดูไม่ปกติ ขับน้ำคาวปลา
ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก หรือน้ำสุรา
ขนาดบรรจุ ๓๐ กรัม

๑๔.ยาหอมนวโกฐ

วัตถุส่วนประกอบ

  • ขิงแห้ง ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ช้าพลู หนักสิ่งละ ๓ ส่วน
  • แห้วหมู โกฐเชียง โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี เทียนดำ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนเนาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ สักขี ลูกราชดัด ลูกสารพัดพิษ ลูกกระวาน การพลู ดอกจันทน์ ลูกเทศ จันทน์แดง อบเชยญวน เปลือกสมุลแว้ง หญ้าตีนนก แฝกหอม เปลือกชะลูด เปราะหอม รากไคร้เครือ เนื้อไม้ ขอนดอก กระลำพัก เนื้อลูกมะขามป้อม เนื้อลูกสมอพิเภก ชะเอมเทศ ลูกผักชีลา ลูกกระดอม บอระเพ็ด เกสรบัวหลวง เกสรบุนนาค ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกมะลิ แก่นสน หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • น้ำประสานทองสะตุ หนัก ๒ ส่วน
  • ชะมดเช็ด พิมเสน หนักสิ่งละ ๑ ส่วน

วิธีทำ ชนิดผง บดเป็นผง ชนิดเม็ด หนักเม็ดละ ๐๒ กรัม
สรรพคุณ แก้ลมคลื่นเหียน อาเจียน ใช้น้ำลูกผักชี เทียนดำ ต้มแก้ลมปลายไข้ ใช้น้ำสุกแทน
ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๓ ชั่วโมง ชนิดผง ครั้งละ ๑/๒-๑ ช้อนกาแฟ ชนิดเม็ด ครั้งละ ๕–๑๐ กรัม
ขนาดบรรจุ ชนิดผง ๑๕ กรัม ชนิดเม็ด ๓๐ เม็ด

๑๕. ยาวิสัมพยาใหญ่

วัตถุส่วนประกอบ

  • ลูกผีกชีลา ลูกจันทร์ ดอกจันทร์ หนักสิ่งละ ๘ ส่วน
  • กระวาน กานพลู โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา อบเชย สมุลแว้ง สมอเทศ สมอไทย รากไคร้เครือ ว่านน้ำ บอระเพ็ด ขิงแห้ง พญารากขาว หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
  • ดีปลี หนัก ๕๖ ส่วน
  • น้ำประสานทองสะตุ หนัก ๑ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ จุกเสียด
ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๔ ชั่วโมง ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ใช้น้ำสุกเป็นกระสาย หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน
ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

๑๖. ยาธาตุบรรจบ

วัตถุส่วนประกอบ

  • ขิง โกฐเขมา โกฐพุงปลา โกฐเชียง โกฐสอ เทียนดำ เทียนขาว เทียนสัตตบุษย์ เทียนยาวพาณี
  • เทียนแดง ลูกจันทร์ กานพลู การบูร เปลือกสมุนแว้ง ลูกกระวาน ลูกผักชีลา ใบพิมเสน รากไคร้เครือ ดีปลี เปราะหอม หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • โกฐก้านพร้าว หนัก ๘ ส่วน
  • เนื้อลูกสมอไทย หนัก ๑๖ ส่วน
  • น้ำประสานทองสะตุ หนัก ๑ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้ธาตุไม่ปกติ ท้องเสีย ใช้เปลือกแค หรือเปลือกสะเดา หรือเปลือกลูกทับทิมต้มกับน้ำปูนใสแก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ใช้กระเทียม 3 กลีบ ทุบชงน้ำร้อน
หรือใช้ใบกระเพราต้ม เป็นกระสาย ถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ให้ใช้น้ำสุกแทน
ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๓ เวลา ก่อนอาหาร ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ เด็ก ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ
ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

๑๗. ยาประสานกานพลู

วัตถุส่วนประกอบ

  • เทียนดำ เทียนขาว โกฐสอ โกฐกระดูก กำมะถันเหลือง การบูร รากไคร้เครือ เปลือกเพกา เปลือกขี้อ้าย ใบกระวาน ลูกผักชีลา แฝกหอม ว่านน้ำ หัวกระชาย เปราะหอม รากแจง กรุงเขมา หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • รากข้าวสาร เนื้อไม้ ลูกจันทร์ ขมิ้นชัน หนักสิ่งละ ๘ ส่วน ขิงแห้ง ดีปลี หนักสิ่งละ ๓ ส่วน
  • น้ำประสานทองสตุ ไพร เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ช้าพลู หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
  • เปลือกซิก หนัก ๑๐ ส่วน
  • พริกไทย หนัก ๑ ส่วน
  • กานพลู หนัก ๑๓๑ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้ปวดท้อง เนื่องจากธาตุไม่ปกติ ใช้ไพลเผาไฟฝนกับน้ำปูนใส หรือใช้น้ำสุกแทน
ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๓ ชั่วโมง ผู้ใหญ่ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ
ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

๑๘. ยาแสงหมึก

วัตถุส่วนประกอบ

  • หมึกหอม จันทร์ชะมด ลูกกระวาน จันทร์เทศ ใบพิมเสน ลูกจันทร์ กานพลู ใบสันพร้าหอม หัวหอม ใบกระเพรา ดีงูเหลือม หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • ชะมด พิมเสน หนักสิ่งละ ๑ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
สรรพคุณ แก้ตัวร้อน ละลายน้ำดอกไม้เทศ แก้ท้องขึ้น ปวดท้อง ละลายน้ำใบกระเพราต้ม แก้ไอ ขับเสมหะ ลาลายน้ำลูก มะแว้งเครือ หรือลูกมะแว้งต้น กวาดคอแก้ปากเป็นแผล แก้ละออง ละลายน้ำลูกเบญกานี ฝนทาปาก
ขนาดรับประทาน ใช้กวาดคอวันละ ๑ ครั้ง หลังจากนั้นรับประทานทุก ๓ ชั่วโมง เด็กอายุ ๑-๖ เดือน ครั้งละ ๒ เม็ด เด็กอายุ ๗-๑๒ เดือน ครั้งละ ๓ เม็ด
ขนาดบรรจุ ๑๒ เม็ด

๑๙. ยามันทธาตุ

วัตถุส่วนประกอบ

  • โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา เทียนดำเทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน รากไคร้เครือ ลูกผักชีล้อม ลูกผักชีลา การบูร กระเทียม เปลือกสมุลแว้ง เปลือกโมกมัน จันทร์แดง จันทร์เทศ กานพลู ดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิงแดง พริกไทยล่อน ลูกจันทร์ หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • ขิง ลูกเบญกานี หนักสิ่งละ ๓ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้ธาตุไม่ปกติ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ
ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ผู้ใหญ่ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลาน้ำสุก เด็กครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก
ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

๒๐. ยาไฟประลัยกัลป์

วัตถุส่วนประกอบ

  • พริกไทยล่อน ขิง ดีปลี กระเทียม หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • ขมิ้นอ้อย กะทือ ข่า ไพล เปลือกมะรุม หนักสิ่งละ ๕ ส่วน
  • รากเจตมูลเพลิงแดง สารส้ม แก่นเเสมทะเล การบูร ผิวมะกรูด หนักสิ่งละ ๖ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ ขับน้ำคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่
ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก หรือน้ำสุรา
ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

๒๑. ยาไฟห้ากอง

วัตถุส่วนประกอบ

  • รากเจตมูลเพลิงแดง ขิง พริกไทยล่อน สารส้ม ฝักส้มป่อย หนักสิ่งละ ๑ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ ขับน้ำคาวปลาในเรือนไฟ
ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก หรือน้ำสุรา
ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

๒๒.ยาประสะเจตพังคี

วัตถุส่วนประกอบ

  • ดอกจันทร์ ลูกจันทร์ ลูกกระวาน ใบกระวาน กานพลู กรุงเขมา รากไคร้เครือ การบูร ลูกสะมอทะเล พญารากขาว เปลือกหว้า เกลือสินเธาว์ หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • พริกไทยล่อน บอระเพ็ด หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
  • ข่า หนัก ๑๖ ส่วน
  • ระย่อม หนัก ๒ ส่วน
  • เจตพังคี หนัก ๓๔ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้กระษัยจุกเสียด
ขนาดรับประทาน รับประทาน เช้าและเย็น ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก
นาดบรรจุ ๑๕ กรัม

๒๓. ยาธรณีสันฑะฆาต

วัตถุส่วนประกอบ

  • ลูกจันทร์ ดอกจันทร์ ลูกกระวาน กานพลู เทียนดำ เทียนขาว หัวดองดึง หัวบุก หัวกลอย หัวกระดาดขาว หัวกระดาดแดง ลูกเร่ว ขิง ชะเอมเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง โกบกระดูก โกฐเขมา โกฐน้ำเต้า หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • ผักแพวแดง เนื้อลูกมะขามป้อม หนักสิ่งละ ๒ ส่วน เนื้อลูกสมอไทย มหาหิงคุ์ การบูร หนักสิ่งละ ๖ ส่วน
  • รงทอง (ประสะแล้ว) หนัก ๔ ส่วน
  • ยาดำ หนัก ๒๐ ส่วน
  • พริกไทยล่อน หนัก ๙๖ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้กระษัยเส้น เถาดาน ท้องผูก
ขนาดรับประทาน รับประทาน วันละ ๑ ครั้ง ก่อนอาหารเช้า หรือก่อนนอน ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ลาลายน้ำสุก หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน
คำเตือน คนเป็นไข้ หรือ สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

๒๔. ยาบำรุงโลหิต

วัตถุส่วนประกอบ

  • ขิงแห้ง ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ช้าพลู ขมิ้นเครือ เถามวกแดง กำลังวัวเถลิง ดอกสารถี ดอกพิกุล ดอกบุนนาค เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
  • ดอกจันทร์ ลูกจันทร์ ลูกกระวาน กานพลู เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา เนื้อลูกสมอไทย เนื้อลูกสมอดีงู เนื้อลูกสมอพิเภก เปลือกชะลูด เปลือกอบเชยเทศ จันทร์แดง แก่นแสมสาร แก่นแสมทะเล กฤษณา หนักสิ่งละ ๑ ส่วนครึ่ง หนัก ๘ ส่วน
  • ฝาง ดอกคำไทย หนักสิ่งละ ๑๐ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ บำรุงโลหิต
ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ
ขนาดบรรจุ ๓๐ กรัม

๒๕. ยาประสะเปราะใหญ่

วัตถุส่วนประกอบ

  • โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน ลูกจันทร์ ดอกจันทร์ ลูกกระวาน กานพลู จันทร์เทศ จันทร์แดง ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกพิกุล เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • เปราะหอม หนัก ๒๐ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ ถอนผิดไข้ตานทรางสำหรับเด็ก ละลายน้ำดอกไม้เทศ หรือ น้ำสุกรับประทานหรือผสมน้ำสุราสุมกระหม่อม
ขนาดรับประทาน รับประทานทุกสามชั่วโมง ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ
ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

๒๖. ยามหาจักรใหญ่

วัตถุส่วนประกอบ

  • โกฐสอ โกฐเสมา โกฐพุงปลา โกฐก้านพร้าว โกฐกระดูก เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนขาวเปลือกเทียนเยาวพาณี สมอไทย (เอาแต่เนื้อ) ลูกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู ชะเอมเทศ เมล็ดโหรพา ลูกผักชีลา สารส้ม ดินประสิว ขมิ้นอ้อย หัวกระเทียม หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • ยาดำสะตุ หนัก ๔ ส่วน
  • ใบกระพังโหม หนัก ๓๐ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๕ กรัม
สรรรพคุณ แก้ลมทราง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
ขนาดรับประทาน เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ขวบ รับประทานครั้งละ ๑-๓ เม็ด เพิ่มและลดได้ตามส่วน รับประทานกับน้ำสุก ก่อนอาหาร เช้า-เย็น
ขนาดบรรจุ ๑๐ เม็ด

๒๗. ยาเนาวหอย

วัตถุส่วนประกอบ

  • กระดูกเสือเผา กระดูกโคเผา กระดูกแพะเผา กระดูกงูเหลือมเผา หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • เปลือกหอยขมเผา เปลือกหอยแครงเผา เปลือกหอยตาวัวเผา เปลือกหอยพิมพการังเผา เปลือกหอยจุ๊แจงเผา เปลือกหอยมุกเผา เปลือกหอยสังข์เผา หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
  • รากทนดี (ตองแตก) หนัก ๓ ส่วน
  • รากเจตมูลเพลิงแดง หัสคุณเทศ หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
  • พริกไทยล่อน หนัก ๓๒ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้กระษัยจุกเสียด
ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน
ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

๒๘. ยาถ่าย

วัตถุส่วนประกอบ

  • ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไทร ใบไผ่ป่า ฝักคูณ รากขี้กาแดง รากขี้กาขาว รากตองแตก เถาวัลย์เปรียง หัวหอม ฝักส้มป่อย สมอไทย สมอดีงู หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
  • ขี้เหล็กทั้ง ๕ หนัก ๑ ส่วน
  • ยาดำ หนัก ๔ ส่วน
  • ดีเกลือฝรั่ง หนัก ๒๐ ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๕ กรัม
สรรพคุณ แก้ท้องผูก
ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๑ ครั้ง ก่อนนอน ครั้งละ ๒-๕ เม็ด ตามธาตุหนักเบา
ขนาดบรรจุ ๑๐ เม็ด

ข้อ ๓. ยาสามัญประจำบ้าน ที่ได้ขึ้นทะเบียนตำหรับยาไว้ก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ยังเป็นยาสามัญประจำบ้านต่อไปได้ ภายในกำหนด 180 วันนับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ

ข้อ ๔. ให้ผู้รับอนุญาตผลิตนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนโบราณที่มีตำหรับยาตามประกาศฉบับนี้ และได้ขึ้นทะเบียนตำหรับยาไว้ก่อน ที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ที่ประสงค์จะให้ตำหรับยานั้น เป็นยาสามัญประจำบ้าน โดยไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนตำหรับยาใหม่ ขอแก้ไขรายการทะเบียนตำหรับยา ภายในกำหนด ๑๘๐ วัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ

ข้อ ๕. ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2537
อาทิตย์ อุไรรัตน์
(นายอาทิตย์ อุไรรัตน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

(คัดจากราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนพิเศษ 42 ลงวันที่ 3 ตุลาคม2537)

ที่มา (ปัจจุบันแหล่งข้อมูลเดิมไม่มีอยู่ในระบบแล้ว) : http://www.thaicookingclub.com/thaimedicine_athome.htm

ลูกประคบ Herbal Compress

ลูกประคบ Herbal Compress
ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบ
– ไพล (500 กรัม) แก้ปวดเมื่อย เคล็ด ขัดยอก ลดการอักเสบ
– ขมิ้นชัน (100 กรัม) ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
– ตะไคร้บ้าน (100 กรัม) แต่งกลิ่น
– ผิวมะกรูด (200 กรัม) ถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
– ใบมะขาม (300 กรัม) แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว
– ใบส้มป่อย (100 กรัม) ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน
– เกลือ (1 ช้อนโต๊ะ) ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น
– การบูร (2 ช้อนโต๊ะ) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
ลูกประคบสมุนไพร คือ      ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำสมุนไพรหลายชนิดมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดแล้วนำมาหั่นหรือสับให้เป็นชิ้นตามขนาด
ที่ต้องการตำพอแตก ใช้สดหรือทำให้แห้ง นำมาห่อหรือบรรจุรวมกันในผ้าให้ได้รูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงกลม หมอนสำหรับใช้นาบ
หรือกดประคบส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ถ้าเป็นลูกประคบสมุนไพรแห้ง ก่อนใช้ต้องนำมาพรมน้ำ
แล้วทำให้ร้อนโดยนึ่ง
ลักษณะทั่วไปของลูกประคบสมุนไพร
ลูกประคบสมุนไพรต้องห่อผ้าปิดสนิทรูปทรงต่าง ๆ ภายในบรรจุสมุนไพรสดหรือแห้งหลายชนิดรวมกัน กรณีทำเป็นรูปทรงกลมปลายผ้าต้องรวมแล้วมัดให้แน่น ทำเป็นด้ามจับ ต้องมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพรที่ใช้
อุปกรณ์การทำลูกประคบสมุนไพร
1. ผ้าสำหรับห่อลูกประคบ ต้องเป็นผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบที่มีเนื้อผ้าแน่นพอที่จะป้องกันไม่ให้สมุนไพรร่วงออกมาได้
2. สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบต้องหั่นหรือสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ สด/แห้ง ต้องไม่มีราปรากฏให้เห็นเด่นชัด และต้องมีพืชสมุนไพรหลักที่มีน้ำมันหอมระเหยอย่างน้อย 3 ชนิด เช่น ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ และผิวหรือใบมะกรูด/กลุ่มสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เช่น ใบมะขาม ใบส้มป่อย และกลุ่มสารที่มีกลิ่นหอม จะระเหยออกมาเมื่อถูกความร้อน เช่น การบูร พิมเสน และเกลือ ช่วยดูดความร้อน
3. หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบและจานรองลูกประคบ
4. เชือกสำหรับมัดผ้าห่อลูกประคบ
วิธีทำลูกประคบ
1. นำหัวไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด ล้างทำความสะอาด นำมาหั่นหรือสับให้เป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการตำพอหยาบ ๆ
2. นำใบมะขาม ใบส้มป่อย ผสมกับสมุนไพรในข้อ 1 เสร็จแล้วใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แต่อย่าให้แฉะเป็นน้ำ
3. แบ่งสมุนไพรที่คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเป็นส่วนเท่า ๆ กัน โดยใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบมัดด้วยเชือกให้แน่น
4. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที
วิธีการใช้ลูกประคบสมุนไพร
– นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งประมาร 15-20 นาที เมื่อลูกประคบร้อนได้ที่แล้ว ก่อนนำมาใช้ประคบควรมีการทดสอบความร้อนโดยแตะที่ท้องแขนหรือหลังมือก่อน และในช่วงแรกที่ลูกประคบยังร้อนอยู่ ต้องประคบด้วยความเร็ว ไม่วางลูกประคบไว้บนผิวหนังนาน ๆ เพียงแตะลูกประคบแล้วยกขึ้น แต่เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงสามารถวางลูกประคบได้นานขึ้นพร้อมกับกดคลึงจนกว่าลูกประคบคลายความร้อน แล้วจึงเปลี่ยนลูกประคบไปใช้ลูกใหม่แทน (ใช้แล้วนำไปนึ่งแทน)
ข้อควรระวังในการประคบสมุนไพร
– ไม่ควรใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่เคยเป็นแผลมาก่อนหรือบริเวณที่มีกระดูดยื่น และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อัมพาต ในเด็กและผู้สูงอายุ เพราะมักมีความรู้สึกในการรับรู้และตอบสนองช้า อาจทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ง่าย
– ไม่ควรใช้การประคบสมุนไพรในกรณีที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก เพราะจะทำให้อักเสบบวมมากขึ้นและอาจมีเลือดออกมากตามมาได้
– หลังจากประคบสมุนไพรเสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปล้างตัวยาจากผิวหนัง และร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน (ร้อนเป็นเย็นทันทีทันใด) อาจทำให้เกิดเป็นไข้ได้
การเก็บลูกประคบสมุนไพร
ลูกประคบสมุนไพรที่ใช้ครั้งหนึ่งแล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน 3-5 วัน หลังจากใช้แล้วควรผึ่งลูกประคบให้แห้ง เก็บใส่ถุงหรือภาชนะปิดฝาให้แน่นแช่ตู้เย็นจะเก็บได้นานขึ้น ให้สังเกตถ้าลูกประคบมีเชื้อราปรากฏให้เห็นและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว หรือสีเหลืองจางลง แสดงว่าตัวยาเสีย ไม่มีคุณภาพไม่ควรนำมาใช้อีกต่อไป เพราะจะใช้ไม่ได้ผล
ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร (จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน)
1. กระตุ้นหรือเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
2. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวดเมื่อย
3. ลดการติดขัดของข้อต่อบริเวณที่ประคบและทำให้เนื้อเยื่อ พังผืดยืดตัวออก
4. ลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือบริเวณข้อต่อต่าง ๆ หลังจาก 24-48 ชั่วโมงไปแล้ว
เอกสารอ้างอิง
1. นางสาวกุสุมา ศรียากูล. วิทยานิพนธ์, รูปแบบที่พึงประสงค์ในการให้บริการนวด อบ ประคบสมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ : กรณีศึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
2543. หน้า 24-30
2. พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ พญ.อัญชลี อินทนนท์ นพ.ธารา อ่อนชมจันทร์. คู่มือปฏิบัติงานการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชน.
โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2539. หน้า 84-85
3. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. การแพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3
: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2546. หน้า 34-38
4. เอกสารอัดสำเนา มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. ลูกประคบสมุนไพร. จำนวน  4 หน้า

http://ittm.dtam.moph.go.th/product_champion/herb5.htm

ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและการนำสมุนไพรมาใช้

ความหมายของสมุนไพร

คำว่า “สมุนไพร” ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2510 หมายความว่ายาที่ได้มาจากพืช สัตว์ แร่ธาตุ จากธรรมชาติที่ไม่มี การเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างภายใน สามารถนำมาใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกายได้

พืชวัตถุ ได้แก่ พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นยา ซึ่งจะต้องรู้ว่าส่วนไหนของพืชนั้นที่สามารถใช้ทำยาได้ เช่น ราก เหง้า ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือก ไม้ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด หรืออาจใช้ทุกส่วนหรือหลายส่วนของพืชชนิดนั้นๆ เช่น ขี้เหล็กทั้ง 5 กะเพราทั้ง 5 การที่ใช้ทั้ง 5 หมายความว่า พืชชนิดนั้นมีคุณสมบัติทางยาอยู่ตามส่วนต่างๆ หลายส่วน และต้องมีรสตลอดทั้งต้นอย่างเดียวกัน

 

สัตว์วัตถุ ได้แก่ พวกสัตว์ หรืออวัยวะของสัตว์ทั้งหลายที่นำมาใช้เป็นยา เช่น ขน หนัง เขา เขี้ยว นอ งา หนวด ดี เล็บ กระดูก กีบ เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา

ธาตุวัตถุ ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุ ตามกรรมวิธีนำมาใช้เป็นยา เช่น กำมะถัน น้ำประสานทอง ดีเกลือ สารส้ม แต่ละสิ่งมีสี กลิ่น รส ชื่อ เป็นอย่างไรในธาตุวัตถุ แบ่งเป็น 3 จำพวก คือ

  1. จำพวกสลายตัวง่ายหรือสลายตัวอยู่แล้ว
  2. จำพวกสลายตัวยาก
  3. จำพวกแตกตัว

หลักในการนำสมุนไพรมาใช้

โดยทั่วไปแล้ว การจะนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรคนั้นจำเป็นจะต้องพิจารณา พิสูจน์สรรพคุณอย่างถ้วนถี่ ซึ่งเท่าที่ผ่านมามีหลักในการวินิจฉัย 5 ประการคือ

  • รูป คือ ของบังเกิดในพืช เช่น ใบ ดอก ผล เปลือกต้น กิ่ง ก้าน เนื้อไม้ ยาง ราก เป็นต้น ของบังเกิดแก่สัตว์ เช่น ขน หนัง เขา กระดูก กีบ งา เป็นต้น ของบังเกิดในธาตุตามธรรมชาติหรือประกอบจากธาตุ เช่น กำมะถัน เกลือ มวก สิ่งเหล่านี้เรียกว่า รูปของยา
  • สี คือ รู้จักสีของพืช สัตว์ และธาตุว่ามีสีเป็นอย่างไร เช่น การบูร สารส้ม มีสีขาว รงสีทอง กำมะถันมีสีเหลือง ฝางมีสีแดง ยางสีเสียดมีสีดำ เป็นต้น
  • กลิ่น คือ รู้จักกลิ่นของพืช สัตว์ ธาตุ แต่ละอย่างว่ามีกลิ่นเป็นอย่างไร กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น เช่น พิมเสน หญ้าฝรั่น อำพันทอง ชะมดเช็ด ชะมดเชียง กฤษณา ชะลูด อบเชย แก่นจันทน์ ดอกมะลิ เหล่านี้มีกลิ่นหอม ส่วนมหาหิงค์ ตูดหมู มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น
  • รส คือรู้จักรสของพืช สัตว์ และธาตุ ว่าสิ่งเหล่านี้มีรสเป็นอย่างไร มีรสฝาด หวาน เมา เบื่อ รสขม รสเผ็ดร้อน รสมัน รสหอมเย็น รสเค็ม รสเปรี้ยว รสจืด เช่น เปลือกแค รสเมาเบื่อ , บอระเพ็ด มะระ รสขม , พริกไทย พริกต่างๆ รสเผ็ดร้อน , เมล็ดงา น้ำมันสัก รสมัน , ดอกมะลิ รสหอมเย็น , เกลือ เหงือกปลาหมอ รสเค็ม , มะนาว มะดัน รสเปรี้ยว , นม ผักบุ้ง รสจืด เป็นต้น
  • ชื่อ คือ รู้จักชื่อของพืช สัตว์และธาตุว่าแต่ละอย่างเราเรียกชื่ออย่างไร เพราะชื่อเป็นสิ่งที่มนุษย์เราสมมุติขึ้นสำหรับเรียกขาน เช่น ของ ข่า ไพล อุ้งตีนหมี ทองแดง ทองเหลือง เป็นต้น

http://www.sri.cmu.ac.th/elanna/elanna47/public_html/med/med1_1.html

รูปแบบการใช้สมุนไพร

การใช้สมุนไพรรักษาโรคให้ได้ผลนั้น ตามตำราการแพทย์แผนโบราณล้านนา มักนำสมุนไพรประเภทต่างๆ เช่น พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุมาใช้ร่วมกัน โดยจะพิจารณาตามอาการที่เกิดขึ้น สมุนไพรที่ใช้ที่มีรสต่างกันจะถูกนำมาผสมกันตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ หรือธาตุวัตถุก็ตาม เช่น

ยาฝี 7 จำพวกอันมีในท้องในไส้ทั้งมวล หื้อเอางาช้าง นอแรด เขาเยือง เขาควาย ดูกงูเหลือม ข่าแดง ดีงูว่า หญ้าหย่อมตีนหมา รากไค้นุ่น เขาวัวกระทิง ฝนกินทา

และบางพวก จะใช้เฉพาะพืชสมุนไพร เช่น

ยาเรื้อนเรื้อรังอยู่หลังตีนหลังมือ เอาใบหนุน (ขนุน) 7 ใบ เผาเป็นด่าง พริก 13 ลูก ขมิ้น 7 กลีบ บดกับกันไว้ ใส่ทั้งวันทั้งคืน เป็นต้น

ตามตำราแพทย์แผนโบราณกำหนดการเก็บยาไว้ดังนี้

1. การต้ม
สมุนไพรที่ใช้ต้มมีทั้งแห้งและสด ได้มาจากราก แก่น เปลือก ลำต้น เหง้าหรือหัว เป็นต้น ส่วนสมุนไพรที่ใช้สดๆ มักจะใช้ส่วนของใบ และเหง้าเป็นสำคัญ สมุนไพรแห้งจะต้องนำไปตากแดด หรืออบให้แห้งก่อนนำมาใช้เพื่อป้องกันเชื้อรา และเพื่อให้เก็บไว้ได้นานๆ

การนำสมุนไพรมาใช้ต้มมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ ต้มอาบ ต้มดื่ม และทั้งอาบและดื่มร่วมกัน

การต้มอาบ มักจะใช้รักษาโรคที่เกี่ยวเนื่องจากภายในและโรคที่ปรากฏอาการออกมา เช่น ไข้ป้าง ไข้รากสาด ลมสาน มะเร็งขึ้นหัว บวมหน้า ฯลฯ หรือใช้รักษาอาการภายหลังเป็นไข้ และหญิงหลังคลอด กรณีของผู้ที่เพิ่งจะฟื้นไข้ สมุนไพรที่ใช้จะเป็นสมุนไพรสดๆ เช่น ใบหมากผู้หมากเมีย ใบสะเภาลม ใบมะขาม เป็นต้น และสำหรับหญิงหลังคลอด ใช้สมุนไพรจำพวก ใบมะขาม ใบเปล้า ใบขี้เหล็ก และเหง้าปูเลย (ไพล) วิธีการคือ มัดสมุนไพรทั้งหมดรวมกันแล้วต้มจนน้ำมีสีเข้ม จึงยกลง รอให้อุ่นแล้วนำไปอาบ โดยจะอาบประมาณ 3-7 วันๆ ละครั้ง

การต้มดื่ม บางครั้งก็เรียกว่า เคี่ยว ส่วนมากมักใช้สมุนไพรแห้งนำมามัดรวมกันแล้วต้ม โดยใส่ข้าวสารเจ้า 7 เม็ด น้ำ 3 ส่วน ต้มจน น้ำแห้งเหลือส่วนเดียว จึงยกลง ดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น และดื่มได้เรื่อยๆ ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน เมื่อหมดแล้วก็ต้มมัดเดิมอีก จนกว่า สีของน้ำสมุนไพรจะจางลงหรือใส จึงเปลี่ยนมัดใหม่ ให้ต้มกินจนกว่าจะหาย โรคที่ใช้ยาต้มส่วนใหญ่มักจะเป็นโรค หรืออาการที่เกิดขึ้น ภายในร่างกาย เช่น นิ่ว มะเร็งคุด มะเร็งเกี่ยวเข้าไส้ มดตะขึด ฯลฯ เป็นต้น

ทั้งต้มอาบและต้มกิน โรคที่ใช้วิธีการทั้งสองร่วมกัน มักจะเป็นโรคหรืออาการของโรค ที่เกิดจากภายใน และปรากฏอาการออกมาภายนอก ดังนั้นวิธีการรักษาจึงต้องใช้ทั้ง 2 วิธี คือ ทั้งรักษาอาการภายในและภายนอกด้วย เพื่อให้หายเร็วขึ้น เช่น ไข้ป้าง สันนิบาตร้อนหนาว ลมหมืน (ลมพิษ) เป็นต้น

2. การแช่
สมุนไพรที่ใช้ในการแช่มักจะเป็นส่วนของรากไม้ ใบ เปลือก ราก และหัว เช่น รากแฝก รากไค้นุ่น หัวกูดน้ำ ใบง้วนหมู ใบผักหนอก (บัวบก) เปลือกทัน (พุทรา) โดยการนำไปแช่น้ำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้เวลานาน อาจมากกว่า 2 ชั่วโมง นานที่สุดอาจถึงข้ามคืน การแช่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้แช่เพื่ออาบ กิน เป็นการรักษาโรคอย่างหนึ่ง เช่น ไข้ ขางรากสุด เป็นต้น

3. การฝน
การฝน คือการนำเอาส่วนของพืชสมุนไพร เช่น รากไม้ กิ่งไม้ เป็นต้น นำมาถูกับหินฝนยา ซึ่งมีลักษณะกลม ผิวสากๆ ซึ่งเรียกว่า “บ่าหินฝนยา” หินนี้มักได้จากบริเวณน้ำตก วิธีฝน ทำโดยนำส่วนของไม้ที่เป็นสมุนไพรไปแช่น้ำสักครู่ แล้วนำมาฝนกับหินฝนยา และน้ำเปล่า อาจจะเป็นน้ำอุ่นก็ได้ เมื่อจะรับประทานก็เอาน้ำเจ้า (น้ำข้าวเจ้า) น้ำอ้อย หรือน้ำผึ้งตัด หรือเป็นกระสาย การรับประทานยาฝน มักจะเป็นช่วงเช้าหรือเย็น ซึ่งถือกันว่าเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ เหมาะสม โดยรับประทานไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการจะหายไป โรคที่ใช้ยาฝนกิน เช่น มะเร็งลมล่า ขางกระด้าง ขางเลือดขางลม ไข้ดิน เป็นต้น

สำหรับการฝนทานั้น มักใช้กับโรคที่ปรากฏทางผิวหนัง หรือโรคที่เกี่ยวเนื่องกับอาการไข้ที่ปรากฏออกมาทางผิวหนัง เช่น ไข้ออกดำแดง เป็นต้น

4. การบดหรือตำ
การบดหรือตำ เพื่อให้สมุนไพรมีลักษณะเป็นฝุ่นหรือผงละเอียด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที การนำมาใช้มีหลากหลายด้วยกัน เช่น ใช้ทา ซึ่งจะใช้กับแผลหรือตุ่มต่างๆ นำไปกินกับน้ำจิงหรือน้ำเปล่า สำหรับผู้ที่ชอบหวานหรือต้องการตัดรสขมของยาแก้ 5 ต้นออกไปก็ใส่ น้ำอ้อย น้ำข้าวเจ้าหรือน้ำผึ้งลงไป เพื่อให้รสชาติดีขึ้น และการปั้นเป็นลูกกลอน โดยนำมาผสมกับน้ำผึ้ง น้ำอ้อยหรือน้ำข้าวเจ้า แล้วปั้น ออกมาเป็นก้อนกลมๆ เล็กๆ นำไปตากแดด จนแห้งสนิท เก็บไว้รับประทานได้นาน

5. การหั่นและจู้
การหั่นหรือตัดสมุนไพรเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อใช้รักษาอาการขบ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออาการบวม ปวดหัว เป็นต้น สมุนไพรที่ใช้ เช่น พิดเทาะ ยอดขี้เหล็ก ยอดหนาม ยอดผีเสื้อ นำมาตำพอประมาณ แล้วห่อผ้าทำเป็นลูกประคบ วางทาบลงบนร่างกาย บริเวณที่ต้องการ ตัวยาก็จะค่อยๆ ซึมผ่านผ้าลงบนผิวหนัง เป็นการกรองหรือป้องกันสมุนไพรที่จะมาสัมผัส กับบาดแผลโดยตรงได้ ชั้นหนึ่ง หมอพื้นบ้านบางรายจะใช้ยาจู้ (ทาบ) โดยการนำสมุนไพรมาหั่นแล้วนึ่งด้วยความร้อน ให้ไอความร้อนขึ้น ส่งกลิ่น และมีน้ำซึม ออกมาจากห่อผ้า จากนั้นจึงนำมาทาบบนร่างกายบริเวณที่มีอาการ โดยทำบ่อยๆ วันละหลายๆ ครั้ง

6. ผิงไฟ
เป็นการใช้ส่วนของพืช เช่น ใบ หรือกาบ ที่มีความอ่อนนุ่ม เช่น ใบพลับพลึง ใบกล้วย กาบกล้วย ฯลฯ นำไปผิงไฟให้ร้อน นุ่มแล้วนำมาถูนวดตามร่างกายทันที เช่น การรักษา อัมพฤกษ์ อัมพาต โดยใช้ใบพลับพลึงไปผิงไฟให้ร้อน นุ่ม แล้วนำมานวดเฟ้น เช็ดบริเวณ ร่างกายหรือส่วนที่มีอาการของโรค ทำไปจนใบพลับพลึงเย็น การใช้วิธีนี้มักจะใช้ร่วมกับการใช้ยาจู้ จะทำให้อาการดีขึ้น

7. การหมก
นำพืชที่ต้องการใช้ ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นเหง้า หรือหัว ผลของพืช หุ้มหรือห่อด้วยใบตองกล้วยหลายๆ ชั้น ไปย่างบนถ่านไฟแดงๆ จนใบตองชั้นนอกไหม้เกือบถึงใบตองชั้นใน จึงยกออกมาใช้ หรือโดยการนำไปหมกในกองขี้เถ้าร้อนๆ จนกว่าพืชนั้นจะนิ่ม

8. การอม
สมุนไพรที่ใช้เพื่ออม มักจะเป็นส่วนของดอก ยอดอ่อน มักใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับช่องปาก โรคเหงือก โรคฟัน เช่น ขางปากปุด ขางปากเหม็น ขางลิ้นร้อน เป็นต้น ผู้ที่ใช้สมุนไพรสามารถอมได้ตลอดเวลา รสยาส่วนใหญ่มักจะมีรสเผ็ด ฝาดเล็กน้อย เช่น จันทน์จี้หรือ กานพลู ยอดบ่าก้วย เป็นต้น

9. การสูดหรือการรม
มักใช้เฉพาะโรคเท่านั้น เช่น โรคที่เกี่ยวกับฟัน แมงกินฟัน ฟันผุ เป็นต้น จะใช้วิธีการสูดหรือการรม โดยอมควันที่ออกมาจากกระบอก ไม้ไผ่ไว้ประมาณ 3-4 ครั้งต่อ 5 นาที หยุดพักแล้วทำต่อ ทำประมาณ 7-8 วัน จะหายจากอาการปวดฟันได้

10. การนำไปประกอบอาหาร
พืชที่นำไปประกอบอาหาร ส่วนมากจะใช้ยอดหรือใบอ่อน ต้นอ่อนหรือที่เรียกว่าผัก เช่น ยอดมะม่วง ยอดมะกอก ดอกบัว ผักปั๋ง ผักปูลิง เป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาจประกอบด้วยพืชสมุนไพรหลายชนิดด้วยกันในอาหารอย่างเดียว จึงเป็นการกินเพื่อป้องกันและรักษาไปในตัว

11. การนำไปใช้สดๆ
การนำพืชไปใช้สดๆ โดยไม่ต้องผ่านความร้อนหรือกรรมวิธีใดๆ ส่วนที่ใช้จะเป็นยางจากลำต้น ใบ ก้านใบ การนำสมุนไพรสดไปใช้ทันทีนี้ มักใช้รักษาอาการที่เกี่ยวกับบาดแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เช่น ยางหรือเมือกของว่านหางจระเข้ ใช้รักษาแผลไฟไหม้ การอมหรือ เคี้ยวใบฝรั่งสดๆ เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับช่องปากและฟัน เป็นต้น

รับประทานสมุนไพรวันเดือนเพ็ญหรือ วันขึ้น 15 ค่ำเป็นที่น่าสังเกตว่า ในการรักษาโรคด้วยสมุนไพรนั้น หมอเมืองจะเป็นผู้กำหนดวิธีการใช้กับผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับอาการ ของโรคนั้นๆ บางครั้งจึงมีการดูฤกษ์ยามที่เหมาะสมประกอบด้วย เช่น

  • รับประทานสมุนไพรวันเดือนสามดับ
  • รับประทานสมุนไพรยามตะวันขึ้น อย่าให้มีเมฆหมอกมาบัง หรือรับประทานก่อนพระอาทิตย์จะตก
  • ถ้า เป็นยาต้ม หากเป็นการต้มอาบจะต้องต้มน้ำและอาบทางทิศตะวันตกของเรือน และถ้าจะให้ผลดียิ่งขึ้นตามตำราบอกว่าต้องตั้งขันประกอบด้วยเบี้ย 1,300 หมาก 1,300 เงิน 2 บาท ไต้ 1 เฟื้อง
  • หากเป็นการต้มรับประทาน สำหรับโรคบางโรค เช่น มดตะขึด นิ่ว จะต้องต้มนอกชายคาเรือน และปักตาแหลว (เฉลว) ล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน