Tag Archives: พื้นบ้าน

อภัยภูเบศรชู ‘หญ้าดอกขาว’ สมุนไพรลดอยากอาหาร ทางเลือกคุมน้ำหนักอย่างปลอดภัย

5 ธันวาคม 2559

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม  ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยหญ้าดอกขาวพบว่ามีสรรพคุณช่วยลดความอยากสูบบุหรี่ ลงได้ เนื่องจากในหญ้าดอกขาวจะมีสารไนเตรด ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ประสาทรับรู้รสบริเวณลิ้นมีความรู้สึกชา ทำให้ผู้ที่บริโภคหญ้าดอกขาวเข้าไปจะไม่รับรู้รสชาติใดๆ ส่งผลให้ไม่มีความอยากจะสูบบุหรี่  อย่างไรก็ตาม สำหรับการรับประทานหญ้าดอกขาวนั้นจริงๆ แล้วสามารถรับประทานได้ตามความต้องการ เพราะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ร่างกายสามารถขับออกเองได้ ทั้งนี้ นอกจากการจะใช้หญ้าดอกขาวเป็นตัวช่วยในการเลิกสูบบุหรี่แล้ว ยังพบอีกว่าหญ้าดอกขาว มีสรรพคุณช่วยลดความอยากอาหารได้ ซึ่งประจวบเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก นอกจากการลดอาหารไขมันสูง การออกกำลังกายแล้ว การรับประทานหญ้าดอกขาวก่อนทานอาหารทุกมื้อ ก็มีส่วนช่วยได้ เนื่องจากในหญ้าดอกขาว มีสารไนเตรดที่มีอยู่ในหญ้าดอกขาวจะไปเคลือบต่อมรับรสที่อยู่บริเวณลิ้นทำให้เวลารับประทานอาหารเข้าไปจะรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย จนทำให้รับประทานอาหารได้น้อย ทั้งยังช่วยลดความอยากรับประทานอาหารลงได้อีกด้วย

fffff Continue reading

เห็ดหลินจือ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเห็ดหลินจือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ganoderma Lucudum
ชื่ออังกฤษ : Reishi,Ling Zhi
ชื่อท้องถิ่น : เห็ดหลินจือ,เห็ดหมื่นปี หรือ เห็ดหิมะ

ตามประวัติเห็ดหลินจือเป็นยาจีน (Chinese traditional medicine) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนมีคนนับถือมากที่สุดได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็น “เทพเจ้าแห่งชีวิต” (Spiritual essence) มีพลังมหัศจรรย์บำรุงร่างกายใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และยังสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ชาวจีนโบราณต่างยกย่องเห็ดหลินจืออย่างเหนือชั้นว่าดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน นอกจากจะมีสรรพคุณเหนือชั้นกว่าแล้วยังปลอดภัยไม่มีพิษใด ๆ ต่อร่างกาย

เห็ดหลินจือธรรมชาติสายพันธุ์ Ganoderma lucidum เกาะอยู่บนต้นไม้ปกคลุมด้วยมอสสีเขียว อาศัยอยู่ท่ามกลางบรรยากาศกลางป่าเย็นชุ่มฉ่ำ ชวนให้เพลิดเพลินเป็นสุขใจแก่ผู้พบเห็น มีลักษณะดอกคล้ายใบพัด มีก้านดั่งไม้เท้าชูดอกงามสง่า มีลวดลายงดงามเหมือนลายโบราณที่เรียกว่า“หยู่อี้” มีความหมายในทำนองสมใจปรารถนาชาวจีนโบราณต่างยกย่องให้เห็ดหลินจือเป็น เห็ดสิริมงคล เป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตและโชคลาภ ดังจะเห็นได้จากบรรดารูปปั้นกังใสหรือรูปเทพเจ้า “ฮก ลก ซิ่ว” ที่มีความหมายถึง ความเป็นสิริมงคลทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่ามีเทพเจ้าบางองค์ถือดอกเห็ดหลินจืออยู่ในมือ อุปมา ดั่งคุณธรรมอันสูงส่งแก่ผู้มีไว้ครอบครอง

เห็ดหลินจือ มีสารอาหารที่จะเจ้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้ทำหน้าที่เป็นปกติ สามารถต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ต้านการจับตัวของบิ่มเบิอด ลดน้ำตาลในเลือด ฯลฯ หลายท่านบอกว่าเป็นยาอายุวัฒนะ คือเป็นยาที่รับประทานให้ชีวิตยืนยาวและสุขภาพดี Continue reading

ทะลวงหลอดเลือด ด้วยภูมิปัญญาโบราณ เพียง 2 นาที เป็นของขวัญอันล้ำค่าแก่พ่อแม่และคนที่คุณรัก

ชายชาวลอนดอนคนหนึ่งได้เล่าประสบการณ์ส่วนตัว เมื่อเขาไปประชุมที่ปากีสถาน เกิดมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างเฉียบพลัน แพทย์ตรวจพบว่าเส้นเลือดหัวใจของเขา 3 เส้นอุดตันอย่างรุนแรง จำเป็นต้องผ่าตัดทำบายพาส. กำหนดการผ่าตัดคืออีก 1 เดือน ในช่วงระหว่างนั้นเขาไปพบหมอบำบัดมุสลิมโบราณ หมอบำบัดให้เขาทำยาทานเองที่บ้าน เมื่อทานครบ 1 เดือน ก็ไปตรวจที่โรงพยาบาลเดียวกันก่อนผ่าตัด พบว่าเส้นเลือดทั้ง 3 เส้นใสสะอาด ที่เคยอุดตันก็ถูกทะลวงออกหมด เพื่อช่วยให้คนอื่นได้รับประโยชน์ เขาได้บอกเล่าประสบการณ์ของตัวเองบนอินเทอร์เน็ต รวมทั้งโชว์ภาพถ่ายเส้นเลือดของเขาก่อนและหลัง เพื่อให้แสดงความแตกต่างก่อนและหลังทานยา

1 Continue reading

หนังสือ : ผักพื้นบ้านสมุนไพรต้านโรค

Click to access herbvegcure.pdf

Download คลิ๊ก

ขอบคุณ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=51543.0

ผักกระสัง ผักที่ไม่ควรมองข้าม

ผักกะสังกลับมาให้คนได้รับรู้อีกครั้งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

จากการที่ไปส่งเสริมการปลูกวัตถุดิบสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ที่บ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ชุมชนที่นี่มีภูมิปัญญามากมายในการใช้สมุนไพรและการกินผักพื้นบ้าน แต่เมื่อมีการปลูกพืชตามระบบเคมีทำให้ผักพื้นบ้านหลายชนิดหายไป และไม่กล้าเก็บผักรอบบ้านหรือตามหัวไร่ปลายนามากินอีก เพราะรู้ว่าเพิ่งฉีดยาฆ่าหญ้าหรือยาฆ่าแมลงไป เมื่อหันมาปลูกวัตถุดิบสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ ผักพื้นบ้านหลายชนิดกลับมางอกงาม พวกเขากล้าเก็บผักพื้นบ้านมากินไม่ต้องเสียเงินซื้อผักจากตลาดอีก ผักกะสัง เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น

ผักกะสังมีรสเผ็ดหอม มีสรรพคุณทางหยาง (จัดแบ่งง่ายๆ ว่า หยินคือเย็น หยางคือร้อน) เรื่องรสยาเผ็ดหอมนี้ ยังพออธิบายได้อีกมุมมองหนึ่งว่า ผักกะสังกับพริกไทยนั้นเป็นพี่น้องกัน มีคนลองนำเอาผักกะสังมาขยายใหญ่ให้เท่าต้นพริกไทย มองใบสีเขียวใสๆ ให้เป็นสีเขียวเข้ม ก็จะเห็นหน้าตาผักกะสังเหมือนกับต้นพริกไทย นอกจากนี้ถ้าได้กินผักกะสังที่ยังมีเมล็ดเกาะกันเป็นช่อ คล้ายช่อเมล็ดพริกไทย ก็จะได้ลิ้มรสเผ็ดนิดๆ ซ่าน้อยๆ ที่ลิ้น ผักกะสังเป็นผักสมบูรณ์แบบชนิดหนึ่งทั้งรสชาติ รูปร่างหน้าตาโดยนำมากินสดๆ หรือลวกกินกับน้ำพริก กินเป็นสลัด หรือยำกินก็ได้ หรือนำมาจัดเป็นแจกันผักขนาดเล็กเป็นผักแกล้มบนโต๊ะกินข้าวก็น่าชมไม่น้อย ผักกะสังถือว่า

เป็นผักต้านมะเร็งชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า ผักกะสังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและมีวิตามินซีสูง เรียกได้ว่าวิตามินซีน้องๆ มะนาว คือมะนาว ๑๐๐ กรัม มีวิตามินซี ๒๐ มิลลิกรัม ส่วนผักกะสังมีอยู่ ๑๘ มิลลิกรัม รวมทั้งทางสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เคยวิเคราะห์หาธาตุอาหารในพืชผักต่างๆ พบว่าผักกะสัง ๑ ขีด หรือ ๑๐๐ กรัม มีเบต้าแคโรทีน ราว ๒๘๕ ไมโครกรัมเทียบหน่วยเรตินัล การที่ผักกะสังมีธาตุอาหารต้านมะเร็งอยู่สูงขนาดนี้ ผักกะสังจึงจัดว่าเป็นผักต้านมะเร็งชนิดหนึ่ง

“ยำผักกะสัง” โด่งดังขึ้นจากการที่หมู่บ้านดงบังต้องการให้คนเข้าไปชมวิถีการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ จึงได้พัฒนาตนเองเพื่อเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว ได้มีการค้นหาเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน สิ่งที่พวกเขาเชี่ยวชาญนอกจากการปลูกต้นไม้แล้ว แม่บ้านของชุมชนนี้ทำอาหารอร่อยมาก เช่น แกงบอน แกงปลาดุกใส่ไพลดำ ยำผักกะสังและตำรับอาหารอื่นๆ อีกมากมาย แต่เมื่อเปิดตลาดออกไปอาหารที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือยำผักกะสัง มีสื่อมวลชนมากมายไปชิมและนำสูตรมาเผยแพร่ ปัจจุบันสูตร “ยำผักกะสัง” ของหมู่บ้านดงบังเป็นที่รู้จักกันดี ไม่มีการจดสิทธิบัตร ใครจะเชื่อว่าผักกระสังเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ แต่ได้นำมาปลูกในประเทศที่มีอากาศร้อนทั่วๆ ไปรวมทั้งประเทศไทย แต่เราลืมมันไปจากกลไกผักตลาดที่ผลิตแบบเคมี ต้องขอบคุณชาวบ้านดงบังที่ทำให้ผักกระสัง กลับมาสู่สังคม

ผักกะสัง…รักษาโรคลักปิดลักเปิด
ในตำรายาไทยระบุไว้ว่าใบของผักกะสังใช้ในการรักษาโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งพอจะอธิบายได้ว่า ในผักกะสังมีวิตามินซีและสารอาหารสูง ซึ่งการรักษานั้นใช้ทั้งการกินและการบดต้นแปะบริเวณที่เลือดออกตามไรฟัน

ผักกะสัง…รักษา เริม ฝี มะเร็งเต้านม
หมอยาพื้นบ้านของไทยใช้ผักกะสังเป็นยาไม่มากนักส่วนใหญ่ใช้พอกฝีและสิวโดยใช้ต้นสดตำพอกฝี หรือใช้น้ำคั้นทาสิว ในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ใช้ทั้งต้นสดบดประคบฝี หรือตุ่มหนอง และโรคผิวหนังอื่นๆ เช่นกัน ซึ่งจากการศึกษาสมัยใหม่พบว่าผักกระสังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านแบคทีเรียหลายชนิด ทั้งยังมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งจะช่วยกำจัดเนื้อตายทำให้ฝีแตกได้ง่าย และสิวยุบเร็วขึ้น

“ผักกะสังรักษาเริมและมะเร็งเต้านม” ความรู้นี้ไม่ค่อยแพร่หลายนักแต่แมะ (มือลอ มะแซ) ที่บ้านกำปงบือแน ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลาบอกว่า ผักกะสังเป็นยารักษาเริม มะเร็งเต้านม และฝี ในการรักษาเริมนั้นจะนำต้นผักกะสังผสมกับขมิ้นและข้าวสาร (ฮูยงงูกุมาตอกูยิ) ตำให้ละเอียดแล้วพอกทิ้งไว้ ๑ คืน และนำใบมาตำขยำแปะทาเม็ดที่เป็นใต้ราวนม แก้มะเร็งเต้านม ข้อมูลที่ว่าผักกะสังใช้รักษามะเร็งนี้ไม่เคยรู้มาก่อนเลยและเป็นที่น่าทึ่งตรงที่ว่ามีรายงานการศึกษาพบว่า สารในผักกะสังมีฤทธิ์ต้านมะเร็งด้วย นอกเหนือไปจากการแก้อักเสบและแก้ปวด

ผักกะสัง…แก้อักเสบ ข้ออักเสบ เก๊าท์
หมอยาพื้นบ้านบางคนบอกว่ากินผักกะสังแก้ปวดข้อ ซึ่งในประเทศฟิลิปปินส์มีการกินผักกะสังสดๆ หรือนำมาต้มกิน เพื่อรักษาโรคเก๊าท์และข้ออักเสบ โดยนำผักกะสังต้นยาวสัก ๒๐ เซนติเมตร ต้มกับน้ำ ๒ แก้ว ให้เหลือประมาณ ๑ แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละ ครึ่งแก้ว เช้า-เย็น ปัจจุบันผักกะสังเป็นสมุนไพรตัวหนึ่งที่ฟิลิปปินส์กำลังศึกษาวิจัยเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคข้ออักเสบรวมทั้งโรคเก๊าท์จากการที่ผักกระสังสามารถลดปริมาณกรดยูริคในกระแสเลือด

ผักกะสัง…บำรุงผิว บำรุงผม
ผักกะสังยังเป็นสมุนไพรสำหรับผู้หญิงอีกชนิดหนึ่งนอกจากใช้รักษาสิวแล้ว สาวๆ สมัยก่อนยังใช้น้ำต้มผักกะสังล้างหน้าบ่อยๆ จะทำให้ผิวหน้าสดใส และนอกจากนี้ คุณสารีป๊ะ อาแวกือจิ ที่บ้านกำปงบือแน ตำบลจะกวั๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา บอกว่าผักกะสังเป็นยาสระผมทำให้ผมนุ่มโดยนำใบขยำกับน้ำชโลมศีรษะให้ศีรษะเย็น ป้องกันผมร่วง ทำให้ผมนุ่ม ซึ่งอธิบายได้ว่าผักกะสังมีธาตุอาหาร มีความเป็นกรดอ่อนๆ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย

ข้อควรระวัง
ในผู้ที่แพ้พืชที่มีกลิ่นฉุนประเภท mustard (พืชที่เป็นเครื่องเทศทั้งหลาย) ไม่ควรรับประทาน

สูตรยำผักกะสัง

  • ผักกระสังหั่นชิ้นพอประมาณ ๑-๒ ทัพพี
  • น้ำมะนาว ๑-๒ ช้อนโต๊ะ
  • กุ้งแห้ง ๑-๒ ช้อนโต๊ะ
  • พริกขี้หนูแห้งทอดพอประมาณ
  • มะม่วงซอย ๑-๒ ช้อนโต๊ะ
  • หัวหอมซอยพอประมาณ
  • แครอทซอยฝอยๆ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ
  • ถั่วลิสงคั่วพอประมาณ
  • ขิงซอย ๑-๒ ช้อนโต๊ะ
  • หมูหยอง พอประมาณ
  • โหระพา สะระแหน่ ไว้แต่งกลิ่นนิดหน่อย
  • น้ำปลา ๑-๒ ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย ๑-๒ ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

รวมเครื่องปรุงทุกอย่างเข้าด้วยกัน ปรุงรสตามใจชอบ พร้อมตักเสิร์ฟได้เลย

ในยุคน้ำมันแพง แต่ไม่แล้งปัญญา หากเข้าใจธรรมชาติ นำผักกะสังที่ขึ้นได้ทั่วไป และมีสรรพคุณทางยามากมาย นำมาเป็นอาหารสุขภาพรสเด็ด ประหยัดทั้งเงิน ยังเสริมสร้างสุขภาพอีกด้วย ผักกะสังเป็นสมุนไพรที่มีประวัติการใช้เป็นยามากมาย ในโบลิเวียมีบันทึกที่มีอายุนับพันปีชื่อ Altenos Indians document กล่าวไว้ว่า ผักกะสังทั้งต้นบดผสมน้ำใช้กินเพื่อห้ามเลือด ใช้ส่วนรากต้มกินรักษาไข้ ใช้ส่วนเหนือดินโปะแผล นอกจากนี้ ในประเทศอื่นๆ ที่มีผักกะสังขึ้นอยู่จะใช้ผักกะสังในการรักษาอาการปวดท้องทั้งแบบธรรมดาและปวดเกร็ง ฝี สิว แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก อ่อนเพลีย ปวดหัว ระบบประสาทแปรปรวน หัด อีสุกอีใส มีแก๊สในกระเพาะ ปวดข้อรูมาติก และยังมีการใช้เฉพาะบางท้องถิ่นเช่น ในบราซิลใช้ในการลดคอเลสเตอรอล ในกียานา (Guyana) ใช้ในการขับปัสสาวะ ลดไข่ขาวในปัสสาวะ ในแถบอเมซอนใช้ขับปัสสาวะ หล่อลื่น หัวใจเต้นผิดปกติ ส่วนในมาเลเซียเชื่อว่าการรับประทานผักกะสังจะช่วยรักษาโรคตาและต้อ (glaucoma) ปัจจุบันมีสารสกัดจากผักกะสังจำหน่ายในต่างประเทศ

ที่มา : เพจมิตรสหายท่านหนึ่งในเฟซบุ๊ค และ thrai.sci.ku.ac.th

ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและการนำสมุนไพรมาใช้

ความหมายของสมุนไพร

คำว่า “สมุนไพร” ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2510 หมายความว่ายาที่ได้มาจากพืช สัตว์ แร่ธาตุ จากธรรมชาติที่ไม่มี การเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างภายใน สามารถนำมาใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกายได้

พืชวัตถุ ได้แก่ พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นยา ซึ่งจะต้องรู้ว่าส่วนไหนของพืชนั้นที่สามารถใช้ทำยาได้ เช่น ราก เหง้า ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือก ไม้ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด หรืออาจใช้ทุกส่วนหรือหลายส่วนของพืชชนิดนั้นๆ เช่น ขี้เหล็กทั้ง 5 กะเพราทั้ง 5 การที่ใช้ทั้ง 5 หมายความว่า พืชชนิดนั้นมีคุณสมบัติทางยาอยู่ตามส่วนต่างๆ หลายส่วน และต้องมีรสตลอดทั้งต้นอย่างเดียวกัน

 

สัตว์วัตถุ ได้แก่ พวกสัตว์ หรืออวัยวะของสัตว์ทั้งหลายที่นำมาใช้เป็นยา เช่น ขน หนัง เขา เขี้ยว นอ งา หนวด ดี เล็บ กระดูก กีบ เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา

ธาตุวัตถุ ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุ ตามกรรมวิธีนำมาใช้เป็นยา เช่น กำมะถัน น้ำประสานทอง ดีเกลือ สารส้ม แต่ละสิ่งมีสี กลิ่น รส ชื่อ เป็นอย่างไรในธาตุวัตถุ แบ่งเป็น 3 จำพวก คือ

  1. จำพวกสลายตัวง่ายหรือสลายตัวอยู่แล้ว
  2. จำพวกสลายตัวยาก
  3. จำพวกแตกตัว

หลักในการนำสมุนไพรมาใช้

โดยทั่วไปแล้ว การจะนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรคนั้นจำเป็นจะต้องพิจารณา พิสูจน์สรรพคุณอย่างถ้วนถี่ ซึ่งเท่าที่ผ่านมามีหลักในการวินิจฉัย 5 ประการคือ

  • รูป คือ ของบังเกิดในพืช เช่น ใบ ดอก ผล เปลือกต้น กิ่ง ก้าน เนื้อไม้ ยาง ราก เป็นต้น ของบังเกิดแก่สัตว์ เช่น ขน หนัง เขา กระดูก กีบ งา เป็นต้น ของบังเกิดในธาตุตามธรรมชาติหรือประกอบจากธาตุ เช่น กำมะถัน เกลือ มวก สิ่งเหล่านี้เรียกว่า รูปของยา
  • สี คือ รู้จักสีของพืช สัตว์ และธาตุว่ามีสีเป็นอย่างไร เช่น การบูร สารส้ม มีสีขาว รงสีทอง กำมะถันมีสีเหลือง ฝางมีสีแดง ยางสีเสียดมีสีดำ เป็นต้น
  • กลิ่น คือ รู้จักกลิ่นของพืช สัตว์ ธาตุ แต่ละอย่างว่ามีกลิ่นเป็นอย่างไร กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น เช่น พิมเสน หญ้าฝรั่น อำพันทอง ชะมดเช็ด ชะมดเชียง กฤษณา ชะลูด อบเชย แก่นจันทน์ ดอกมะลิ เหล่านี้มีกลิ่นหอม ส่วนมหาหิงค์ ตูดหมู มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น
  • รส คือรู้จักรสของพืช สัตว์ และธาตุ ว่าสิ่งเหล่านี้มีรสเป็นอย่างไร มีรสฝาด หวาน เมา เบื่อ รสขม รสเผ็ดร้อน รสมัน รสหอมเย็น รสเค็ม รสเปรี้ยว รสจืด เช่น เปลือกแค รสเมาเบื่อ , บอระเพ็ด มะระ รสขม , พริกไทย พริกต่างๆ รสเผ็ดร้อน , เมล็ดงา น้ำมันสัก รสมัน , ดอกมะลิ รสหอมเย็น , เกลือ เหงือกปลาหมอ รสเค็ม , มะนาว มะดัน รสเปรี้ยว , นม ผักบุ้ง รสจืด เป็นต้น
  • ชื่อ คือ รู้จักชื่อของพืช สัตว์และธาตุว่าแต่ละอย่างเราเรียกชื่ออย่างไร เพราะชื่อเป็นสิ่งที่มนุษย์เราสมมุติขึ้นสำหรับเรียกขาน เช่น ของ ข่า ไพล อุ้งตีนหมี ทองแดง ทองเหลือง เป็นต้น

http://www.sri.cmu.ac.th/elanna/elanna47/public_html/med/med1_1.html

รูปแบบการใช้สมุนไพร

การใช้สมุนไพรรักษาโรคให้ได้ผลนั้น ตามตำราการแพทย์แผนโบราณล้านนา มักนำสมุนไพรประเภทต่างๆ เช่น พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุมาใช้ร่วมกัน โดยจะพิจารณาตามอาการที่เกิดขึ้น สมุนไพรที่ใช้ที่มีรสต่างกันจะถูกนำมาผสมกันตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ หรือธาตุวัตถุก็ตาม เช่น

ยาฝี 7 จำพวกอันมีในท้องในไส้ทั้งมวล หื้อเอางาช้าง นอแรด เขาเยือง เขาควาย ดูกงูเหลือม ข่าแดง ดีงูว่า หญ้าหย่อมตีนหมา รากไค้นุ่น เขาวัวกระทิง ฝนกินทา

และบางพวก จะใช้เฉพาะพืชสมุนไพร เช่น

ยาเรื้อนเรื้อรังอยู่หลังตีนหลังมือ เอาใบหนุน (ขนุน) 7 ใบ เผาเป็นด่าง พริก 13 ลูก ขมิ้น 7 กลีบ บดกับกันไว้ ใส่ทั้งวันทั้งคืน เป็นต้น

ตามตำราแพทย์แผนโบราณกำหนดการเก็บยาไว้ดังนี้

1. การต้ม
สมุนไพรที่ใช้ต้มมีทั้งแห้งและสด ได้มาจากราก แก่น เปลือก ลำต้น เหง้าหรือหัว เป็นต้น ส่วนสมุนไพรที่ใช้สดๆ มักจะใช้ส่วนของใบ และเหง้าเป็นสำคัญ สมุนไพรแห้งจะต้องนำไปตากแดด หรืออบให้แห้งก่อนนำมาใช้เพื่อป้องกันเชื้อรา และเพื่อให้เก็บไว้ได้นานๆ

การนำสมุนไพรมาใช้ต้มมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ ต้มอาบ ต้มดื่ม และทั้งอาบและดื่มร่วมกัน

การต้มอาบ มักจะใช้รักษาโรคที่เกี่ยวเนื่องจากภายในและโรคที่ปรากฏอาการออกมา เช่น ไข้ป้าง ไข้รากสาด ลมสาน มะเร็งขึ้นหัว บวมหน้า ฯลฯ หรือใช้รักษาอาการภายหลังเป็นไข้ และหญิงหลังคลอด กรณีของผู้ที่เพิ่งจะฟื้นไข้ สมุนไพรที่ใช้จะเป็นสมุนไพรสดๆ เช่น ใบหมากผู้หมากเมีย ใบสะเภาลม ใบมะขาม เป็นต้น และสำหรับหญิงหลังคลอด ใช้สมุนไพรจำพวก ใบมะขาม ใบเปล้า ใบขี้เหล็ก และเหง้าปูเลย (ไพล) วิธีการคือ มัดสมุนไพรทั้งหมดรวมกันแล้วต้มจนน้ำมีสีเข้ม จึงยกลง รอให้อุ่นแล้วนำไปอาบ โดยจะอาบประมาณ 3-7 วันๆ ละครั้ง

การต้มดื่ม บางครั้งก็เรียกว่า เคี่ยว ส่วนมากมักใช้สมุนไพรแห้งนำมามัดรวมกันแล้วต้ม โดยใส่ข้าวสารเจ้า 7 เม็ด น้ำ 3 ส่วน ต้มจน น้ำแห้งเหลือส่วนเดียว จึงยกลง ดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น และดื่มได้เรื่อยๆ ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน เมื่อหมดแล้วก็ต้มมัดเดิมอีก จนกว่า สีของน้ำสมุนไพรจะจางลงหรือใส จึงเปลี่ยนมัดใหม่ ให้ต้มกินจนกว่าจะหาย โรคที่ใช้ยาต้มส่วนใหญ่มักจะเป็นโรค หรืออาการที่เกิดขึ้น ภายในร่างกาย เช่น นิ่ว มะเร็งคุด มะเร็งเกี่ยวเข้าไส้ มดตะขึด ฯลฯ เป็นต้น

ทั้งต้มอาบและต้มกิน โรคที่ใช้วิธีการทั้งสองร่วมกัน มักจะเป็นโรคหรืออาการของโรค ที่เกิดจากภายใน และปรากฏอาการออกมาภายนอก ดังนั้นวิธีการรักษาจึงต้องใช้ทั้ง 2 วิธี คือ ทั้งรักษาอาการภายในและภายนอกด้วย เพื่อให้หายเร็วขึ้น เช่น ไข้ป้าง สันนิบาตร้อนหนาว ลมหมืน (ลมพิษ) เป็นต้น

2. การแช่
สมุนไพรที่ใช้ในการแช่มักจะเป็นส่วนของรากไม้ ใบ เปลือก ราก และหัว เช่น รากแฝก รากไค้นุ่น หัวกูดน้ำ ใบง้วนหมู ใบผักหนอก (บัวบก) เปลือกทัน (พุทรา) โดยการนำไปแช่น้ำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้เวลานาน อาจมากกว่า 2 ชั่วโมง นานที่สุดอาจถึงข้ามคืน การแช่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้แช่เพื่ออาบ กิน เป็นการรักษาโรคอย่างหนึ่ง เช่น ไข้ ขางรากสุด เป็นต้น

3. การฝน
การฝน คือการนำเอาส่วนของพืชสมุนไพร เช่น รากไม้ กิ่งไม้ เป็นต้น นำมาถูกับหินฝนยา ซึ่งมีลักษณะกลม ผิวสากๆ ซึ่งเรียกว่า “บ่าหินฝนยา” หินนี้มักได้จากบริเวณน้ำตก วิธีฝน ทำโดยนำส่วนของไม้ที่เป็นสมุนไพรไปแช่น้ำสักครู่ แล้วนำมาฝนกับหินฝนยา และน้ำเปล่า อาจจะเป็นน้ำอุ่นก็ได้ เมื่อจะรับประทานก็เอาน้ำเจ้า (น้ำข้าวเจ้า) น้ำอ้อย หรือน้ำผึ้งตัด หรือเป็นกระสาย การรับประทานยาฝน มักจะเป็นช่วงเช้าหรือเย็น ซึ่งถือกันว่าเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ เหมาะสม โดยรับประทานไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการจะหายไป โรคที่ใช้ยาฝนกิน เช่น มะเร็งลมล่า ขางกระด้าง ขางเลือดขางลม ไข้ดิน เป็นต้น

สำหรับการฝนทานั้น มักใช้กับโรคที่ปรากฏทางผิวหนัง หรือโรคที่เกี่ยวเนื่องกับอาการไข้ที่ปรากฏออกมาทางผิวหนัง เช่น ไข้ออกดำแดง เป็นต้น

4. การบดหรือตำ
การบดหรือตำ เพื่อให้สมุนไพรมีลักษณะเป็นฝุ่นหรือผงละเอียด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที การนำมาใช้มีหลากหลายด้วยกัน เช่น ใช้ทา ซึ่งจะใช้กับแผลหรือตุ่มต่างๆ นำไปกินกับน้ำจิงหรือน้ำเปล่า สำหรับผู้ที่ชอบหวานหรือต้องการตัดรสขมของยาแก้ 5 ต้นออกไปก็ใส่ น้ำอ้อย น้ำข้าวเจ้าหรือน้ำผึ้งลงไป เพื่อให้รสชาติดีขึ้น และการปั้นเป็นลูกกลอน โดยนำมาผสมกับน้ำผึ้ง น้ำอ้อยหรือน้ำข้าวเจ้า แล้วปั้น ออกมาเป็นก้อนกลมๆ เล็กๆ นำไปตากแดด จนแห้งสนิท เก็บไว้รับประทานได้นาน

5. การหั่นและจู้
การหั่นหรือตัดสมุนไพรเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อใช้รักษาอาการขบ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออาการบวม ปวดหัว เป็นต้น สมุนไพรที่ใช้ เช่น พิดเทาะ ยอดขี้เหล็ก ยอดหนาม ยอดผีเสื้อ นำมาตำพอประมาณ แล้วห่อผ้าทำเป็นลูกประคบ วางทาบลงบนร่างกาย บริเวณที่ต้องการ ตัวยาก็จะค่อยๆ ซึมผ่านผ้าลงบนผิวหนัง เป็นการกรองหรือป้องกันสมุนไพรที่จะมาสัมผัส กับบาดแผลโดยตรงได้ ชั้นหนึ่ง หมอพื้นบ้านบางรายจะใช้ยาจู้ (ทาบ) โดยการนำสมุนไพรมาหั่นแล้วนึ่งด้วยความร้อน ให้ไอความร้อนขึ้น ส่งกลิ่น และมีน้ำซึม ออกมาจากห่อผ้า จากนั้นจึงนำมาทาบบนร่างกายบริเวณที่มีอาการ โดยทำบ่อยๆ วันละหลายๆ ครั้ง

6. ผิงไฟ
เป็นการใช้ส่วนของพืช เช่น ใบ หรือกาบ ที่มีความอ่อนนุ่ม เช่น ใบพลับพลึง ใบกล้วย กาบกล้วย ฯลฯ นำไปผิงไฟให้ร้อน นุ่มแล้วนำมาถูนวดตามร่างกายทันที เช่น การรักษา อัมพฤกษ์ อัมพาต โดยใช้ใบพลับพลึงไปผิงไฟให้ร้อน นุ่ม แล้วนำมานวดเฟ้น เช็ดบริเวณ ร่างกายหรือส่วนที่มีอาการของโรค ทำไปจนใบพลับพลึงเย็น การใช้วิธีนี้มักจะใช้ร่วมกับการใช้ยาจู้ จะทำให้อาการดีขึ้น

7. การหมก
นำพืชที่ต้องการใช้ ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นเหง้า หรือหัว ผลของพืช หุ้มหรือห่อด้วยใบตองกล้วยหลายๆ ชั้น ไปย่างบนถ่านไฟแดงๆ จนใบตองชั้นนอกไหม้เกือบถึงใบตองชั้นใน จึงยกออกมาใช้ หรือโดยการนำไปหมกในกองขี้เถ้าร้อนๆ จนกว่าพืชนั้นจะนิ่ม

8. การอม
สมุนไพรที่ใช้เพื่ออม มักจะเป็นส่วนของดอก ยอดอ่อน มักใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับช่องปาก โรคเหงือก โรคฟัน เช่น ขางปากปุด ขางปากเหม็น ขางลิ้นร้อน เป็นต้น ผู้ที่ใช้สมุนไพรสามารถอมได้ตลอดเวลา รสยาส่วนใหญ่มักจะมีรสเผ็ด ฝาดเล็กน้อย เช่น จันทน์จี้หรือ กานพลู ยอดบ่าก้วย เป็นต้น

9. การสูดหรือการรม
มักใช้เฉพาะโรคเท่านั้น เช่น โรคที่เกี่ยวกับฟัน แมงกินฟัน ฟันผุ เป็นต้น จะใช้วิธีการสูดหรือการรม โดยอมควันที่ออกมาจากกระบอก ไม้ไผ่ไว้ประมาณ 3-4 ครั้งต่อ 5 นาที หยุดพักแล้วทำต่อ ทำประมาณ 7-8 วัน จะหายจากอาการปวดฟันได้

10. การนำไปประกอบอาหาร
พืชที่นำไปประกอบอาหาร ส่วนมากจะใช้ยอดหรือใบอ่อน ต้นอ่อนหรือที่เรียกว่าผัก เช่น ยอดมะม่วง ยอดมะกอก ดอกบัว ผักปั๋ง ผักปูลิง เป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาจประกอบด้วยพืชสมุนไพรหลายชนิดด้วยกันในอาหารอย่างเดียว จึงเป็นการกินเพื่อป้องกันและรักษาไปในตัว

11. การนำไปใช้สดๆ
การนำพืชไปใช้สดๆ โดยไม่ต้องผ่านความร้อนหรือกรรมวิธีใดๆ ส่วนที่ใช้จะเป็นยางจากลำต้น ใบ ก้านใบ การนำสมุนไพรสดไปใช้ทันทีนี้ มักใช้รักษาอาการที่เกี่ยวกับบาดแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เช่น ยางหรือเมือกของว่านหางจระเข้ ใช้รักษาแผลไฟไหม้ การอมหรือ เคี้ยวใบฝรั่งสดๆ เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับช่องปากและฟัน เป็นต้น

รับประทานสมุนไพรวันเดือนเพ็ญหรือ วันขึ้น 15 ค่ำเป็นที่น่าสังเกตว่า ในการรักษาโรคด้วยสมุนไพรนั้น หมอเมืองจะเป็นผู้กำหนดวิธีการใช้กับผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับอาการ ของโรคนั้นๆ บางครั้งจึงมีการดูฤกษ์ยามที่เหมาะสมประกอบด้วย เช่น

  • รับประทานสมุนไพรวันเดือนสามดับ
  • รับประทานสมุนไพรยามตะวันขึ้น อย่าให้มีเมฆหมอกมาบัง หรือรับประทานก่อนพระอาทิตย์จะตก
  • ถ้า เป็นยาต้ม หากเป็นการต้มอาบจะต้องต้มน้ำและอาบทางทิศตะวันตกของเรือน และถ้าจะให้ผลดียิ่งขึ้นตามตำราบอกว่าต้องตั้งขันประกอบด้วยเบี้ย 1,300 หมาก 1,300 เงิน 2 บาท ไต้ 1 เฟื้อง
  • หากเป็นการต้มรับประทาน สำหรับโรคบางโรค เช่น มดตะขึด นิ่ว จะต้องต้มนอกชายคาเรือน และปักตาแหลว (เฉลว) ล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน