สุดยอดวิธีการแสนฉลาดของเกษตรกร จ. มหาสารคาม ท่านนี้คือ คุณพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เกษตรกรรุ่นใหม่ จ.มหาสารคาม ที่ปลูกผักแนวอินดี้ ในเนื้อที่ 7 ไร่ครึ่ง ลองผิดลองถูกจนได้วิธีการปลูกผักให้เก็บเกี่ยวได้ตลอด 365 วัน แบบที่ว่า โรคและแมลง”งง”จนมากินผักไม่ถูก เพราะน้องเขาปลูกพืชคละชนิดกัน ไล่ไปตามอายุเก็บเกี่ยว จากนั้นขยายสู่แปลงอื่น ทยอยลงไล่วันกันไปโดยอาศัยปฏิทินเพาะปลูกที่คิดขึ้นเอง!!
Tag Archives: ปลูกผัก
รวมผักไฮโดรแบบง่ายสไตล์ครูชาตรี
ตอนที่1
พักนี้มีคนถามมาบ่อยเรื่องผักไฮโดรฯ การทำสารละลายแบบบ้านสำหรับผักไฮโดรฯและปีหน้าฝนแล้งขาดแคลนนำ้ยิ่งกว่าปีนี้แน่นอนรับรองผักโคตรแพง ผักไฮโดรโปนิกเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งสำหรับเกษตรกรเพาะใช้นำ้น้อยมาก
พอพูดถึงการปลูกผักไร้ดินขึ้นมาบางคนส่ายหน้าเพราะคิดว่ามันแพง ต้นทุนสูง เหมาะสำหรับบ้านที่มีอันจะกิน คนหาเช้ากินเย็นๆคงทำไม่ได้ เพราะที่เสนอขายชุดปลูกสำเร็จรูปถือว่าแพงมาก รวมทั้งสารละลายที่ปลูก วันนี้ครูชาตรีขออนุญาตนำเสนอวิธีการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์แบบง่ายๆเหมาะสำหรับรับมือภัยแล้งในปีหน้าจะได้มีผักไว้ขายเอาเงินมาซื้อปลาทูตำน้ำพริกครับ
อันดับแรกครูชาตรีตั้งกฎของไฮโดรโปนิกส์ไว้ 3 ข้อครับ
1.มีระบบน้ำไหลผ่านระบบรากตลอดเวลา
2. ระบบน้ำต้องเป็นระบบหมุนเวียน
3. ในน้ำนั้นมีธาตุอาหารเพียงพอต่อพืชซึ่งพืชต้องการธาตุอาหารหลักในการเจริญเติบโต 3 ตัวคือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปรแตสเซียม (K) นอกนั้นเป็นธาตุอาหารรองซึ่งพืชต้องการแต่ต้องการในปริมาณที่น้อย
ถ้าเรายึดกฎ3ข้อเราจะปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ง่ายมาก เช่น เราหาอ่างมา1ใบ ใส่น้ำที่มีสารอาหารสำหรับพืชลงไปเอาเสื้อยืดมาแขวนแล้วปั๊มน้ำที่มีสารละลายให้ผ่านเสื้อยืดตลอดเวลา เจาะรูที่เสื้อเอาต้นไม้เสียบลงไปปลูกแค่นี้ก็ปลูกผักได้แล้ว ลองดูตัวอย่างนะครับว่ากฏ3ข้อปลูกผักแบบใดได้บ้าง
และพบกันใหม่ตอนที่2 นะครับ
สวนผักปลอดสารในเมือง เป็นจริงได้
ขอบคุณจุดชนวนแชนนอล
จุดชนวนความคิด ตอน “สวนผักในเมือง” ออกอากาศวันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555 เวลา 14.30-15.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์เนชั่น แชนแนล และจะออกอากาศซ้ำในเวลา 01.00-01.30 น.
http://www.youtube.com/watch?v=WhBrQsLw3Bo
ปลูกผักหวานบ้าน
สั่งกิ่งผักหวานบ้านมาชำ 100 กิ่ง ตั้งใจจะเอาไปปลูกที่ต่างจังหวัดถ้ามีโอกาส ก็ชำให้เกิดแล้วปลูกที่บ้านเป็นต้นพันธุ์ไปก่อน
ผักหวานบ้าน แตกยอดง่าย ขยายพันธุ์ง่ายด้วยการปักชำ ยิ่งตัด ก็ยิ่งแตก ถ้าปลูกได้ปริมาณพอเหมาะก็สามารถมีเก็บกินได้ตลอดปี มีเหลือก็เก็บหาตลาดหรือร้านอาหารเพื่อสุขภาพ หรือโรงพยาบาลโรงแรม ขาย เพื่อสร้างรายได้เล็กๆ น้อยๆ ได้ สำหรับท่านที่พอมีบ้านที่มีเนื้อที่และแสงแดดพอเพียงอยู่บ้าง (วางแผนไว้เหมือนกันว่าถ้าปลูกแล้วมันงอกงามได้จำนวนพอ ก็จะลองหาที่ขายเล็ก ๆน้อยๆ ดู)
ข้อคิดจากการปลูกประสบการณ์ส่วนตัวประมาณสองสามเดือนที่ผ่านมา :
– ผักหวานไม่ชอบดินเหนียวดินแน่นดินแข็ง ก่อนจะปลูกแบบหวังผล ต้องพิจารณาลักษณะดินในพื้นที่ที่ท่านจะปลูกให้ดีก่อน วางแผนดีๆ ก่อน ถ้าดินเลว ก็ควรวางแผนบำรุงรักษาดินให้ดีพอใช้ได้ก่อน ถึงจะเอากล้าผักหวานลงปลูก
ผักหวานชุดแรกที่ลองเอามาปลูกไม่ทราบพันธุ์ ไปซื้อที่ร้านจำหน่ายต้นไม้ เป็นกิ่งที่ชำจนเกิดรากเป็นต้นแล้วใส่ถุงดำขาย นำมาลงดินที่บ้านที่ทั้งแข็งและแน่นแถมหินเยอะแบบรีบๆ (ดินถมบ้านเดิมเป็นดินจากการก่อสร้าง) ปรากฎว่า ผ่านมาเกือบสามเดือน ผักหวานชุดนี้ไม่แตกรากแทงยอดเลย เหมือนอยู่ๆ แค่อยู่ไป ใบก็ไม่สดใส กำลังพยายามหาวิธีบำรุงดินให้มีคุณภาพ เพื่อรอดูผลว่าจะสร้างพัฒนาการได้การปลูกได้หรือเปล่า
ผักหวานชุดที่สองมาจากแหล่งเดียวกับชุดแรก แต่ลงปลูกในดินถุงสำหรับปลูกต้นไม้ที่วางขายกันทั่วไป ต้นพอแตกยอดบ้าง แต่ก็ไม่มากและเร็วเท่าไหร่ อาจจะเป็นไปได้ว่าต้นยังตั้งตัวได้ไม่เต็มที่ระบบรากยังไม่สมบูรณ์แข็งแรง
แต่เมื่อเทียบกับกิ่งพันธุ์ใหม่ พันธุ์สายน้ำผึ้งที่สั่งมา ที่มีคุณภาพกิ่งอวบอัดค่อนข้างดี ทางผู้ขายทำการตัดกิ่งเตรียมในเวลาที่เหมาะสม ส่งถึงมือไว ได้นำลงปักชำได้ทันเวลาในสภาพที่เรากำหนดได้ ก็เห็นได้ว่ากิ่งแทงยอดออกมาได้เร็วมากในเวลาแค่ 2-3 วัน คงต้องรอดูพัฒนาการของยอดใหม่และระบบรากอีกทีเพื่อตัดสิน
แต่ก็มีเค้าว่า ถ้าจะปลูก การเลือกสายพันธุ์ก็คงจะเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องใส่ใจเหมือนกัน
– ผักหวานชอบกึ่งร่มกึ่งแดด แดดจัดๆ เลยมากไปก็รับไม่ไหว ร่มเกินไป กิ่งก้านก็จะเก้งก้างไม่แตกแน่นเก็บผลผลิตไม่ได้อย่างที่ต้องการ
วันที่ 16 พ.ค. 56
กิ่งตอนได้รับ แช่น้ำหนึ่งชั่วโมง แล้วลงปักในดินปลูกทับด้วยแกลบดำ
วงบ่อซีเมนต์เส้นผ่านสูนย์กลาง 80 ซม. ไม่ปิดฝาลางวางบนลานซีเมนต์หลังบ้าน
จะปักได้ประมาณ 100 กิ่ง + – พอดีๆ
หลังปักปิดไว้ด้วยแสลน 2 วัน รดน้ำตามปกติ
วันที่สาม (19 พ.ค.)
แทงยอดอ่อนทุกกิ่งตาม 2 ภาพบน
มีอะไรคืบหน้าจะอัพเดตในโอกาสต่อไป…
ระบบ Aquaponics น่าสนใจประจำวัน 1
รายละเอียดเพิ่มเติม www.algosolar.com