Tag Archives: ประวัติศาสตร์

คำโกหกพกลมของพระบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย

โดย : Peera Songkünnatham

หมายเหตุ: บทความนี้เรียก “สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” สั้นๆ ว่า “ดำรง” และไม่ใช้ราชาศัพท์ เพื่อเรียกบุคคลด้วยนามอื่นที่ผู้เรียกมองว่าถูกต้องกว่า เช่นเดียวกับที่เจ้าชายดำรงได้ลบชนชาติลาวออกไปจากพื้นที่ใต้การปกครองสยาม กลายเป็น “คนไทยมิใช่ลาว”

ฉันได้อ่านบทความ The Invention of ‘Isan’ History” ของ Akiko Iijima นักวิชาการจาก Tenri University เพิ่งตีพิมพ์เผยแพร่ใน Journal of the Siam Society (วารสารสยามสมาคม) ฉบับล่าสุด (Vol. 106, 2018) แล้วมีความรู้สึกหลายอย่าง

ทั้งทึ่ง ทั้งอึ้ง ทั้งโมโหกับ “พระบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย”

ประเด็นสำคัญของบทความ “ประดิษฐกรรมของประวัติศาสตร์ ‘อิสาณ’” ของ อะคิโคะ อิอิจิมะ ไม่ใช่แต่เพียงว่า การเขียนประวัติศาสตร์ “อีสาน” ถูกปรุงแต่งขึ้นมาอย่างไร แต่ยังอยู่ที่การย้อนไปสืบดูว่า “แหล่งข้อมูล” ทางประวัติศาสตร์ไทยที่ถือกันว่าเป็น “ข้อเท็จจริง” นั้น แท้จริงแล้วถูกปรุงแต่งและจงใจบิดเบือนมาอย่างไร ก่อนจะปรากฏเป็นแหล่งข้อมูลฉบับตีพิมพ์ Continue reading

โศกนาฏกรรมหมอกพิษมรณะแห่ง Bhopal

คืนวันที่ 2 ธ.ค 1984 เป็นคืนที่สดใสท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาว และเป็นคืนแห่งเทศกาลและความรื่นเริงเพราะผู้คนจำนวนมากไปชุมนุมกันตามจุดต่างๆในเมือง Bhopal เมืองหลวงแห่งรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย เพราะเป็นคืน “มุไชรา” เพื่อฟังเพลงและกาพย์กลอน กวีจะร่ายกลอนในภาษาอูรดูที่พรรณนาถึงความทุกข์และความสุข แห่งชีวิต ความตายและวิญญาณที่เป็นอมตะ

เมื่องานสิ้นสุดชาวเมืองต่างกลับบ้านนอน จึงไม่มีใครรู้เลยว่าความตายค่อยๆใกล้เข้ามา เพราะช่วงหลังเที่ยงคืน หมอกมรณะสีขาวมัวค่อยๆแพร่กระจายออกจากโรงงาน Union Carbide India Limited ( UCIL ) ลอยไปในอากาศแล้วแผ่เข้าสู่บ้านเรือน หมอกนั้นคือ Methylisocyanate ( MIC ) ซึ่งใช้ผลิตยาฆ่าแมลงในรูปของแก๊ซที่รั่วจากถังเก็บขนาด43 ตันในโรงงานโดยไม่มีสัญญาณเตือนภัยใดๆที่แจ้งให้รู้ ปีนั้นประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองมีประมาณ 900,000 คน และจำนวนมากที่อาศัยอยู่ตามสลัม แก๊ซ MICนั้นหนักกว่าอากาศ ดังนั้นจึงลอยในระดับไม่สูงเหนือพื้นดิน และทิศทางลมก็พามันเข้าไปสู่ตัวเมือง

ที่สถานีรถไฟในช่วงเวลาที่แก๊ซเริ่มรั่ว ผู้คนจำนวนหนึ่งยังคงทำหน้าที่ของตนตามปกติ เมื่อหมอกมรณะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่บริเวณสถานีนั้นยังไม่มีใครเฉลี่ยวใจ จนกระทั่งพวกเขาเริ่มไอ ตามมาด้วยอาเจียนอย่างรุนแรง หายใจลำบาก และตาเบิ่งกว้างและบอดอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็หายใจไม่ออกและตายในที่สุด บางคนที่ยังไม่สูดแก๊ซพิษเข้าไปและรู้ถึงความผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นก็พยายามติดต่อกับสถานีก่อนหน้าที่จะวิ่งเข้าไปยังสถานี Bhopal รถหลายขบวนหยุดได้ทันก่อนถึงสถานี ยกเว้นขบวนหนึ่งที่แล่นเข้าไปจอดโดยไม่ทราบ เมื่อท้องฟ้าสว่าง ผู้โดยสารบนรถไฟกลายเป็นศพทั้งหมด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในสถานีอีก 23 ศพ Continue reading

ทายาท พระยาพหลฯ ผู้ที่ไม่ยอมเข้าโรงเรียนนายร้อยด้วยวิธีพิเศษ

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ที่เรารู้จักกันในฐานะ หัวหน้า #คณะราษฎร ฝ่ายทหาร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย ที่ดำรงตำแหน่งถึง 5 สมัย และอดีตผู้บัญชาการกองทัพบก พระยาพหลฯนั้นได้ชื่อว่าเป็น นายกรัฐมนตรีที่ซื่อสัตย์และอาจเรียกได้ว่าเป็นนายกฯและนายทหารที่แทบจะมีเงินไม่มากนัก ถึงแม้ว่าตัวท่านจะเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 5 สมัยยาวนานเกือบ 6 ปี และผู้บัญชาการทหารบกก็ตาม เหตุนี้จึงทำให้ตอนท่านถึงแก่อสัญกรรมนั้น ครอบครัวของท่านไม่สามารถที่จะจัดงานศพของท่านได้เพราะครอบครัวไม่มีเงินเพียงพอ ครอบครัวพระยาพหลฯได้กล่าวถึงตอนพระยาพหลฯถึงแก่อสัญกรรมว่า “ทั้งบ้านมีเงิน 137 บาท” ดังนั้นจึงมีเงินไม่เพียงพอที่จะจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพอดีตนายกรัฐมนตรีได้ จนรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้เข้ามาช่วยเหลือจัดการงานศพของท่านแทน

15095555_1000914766679439_5729425048524325939_n

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นั้นท่านมีบุตรและธิดากับท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา 7 คนด้วยกัน ในที่นี้เราจะมาเล่าเรื่องราวของบุตรคนที่ 4 นั้นคือพันตรี พุทธินารถ พหลพลพยุหเสนา ผู้ที่เคยปฏิเสธการเข้าโรงเรียนนายร้อยโดยพิธีพิเศษ และเข้าเรียนในโรงเรียนนายสิบแทน เรื่องราวนั้นมีอยู่ว่า พ.ต.พุทธินารถ ในตอนนั้นไปสอบเข้าโรงเรียนนายสิบ แต่พ.ต.พุทธินารถ ถูกเชิญให้มาพบกับพลจัตวาชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น)ซึ่งเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายสิบยานเกราะ เชิญให้ไปพบพูดคุยด้วยเพราะเห็นนามสกุลแล้วคุ้นๆ จากนั้นคุณพุทธินารถจึงได้ไปพูดคุยกับพลจัตวาชาติชาย จากนั้น พล.จ.ชาติชาย ได้ถามพุทธินารถว่า :

Continue reading

“ไก่งวงวัดสระเกศ” ในวันคริสต์มาสอีฟ

“แร้งวัดสระเกศ” เป็นเรื่องที่ร่ำลือระบือลั่นกันในสมัยก่อน เมื่อฝูงแร้งมากมาย ขนาดที่เรียกได้ว่า มืดฟ้ามัวดิน แห่ลงกินซากศพ ที่กองอยู่เป็นภูเขาเลากาข้างภูเขาทอง นับเป็นภาพที่อุจาดต่อสายตา และน่าสยดสยองอย่างมากต่อผู้พบเห็น ซากศพคนตายเหล่านั้นตายด้วยอหิวาตกโรค ทิ้งเกลื่อนกลาด ที่วัดสระเกศ มีแร้งจิกกิน จนกระดูกข้าโพลน

10805758_776326415754972_5597881208550160582_n

ภาพประกอบ : อีแร้งวัดสระเกศ บันทึกภาพในปี พ.ศ.2440 ภาพศพและแร้งที่มากินศพในวัดสระเกศ สภาพของศพนั้นมีการเฉือนศพให้แร้งกินเพื่อถ่ายภาพ พวกแร้งในภาพนั้นอาจจะสังเกตยากซักหน่อย เพราะฟิล์มสมัยเก่าเป็นขาวดำ แร้งซึ่งมีโทนสีออกดำอยู่แล้ว เดินเกะกะอยู่รอบๆ กำแพงซึ่งโทนดำด้วยกัน ยิ่งทำให้ดูยากยิ่งขึ้น แต่ถ้าดูให้ดีก็จะเห็นหลายสิบตัวทีเดียว ผู้ชายที่ยืนอยู่ในรูปนั้นต้องถือไม้ไว้กันอีกแร้งไม่ให้แย่งศพในเวลาถ่ายรูป (ภาพจากหนังสือ “เปิดกรุภาพเก่า” ของ เอนก นาวิกมูล)

ในสมัย รัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2363 เกิดโรคห่าระบาดอย่างหนัก ในกรุงเทพมหานคร ขณะนั้น ยังไม่มีวิธีรักษา และรู้จักการป้องกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงใช้วิธีให้กำลังใจ โปรดฯ ให้ตั้งพิธีขับไล่โรคนี้ขึ้น เรียกว่า “พิธีอาพาธพินาศ” โดยจัดขึ้นที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีการยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดคืน อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุออกแห่ มีพระราชาคณะโปรยพระพุทธมนต์ตลอดทาง ทรงทำบุญเลี้ยงพระ โปรดให้ปล่อยปลาปล่อยสัตว์ และประกาศไม่ให้ประชาชนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อยู่กันแต่ในบ้าน

กระนั้นก็ยังมีคนตายเพราะอหิวาต์ประมาณ 3 หมื่นคน ศพกองอยู่ตามวัดเป็นภูเขาเลากา เพราะฝังและเผาไม่ทัน บ้างก็แอบเอาศพทิ้งลงในแม่น้ำลำคลองในเวลากลางคืน จึงมีศพลอยเกลื่อนกลาดไปหมด ประชาชนต่างอพยพหนีออกไปจากเมืองด้วยความกลัว พระสงฆ์ทิ้งวัด งานของราชการ และธุรกิจทั้งหลายต้องหยุดชะงัก เพราะผู้คนถ้าไม่หนีไปก็มีภาระในการดูแลคนป่วย และจัดการกับศพของญาติมิตร ในเวลานั้น วัดสระเกศ เป็นศูนย์รวมของแร้งจำนวนนับพัน Continue reading

ประวัติการต่อต้านการสร้างเขื่อนยันฮี (เขื่อนภูมิพล) ในอดีต

เขื่อนภูมิพลและสายไฟฟ้าแรงสูง เมกกะโปรเจ็คของรัฐบาลทหารเลือกตั้ง ที่ถูกใช้ทำลายความชอบธรรมของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อปูทางสู่การรัฐประหารของกลุ่มสี่เสาเทเวศร์ 16 กันยายน 2500

รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พรรคเสรีมนังคศิลา ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้ายันฮี โดยเข้าที่ประชุมสภาในวันที่ 29 สิงหาคม 2500 ก่อนหน้าการรัฐประหารของกลุ่มสี่เสาเทเวศร์อยู่ราวครึ่งเดือน

14657516_1186887721356974_3167597203357152901_n

Continue reading

ตำนานมืดของอิกคิว

ผมเคยเขียนเรื่องท่านอิกคิวไว้นานโขและสัญญากับท่านหนึ่งว่าจะเขียนประวัติยาวๆ อย่างละเอียด ล่าสุดเขียนเรื่องชนช้ันบุระคุมิน คุยกับผุ้อ่านท่านหนึ่งว่า เคยอ่านมังงะเรื่องของอิกคิว มีตอนหนึ่งที่ท่านไปคลุกคลีกับชนชั้นล่างในสังคม ซึ่งเป็นช่วงออกจากวัดหลวงไปฝึกเซนกับท่านเคนโอใหม่ๆ ตอนนี้จะเขียนเรื่องท่าอิกคิวยาวๆ เสียที

12065765_10153028859546954_6884158393414281483_n

Continue reading

101 ปี คลองปานามา เปิดให้เรือผ่านเป็นวันแรก

15 สิงหาคม 2015 นับเป็นปีที่ 101

15 สิงหาคม 1914
คลองปานามา เปิดให้เรือผ่านเป็นวันแรก

10577014_671762586250262_4661904817557753884_n

คลองปานามา (Panama Canal) คลองเดินเรือสมุทรยาว 77 กิโลเมตร สร้างขึ้นบริเวณคอคอดปานามาในประเทศปานามา เพื่อเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องไปอ้อมช่องแคบเดรกและแหลมฮอร์น ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 22,500 กิโลเมตร จึงนับว่ามีความสำคัญมากต่อการเดินเรือ

การขุดคลองเริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 1880 ภายใต้บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสภายใต้การบริหารของนายแฟร์ดินองด์ เดอ เลสเซ็ปส์ ผู้ขุดคลองสุเอซ แต่ทางฝรั่งเศสขาดการศึกษาทั้งด้านภูมิประเทศและอุทกวิทยา อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บในเขตร้อนที่คนงานต้องเผชิญทั้งโรคไข้เหลืองและมาลาเรีย คร่าชีวิตคนงานเป็นจำนวนมากและทำให้การก่อสร้างไม่คืบหน้า ในที่สุด เมื่อปี ค.ศ. 1883 บริษัทฝรั่งเศสไม่สามารถทำงานต่อได้ สาเหตุประการแรกคือการขาดประสบการณ์ภาคสนามของคนงาน เช่น การเก็บเครื่องมือที่เจอฝนไม่ดี ทำให้เกิดสนิม แต่ปัญหาหลักคือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น และมีคนงานเสียชีวิตกว่า 22,000 คน

ต่อมาปี 1904 สหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูสเวลต์ ได้เริ่มขุดคลองต่อหลังจากทำสัญญากับปานามา ในช่วงขุด สหรัฐได้ลงมือกำจัดโรคเขตร้อนโดยขจัดยุงซึ่งเป็นพาหะโรคไข้เหลืองและมาลาเรีย โดยการขจัดหนองน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขจัดพงหญ้าที่เป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของยุง ตลอดจนกำจัดหนูซึ่งเป็นพาหะกาฬโรค รัฐบาลสหรัฐได้ใช้เงินไปประมาณ 20 ล้านดอลลาร์เฉพาะในการปราบปรามโรคเหล่านี้ตลอด 10 ปี จนใน ค.ศ. 1914 การขุดคลองจึงสำเร็จ แต่แม้การแพทย์จะพัฒนาขึ้นในช่วงที่ก่อสร้างโดยสหรัฐ ก็มีการสูญเสียคนงานถึง 5,609 คน ซึ่งถ้ารวมการสูญเสียชีวิตทั้งหมดในการสร้างคลองปานามานี้ ตกอยู่ที่ราว 27,500 คน

15 ส.ค 1914 คลองปานามาเปิดใช้อย่างเป็นทางการโดยเรือที่ผ่านคลองลำแรกคือ เรือ Ancon ตลอด 100 ปี มีเรือแล่นผ่านคลองรวมทั้งสิ้นราว 900000 ลำ และปัจจุบันทำรายได้ให้ประเทศปานามาราวปีละ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

10590594_671762482916939_7089962809992362782_n

August 15, 2014

ที่มา : Kiattiyod Buranawanich

ความเป็นมาและจุดจบ เบนิโต มุโสลินี

10647198_1458439007764045_2768353455916148671_n   10403037_1458438744430738_8564441868075892409_n

29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 วันเกิด เบนิโต มุสโสลินี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) ผู้สถาปนาลัทธิ “ฟาสซิสม์” (Fascism) นายกรัฐมนตรีและผู้นำจอมเผด็จการของอิตาลี เกิดในครอบครัวที่ยากจนในเมืองเปรแดปปิโอ (Predappio) แคว้นเอมิเลีย-โรแมกนา (Emilia-Romagna) ทางตอนเหนือของอิตาลี มารดาเป็นครู บิดาเป็นช่างเหล็กที่เลื่อมใสลัทธิสังคมนิยม ตอนแปดขวบเขาถูกไล่ออกจากโบถส์เพราะแกล้งผู้อื่น จากนั้นถูกส่งเข้าโรงเรียนประจำแต่ก็ถูกไล่ออกเพราะทำร้ายร่างกายนักเรียนคนอื่นและครู ตอนอายุ 19 ปีเขาหนีหนารโดยย้ายไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำงานไมเป็นหลักแหล่งจนถูกจับในข้อหาคนจรจัด ในที่สุดก็ต้องกลับบ้านเกิดไปเกณฑ์ทหาร ต่อมาเขาเข้าเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมของอิตาลี (Italian Socialist Party) เป็นหนึ่งในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ของพรรคคือ “L’Avvenire del Lavoratore” (อนาคตของกรรมาชีพ) เขาเขียนนิยายเรื่อง “Claudia Particella, l’amante del cardinale” (The Cardinal’s Mistress) ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในปี 2453 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (2457-2462) Continue reading

โลกควรจดจำ “ชินด์เล่อร์ ลิสต์ ไชนีส” วีรบุรุษจีน ผู้ช่วยชาวยิวหนีตายจากนาซีกว่าห้าหมื่นชีวิต

14377073001437707562l

เป็นเวลา 20 กว่าปีแล้วที่ภาพยนตร์เรื่อง “Shindler′s List ชะตากรรมโลกไม่ลืม”ได้ทำให้ผู้คนทั่วโลกร่วมกันระลึกและสรรเสริญเรื่องราวความกล้าหาญเสียสละของนายออสการ์ชินด์เลอร์นักอุตสาหกรรมชาวออสเตรียผู้ช่วยชีวิตชาวยิวกว่า5,000คนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อันทารุณของทหารนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่2ซึ่งวีรกรรมของนายชินด์เลอร์นั้นก็เป็นบทพิสูจน์ว่ามนุษยธรรมไม่มีเส้นแบ่งระหว่างเชื้อชาติใดๆ

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ชินด์เลอร์ผู้เดียวเท่านั้นที่ได้หยิบยื่นความช่วยเหลือแก่ชาวยิวยังมีวีรบุรุษอีกผู้หนึ่งที่ปิดทองหลังพระช่วยเหลือชาวยิวให้พ้นจากความตาย

วีรบุรุษผู้นี้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น”ชินด์เลอร์ชาวจีน”เขามีนามว่าดร.โฮเฟิ่งชานกงสุลใหญ่ของสถานกงสุลจีนในเมืองเวียนนาประเทศออสเตรียโดยขณะที่เขาปฏิบัติหน้าที่ณสถานกงสุลอยู่นั้นเขาได้ช่วยชีวิตชาวยิวราว 1,200 คนให้รอดจากเงื้อมมือทหารนาซีได้ แต่การกระทำของเขานั้นกลับไม่ได้ปรากฏต่อสาธารณะเพราะเขาได้เก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับแม้กระทั่งตอนที่จากโลกนี้ไปแล้วเมื่อปี1997ในวัย96ปี Continue reading