Tag Archives: นวโลหะ

นวะโลหะและสัตตโลหะ

นวะโลหะ
นวะแปลว่า 9 … การผสมนวะโลหะแบบเต็มสูตรคือ การนำโลหะต่างๆ 9 ชนิดมาผสมกันตามตำราโบราณ เพื่อนำมาจัดสร้างวัตถุมงคล พระเครื่อง หรือวัตถุอาถรรพ์ต่างๆ  เมื่อผสมแล้วจะได้น้ำหนักโลหะรวมกัน 45 บาท หรือ 684 กรัม ส่วนผสมแบบเต็มสูตรนี้ประกอบด้วย
1.ชิน(ตะกั่ว+ดีบุก) หนัก 1 บาท 
2.จ้าวน้ำเงินหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่งสีน้ำเงิน มีพลวงเป็นส่วนประกอบหลัก)
3.เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท 
4.บริสุทธิ์ หนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)
5.ปรอท หนัก 5 บาท 
6.สังกะสี หนัก 6 บาท 
7.ทองแดง หนัก 7 บาท 
8.เงิน หนัก 8 บาท 
9.ทองคำหนัก 9  บาท 
.. เมื่อผสมกันดังนี้ก็จะได้โลหะซึ่งเรียกว่า”นวะโลหะ” ซึ่งมีความเชื่อกันว่า นวะโลหะก็เป็นเหล็กไหลชนิดหนึ่ง  มีอิทธิฤทธิ์ในตัวแม้จะไม่ได้ปลุกเสกก็ตาม สามารถช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายอัปมงคล ขับไล่ภูติผีปีศาจ สามารถแก้และล้างอาถรรพ์ได้ .. แต่ถ้าได้รับการปลุกเสกจากครูบาอาจารย์ซึ่งเปี่ยมไปด้วยศีลและพุทธาคมด้วยแล้ว พุทธคุณจะยิ่งยวดขึ้นไปอีกเรียกว่าครอบจักรวาลเลยทีเดียว..

นวะโลหะกลับ
นอกจากการผสมนวะโลหะแบบเต็มสูตรแล้ว ยังมีการผสมนวะโลหะไม่เต็บสูตรอีกแบบหนึ่งหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า”นวะกลับ” เพื่อเป็นการลดต้นทุนการจัดสร้าง เนื่องจากทองคำมีราคาสูง ซึ่งการผสมโลหะแบบนี้ ก็มีความเชื่อว่าอิทธิฤทธิ์ของนวะโลหะที่ได้รับการผสมเช่นนี้ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่วนผสมของนวะโลหะแบบไม่เต็มสูตรหรือ”นวะกลับ”มีดังนี้
1.ชิน(ตะกั่ว+ดีบุก) หนัก 9 บาท 
2.จ้าวน้ำเงินหนัก 8 บาท (แร่ชนิดหนึ่งสีน้ำเงิน มีพลวงเป็นส่วนประกอบหลัก)
3.เหล็กละลายตัว หนัก 7 บาท 
4.บริสุทธิ์ หนัก 6 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)
5.ปรอท หนัก 5 บาท 
6.สังกะสี หนัก 4 บาท 
7.ทองแดง หนัก 3 บาท 
8.เงิน หนัก 2 บาท 
9.ทองคำหนัก 1  บาท

Continue reading

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ‘โลหะผสม’ ในวงการพระเครื่องพระบูชา

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ‘โลหะผสม’ ในวงการพระเครื่องพระบูชา: ปกิณกะพระเครื่องวิจิตรปิยะศิริโสฬส (แพะ สงขลา)

มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโลหะผสมในวงการพระเครื่อง ที่ผู้เขียนได้พยายามหาความกระจ่างมาโดยตลอด เกี่ยวกับโลหะบางชนิดที่วงการพระเครื่องเรียกขานกัน เนื่องจากในสมัยก่อนที่ยังไม่ได้เข้าวงการพระ ผู้เขียนเคยได้ยินว่า มีธาตุโลหะอัลปาก้าทองฝาบาตร โลหะขันลงหิน ฯลฯ แต่ก็ไม่เข้าใจ มาได้ยินการเรียกชื่อโลหะเหล่านี้อีกครั้ง เมื่อได้เข้ามาสัมผัสวงการพระ และหาผู้ที่สามารถคลี่คลายข้อข้องใจนี้ไม่ได้ เพิ่งมาได้รับความกระจ่างแจ้งเมื่อได้พูดคุยกับ คุณศิริชัยยิ้มตระการ เจ้าของโรงงานอรุณชัยการช่าง และบริษัท อรุณชัยเมดดัลเลี่ยน จำกัด จ.ชลบุรีโดยท่านได้ให้ข้อมูลว่า

โลหะทองเหลือง เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี โดยมีสัดส่วนทองแดง ๗๕ เปอร์เซ็นต์ สังกะสี ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ส่วน ทองฝาบาตร คือทองเหลืองที่ผ่านการปั๊ม (พระที่ทำด้วยทองเหลืองด้วยกรรมวิธีปั๊ม) เพียงแต่เขามาเรียกให้โก้ๆ เท่านั้นเองเพื่อจะได้จำหน่ายพระในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากคนทั่วไปไม่รู้ว่า แท้ที่จริงก็คือทองเหลืองล้วนๆ นั่นเอง

สำหรับโลหะที่เรียกว่าขันลงหิน นั้นเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก โดยมากโลหะขันลงหินจะนิยมใช้ทำระฆัง เนื่องจากเวลาเคาะเสียงจะดังกังวาน ไพเราะเสนาะหู แต่มีข้อเสีย คือ ใช้เชื่อมไม่ได้เนื่องจากโลหะทุกชนิดที่ผสมด้วยดีบุกจะแตก เมื่อมีการเชื่อมเกิดขึ้น ดังนั้นระฆังส่วนมากท่อนล่างจะเป็นขันลงหิน ส่วนท่อนบนจะเป็นทองเหลือง Continue reading