Tag Archives: ทำเอง

โยเกิร์ตทำเอง

นั่งหาวิธีลองทำโยเกิร์ตทำเอง ความรู้เรื่องวิธีการทั่วๆ ไปคงมีอยู่เต็ม google และ youtube อยู่แล้ว แต่ก็หยิบออกมาได้สองคริปสำหรับการทำคร่าวๆ

บันทึกไว้ง่ายแบบตัวอักษรสำหรับท่านที่ไม่มีเวลาดูคลิป

ส่วนประกอบ:

– นมสดพาสเจอไรซ์ จะพร่องหรือไม่พร่องมันเนยก็ได้ แล้วแต่ความพอใจ
– นมผงจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ อาจใส่สำหรับคนที่ต้องการเนื้อโยเกิร์ตที่ข้นหนาเป็นครีม
– จุลินทรีย์ที่ใช้สำหรับเป็นหัวเชื้อ แบ่งได้เป็น
— โยเกิร์ตรสธรรมชาติตามร้านค้าทั่วๆ ไป
— นมเปรี้ยวรสธรรมชาติทั่วๆ ไป เช่นยาคูลท์ หรือยี่ห้ออื่นๆ
— ที่กำลังจะทำการทดลองในโอกาสต่อๆ ไปคือ หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพแบบที่เตรียมเพื่อการบริโภค

ทำ:

– ตวงนม ในที่นี้ใช้ 2 ลิตร (1 แกลลอนที่ขายตามห้าง)

@ : ตวงนม ตามคลิปว่าไว้ว่า จริงๆ แล้ว หัวเชื้อโยเกิร์ต 1 ถ้วยที่ขายปกติ (ประมาณ 110 มิลลิตร(cc. , ml.) ) จะใช้ทำโยเกิร์ตกับนมได้ถึง 5 ลิตร แต่จากสูตรทั่วๆ ไป ตามเน็ตที่ค้นได้คือ บ้างก็ใช้ 1 : 5 บางคนก็ใช้ 1 : 10 อยู่ที่ความต้องการที่จะเร่งเวลาในการทำ อยากให้เป็นเร็วก็เพิ่มอัตราส่วน ถ้ามีเครื่องบ่มหรือมีที่อุณหภูมิหรือที่ที่คุมอุณภูมิได้ก็อาจจะใช้สูตรที่ไม่ต้องใช้โยเกิร์ตเยอะก็ได้ แต่โดยส่วนตัวที่ทดลองทำครั้งแรกนี้ใช้ 1 : 10 และไม่ใส่นมผง

– นำไปตั้งไฟ ถ้าจะตั้งไฟโดยตรงต้องใช้ไฟอ่อน และคนตลอดเวลาจนกว่านมจะอุ่นจนเกือบเดือดแต่ห้ามเดือด ถ้ามีที่วัดอุณหภูมิก็วัดให้ได้ประมาณไม่เกิน 90 องศา จากนั้นทิ้งให้เย็นตัวลงจนถึงประมาณ 45 องศาเซลเซียส คืออุณหภูมิที่จุลินทรีย์หัวเชื้อทนไหว ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้เติมไปหัวเชื้อก็ตายหมด ไม่ได้โยเกิร์ตอดกิน บรรดาหมู่ชนบนอินเตอร์เน็ตท่านว่าหากไม่มีที่วัดอุณหภูมิให้ลองหยดนมลงบนหลังมือถ้าอุ่นๆ พอไม่ร้อนจนลวกเป็นอันใช้ได้

@ : ส่วนใหญ่การตั้งไฟเข้าใจเองว่าน่าจะสำหรับคนที่จะทำสูตรที่เติมนมผง เพื่อให้นมผงละลาย และเพื่อให้นมอุ่น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะช่วยเร่งปฏิกริยาในการหมัก ทำให้จุลินทรีย์ทำงานเร็วกว่าเปิดแกลลอนเทหมักกันเย็นๆ แต่ก็ได้ผลเหมือนกัน แต่ใช้เวลามากกว่ากันพอสมควรสำหรับการเปิดหมักกันเย็นๆ เลย

– เติมนมผง นมผง : นมสด / 1 : 10 ถ้านม 1 ลิตร ก็ใช้นมผง 100 กรัม หรือ 1 ขีด ถ้าเพิ่มหรือลดก็ทอนสูตรเอา แล้วคนให้ละลายทั่วถึงกันดี

– เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ เติมโยเกิร์ตตามปริมาณที่กะไว้แล้ว แล้วคนให้เข้ากัน

– บ่ม ถ้ามีที่ที่คุมอุณหภูมิได้ให้อยู่ในช่วงประมาณไม่เกิน 50 องศาเซลเซียสได้ ให้นำไปเก็บไว้ 4-6 ชั่วโมง บ้างก็เก็บในกล่องโฟม บางท่านให้คำแนะนำที่น่าสนคือให้เอาไปไว้ที่หลังตู้เย็น ซึ่งเป็นความคิดที่ดี เพราะอุ่นๆ กำลังดีพอสมควร

– พอได้ที่แล้วต้องเก็บเข้าตู้เย็น เก็บไว้ทะยอยแบ่งบริโภคได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์

1743520_770216986323672_404782344_n1623765_770216946323676_1159163345_n1622794_770216892990348_1206883349_n

@ : เวลาในการบ่มไม่แน่นอน ตามสูตรทั่วๆ ไปที่เค้าอุ่นนมและเติมนมผงกันว่าไว้ว่า 4-6-8 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการรสเปรี้ยวของเราด้วย

PS1 : สูตรที่ทำครั้งแรกนี้ แทบไม่ได้เดินตามสูตรทั่วๆไปเลยคือ เปิดนม เปิดโยเกิร์ต เทใส่กัน คนๆ แล้วเก็บเลย เย็นๆ ตอน 21.00 น. มาดูตอน 09.00 ปรากฎว่ามีกลิ่นเป็นโยเกิร์ตและเห็นน้ำใสๆ บนฝาแล้ว แต่ความข้นการแข็งตัวยังไม่ได้ คิดว่าจะลองทิ้งไว้เพิ่มอีก 6-8 ชั่วโมงจนกว่าจะพอใจ

PS2 : การทดลองทำในอนาคตคือ เปลี่ยนหัวเชื้อจุลินทรีย์ เป็นนมเปรี้ยว หรือน้ำหมักสูตรป้าเช็ง และทดลองปรับ ลด/เพิ่ม เวลาในการหมัก

 

ไม่สงวนสิทธิ์ แต่หากนำงานเขียนไปใช้จะดัดแปลงหรือไม่ดัดแปลงเนื้อความก็ตาม กรุณาเครดิตเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันด้วย
blog.etcpool.com

ลูกเดือยทอดกรอบ

ขนมกรุบกรอบทานเล่นจากโรงงานใหญ่ ๆ ที่มีวางขายตามท้องตลาดนั้น บ้างก็มีประโยชน์น้อย บ้างก็มีราคาสูง ซึ่งนี่ก็เป็นช่องว่างทางการตลาดสำหรับรายย่อย เป็น “ช่องทางทำกิน” จากการผลิตขนมกรุบกรอบที่มีประโยชน์-ราคาไม่แพง อย่างการทำ “ลูกเดือยทอดกรอบสมุนไพร” ขาย ก็น่าสนใจ…

ชมพูนุช เผื่อนพิภพ อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มทร.พระนคร เปิดเผยว่า จากการทำโครงการเกษตรอินทรีย์เป็นผลิตภัณฑ์ เมื่อลงพื้นที่ในต่างจังหวัดก็พบพวกธัญพืชต่าง ๆ เป็นที่นิยมมาก แล้วก็เห็น “ลูกเดือย” ซึ่งใคร ๆ ก็คิดว่านำไปต้มได้เพียงอย่างเดียว

แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว เห็นว่าน่าจะทำเป็นอย่างอื่นได้ อาทิ อาหารทานเล่นแบบกรุบกรอบ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ โดยลูกเดือยมีสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายมากมาย
Continue reading