Tag Archives: ชีวิต

10 เรื่องต้องจัดการ เมื่อตกงาน

ต้องยอมรับว่า”ตัวเลขคนตกงาน”และกระแสเลย์ออฟมนุษย์เงินเดือน ที่กำลังระบาดไปทั่วโลกในเวลานี้ หากเป็น1ในความโชคร้าย มีอะไรบ้างที่ต้องการจัดการ

ไม่เพียงตั้งรับพายุร้าย ด้วยความสงบ  หากแต่คุณยังต้องเค้นสติให้กลับมาโดยไว  ถ้าต้องกลายเป็นหนึ่งในผู้เคราะห์ร้ายที่”ตกงาน” อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย  เพราะหลังจากตกงาน ยังมีหลากเรื่องราวและหลายธุรกรรมการเงินให้คุณต้องลงมือจัดการ  ฉะนั้น อย่ามัวนั่งจิตตก จมอยู่กับความเศร้า หรือฟูมฟายกับความโชคร้ายของตัวเอง ลองมาดูกันว่า 10 อย่างที่คุณต้องจัดการหลังจากตกงานมีอะไรบ้าง Continue reading

เรื่องเล่าในเรือนจำจากอดีตนักโทษการเมือง : ธุรกิจในเรือนจำ (4)

ภาพ : สำนักข่าวเจ้าพระยา

ผู้ต้องขังทุกคนต้องสังกัดกองงาน ส่วนผู้ต้องขังพิการ, ผู้ต้องขังสูงอายุที่ทำงานไม่ไหว และผู้ต้องขังที่มีปัญหาสุขภาพจะสังกัด “กองกลาง” ซึ่งเป็นกองงานที่ไม่ต้องทำงาน ผู้ต้องขังทุกคนต้องทำงานตามกองงานที่เรือนจำกำหนด บางกองงานที่เป็นงานบริการ เช่น กองงานโรงเลี้ยง, กองงานเรือนนอน และกองงานโยธา กองงานเหล่านี้ไม่มีเกณฑ์กำหนดการทำงาน

ผู้ต้องขัง VIP-มีฐานะหลายคนสังกัดกองกลาง แม้พวกเขาจะไม่เข้าข่ายก็ตาม แต่ผู้ต้องขัง VIP-มีฐานะอีกหลายคนสังกัดกองงานที่ต้องทำงาน บางคนมีชื่ออยู่ในกองงาน แต่พวกเขาไม่ต้องทำงาน บางคนต้องทำงาน แต่งานของพวกเขาสามารถจ้างผู้ต้องขังรับจ้างทำงานแทนได้ Continue reading

เรื่องเล่าในเรือนจำจากอดีตนักโทษการเมือง : ธุรกิจในเรือนจำ (3)

ภาพ : สำนักข่าวเจ้าพระยา

การทำธุรกิจทุกอย่างย่อมมีความเสี่ยง การให้บริการเหล่านี้บ่อยครั้งที่ผู้ต้องขังที่ใช้บริการได้รับการประกันตัวภายใน 1-2 วัน ผู้ต้องขังเก่าจึงไม่สามารถเก็บเงินจากพวกเขาได้ เมื่อผู้ใช้บริการได้รับอิสระ บางคนเลือกที่จะมาที่เรือนจำเพื่อโอนเงินสด-ซื้อของฝากชดใช้ผู้ต้องขังเก่า บางคนหนีหาย โลกธุรกิจในเรือนจำแห่งนี้จึงไม่ต่างจากโลกภายนอก

นอกจากธุรกิจที่้เกี่ยวกับเสื้อผ้ายังมีธุรกิจที่คุณอาจไม่เคยเห็นมาก่อนในโลกภายนอก ผู้ต้องขังรับจ้างจึงเปรียบเสมือนแรงงานราคาถูกที่ผู้ต้องขัง VIP-มีฐานะใช้บริการเพื่อความสะดวก Continue reading

เรื่องเล่าในเรือนจำจากอดีตนักโทษการเมือง : ธุรกิจในเรือนจำ (2)

ภาพ : สำนักข่าวเจ้าพระยา

เนื่องจากผู้ต้องขังไม่สามารถใช้เงินสดจึงต้องใช้บัตรสมาร์ทการ์ดในการซื้อสินค้าจากร้านค้าของแดนเท่านั้น พวกเขาไม่สามารถใช้บัตรนี้โอนเงินสดจากบุ๊คหากันและกัน หรือซื้อสินค้าจากผู้ต้องขังด้วยกัน เงินสดที่ผู้ต้องขังใหม่นำมาจากโรงพัก-ศาลจะถูกฝากเข้าบุ๊คของแต่ละคน ผู้ต้องขังใหม่ต้องรอการทำบัตรสมาร์ทการ์ด 3-10 วัน บัตรสมาร์ทการ์ดของผมใช้เวลา 9 วัน

เงินสดที่ได้รับจากญาติ-เพื่อนของผู้ต้องขัง และเงินปันผลจากกองงานจะถูกโอนเข้าบุ๊คของแต่ละคน แต่เรือนจำมีการจำกัดการใช้เงินไม่เกินวันละ 300 บาทต่อ 1 คน วงเงิน 300 บาทอาจเพียงพอสำหรับผู้ต้องขังธรรมดา แต่สำคัญผู้ต้องขัง VIP-มีฐานะอาจไม่เพียงพอในบางวัน ผู้ต้องขังขาใหญ่ที่มีลูกน้องมากรายจ่ายในแต่ละวันสูงกว่านี้มาก ด้วยเหตุนี้บุหรี่จึงถูกใช้แทนเงินสดในเรือนจำแห่งนี้ บุหรี่ 1 ซองราคาขายจากร้านค้าของเรือนจำคือ 65 บาท (ปัจจุบันเป็น 67 บาท) แต่มีมูลค่า 50 บาทในเรือนจำแห่งนี้

ผู้ต้องขัง VIP-มีฐานะมักจะให้ญาติ-เพื่อนของพวกเขาซื้อบุหรี่เป็นของฝาก บางคนซื้อมากถึงครั้งละ 10 แถว (1 แถวมี 10 ซอง) เพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายแทนเงินสด ตอนที่ผมยังอยู่ในเรือนจำแห่งนี้ ญาติ-เพื่อนสามารถฝากเงินสด-ซื้อของฝากไม่จำกัด แต่ตอนนี้เรือนจำกำหนดให้ผู้ต้องขังมีเงินสดในบุ๊คไม่เกิน 9,000 บาท รวมทั้งกำหนดให้รับของฝากไม่เกินวันละ 1,500 บาท Continue reading

เรื่องเล่าในเรือนจำจากอดีตนักโทษการเมือง : ธุรกิจในเรือนจำ (1)

ภาพ : สำนักข่าวเจ้าพระยา

หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่า สังคมในเรือนจำเป็นสังคมแห่งการแบ่งชนชั้นยิ่งกว่าสังคมภายนอก ผู้ต้องขังยากจน-ผู้ต้องขังร่ำรวยต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะแดน 1 ซึ่งเป็นแดนของผู้ต้องขัง VIP
ธุรกิจในเรือนจำเริ่มต้นจากความไม่พร้อมของผู้ต้องขังแต่ละคน ผู้ต้องขังที่มีฐานะมักมีญาติ-เพื่อนซื้อของ-ฝากเงินให้กับพวกเขา ขณะที่ผู้ต้องขังที่ยากจนแทบไม่มีใครเหลียวแล

บางคนไม่กล้าเล่าเรื่องที่ตนเองอยู่ในเรือนจำให้กับญาติ-เพื่อนรับรู้ บางคนมีญาติ-เพื่อนก็เหมือนไม่มี เนื่องจากไม่มีใครสนใจจะมาเยี่ยม บางคนถูกภรรยาทอดทิ้งไปมีครอบครัวใหม่
ความเครียดเกิดขึ้นกับผู้ต้องขังเหล่านี้ แม้ในเรือนจำจะมีสวัสดิการ เช่น อาหารของเรือนจำ 3 มื้อ, ห้องนอน, น้ำดื่ม และเครื่องแบบผู้ต้องขัง แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่เพียงพอสำหรับพวกเขา
ของใช้ประจำตัว เช่น สบู่, ยาสีฟัน, ผงซักฟอก และแชมพูเป็นสิ่งที่ผู้ต้องขังทุกคนต้องซื้อหาเอง เรือนจำจะแจกสิ่งของเหล่านี้ให้เพียงปีละ 1-2 ครั้งซึ่งไม่เพียงพอ ผู้ต้องขังที่ยากจนจึงจำเป็นต้องหารายได้เพื่อการยังชีพ

ธุรกิจในเรือนจำมีอยู่ในทุกส่วนของเรือนจำ ตั้งแต่วันแรกที่เข้าเรือนจำจนถึงวันปล่อยตัวออกจากเรือนจำ ตั้งแต่คุณก้าวเท้าออกจากห้องนอนจนกลับเข้าห้องนอนตอนเย็น
ผู้ต้องขังใหม่ที่เข้าเรือนจำเป็นครั้งแรกจะเป็นลูกค้า (เหยื่อ) ของผู้ต้องขังเก่าที่ต้องการหารายได้ เมื่อผู้ต้องขังใหม่มาถึงเรือนจำแห่งนี้ในช่วงเย็น (เวลา 16.00-20.00 น. ของวันทำการ หากตรงกับวันหยุดราชการวัน-เวลาจะเปลี่ยนแปลง) พวกเขาจะถูกจับจ้องจากผู้ต้องขังเก่าเหล่านี้ Continue reading

5 แนวคิดคนรวยจากเด็กอายุ 17 ปี ผู้ที่มีรายได้กว่า 1 ล้านบาทต่อเดือน

 แนวคิดคนรวยทั้ง 5 ข้อต่อไปนี้ ถ้าบอกว่าเป็นข้อคิดดี จากเด็กหนุ่มวัยเพียง 17 ปี ที่สามารถหาเงินกินขนมได้เดือนละ 1 ล้านกว่า อยากรู้ไหมว่าเขาทำได้ยังไงกัน

ตอนอายุ 17 เรากำลังทำอะไรกันอยู่ ? ถ้าลองย้อนนึก ๆ ดูคงเจอแต่ความสดใสในช่วงวัยรุ่น มีมิตรภาพดี ๆ ระหว่างเพื่อนและการเล่นสนุกไปวัน ๆ แต่กับเจ้าหนุ่มคนนี้ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะด้วยวัยเพียง 17 ปี ตอนนี้เขาก็สามารถหาเงินเข้าบัญชีได้เดือนละล้านกว่าบาทแล้ว

Screen Shot 2559-06-06 at 22.42.10

โดยในตอนที่ Temper Thompson หนุ่มน้อยชาวอเมริกันคนนี้กำลังเรียนอยู่เกรด 8 (ประมาณมัธยมศีกษาปีที่ 2) เขาก็คิดอยากหารายได้ด้วยตัวเอง เพื่อที่จะไม่ต้องแบมือขอเงินพ่อแม่อีกต่อไป แต่ด้วยความที่ไม่ค่อยถนัดงานขายอาหารอย่างคนอื่น เจ้าหนุ่มคนนี้เลยคิดจะอาศัยเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยหารายได้แทน เขาจึงเริ่มลงมือทำ Online Marketing ด้วยการขายหนังสือออนไลน์ผ่าน Kiddle Publishing เว็บไซต์หารายได้บนโลกออนไลน์ของ Amazon ที่ว่ากันว่าเป็นเว็บไซต์ Online Marketing อันดับต้น ๆ ในสหรัฐฯ ซึ่งในตอนนั้น Temper Thompson ก็ได้ตั้งเป้าว่าจะหาค่าขนมจากช่องทางนี้ให้ได้เดือนละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3,500 บาท

ทว่าไป ๆ มา ๆ ณ ปัจจุบัน Temper Thompson กลับสร้างรายได้จาก Online Marketing ได้ถึง 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว ๆ ล้านกว่าบาทต่อเดือน ซึ่งการดำเนินธุรกิจให้รุ่งโรจน์เช่นนี้ได้ Temper Thompson ก็ได้เผย 5 แนวคิดแบบคนรวย ที่อาจทำให้ผู้ใหญ่บางคนยังต้องอึ้ง !

1. ต้องลงมือทำ
Temper Thompson บอกว่า ถ้าไม่ลงมือทำ แล้วเมื่อไรจะสำเร็จ ฉะนั้นหากอยากประสบความสำเร็จก็ไม่ควรรีรอหรืออ้างเหตุผลอะไรอีกต่อไป แค่คุณลงมือทำสิ่งที่คิดไว้เท่านั้น ก็เท่ากับมีโอกาสเดินไปถึงความสำเร็จมากขึ้นแล้ว เหมือนอย่างที่เขาก็ลงมือสร้างธุรกิจของตัวเองตั้งแต่กำลังเรียนอยู่เกรด 8 นั่นยังไงล่ะ

2. อย่ากลัวที่จะล้ม
บทเรียนที่ทุกคนควรได้รับก็คือบทเรียนแห่งความพยายาม ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และบางครั้งเราก็ไม่สามารถจะควบคุมมันได้ แต่สิ่งเดียวที่เราทำได้คือการลุกขึ้นมาพยายามใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะฉะนั้นความผิดพลาดหรือการล้มไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่นั่นเป็นโอกาสให้เราได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาด และนำสิ่งเหล่านั้นมาพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นต่างหาก

3. มุ่งมั่น ตั้งใจ
ทุกวันนี้คนเรามักจะใส่ใจอะไรเพียงชั่วแวบเดียวเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เด็กหนุ่มวัย 17 ปีไม่ค่อยจะเห็นด้วยนัก เพราะเขามีแนวคิดที่ว่า เราจะสามารถเดินไปถึงเส้นชัยได้รวดเร็วขึ้น เมื่อเราให้ความใส่ใจหรือทุ่มเทกับอะไรเพียงแค่อย่างเดียว

4. อยู่กับคนที่คิดบวก
พลังแห่งความคิดบวกจะช่วยผลักดันให้คุณคว้าความสำเร็จมาได้ หรืออย่างน้อย ๆ คนคิดบวกก็อาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้คุณโดยไม่รู้ตัว เหมือนอย่างที่ครอบครัว Thompson ได้ทำ โดยพ่อและแม่ของเขาก็เป็นเจ้าของร้านกาแฟ และดำเนินธุรกิจของครอบครัวมาด้วยความสุขสันต์หรรษา ซึ่งนี่ก็เปรียบเสมือนแรงผลักดันให้ Temper อยากสร้างธุรกิจที่นำพาความสุขและรายได้มาให้ตัวเองเช่นกัน

5. อย่าสบายจนเคยตัว
ความสะดวกสบายที่มากเกินไปอาจทำให้เรากลายเป็นคนขี้เกียจได้ Temper คิดอย่างนั้น เขาจึงแนะนำให้ทุกคนมีความแอ็คทีฟ มีแรงผลักดันที่จะสานต่อในสิ่งที่ตัวเองทำ อย่างเช่นเขาที่ตั้งเป้าหารายได้ 100 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อครั้งเริ่มลงทุน ซึ่งเมื่อบรรลุเป้าหมายเขาก็ไม่อยู่เฉย พยายามคิดหาวิธีเพิ่มรายได้จนเขยิบมาที่ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน และยังขับเคลื่อนธุรกิจต่อมาจนรายได้แตะหลักหมื่นดอลลาร์ และจวบจนทุกวันนี้เจ้าหนุ่มน้อยก็ได้ตั้งเป้าให้ธุรกิจของตัวเองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่คิดจะหยุดพัฒนาตัวเอง

ทั้งนี้ Temper ยังฝากมาด้วยว่า ยิ่งคุณสบาย คุณก็จะยิ่งไม่ได้ทำอะไร แต่ยิ่งคุณเหนื่อยเท่าไร ก็เหมือนยิ่งเข้าใกล้ความสำเร็จที่อยากได้มากเท่านั้น

ที่มา :
http://money.kapook.com/view141623.html
http://wisethailand.com/ecetopics/viewtopic.php?id=11005117

คนจีนมี 5 คำ สอนตัวเรากับลูกหลานว่าไม่ควรพูด

12821640_905841416181569_1948497435568657171_n 12821332_905841429514901_6866416261635075871_n 12705640_905841442848233_6891351533727630702_n 12805842_905841459514898_5033786324023796128_n 12794545_905841472848230_1554811628291165074_n 12799107_905841486181562_8648530420080087719_n

ที่มา : เครดิตตามภาพ

คลิปหมอปลาให้ข้อคิด

อยากให้ได้ดูได้ฟังกัน…

ที่มา : ยูทูป คุณ Alice Kamonwan

การแชร์ภาพศพ

เห็นว่าน่าสนใจสำหรับคนทำสื่อหรือเผยแพร่ข่าวสารเรื่องราวที่สมัยนี้ไม่ใช่แค่การสื่อสารทางเดียวหรือเป็นการรับข่าวสารจากสื่อกระแสหลักแค่ไม่กี่เจ้าที่มีเอกสิทธิ์อย่างสมัยก่อนแล้ว เป็นเรื่องที่มีเรื่องให้ไตร่ตรอง คิด พิจารณา น่าสนใจอยู่มากทีเดียว

เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคมที่ผ่านมา หนุมอายุ ๑๓ ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก

สิ่งที่น่าศร้าก็เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์นี้ โดยมีสำนักข่าวบางสำนัก นักข่าวบางคน และผู้ใช้โซเซียลมีเดียจำนวนมาก เผยแพร่ภาพศพนองเลือดของผู้ที่เป็นเหยื่อ จริงๆ แล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีผู้คนจำนวนมากแชร์ภาพลักษณะเดียวกัน (ภาพศพนองเลือด) หลังจากมีเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต รวมไปถึงอุบัติเหตุบนถนนที่มีผู้เสียชีวิตเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เราต้องคิดก่อนว่า เราควรกระทำเช่นนี้หรือไม่ เพราะผมเชื่อว่า การกระทำเช่นนี้มีแต่ผลกระทบโดยไม่เป็นประโยชน์อะไรต่อฝ่ายใด

ภาพศพนองเลือดที่ปรากฏในข่าวและโซเซียลมีเดียเป็นภาพของคนที่ผมไม่รู้จักอย่างเป็นส่วนตัวทั้งนั้น แต่ผมก็ยังรู้สึกสงสารต่อเหยื่อ และนึกไม่ออกว่า ครอบครัวของเหยื่อจะรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นผู้คนหลายๆ คนแช่ภาพศพของสมาชิกครอบครัว เพราะถ้าหากว่าผมเป็นเหยื่อในเหตุรุนแรงหรืออุบัติเหตุแบบนี้ ผมก็ไม่อยากจะให้สื่อเผยแพร่ภาพศพของผม ถ้าสมมุติว่า ครอบครัวหรือเพื่อสนิทเป็นเหยื่อ สิ่งที่ผมไม่ต้องการที่สุดก็คือสื่อจะนำภาพศพและเผยแพร่

หลังจากสูญเสียลูกชายทั้งสามคนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน อ. บาเจาะ จ. นราธิวาสเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ปีที่แล้วก็มีการเผยแพร่ภาพศพของเด็กเหล่านี้ แต่เมื่อมีคนถามถึงการกระทำนี้กับผู้ที่เป็นแม่ของเด็กที่เสียชีวิต คุณแม่ก็อธิบายว่า ถ้าจะใช้ภาพของลูกก็ขอใช้ภาพของพวกเขาเมื่อพวกเขายังมีชีวิตอยู่ เพราะภาพศพนั้นกระทบความรู้สึกของตน

ด้วยเหตุนี้ เราก็ไม่ควรจะเผยแพร่ภาพศพ เพราะการเผยแพร่ภาพศพเป็นการกระทำที่ขาดความเคารพต่อความเป็นมนุษย์และความรู้สึกของครอบครัว ถ้าเราต้องการจะถ่ายทอดความรุนแรงและความโหดเหี้ยมก็ควรใช้วิธีการอื่น โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า เราสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้โดยใช้ภาษา และไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่เราต้องใช้ภาพศพ

งานศพเป็นหนึ่งในพิธีที่สำคัญในทุกศาสนา เพราะศาสนาทุกศาสนาก็สอนให้เรามีความเคารพต่อผู้เสียชีวิต เช่นในศาสนาอิสลาม เราควรฝั่งศพภายในเวลาอันไม่ช้า เพื่อไม่ให้ศพนั้นจะส่งกลิ่นเหม็น และในงานศพเราก็ไม่ควรกล่าวถึงข้อเสีย จุดอ่อนหรือปัญหาของผู้เสียชีวิตด้วย แม้แต่ในสงคราม ศาสนาอิสลามก็สอนให้ศาสนิกชนต้องเคารพศพ ไม่ว่าจะเป็นศพของคนที่อยู่ในฝ่ายเดียวกันหรือของศตรู การถ่ายภาพศพเพื่อนำมาเผยแพร่นั้นคงจะขัดกับหลักศาสนาทุกศาสนาที่ให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์

เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น หน้าที่ของนักข่าวคือถ่ายถอดเหตุการณ์หรืออุบัตุหตุนั้นให้สังคมทราบ นักข่าวก็มักจะอาศัยภาพต่างๆ เพื่อถ่ายทอดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุดังกล่าว แต่คำถามก็คือ ทำไมนักข่าว โดยเฉพาะนักข่าวไทย ไม่ว่ามาจากสื่อกระแสหลักหรือสื่อทางเลือก นิยมอาศัยวิธีการที่ง่ายที่สุดโดยเก็บภาพของศพและเผยแพร่ภาพดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ

ประเทศอื่นๆ หลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ มีกฎหมายที่ห้ามนำภาพศพเพื่อเผยแพร่ตามข่าว แต่ในประเทศไทย สื่อก็ยังอาศัยภาพศพที่ถูกนำมาเผยแพร่ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ แม้ว่ามีเซ็นเซอร์แค่นิดเดียว แต่เรายังเห็นได้ชัดว่า นี่คือภาพศพคำถามก็คือ นักข่าวไทยขาดความเป็นมืออาชีพขนาดนี้ จนถึงไม่สามารถถ่ายทอดเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต ถ้าไม่ภาพของผู้ที่เป็นเหยื่อหรือเปล่า โดยนำเผมแพร่ภาพเหล่านี้ นักข่าวก็ทำให้ผู้อ่านข่าวอยู่ในสภาพ “เสพภาพศพ” จนถึงผู้อ่านก็ไม่อยากอ่านข่าวเหตุรุนแรงถ้าไม่มีภาพศพ การนำภาพศพนองเลือดเพื่อเผยแพร่นั้นไม่ใช่งานของ “นักข่าว” ในความหมายอันแท้จริง แต่ฝีมือของไอ้พวกคนขายข่าวที่ไม่มีความเคารพต่อความเป็นมนุษย์และความรู้สึกจของครอบครัว

สุดท้ายนี้ ผมขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายงดเผยแพร่ภาพศพในสื่อ ไม่ว่าจะเป็นภาพศพของเหยื่อเหตุรุนแรงหรืออุบัติเหตุก็ตาม ตราบใดที่เรากระทำเช่นนี้ต่อ เราก็ไม่อาจจะสามารถสร้างสังคมที่มีความเคารพต่อมนุษย์ และคนในสังคมก็ไม่เห็นคุณค่าในชีวิตของผู้อื่นและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  การแชร์ภาพศพ

เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคมที่ผ่านมา หนุมอายุ ๑๓ ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก

สิ่งที่น่าศร้าก็เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์นี้ โดยมีสำนักข่าวบางสำนัก นักข่าวบางคน และผู้ใช้โซเซียลมีเดียจำนวนมาก เผยแพร่ภาพศพนองเลือดของผู้ที่เป็นเหยื่อ จริงๆ แล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีผู้คนจำนวนมากแชร์ภาพลักษณะเดียวกัน (ภาพศพนองเลือด) หลังจากมีเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต รวมไปถึงอุบัติเหตุบนถนนที่มีผู้เสียชีวิตเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เราต้องคิดก่อนว่า เราควรกระทำเช่นนี้หรือไม่ เพราะผมเชื่อว่า การกระทำเช่นนี้มีแต่ผลกระทบโดยไม่เป็นประโยชน์อะไรต่อฝ่ายใด

ภาพศพนองเลือดที่ปรากฏในข่าวและโซเซียลมีเดียเป็นภาพของคนที่ผมไม่รู้จักอย่างเป็นส่วนตัวทั้งนั้น แต่ผมก็ยังรู้สึกสงสารต่อเหยื่อ และนึกไม่ออกว่า ครอบครัวของเหยื่อจะรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นผู้คนหลายๆ คนแช่ภาพศพของสมาชิกครอบครัว เพราะถ้าหากว่าผมเป็นเหยื่อในเหตุรุนแรงหรืออุบัติเหตุแบบนี้ ผมก็ไม่อยากจะให้สื่อเผยแพร่ภาพศพของผม ถ้าสมมุติว่า ครอบครัวหรือเพื่อสนิทเป็นเหยื่อ สิ่งที่ผมไม่ต้องการที่สุดก็คือสื่อจะนำภาพศพและเผยแพร่

หลังจากสูญเสียลูกชายทั้งสามคนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน อ. บาเจาะ จ. นราธิวาสเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ปีที่แล้วก็มีการเผยแพร่ภาพศพของเด็กเหล่านี้ แต่เมื่อมีคนถามถึงการกระทำนี้กับผู้ที่เป็นแม่ของเด็กที่เสียชีวิต คุณแม่ก็อธิบายว่า ถ้าจะใช้ภาพของลูกก็ขอใช้ภาพของพวกเขาเมื่อพวกเขายังมีชีวิตอยู่ เพราะภาพศพนั้นกระทบความรู้สึกของตน

ด้วยเหตุนี้ เราก็ไม่ควรจะเผยแพร่ภาพศพ เพราะการเผยแพร่ภาพศพเป็นการกระทำที่ขาดความเคารพต่อความเป็นมนุษย์และความรู้สึกของครอบครัว ถ้าเราต้องการจะถ่ายทอดความรุนแรงและความโหดเหี้ยมก็ควรใช้วิธีการอื่น โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า เราสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้โดยใช้ภาษา และไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่เราต้องใช้ภาพศพ

งานศพเป็นหนึ่งในพิธีที่สำคัญในทุกศาสนา เพราะศาสนาทุกศาสนาก็สอนให้เรามีความเคารพต่อผู้เสียชีวิต เช่นในศาสนาอิสลาม เราควรฝั่งศพภายในเวลาอันไม่ช้า เพื่อไม่ให้ศพนั้นจะส่งกลิ่นเหม็น และในงานศพเราก็ไม่ควรกล่าวถึงข้อเสีย จุดอ่อนหรือปัญหาของผู้เสียชีวิตด้วย แม้แต่ในสงคราม ศาสนาอิสลามก็สอนให้ศาสนิกชนต้องเคารพศพ ไม่ว่าจะเป็นศพของคนที่อยู่ในฝ่ายเดียวกันหรือของศตรู การถ่ายภาพศพเพื่อนำมาเผยแพร่นั้นคงจะขัดกับหลักศาสนาทุกศาสนาที่ให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์

เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น หน้าที่ของนักข่าวคือถ่ายถอดเหตุการณ์หรืออุบัตุหตุนั้นให้สังคมทราบ นักข่าวก็มักจะอาศัยภาพต่างๆ เพื่อถ่ายทอดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุดังกล่าว แต่คำถามก็คือ ทำไมนักข่าว โดยเฉพาะนักข่าวไทย ไม่ว่ามาจากสื่อกระแสหลักหรือสื่อทางเลือก นิยมอาศัยวิธีการที่ง่ายที่สุดโดยเก็บภาพของศพและเผยแพร่ภาพดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ

ประเทศอื่นๆ หลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ มีกฎหมายที่ห้ามนำภาพศพเพื่อเผยแพร่ตามข่าว แต่ในประเทศไทย สื่อก็ยังอาศัยภาพศพที่ถูกนำมาเผยแพร่ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ แม้ว่ามีเซ็นเซอร์แค่นิดเดียว แต่เรายังเห็นได้ชัดว่า นี่คือภาพศพคำถามก็คือ นักข่าวไทยขาดความเป็นมืออาชีพขนาดนี้ จนถึงไม่สามารถถ่ายทอดเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต ถ้าไม่ภาพของผู้ที่เป็นเหยื่อหรือเปล่า โดยนำเผมแพร่ภาพเหล่านี้ นักข่าวก็ทำให้ผู้อ่านข่าวอยู่ในสภาพ “เสพภาพศพ” จนถึงผู้อ่านก็ไม่อยากอ่านข่าวเหตุรุนแรงถ้าไม่มีภาพศพ การนำภาพศพนองเลือดเพื่อเผยแพร่นั้นไม่ใช่งานของ “นักข่าว” ในความหมายอันแท้จริง แต่ฝีมือของไอ้พวกคนขายข่าวที่ไม่มีความเคารพต่อความเป็นมนุษย์และความรู้สึกจของครอบครัว

สุดท้ายนี้ ผมขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายงดเผยแพร่ภาพศพในสื่อ ไม่ว่าจะเป็นภาพศพของเหยื่อเหตุรุนแรงหรืออุบัติเหตุก็ตาม ตราบใดที่เรากระทำเช่นนี้ต่อ เราก็ไม่อาจจะสามารถสร้างสังคมที่มีความเคารพต่อมนุษย์ และคนในสังคมก็ไม่เห็นคุณค่าในชีวิตของผู้อื่นและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

– See more at: http://blogazine.pub/blogs/shintaro/post/5476#sthash.DwF2347d.dpuf
ขอบคุณที่มา : บล๊อคของshintaro@blogazine