Tag Archives: ชา

ประโยชน์ของชาควบคู่กับอาหารต่างๆ

ปัจจุบัน ชาวจีนนิยมดื่มชาประกอบกับอาหารหลายอย่าง อาทิ

ชาเกลือ การดื่มน้ำชาที่ผสมเกลือบางๆ สามารถรักษาไข้หวัด แก้ไอ ร้อนในและปวดฟัน

ชาน้ำส้มสายชู การดื่มน้ำชาที่เจือด้วยน้ำส้มสายชู จะบำรุงกระเพาะอาหาร แก้มาลาเรีย และปวดฟัน

ชาขิง การดื่มน้ำชาขิงหลังอาหาร บำรุงปอด บรรเทาอาการไอ ป้องกันและรักษาไข้หวัด และโรคไทฟอยด์

ชานม ต้มน้ำนมที่ใส่น้ำตาลกรวดขาวให้เดือด แล้วผสมด้วยน้ำชา จะได้ช่วยลดความอ้วน บำรุงม้าม และให้สมองสดชื่น

ชาน้ำผื้ง การดื่มน้ำชาที่ชงน้ำผึ้งและใบชาด้วยกัน จะสามารถแก้การกระหายน้ำ บำรุงเลือด ทำให้ปอดชุ่มชื่น บำรุงไต และแก้ท้องผูก

Continue reading

The return to เจียวกู่หลาน

วันนี้ไปทำบุญให้แม่เลยแวะไปร้านชาเจ้าประจำ ได้เจียวกู่หลานมา อายุเปลี่ยน เวลาเปลี่ยน วัยเปลี่ยน สภาพร่างกายก็เปลี่ยน กินชามากแบบเมื่อก่อนไม่ไหวแล้ว ต้องหาอะไรมาทดแทนและคลายพิษชาลงบ้าง

ทุกสิ่งมีดีและมีร้ายในตัวเอง อะไรที่ว่าดีแต่เกินพอดีย่อมไม่ดีทั้งนั้น เมื่อไม่นานมานี้ได้ความรู้ใหม่สำหรับตัวเองมานิดหน่อยว่า คนเราที่ดื่มชามากๆ บางทีต้องตัดด้วยสมุนไพร หรือชาดอกไม้บ้าง เพื่อคลายพิษของชาลง แต่ร่างกายคนเราแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันบางคนทานชายาวๆแล้วกลับดีกับร่างกาย โดยรวมๆ แล้วถ้าแต่พอดี ชานั้นมีประโยชน์มากกว่าโทษ แต่ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคนยังเป็นที่ถกเถียงกันไม่เคยจะหาที่สิ้นสุดได้

20140921_225217

20140921_225237

เปรียบเทียบพลังงานจากอาหารขยะฝรั่ง กับอาหารไทย

ไม่แปลกใจเลยที่ฝรั่งและผู้ที่นิยมบริโภคตามแบบฝรั่งจะมีโอกาสอ้วนได้สูงกว่าผู้ที่นิยมรับประทานอาหารแบบไทยๆ เรา

1383290083-KFC-o 1383290224-hitsweet-o 1383290362-mac-o

1383291173-coffeegree-o1383291213-coffeegree-o

1383290402-thaifoodca-o

1383290649-fruitcart-o

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีเมนูสิ้นคิดในอาหารไทยหลายๆ เมนูที่ให้พลังงานสูงอยู่เหมือนกัน

1383291756-lunch-o

lovefitt.com
http://pantip.com/topic/31183738

ทำชาคอมบูฉะ (ชาเห็ด (Kombucha Tea) ) แบบไทยๆ ง่ายๆ สไตล์ข้าพเจ้า

ถ้าไปอ่านตามเว็บฝรั่งดู ส่วนใหญ่ทั่วๆ ไปแล้วจะเจอวิธีทำและขั้นตอนที่ค่อนข้างซีเรียส และดูจริงจังเกินจำเป็นไปบ้าง วันนี้จึงอยากขอลองนำเสนอวิธีง่ายๆ แบบไม่ซีเรียส แต่ก็ไม่ได้ด้อยเรื่องคุณภาพ คุณค่า ความใส่ใจ หรือความสะอาดอนามัยในขั้นตอนการทำ

405px-Kombucha_Mature

สิ่งที่ต้องใช้ต้องมี :
– โหลแก้ว (ความจุประมาณ 4-5 ลิตร) ส่วนตัวข้าพเจ้าซื้อจากร้านขายอาหารสัตว์แบบบ้านๆ แถวตลาดปากเกร็ด
– ใบชาชง ชนิดที่ท่านชื่นชอบ
– หม้อสเตนเลสสตีลที่จุนำ้ประมาณ 4-5 ลิตรได้
– น้ำตาลทรายที่ไม่ฟอกสี อาจเป็นน้ำตาลทรายสีรำ หรือน้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลอ้อย หรือนำ้ตาลที่ใส่เต้าทึงนั่นเองจะดีที่สุด ก็ได้ สูตรนี้ที่ทำรอบนี้ใช้ 350 กรัม
– น้ำดื่มได้ที่สะอาด ในสูตรนี้ใช้ 2.5 ลิตร
– น้ำหมักชีวภาพตามสูตรที่หมักเพื่อการบริโภค สูตรนี้ใช้ครึ่งลิตร (500 ซีซี.)

เริ่มทำ :

image

– ตวงนำ้ 2.5 ลิตร นำไปต้มให้เดือดอ่อนๆ พอเป็นตาปลา
– พอน้ำเดือดก็เอาใบชาใส่ตะแกรง หรือกระชอน หรือสุดแท้แต่วิธีของแต่ละคน ถ้าใครจะกรองใบชาออกทีหลังก็เทใบชาตามปริมาณอ่อนแก่ตามรสชาที่เราชอบลงไปเลยก็ได้
(*opt) เพื่อความสะอาดและคุณภาพของน้ำชาตามหลักการชงชาที่ดี ควรลวกนำ้ชาด้วยน้ำร้อนเดือดก่อนหนึ่งครั้งได้ ก็จะดีมาก

image

– เมื่อแช่ใบชาจนได้ความแก่ของน้ำชาตามที่ต้องการแล้วก็ปิดไฟ รอให้อุณหภูมิลดลงซักนิดจนแน่ใจว่าอุณหภูมิลดลงจากจุดเดือดแล้ว ให้เทนำ้ตาลที่ชั่งหรือตวงไว้ลงไปแล้วคนให้ละลายให้หมด

* ตรงนี้มีที่เค้าอธิบายไว้ในเว็บฝรั่งเรื่องทำไมไม่ให้เติมนำ้ตาลตอนน้ำเดือดนิดนึงก็คือ ถ้าน้ำตาลมันเจออุณหภูมิสูงมันจะเปลี่ยนรูปกลายเป็นคาราเมล ซึ่งองค์ประกอบทางเคมีของมันจะผิดรูปไปจากที่จุลินทรีย์จะนำไปใช้ให้เกิดผลลัพธ์ที่เราต้องการได้ คือประมาณว่ามันจะไม่ทำให้เกิดกระบวนการหมักตามที่เราต้องการ

– ยกหม้อไปแช่น้ำเพื่อลดอุณหภูมิ หรือถ้าใครมีเวลาไม่รีบหรือไม่สะดวกที่จะเอาหม้อไปหล่อน้ำ ก็รอปล่อยให็เย็นตามปกติก็ได้ ถ้าไม่เติมนำ้ตาลตอนอยู่บนเตาจะมาเติมตอนนี้พร้อมคนไปด้วยก็ได้ แต่ก็อย่ารอให้น้ำเย็นเกินจะได้ไม่ต้องเสียเวลารอให้นำ้ตาลละลายอีก

image

image

image

– กะเอาว่าอุณหภูมิต่องเย็นลงจนต่ำกว่า 45 องศสเซลเซียส ถ้าร้อนกว่านั้นจุลินทรีย์จะตาย จะรอจนกลับสู่อุณหภูมิห้องก็ได้แต่ก็ระวังเรื่องความสะอาดนิดนึงคือรอจนเย็นแล้วทำต่อทันที หรือต้องหาฝาปิด แต่ที่ดีที่สุดควรทำให้เสร็จรวดเดียว เพราะจะได้ได้คุณภาพน้ำชาที่สดที่สุดด้วย (น้ำชาจะมีกระบวนการที่ทำให้คุณภาพลดลงเรื่อยๆ ทันทีหลังจากชงเสร็จและเย็นลง)

image

– ถ้าแน่ใจว่าชาหวานเย็นแล้วก็เอากรอกลงผสมกับนำ้หมักได้เลย

– เสร็จแล้วจะเอาฝาของโหลแก้วเองครอบไว้แบบหลวมๆ หรือหาผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวบาง ผ้าอะไรก็ได้ที่สะอาด มาปิดหาหนังสติ๊กมารัดไว้ไม่ให้อะไรมารบกวน หลักการคือ ต้องให้ชาหมักมีอากาศหายใจด้วย

– หลังจากนั้นชะลอไปไว้ในที่สะอาด สงบ อากาศถ่ายเท และไม่ถูกแสงแดด รังสียูวีในแสงแดดจะฆ่าจุลินทรีย์และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

– สูตรทั่วไปเค้าทิ้งไว้ 7-10 วัน โดยไม่แตะต้องหรือเปิดฝาขวดได้จะดี (ส่วนตัวข้าพเจ้าที่เคยทำมา ทิ้งไว้อย่างสงบ 3-4 สัปดาห์ คราวนี้ลดปริมาณน้ำตาลลงแล้ว อาจพิจารณาลองลดเวลาเหลือ 7-10 วันลงบ้างลองชิมดู) คอยสังเกตุน้ำชาด้วยว่า ไม่มีราดำขึ้นที่ผิว โดยปกติชาจะค่อยๆ สร้างฟิล์มวุ้นหรือที่ฝรั่งเค้าเรียกว่าเห็ดนั่นแหละ ขึ้นมาบนผิวหน้าน้ำ ถ้าได้เป็นวุ้นขุ่นๆ ขาวๆ เป็นแผ่นๆ บนผิวน้ำก็ไม่ต้องตกใจ หลังครบเวลาให้แยกเอาวุ้นจะแช่ตู้เย็นเก็บไว้เพื่อใช้ทำครั้งต่อไปก็ได้ ถ้าจะทำต่อก็แบ่งน้ำชาไว้ส่วนนึงกับวุ้นเก็บแยกแช่ตู้เย็นไว้จะได้ไม่ต้องใช้น้ำหมักอีก ส่วนที่เหลือบรรจุใส่ขวดสะอาด แช่ตู้เย็นเก็บไว้พร้อมดื่ม.

* หมายเหตุ : การทำคอมบูฉะ ค่อนข้างจะไม่มีสูตรตายตัว ทุกอย่างสามารถปรับลดเพิ่มได้ตามความชอบใจ เพียงแต่จะต้องไม่คลาดเคลื่อนไปจากสูตรหลักมากนัก ตามสูตรหลักการทำน้ำหมักชีวภาพจะใช้น้ำ 5 ลิตร ต่อน้ำตาล 1 กิโลกรัม แต่เวลาที่เราใช้ในการหมักคอมบูฉะจะน้อยกว่าเวลาที่เรารอผลของน้ำหมักชีวภาพซึ่งส่วนใหญ่จะรออย่างน้อย 4 เดือนขึ้นไป ถึง 1 ปี แต่คอมบูฉะเรารอแค่ สามสัปดาห์ขึ้นไปเท่านั้น น้ำชาจะยังหวานอยู่เพราะเราไม่รอให้จุลินทรีย์กินน้ำตาลไม่หมดเหมือนในการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อบริโภค น้ำชาจะยังคงความหวานทำให้รสชาติกินง่ายและมีความอร่อยมากขึ้น ถ้าใครชอบเปรี้ยวก็สามารถเพิ่มเวลาได้อีกนิดหน่อย น้ำชาจะเปรี้ยวขึ้นไปเรื่อยๆ จากปฏิกริยาการทำงานของจุลินทรีย์ แต่ในสูตรแบบนี้เราใช้น้ำหมักชีวภาพในปริมาณที่น้อย ถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดราดำที่ผิวน้ำชา

ในสูตรนี้เราจึงลดปริมาณน้ำตาลลงเหลือแค่ 350 กรัม จากที่จริงๆ ต้องใช้ 500 กรัมตามอัตราส่วนน้ำต่อน้ำตาล แต่ตรงนี้สามารถปรับได้ตามความชอบหรือสภาพร่างกาย แต่ต้องไม่คลาดจากสูตรเกิน 1 เท่าตัว และห้ามมากเกินสูตรในส่วนของน้ำตาล เพราะจะกลายเป็นน้ำเชื่อมและทำให้จุลินทรีย์ไม่ทำงาน

image

– ยินดีแลกเปลี่ยนกับทุกท่านที่มีประสบการณ์ ที่ทำนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัว หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใดกราบขออภัยไว้ ณ​ ที่นี้และยินดีรับคำติชม หรือข้อเสนอแนะแลกเปลี่ยนที่สร้างสรรค์จากทุกท่าน

ชิมชานางงาม ไร่101 แม่สลอง หน้าหนาวล๊อตแรก ปี๒๕๕๖

ชานางงามฤดูหนาว คร๊อปแรกต้นปี 2556 ไร่101 ดอยแม่สลอง คั่วแก่ แต่รสชาติหวานปลายนุ่มชุ่มลิ้นแลลำคอเป็นที่ยิ่ง ของปีที่แล้วกลิ่นน้ำผึ้งหอมหวานแต่ฝาดปลาย

เผื่อตุนทำหมักเก่าไว้ลองเปิดสังเกตุและชิมปีหน้า

946208_615853505093355_1306634453_n

หนังสือใหม่ 3 เล่ม

ไม่ได้ซื้อหนังสือใหม่เป็นเรื่องเป็นราวมานานมากๆ เกือบสิบปี….
สามเล่มนี้ได้มาในเวลา 2-3 วันมานี้..

 

ชาอูหลงเย็น

ทำอูหลงเย็นแบบไม่ต้องชงร้อน

อูหลงเย็น มีข้อดีตรงที่ให้คาเฟอีน, แทนนิน, คาเทซิน น้อยกว่าแบบชงร้อน ช่วยลดปัญหาอาการนอนไม่หลับจากการดื่มชา โดยยังคงรสชาติความหวานหอมตามแบบฉบับของอูหลง

ชงชาอู่หลงเย็นง่ายๆ เพียงแค่แช่ใบชาในน้ำเย็นทิ้งไว้ 4 ชั่วโมง ใช้ได้กับอู่หลงเกือบทุกชนิด แต่จะได้รสชาติที่ดีกว่า กับอู่หลงประเภทที่หมักน้อย แต่ท่านสามารถทดลองกับอู่หลงที่หมักแก่กว่า หรือจะลองกับชาดำก็ย่อมได้

ก่อนชงให้ผ่านน้ำเย็นล้างใบชาก่อน (เหมือนกับการชงร้อน) เพื่อทำความสะอาดใบชา หลังจากนั้นให้ใส่ใบชา 6-8 กรัมต่อน้ำเย็น 1 ลิตร ปรับเพิ่ม-ลด ปริมาณตามภาชนะที่ท่านเลือกใช้ นำไปแช่ตู้เย็นเป็นเวลา 4 ชั่วโมง หากรสชาติเข้มเกินไปสามารถเติมน้ำเปล่าเย็นได้เลย ถ้ารสชาติอ่อนไปให้ลองปรับเพิ่มปริมาณชา ในการชงครั้งต่อไป

ว่ากันว่า ใบชาที่เหลือจากการชงเย็น สามารถนำไปชงร้อนต่อได้ 2-4 น้ำ

ชาอู่หลงที่ชงแบบเย็นสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 5 วัน แต่ให้สังเกตุถ้าน้ำชาขุ่นหรือมีอาการข้นเหนียวอย่านำมารับประทาน ให้ปรุงใหม่

หากจากนำออกจากตู้เย็น ดื่มให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง

 

http://www.teafromtaiwan.com/cold_brew_oolong_tea