Tag Archives: ชาขาว

ถึงเวลาชาขาวแจ้งเกิด

ชาขาวมีชื่อเดิมตามภาษาท้องถิ่นจีนว่า “ หยินเซน ” ซึ่งแปลว่า “ เข็มเงิน ” ชาวจีนดื่มชาขาวมายาวนานกว่า 1,500 ปี ในสมัยราชวงศ์ซ่งของจีน ชาขาวเป็นหนึ่งในชาที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นชาที่มีคุณสมบัติดี หายาก และมีราคาแพง จึงถือเป็นชาชั้นสูงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น ชาขาวจะคล้ายกับชาเขียวตรงที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการหมักเลย (หนังสือและตำราเกี่ยวกับชาหลายฉบับระบุไว่ว่า ชาขาวคือชาเขียวชนิดหนึ่ง) แต่ต่างกันตรงที่การเก็บใบชาเพื่อนำมาทำเป็นชาขาว จะต้องคัดเลือกเอาแต่เฉพาะยอดอ่อนที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ นั่นก็คือ จะต้องเก็บชาก่อนที่ ยอดอ่อนซึ่งปกคลุมไปด้วยขนเล็กๆ สีขาวจะคลี่ใบออกมา และนี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อ ชาขาว โดยจะต้องเก็บยอดอ่อนด้วยมือภายในระยะเวลา ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ที่สำคัญชาขาวที่เก็บมานั้นจะถูกทำให้แห้งโดยวิธีธรรมชาติ ด้วยการตากแดดให้แห้งสนิท

จากรายงานผลการวิจัยโดยนักวิจัยของ The Linus Pauling Institute Micronutrient Information Center ได้ระบุไว้ว่า ขั้นตอนการผลิตชาขาวด้วยกรรมวิธีแบบธรรมชาตินี้ ทำให้ชาขาวมีความบริสุทธิ์และคงคุณสมบัติที่ดีของชา ไว้ได้มากกว่าชาที่ผลิตด้วยกรรมวิธีแบบอื่น เหล่านี้เองจึงทำให้ชาขาวเป็นชาที่หายากและมีราคาแพงการ ชงชาขาวจะใช้เวลามากกว่าการชงชาทั่วไป เพราะต้องทิ้งไว้ประมาณ 5-7 นาที จึงสามารถรินดื่มได้ การดื่มชาขาวช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ช่วยสร้างความรู้สึกผ่อนคลายลดอาการตึงเครียดจากการทำงานหนัก นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาวิจัยพบว่า ชาขาวอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ นอกจากนี้ยังพบสารในกลุ่มโพลีฟีนอล ( Polyphenols ) ในปริมาณสูงกว่าชาชนิดอื่น โดยสารในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidant ) ที่ช่วยป้องกันโรคและความบกพร่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนุมูลอิสระ ( Free Radical ) เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ โรคไขมัน อุดตันในเส้นเลือด โรคอัลไซเมอร์

ทั้งยังพบว่าชาขาวมีฤทธิ์เป็นสารปฏิชีวะที่สามารถ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียหลายชนิดจึงสามารถลดอาการอักเสบและติด เชื้อในช่องปากได้ อย่างไรก็ดีผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับ ระบบประสาทควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา เนื่องจากในใบชามีคาแฟอีนประมาณ 30-40 เปอร์เซนต์ของกาแฟ อีกทั้งการดื่มชามากๆ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดคราบเหลืองบนฟันได้

ชาขาวคงคุณค่าและความบริสุทธิ์มากขนาดนี้ คอชาทั้งหลายคงไม่พลาดกันอยู่แล้วใช่ไหม

แหล่งข้อมูล

ที่มา : ส่วนหนึ่งจากหนังสือกูร์เมท์ แอนด์ ควีซีน เดือนกรกฎาคม 2548 ฉบับที่ 5 หน้าที่ 114-115

http://www.tistr-foodprocess.net/tea/article_tea/tea4.htm

The Miracle White Tea

ปัจจุบันกระแสความนิยมในเครื่องดื่มชาเขียว ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ทำให้เกิดการแข่งขันทั้งด้านการผลิต การสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า นอกจากชาเขียวแล้ว ปัจจุบันได้มีผู้ผลิต บางรายได้นำชาขาว ซึ่งมีคุณค่าไม่แพ้ชาเขียวเข้าสู่ตลาดน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคผู้ซึ่งห่วงใยในสุขภาพแต่จะมีสักกี่คน ที่ทราบว่าประโยชน์ของชาขาวนั้นเป็นอย่างไร

ชาขาวเป็นที่รู้จักกันมากว่าหลายร้อยปีในประเทศจีน โดยในตำนานจีนได้กล่าวถึงชาขาวว่าเป็นเครื่องดื่มของจักรพรรดิจีนในสมัยราชวงศ์ซ้ง โดยถือ เป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าสูง มีประสิทธิภาพในการการขับไล่ความเหนื่อยอ่อน และสร้างความสดใส พร้อมทั้งกระตุ้นความเข้มแข็งให้กลับคืนมา ทำให้คนในอดีตเชื่อว่าชาขาวเป็นน้ำอมฤตที่ดื่มแล้วเป็นอมตะ

ตลาดชาวขาวในบ้านเราเมื่อเทียบกับต่างประเทศ เช่น จีน ถือว่ามีกลุ่มผู้บริโภคน้อยราย เนื่องจากการทำประชาสัมพันธ์ถึงคุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับชาขาวมีน้อย และผู้บริโภคยังคงยึดติดกับชาเขียวซึ่งได้รับกระแสความนิยมมาจากประเทศญี่ปุ่น แต่เมื่อมองย้อนกลับไป ประโยชน์ของชาขาวและชาเขียวมีความแตกต่างกัน ดังนั้นนักการตลาดควรให้ความสำคัญโดยเน้นการทำการประชาสัมพันธ์ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภค ได้รับรู้ถึงความสำคัญของชาขาวในตลาดเมืองไทย ชาขาวได้ถูกส่งออกสู่ท้องตลาด หลายยี่ห้อและหลากหลายรสชาติ ไม่ว่าจะเป็น รสน้ำผึ้งผสมมะนาว รสต้นตำรับ รสไลท์ หรือรสโลว์ชูการ์ จากการออกรสชาติที่มีหลากหลายแต่รสชาติที่ออกสู่ตลาดนั้นยังคง เป็นรสชาติเดิมๆ ทำให้ชาเขาวไม่มีความแตกต่างกับชาเขียว ทั้งๆที่คุณประโยชน์ของ ชาขาวเมื่อเทียบกับชาเขียวแล้วมีแตกต่างกันมาก

ชาขาวกับประโยชน์ที่ได้รับ

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าชา ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด จะมีส่วนประกอบของคาเฟอีน (Cafaeine) อยู่ ชาขาวก็เช่นกัน นอกเหนือจากคาเฟอีนแล้วยังพบสารโพลีฟีนอน (Polyphenon) ที่เรียกว่า คาเทคชิน (Catechin) ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นแอนติออกซิเดนท์จะช่วยพัฒนากระบวนการป้องกัน สารพิษในร่างกายและยับยั้งอนุมูลอิสระที่มีปฏิกิริยาต่อต้านร่างกาย โดยในชาขาวมีโพลีฟีนอน (Polyphenon) มากว่าชาเขียวถึงสามเท่า และสามารถป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ในร่างกายมากกว่าชาเขียวถึงสิบเท่า ซึ่งคุณสมบัติพิเศษนี้ทำให้ชาขาวสามารถช่วยขับ ของเสียจำพวกไขมันออกจากร่างกาย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งในช่องท้อง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งผิวหนัง ชะลอความแก่ ช่วยรักษาระบบการป้องกัน ปกป้องผิวหนังจาก ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแสงแดด และป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุทำให้ผิวเกิดริ้วรอย

จากคุณประโยชน์ของชาขาวที่มีมากมาย ทำให้ชาขาวได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะในต่างประเทศ จากการศึกษาข้อมูลพบว่า กระแสความนิยมชาขาวพร้อมดื่มในตลาดสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่ได้รับความนิยมสูง ขึ้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของคนในยุคเจนเนอเรชั่นที (tea) ที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจเรื่อง สุขภาพหันมาดื่มชาขาวที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระแก่ร่างกาย จากเดิมที่เคยนำ ชาขาวไปผลิตเครื่องสำอางเพื่อลดริ้วรอยที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระกับร่างกายภายนอก แม้ว่าปัจจุบันสินค้าชาขาวจะมีผู้ผลิตอยู่น้อยราย คาดว่าในอนาคตอันใกล้จะมีผู้ผลิตเพิ่มมากขึ้น จากภาพรวมตลาดชาเขียวพร้อมดื่มในช่วง 10 เดือน ที่ผ่านมามีมูลค่าเพียง 4,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 25 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อัตราจากเติบโต ส่อเค้าเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลง 15-20 % ทุกรอบเดือน ปัจจัยที่ทำให้ตลาดชาเขียว มีอัตราการเติบโตลดลงในปีนี้อย่างตกใจ เกิดจากตั้งแต่ช่วงต้นปีชาเขียวมีกระแสข่าวลบ มาโดยตลอด จากการพบสารตกค้างในขวด ประโยชน์ของชาเขียว่ว่าดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่ รวมถึงการห้ามการทำโปรโมชั่น ทำให้การเติบโตของตลาดชาเขียวในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 20 % ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ จากการเพิ่มเซ็กเมนซ์ชาขาวออกมา เปรียบเหมือนสร้างให้ตลาดชาขาวพร้อมดื่ม เติบโตต่อจากตลาดชาเขียวซึ่งเป็นเทรนด์มาจากกระแสความนิยมแฟชั่นสินค้าญี่ปุ่น

ข้อมูลจาก :

http://www.maxworth.co.th
http://lpi.oregonstate.edu
http://greentealover.com
http://www.gotomanger.com

ที่มา : Asia Pacific Food Industry Thailand , March – April 2006, P18-19

http://www.tistr-foodprocess.net/tea/article_tea/tea7.htm

ชาชนิดต่างๆ

ชาขาว (White Tea)

นาน แสนนานมาแล้ว จักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์ Song ทรงพระเกษมสำราญอยู่กับรสชาติและกลิ่นหอมรื่นชื่นใจของ Silver Tip White Tea เครื่องดื่มมหัศจรรย์สูงค่านี้มีประสิทธิภาพในการขับไล่ความเหนื่อยอ่อน และให้ความสดชื่นรื่นเริงใจพร้อมทั้งกระตุ้นความเข้มแข็งให้กลับคืนมา หลายคนอ้างว่ามันเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมสำคัญของน้ำอมฤตที่ดี่มแล้ว เป็นอมตะ

ในปัจจุบัน ชาชนิดนี้ รู้จักกันในชื่อของหยินเซน (เข็มเงิน) แหล่งผลิตปลูกกันกว้างขวางในประเทศจีน บนภูเขาสูงแห่งจังหวัดฟูเจี้ยน มันจะถูกเก็บเป็นเวลาสองสามวันสั้น ๆ ในแต่ละฤดูใบใม้ผลิเมื่อช่อสีขาวเพิ่งจะผลิออกมา เฉพาะใบที่อ่อนที่สุดที่ยังปกคลุมด้วยปุยขนอ่อนสีขาวเท่านั้นที่จะถูกเก็บ จะต้องเก็บเกี่ยวยอดอ่อนๆจากแต่ละต้นด้วยมือเปล่าถึง 80,000 ยอดจึงจะสามารถนำมาผลิตเป็นชากลิ่นหอมได้น้ำหนัก 1 ปอนด์ หลังจากนั้นใบชาจะถูกนำไปตากแห้งในแสงอาทิตย์ธรรมชาติ ขั้นตอนง่ายๆ ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ White Tea แตกต่างจากชาประเภทอื่น และยังเป็นการรักษาคุณประโยชน์นานาประการมิให้สลายไปกับกรรมวิธีของมนุษย์

ชาขาว ใช้เฉพาะยอดอ่อนของต้นชา เมื่อเด็ดมาแล้วก็จะนำไปทำให้แห้งโดยตากแดด เป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าชาขาวมี 2 ประเภท คือ ซิลเวอร์ นีดเดิล (Silver Needle) หรือเข็มเงิน เป็นชาขาวที่ค่อนข้างหายาก ราคากิโลกรัมละอยู่ในหลักหมื่นบาท เพราะผลิตได้ยาก เนื่องจากแต่ละปีมีวันเก็บใบชาเพียง 2 วัน เป็นสองวันในเดือนพฤษภาคมของทุกปีที่ใบชายังห่อตัวอยู่ ถ้าเลยจากสองวันนี้ในฤดูกาลเก็บแล้วใบชาจะบาน ชาขาวประเภทที่สองคือ ไวท์ พีโอนี (White Peony) หรือโบตั๋นขาว เป็นชาขาวที่เกิดจากการที่ใบชา เข็มเงิน บานออกมา รสชาติใกล้เคียงกัน แต่รสชาติเข็มเงินค่อนข้างอ่อนกว่าไวท์ พีโอนี คุณธรรมรัตน์แนะนำให้ดื่มชาขาวในช่วงระหว่างอ่านหนังสือ หรือทำคอมพิวเตอร์ เพราะชาขาวมีคุณสมบัติช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ดี ไม่แนะนำให้ดื่มคู่กับขนมหรืออาหาร เนื่องจากรสชาติชาขาวอ่อนละมุนมาก รสชาติอาหาร-ขนมจะกลบรสชาติชาขาวหมด อาจรู้สึกเหมือนดื่มน้ำร้อนเปล่าๆ

ชาอูหลง (Oolong Tea) ชาสีน้ำเงิน (Blue Tea)

ชาสีน้ำเงิน (Blue Tea) ชาวตะวันออกรู้จักกันในนามชาอู่หลง เมื่อเก็บใบชามาแล้วก็จะม้วนใบชาทันทีแล้วนำไปหมัก ซึ่งสามารถทำให้แตกออกมาเป็นชาอู่หลงอีก 2 ชนิดคืออู่หลงแบบจีนกับอู่หลงแบบไต้หวัน การดื่มชาอู่หลงช่วยลดความมันในการรับประทานอาหารจีน แก้เลี่ยน ชำระล้างไขมันจากอาหาร ลดคอเลสเตอรอล ในใบชาอู่หลงมีกรดอะมิโนทีอามีน สามารถหักล้างกับสารกาเฟอีนที่มีอยู่ในใบชา ช่วยระบบการย่อยสลายของอาหารในร่างกาย ทำให้ระบบการย่อยอาหารดี คนจีนจึงนิยมดื่มชาอู่หลงพร้อมติ่มซำ อาหารทะเล ขนมไหว้พระจันทร์

ชาเขียว (Green Tea)

ชาเขียว ((「緑茶」 ryokucha?), จีน: 绿茶 – พินอิน: lǜchá), อังกฤษ: green tea) เป็นชาที่เก็บเกี่ยวจากพืชในตระกูล Camellia sinensis (เช่นเดียวกับ ชาขาว ชาดำ และชาอู่หลง ชาที่ไม่ผ่านการหมัก ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีคุณสมบัติในการต้านทานโรคได้นานาชนิดจึงเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ น้ำชาจะเป็นสีเขียวหรือเหลืองอมเขียว มีรสฝาดไม่มีกลิ่น แต่จะมีการแต่งกลิ่นเผื่อให้เกิดความน่ารับประทานมากขึ้น

ประวัติชาเขียว

ชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนกว่า 4,000 ปีมีแล้ว กล่าวคือเมื่อ 2,737 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดินามว่า เสินหนง ซึ่งเป็นบัณฑิตและนักสมุนไพร จะรักความสะอาดมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆในช่วงศตวรรษต่างๆดังนี้

ช่วงศตวรรษที่ 3

ชาเป็นยา เป็นเครื่องบำรุงกำลังที่ได้รับความนิยมมากในช่วงศตวรรษที่3ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชากันและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อยๆ

ช่วงศตวรรษที่ 4 และ 5

ชาในประเทศจีนได้รับความนิยมมากขึ้นและได้ผลิตชาในรูปของการอัดเป็นแผ่น คือ การนำใบชามานึ่งก่อน แล้วก็นำมา กระแทก ในสมัยนี้ได้นำน้ำชาถึงมาถวายเป็นของขวัญแด่พระจักรพรรดิ

สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – 906

ถือเป็นยุคทองของชา ชาไม่ได้ดื่ม เพื่อเป็นยาบำรุงกำลังอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องมือเพื่อสุขภาพ

สมัยราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960 – 1279

ชาได้เติมเครื่องเทศแบบใน สมัยราชวงศ์ถังแต่จะเพิ่มรสบางๆ เช่น น้ำมันจากดอกมะลิ ดอกบัว และดอกเบญจมาศ

สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 – 1644)

ชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัดเป็นแผ่น แต่มี การรวบรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ ง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรป การผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยได้คิดค้นกระบวนการที่ เราเรียกว่า การหมัก เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน มีการแต่งกลิ่นด้วย โดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้

ประเภทของชาเขียว มี 2 ประเภท

  1. ชาเขียวแบบญี่ปุ่น ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีน น้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง
  2. ชาเขียวแบบจีน ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกะทะร้อน

วิตามินเอและวิตามินอีที่มีอยู่ในใบชาจะสูญเสียไปเกือบหมดถ้าใช้ระยะเวลาในการชงนานจนเกินไป ส่วนปริมาณของแคลเซียม เหล็ก และวิตามินซีจะสูญเสียไปประมาณครึ่งหนึ่ง

ใบชาเขียวมีสารสำคัญ 2 ชนิด

กาเฟอีน(caffein)

ซึ่งมีอยู่ในชาเขียวประมาณร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนัก ซึ่งสารชนิดนี้เองที่ทำให้น้ำชาสามารถกระตุ้น ให้สมองสดชื่น แจ่มใส หายง่วง เนื่องจากกาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เพิ่มการเผาผลาญ เพิ่มการทำงานของหัวใจและไต ผู้ป่วยโรคหัวใจก็ไม่ควรดื่มชา เนื่องจากกาเฟอีนมีคุณสมบัติในการกระตุ้นประสาทและบีบหัวใจ

แทนนิน หรือ ฝาดชา (tea tannin)

พบในใบชาแห้งประมาณร้อยละ 20-30 โดยน้ำหนัก เป็นสารที่มีรสฝาดที่ใช้บรรเทาอาการท้องเสียได้ ดังนั้นหากต้องการดื่มชาเขียวให้ได้รสชาติที่ดีจึงไม่ควรทิ้งใบชาค้างไว้ ในกานานเกินไป เพราะแทนนินจะละลายออกมามากทำให้ชาเขียวมีรสขมแต่ถ้าหากดื่มชาเขียวเพื่อจุด ประสงค์ในการบรรเทาอาการท้องเสียก็ควรต้มใบชานานๆเพื่อให้มีปริมาณแทนนินออก มามากแทนนินยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ของกล้ามเนื้อหัวใจและขยายผนังหลอดเลือด จึงทำให้ชาเขียวเหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า สารแคซิทิน (catecihns) ซึ่งเป็นสารแทนนินชนิดหนึ่งในชาเขียว มีฤทธิ์เป็นสารต้านการเกิดมะเร็ง

วิธีเก็บรักษาใบชา

วิธีเก็บรักษาใบชา ควรเก็บในที่แห้ง ณ อุณหภูมิห้อง ในภาชนะที่ปิด สนิท และปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

  1. บรรจุซองฟอยด์ ให้รีดลมออกให้หมด เพื่อมิให้กลิ่นกระจายหาย และ คงให้ใบชาสดใหม่อยู่เสมอ
  2. บรรจุภาชนะอื่น ภาชนะนั้นต้องทึบแสง เช่น กระป๋องไม้ หรือกระป๋อง อะลูมิเนียม หลีกเลี่ยงการเก็บใบชาไว้ในภาชนะที่แสงสามารถลอดผ่านได้ เนื่องจากมีผลเสียต่อใบชา
  3. ภาชนะนั้นๆต้องปราศจากกลิ่นแปลกปลอมใดๆ เนื่องจากใบชามีคุณ สมบัติดูดกลิ่นอย่างดี ดังนั้นควรทำความสะอาดภาชนะนั้นด้วยน้ำสะอาด หลายๆครั้ง จนแน่ใจว่าสะอาดที่สุดแล้ว
  4. ไม่ควรวางไว้ใกล้สถานที่ที่มีกลิ่นความรุนแรง หรือกลิ่นแปลกปลอม ต่างๆ

สรรพคุณของชาเขียว

ชาเขียว เป็นเครื่องดื่มซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน รวมถึงสามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ด้วย จากงานวิจัยพบว่า ดื่มชาเขียวทุกวันวันละประมาณ 4 แก้ว หรือมากกว่านั้น ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ เพราะในชาเขียวมีสารแอนติออกซิแดนท์ โพลีฟีนอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง สรรพคุณของชาเขียวอีกประการหนึ่ง คือช่วยลดน้ำหนัก จากการวิจัยยังพบอีกว่าสารคาเฟอีนและสารฝาดแคททิคิน ในชาเขียวทำให้เมตาบอลิซึมใน ร่างกายดีขึ้น เผาผลาญพลังงานได้มาก เป็นผลทำให้น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ชาเขียวทำมาจากใบชาชนิดเดียวกับที่ใช้ทำชาดำ แต่การทำชาดำจะต้องผ่านการหมัก ส่วนชาเขียวทำจากใบชาตากแห้งเท่านั้น

ชาเขียวกับประสิทธิภาพในการรักษาโรคมีด้วยกันทั้งหมด 15 วิธี คือ

  1. การใช้ชาเขียวร่วมกับใบหม่อน ที่ช่วยป้องกันโรคหวัด ลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี
  2. การใช้ชาเขียวกับส่วนหัวของต้นหอม จะช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด
  3. การใช้ชาเขียวร่วมกับขิงสด ช่วยรักษาอาการอาหารเป็นพิษและจุกลม ช่วยต่อต้านมะเร็งตับ
  4. การใช้ชาเขียวร่วมกับตะไคร้แห้งจะช่วยขับไขมันในเส้นเลือด
  5. การใช้ชาเขียวร่วมกับคึ่นฉ่ายจะช่วยในการลดความดันโลหิต
  6. การใช้ชาเขียวร่วมกับไส้หมาก ลดน้ำตาลในเส้นเลือด
  7. การใช้ชาเขียวร่วมกับดอกเก๊กฮวยสีเหลือง จะช่วยแก้วิงเวียนศีรษะ ตาลาย
  8. การใช้ชาเขียวร่วมกับลูกเดือย จะลดอาการบวมน้ำ ตกขาว และมดลูกอักเสบ
  9. การใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดเก๋ากี้ จะช่วยลดความอ้วน แก้ตาฟาง
  10. การใช้ชาเขียวร่วมกับโสมอเมริกา ทำให้สดชื่น บำรุงหัวใจ แก้คอแห้ง
  11. การใช้ชาเขียวร่วมกับเนื้อลำไยแห้ง จะบำรุงสมอง เสริมความจำ
  12. การใช้ชาเขียวร่วมกับบ๊วยเค็ม จะช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง แสบคอ เสียงแหบ
  13. การใช้ชาเขียวร่วมกับหนวดข้าวโพด จะลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดอาการบวมน้ำ
  14. การใช้ชาเขียวร่วมกับน้ำตาลกลูโคส จะช่วยบรรเทาอาการตับอักเสบ
  15. การใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดบัว จะช่วยบรรเทาอาการฝันเปียก และยับยั้งการหลั่งเร็ว

ข้อดีของชาเขียว

ต้านโรคไขข้ออักเสบ กล่าวกันว่าชาเขียวช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูห์มาติก (rheumatoid arthritis) ที่มักจะเกิดกับสตรีวัยกลางคน อาการของโรคโดยทั่วไปคือมีอาการของการอักเสบบวมแดง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ

ลดระดับคอเลสเทอรอล สารแคเทชินในชาเขียว ช่วยทำลายคอเลสเทอรอล และกำจัดปริมาณของคอเรสเทอรอลในลำไส้ แค่นั้นยังไม่พอ ชาเขียวยังช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่พอดีอีกด้วย

ควบคุมน้ำหนัก ถ้าคุณกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่ การจิบชาเขียวสามารถช่วยได้ดีทีเดียว จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์พบว่า ชาเขียวช่วยเร่งให้ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารและไขมันมากขึ้น

กลิ่นปากและแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ การดื่มชาเขียวนอกจากจะทำให้ร่างกายอบอุ่นแล้ว ยังช่วยทำให้ลมหายใจสดชื่นและป้องกันการติดเชื้อได้ด้วย อันที่จริงแล้วพบว่าชาเขียวเป็นตัวช่วยยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก ต่อสู้กับเชื้อไวรัสในปากโดยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ผลการทดลองชี้ว่ายาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากอย่างเดียวนั้น ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส ผลการศึกษาสรุปว่า สารพอลิฟีนอลส์ในชาเขียวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียถึง 30% และลดการผลิตของสารประกอบที่เป็นสาเหตุทำให้ลมหายใจเหม็นบูด นอกจากนี้ชาเขียวมีสรรพคุณช่วยป้องกันฟันผุ โดยช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่ชื่อ Streptococcus mutans ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดหินปูนที่มาเกาะฟัน คนส่วนใหญ่จะดื่มชาเขียวหลังอาหาร เพื่อช่วยให้ลมหายใจและกลิ่นปากสะอาดสดชื่น

ป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวี ข้อมูลในวารสารวิทยาภูมิคุ้มกันทางการแพทย์ และโรคภูมิแพ้ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายนตี พิมพ์ไว้ว่า สารแคเทชินในชาเขียวโดยเฉพาะพระเอกตัวเก่ง EGCG มีสรรพคุณป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ชาเขียวเข้มข้นช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเอชไอวี จับตัวกับเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดที่มีความสำคัญต่อภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราที่เรียกว่า “ทีเซลล์” (T cells) ซึ่งเป็นด่านแรกที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ ถ้ามีผลการศึกษาเพิ่มเติมยืนยันผลการวิจัยดังกล่าวนี้ นักวิจัยกล่าวว่าจะนำสารในชาเขียวมาใช้ทดลองในการผลิตยาชนิดใหม่ เพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อเอชไอวี

ข้อเสียของชาเขียว

ชาเขียวจะมีประโยชน์ แต่ชาที่เข้มข้นเกินไป ก็อาจจะมีโทษได้เช่นกัน

  1. ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์ จะมีอาการกระสับกระส่าย ใจเต้นเร็ว มือสั่นอยู่แล้ว การดื่มชาจะทำให้มีอาการเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น
  2. หญิงมีครรภ์ ควรงดดื่มเพราะจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
  3. ในรายที่เป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรงดดื่มชา เพราะกาเฟอีนจะทำให้หัวใจทำงานไม่ปกติ คือเต้นเร็วขึ้น (หากชอบดื่มชา ก็อาจเลือกชาชนิดที่สกัดกาเฟอีนออกแล้วก็ได้)
  4. คนที่เป็นโคกระเพาะอาหารอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา เพราะชาจะกระตู้นให้ผนังกระเพราะอาหารหลั่งน้ำย่อยซึ่งมีสภาวะเป็นกรดมา มากกว่าปกติ ทำให้อาการอักเสบยิ่งรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นโรคกระเพาะแต่เลิกดื่มชาไม่ได้ การเติมนมก็มีประโยชน์ เพราะนมยับยั้งแทนนินไม่ให้ออกฤทธิ์กระตุ้นน้ำย่อยในกระเพราะอาหาร
  5. การดื่มชาแทนอาหารเช้าจะทำให้ ร่างกายขาดสารอาหาร จึงควรเติมนมหรือน้ำตาลอาจเพิ่มเพิ่มคุณค่าได้บ้าง และควรกินอาหารชนิดอื่นร่วมด้วย
  6. การดื่มชาในปริมาณที่เข้มข้นมากๆจะทำให้เกิดอาการท้องผูก และนอนไม่หลับ
  7. ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัดมากๆเพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ระคายเคืองต่อเซลล์ จะทำให้เกิดโรคมะเร็งสูง
  8. การดื่มชาเขียวในปริมาณสูงอาจมีผลในการลดการดูดซึมวิตามิน B1 และ ธาตุเหล็กได้
  9. ในกรณีที่ดื่มชาเพื่อต้องการเสริมสุขภาพและป้องกันมะเร็ง การเติมนมในชาก็ไม่ได้ผล เพราะฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเกิดจากสารแทนนิน แต่การเติมนมลงไปนมจะไปจับกับสารแทนนิน ไม่ให้ออกฤทธิ์

แม้จะมีการวิจัยต่างๆ มากมายที่ระบุว่าสาร EGCG ในคาเทซินซึ่งมีอยู่ในชาจะสามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งได้ถึง 50% แต่การทดลองบางแห่งหนึ่งก็พบว่าการ EGCG เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งในสัตว์อีกชนิดหนึ่ง เพราะความสลับซับซ้อนของเอมไซม์และฮอร์โมนของสัตว์ที่แตกต่างกัน ฉะนั้นการดื่มชาเพื่อสุขภาพที่แท้จริงจึงควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะพอดี

ชาเขียว (Green Tea) เมื่อเก็บยอดอ่อนใบชาที่ยังห่อตัวอยู่เพื่อใช้ทำชาขาวไปแล้ว วันต่อๆ มาใบชาที่เหลือก็จะเริ่มบาน ถ้าเก็บใบที่สองกับใบที่สาม หมายถึงจะนำมาทำชาเขียว เมื่อเก็บใบชามาแล้วก็จะทำให้แห้ง ซึ่งจะแยกอีกว่าทำให้แห้งแบบจีนหรือแบบญี่ปุ่น ก็จะทำให้ได้ชาเขียวที่แตกต่างกันออกไปอีก ชาเขียวที่ดีของจีนยกให้กับชาเขียวหลงจิ่ง เนื่องจากภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม ขั้นตอนการผลิต ทำให้ชาเขียวหลงจิ่งมีคุณภาพดีมาก ชาเขียวเหมาะกับการดื่มคู่อาหารจีน ถ้าดื่มตอนเช้ามีคุณประโยชน์คือช่วยล้างสารพิษในร่างกายให้ออกมากับการขับ ถ่าย ถ้าขับรถนานๆ หรือเกิดภาวะนั่งเครื่องบินนานๆ การดื่มชาเขียวสามารถช่วยปรับสภาพร่างกายให้เข้าสู่สภาวะปกติได้เร็ว

ชาเหลือง (Yellow Tea)

ชาเหลือง (Yellow Tea) มีเฉพาะเมืองจีน จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมโดยทั่วไป เกิดจากการเก็บใบชาเหมือนกัน เก็บแล้วนำมาม้วนเพื่อเก็บน้ำมันใบชาไว้ เพื่อทำให้รสชาติเพิ่มขึ้น สีเปลี่ยน พอม้วนเสร็จก็นำไปทำให้แห้ง เมื่อแห้งแล้วก็จะได้ชาเหลือง สีใกล้เคียงกับชาเขียว แต่จะออกสีเหลืองกว่าเล็กน้อย เพราะชาเขียวไม่ม้วนใบชา เวลาม้วนใบชาน้ำมันก็ยังอยู่ในใบชา เป็นการเก็บน้ำมันไว้เพื่อให้ออกมาทำปฏิกิริยากับอากาศในภายหลัง ชาเหลืองเหมาะสำหรับการดื่มคู่อาหารจีนทุกชนิด เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตทำให้เหมาะกับการดื่มคู่อาหาร สารที่อยู่ในชาเหลืองจะช่วยกำจัดไขมันที่ค่อนข้างมีมากในอาหารจีน และช่วยส่งเสริมรสชาติอาหารจีนให้ดียิ่งขึ้น

ชาแดง (Red Tea)

ชาแดง (Red Tea) เป็นชาโลกใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบและเพิ่งผลิตเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เหมาะกับดื่มคู่กับขนมหวานทุกชนิด ไม่ทำให้ขนมเสียรสชาติ เพราะรสชาติชาแดงออกแนวผลไม้ (Fruity) ดื่มง่าย ดื่มก่อนนอนก็เหมาะ ดื่มช่วงบ่ายก็ดี เพราะไม่มีกาเฟอีน เนื่องจากไม่ได้ทำจากต้นคามิเลีย แต่ทำจากต้น ลอยบอส (Rooibos) พืชเฉพาะถิ่นพบที่แอฟริกาใต้ที่เดียว

……………………………………………………….

ประโยชน์

ใน ปัจจุบันนี้ สารเคมีธรรมชาติที่เรียกว่า Polyphenols เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นแอนติออกซิเดนท์เข้มข้น สารเคมีธรรมชาติที่ทรงพลังนี้จะช่วยพัฒนากระบวนการป้องกันสารพิษในร่างกาย และยับยั้งอนุมูลอิสระที่มีปฏิกิริยาต่อต้านร่างกายPolyphenols พบกันทั่วไปในชาหลายประเภทรวมทั้งชาเขียว แต่จากขั้นตอนการปรุงชาที่ต้องทำให้ชาแห้งและผ่านขั้นตอนการให้ความร้อน ทำให้ Polyphenols จำนวนมากสูญสลายไป แต่ Polyphenols ยังคงมีอยู่ใน White Tea ด้วยเหตุผลสองประการ

1. White Tea มาจากช่อใหม่ของต้นชาซึ่งมีพลังงานอยู่ในระดับศักยะภาพสูงสุด
2. หลังจากการเก็บใบชา White Tea จะไม่มีการม้วนหรือให้หมัก แต่จะปล่อยให้แห้งไปเองโดยแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติ นักวิจัยคาดการณ์ว่าขั้นตอนที่กระชับที่สุดเหล่านี้เองที่ช่วยรักษาให้ White Tea มีความบริสุทธิ์กว่าและอยู่ในสภาวะมีพลังงานมากกว่า White Tea มีคุณค่าของแอนติออกซิเดนท์มากกว่าชาเขียวถึงสามเท่า White Tea ยังป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายมากกว่าชาเขียวถึงสิบเท่า และความสามารถในการปกป้องผิวก็ยิ่งสูงกว่าด้วยเช่นกัน
การชงและการเสิร์ฟ
เมื่อ ต้องการจะดื่มชาให้ตักใบชาใส่ช้อนจำนวนสองช้อนโต๊ะ แต่ละช้อนจะมีปริมาณชาพอที่ชงใส่ถ้วยขนาด 8 ออนซ์ จากนั้นนำไปใส่เครื่องกรอง ให้กรองประมาณ 4-5 นาทีผ่านน้ำร้อนสะอาดที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือด Silver Tip White Tea มีรสชาติในตัวอยู่แล้วซึ่งไม่จำเป็นต้องเติมน้ำตาล นม หรือมะนาว แต่อย่างใด ชาที่มีราคาสูงนี้มีแอนติออกซิเดนท์ปริมาณมากอยู่แล้วโดยธรรมชาติ และยังมีคาเฟอีนต่ำอีกด้วย

ปัจจุบันนี้คนไทยเรามีการนิยมดื่มชากัน มากขึ้นเพราะเชื่อว่า จะเป็นผลดี และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ จนกระทั่งมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับชาหลายชนิดให้เลือกจนเลือกกันไม่ถูก ทั้งที่เป็นเครื่องดื่ม หรือการนำชาเขียวเป็นส่วนผสมใส่ในอาหารต่างๆ เช่น เค้ก ไอศกรีมชาเขียว นมชาเขียว ขนมปังชาเขียว หรือแม้แต่ในเครื่องสำอาง วันนี้เราลองมาดูกันเกี่ยวกับเรื่องชาว่าเป็นอย่างไรกัน ชาวจีนเป็นชนชาติแรกที่มีการดื่มชากันและต่อมาก็มีการแพร่หลายไปสู่ประเทศ ทางตะวันตกมากขึ้น และมีประวัติศาสตร์บางส่วนที่ชาทำให้เกิดสงครามขึ้นระหว่างจีนกับอังกฤษ และสงครามอิสระภาพระหว่างอังกฤษ และอเมริกา

ชาทุกชนิดจะทำมาจากต้น ชาที่มีชื่อว่า Camellia sinensis ส่วนชื่อที่เรียกต่างกันนั้นเนื่องจากขบวนการผลิตภัณฑ์ใบชาที่ต่างกัน การทำชาเขียว (green tea) นั้นจะเอาใบชามาอบ (steam) และทำให้แห้ง (dry) ซึ่งเป็นขบวนการที่ยังทำให้ใบชามีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) พวก โพลีฟีนอลส์ (polyphenols) อยู่ ส่วนชาดำ (black tea) นั้นจะผ่านขบวนการอ็อกซิเดชั่น (oxidation) ต่อไปทำให้มีการลดลงของสารต้านอนุมูลอิสระ ส่วนชาอูหลง (Oolong) จะผ่านขบวนการผลิตที่อยู่ระหว่างชาเขียว และชาดำทำให้รสชาติ กลิ่น สารต้านอนุมูลอิสระอยู่ระหว่างชาเขียว และชาดำด้วย ส่วนชาขาว (white tea) นั้นผลิตจากประเทศจีน ที่มีขบวนการผลิตที่น้อยลงทำให้มีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาเขียว เวลาชงจะได้สีออกจางๆ และรสชาติที่นุ่มนวล ส่วนที่ได้ยินคำว่า “ชาแดง” (red tea) นั้นก็มีความหมายหลายอย่างเหมือนกัน เป็นภาษาที่มาจากภาษาจีน ซึ่งตรงกับความหมายทางตะวันตกว่า ชาดำ (black tea) หมายถึง ชาอูหลง ดังที่ผมกล่าวข้างต้น หมายถึง “ชา” ที่ได้จากพืช Aspalanthus linearis ในอเมริกาตอนใต้ ซึ่งจะเห็นว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่ชาเพราะชาที่แท้จริง (real tea) ต้องได้จากพืช Camellia sinesis ซึ่งชาแดงชนิดนี้จะไม่มีคาเฟอีนและ แทนนิน (tannins) ปัจจุบันมีคนพยายามอ้างว่าเป็นน้ำดื่มสุขภาพ (health beverage) แต่ยังมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับชาเขียว

มีสารอะไรบ้างในชา

สาร คาเฟอีน (caffeine) สารตัวนี้เป็นที่ถกเถียงกันในวงการแพทย์ว่ามีประโยชน์ หรือ โทษกันแน่ แต่โดยทั่วไปยอมรับกันว่าถ้าดื่มไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม ก็ไม่มีผลเสียอะไร ซึ่งในปริมาณนี้จะเท่ากับการดื่มกาแฟประมาณวันละ 2 ถ้วย (ถ้วยละประมาณ 8 ออนซ์) เท่ากับชาวันละประมาณ 5 ถ้วย (ใบชาจะมีคาเฟอีนประมาณ 30-40% ของกาแฟ) สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของต่างๆ ตัวที่สำคัญคือ กลุ่มโพลีฟีนอลส์ (polyphenols) ที่เด่นๆ คือ epigallocatechin-3-gallate (EGCG หรือ catechins) ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระนั้นมีมากมายตั้งแต่การป้องกันการเกิดโรค ต่างๆ จนถึงมะเร็ง สารแทนนิน (tannin) ซึ่งช่วยในการบรรเทาอาการท้องเสีย ควรต้มหรือแช่ชานานๆ เพื่อให้ได้สารแทนนิน แร่ธาตุอื่นๆ
เช่น ฟลูออไรด์ วิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และอื่นๆ อีกหลายชนิด

ใครบ้างที่ควรระวังในการดื่มชา

โดย ปกติแล้วถือว่าชาเป็นเครื่องดื่มที่มีความปลอดภัยสูง ยกเว้นในบางคนที่อาจโดนกระตุ้นด้วยสารคาเฟอีนง่าย (เช่นเดียวกับกาแฟ) ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไทรอยด์ โรคกระเพาะ หรือคนที่นอนหลับยาก ก็ไม่ควรดื่มชา กาแฟ หลัง 18.00 (หรือ12.00) ด้วย สำหรับผมตอนนี้ได้เริ่มดื่มชาเขียวสลับกับกาแฟแล้ว (ยังไงก็ยังดื่มกาแฟอยู่เพราะกลิ่นหอมมากครับ) เดี๋ยวนี้เขามีมีชาเขียวขายเป็นแบบถุงเล็กๆ สำหรับแช่และราคาไม่แพงมากเหมือนสมัยก่อน ยกเว้นวันหยุดก็จะต้มชาเขียวดื่มเองบ้าง เพราะบางคนบอกว่าการดื่มชาก็คล้ายๆ กับดื่มไวน์ในใบชาแต่ชนิดแม้จะพันธุ์เดียวกันแต่ปลูกในที่ต่างกันหรือเก็บ เกี่ยวในฤดูกาลที่ต่างกันก็จะให้รสที่ต่างกันด้วย

……………………………………………………….

ที่มา :
http://bangkokbiznews.com/jud/taste/20070701/news.php?news=column_23499745.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7
http://bangkokbiznews.com/jud/taste/20070701/news.php?news=column_23499745.html