ที่มา : เครดิตตามภาพ
ที่มา : เครดิตตามภาพ
การข่มขืนนานกิง ( Rape of Nanking ) รอยร้าวและไฟแค้นของจีนต่อญี่ปุ่น ทุกคนคงเคยเห็นข่าวว่าเมื่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นไปสักการบูชาทหารญี่ปุ่นที่ศาลเจ้ายาสุกูนิ ในกรุงโตเกียวมักมีเสียงด่า สาบแช่ง และประท้วงจากจีนทุกครั้งว่า
“ทำไมแกต้องไปกราบไหว้พวกมันด้วย มันไม่ใช่วีรบุรุษ มันเป็นปีศาจชัดๆ”
หรือ
“แกทำอย่างนี้ทำไม ต้องการหยามน้ำหน้าเราหรือ รู้ไหมพวกมันทำอะไรไว้กับพวกเราบ้าง รู้บ้างไหม”
หรือ
“สักวัน ประเทศแกจะพังพินาศ เหมือนพวกมัน”
นี้คือตัวอย่างเสียงด่าจากนานาประเทศโดยเฉพาะจีน บางคนประท้วงถึงขั้นบอยคอตสินค้าญี่ปุ่น การต่อต้านหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นที่บิดเบือนประวัติศาสตร์ การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับญี่ปุ่น และบางครั้งถึงขั้นปล่อยข่าวใส่ร้ายต่างๆ นา ๆ เลยทีเดียว”
ทำไมชาวจีนจึงเกลียดทหารญี่ปุ่นจนเข้าไส้
คำตอบของเรื่องนี้ก็คือ พวกเขายังไม่ลืมเหตุการณ์คดีที่นานกิงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มันทำให้ชาวจีนเจ็บแค้นญี่ปุ่นอย่างมากที่สุด
เรื่องเริ่มต้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1937 นั้นกองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาบุกรุกประเทศต่างๆ ในเอเชียเพื่อยึดพื้นที่ให้ได้มากที่สุดและนำทรัพยากรทุกๆด้านจากประเทศที่ยึดได้เอาไปเป็น”ทุน”หรือ”วัตถุดิบ”ในการเติมแสนยานุภาพทางด้านการรบ การสร้างอาวุธ หรือแหล่งพลังงานสำรองด้านอื่นๆ
ญี่ปุ่นบุกเข้ายึดเขตแมนจูเรีย โดยอ้างว่าทหารจีนได้ไปวางระเบิดทางรถไฟของญี่ปุ่น เท่ากับจีนหยามน้ำหน้าญี่ปุ่น ทางประเทศพันธมิตรยุโรปทราบเรื่องนี้แต่ทำอะไรไม่มากนักเนื่องจากเหนื่อยจากสงครามโลกที่ผ่านมา ทำได้เพียงเชิญตัวแทนญี่ปุ่นเข้าพบและสั่งถอนกำลังออก แต่ญี่ปุ่นไม่รับฟัง แมนจูเรียจึงถูกปกครองโดยญี่ปุ่น และเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐแมนจูกัว
นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังยึด เกาหลี และประเทศตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย ตลอดจนหมู่เกาะแปซิฟิก ฯลฯและเป้าหมายต่อไปของญี่ปุ่นก็คือจีน
จีนถือว่าเป็นเป้าหมายหลักที่ญี่ปุ่นต้องการมากที่สุดในเอเชีย เนื่องจากมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นเมืองใหญ่ๆ ทั้งหลายในจีนจึงเป็นเป้าหมายที่ญี่ปุ่นต้องการ
เมืองใหญ่น้อยทั่วจีนที่เป็นเป้าหมายของญี่ปุ่นถูกปราบลงราบคาบไม่มีการต่อต้านจากจีนใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนนานกิงเมืองหลวงในปี 1937 นั้นยังไม่ถูกญี่ปุ่นยึด แต่ก็สะบัดสะบอมเต็มที่เพราะกองทัพญี่ปุ่นโหมบุกหนักหน่วงเป็นระลอกคลื่น
จนกระทั่ง ก.ย 1939 กองทัพญี่ปุ่นส่งเครื่องบินรบสทิ้งระเบิดถล่มทั่วนานกิงแบบปูพรม ถึง 100 เที่ยว โดยเฉพาะวันที่ 25 ก.ย 1939 นั้นฝูงบินญี่ปุ่นแบบทิ้งระเบิดปูพรมถึง 5 เที่ยวใหญ่ปล่อยตรงจุดที่มีผู้คนหนาแน่น เช่น หน่วยรักษาคนเจ็บ ค่ายผู้อพยพ ส่งผลให้มีคนตายในที่เกิดเหตุทันทีกว่าร้อยศพ มีคนบาดเจ็บนับไม่ถ้วน สถานีวิทยุ การประปา แหล่งเพาะปลูก แม้แต่โรงพยาบาล ถูกกองทัพญี่ปุ่นทิ้งระเบิดใส่จนพังพินาศหมด ทำให้นานกิงตัดขาดโลกภายนอกโดยสมบูรณ์แบบ
ล่วงเข้ามาถึง วันที่ 20 พ.ย รัฐบาลก๊กมินตั๋ง ประกาศย้ายเมืองหลวงไปยังชองกิง ในขณะเดียวกันนานกิงนั้นก็ระส่ำระสายแทบควบคุมสถานการณ์ไม่อยู่ บรรดาราชการคนชั้นสูง คนรวย ต่างหนีออกจากเมือง โดยปล่อยพวกชาวบ้านนานกิงจนๆ ผู้อพยพ และบรรดาพ่อค้าที่ห่วงของรอเคยชะตากรรมกันเอาเอง
เมืองนานกิงก่อนทหารญี่ปุ่นบุก มีประชากรราวหนึ่งล้านคน ส่วนใหญ่ยังไม่หนีไปไหน แต่หาที่ซ่อนตัวไม่ไกลนัก เพราะทุกคนต่างหวังว่าทหารก๊กมินตั๋งจะมาช่วยต้านทหารญี่ปุ่นไว้ได้
แต่พวกเขาคิดผิดมหันต์!
เพราะคณะกรรมาธิการนานาชาติได้ตั้งให้นานกิงเป็นเขตปลอดภัย หรือเซฟตี้ โซน โดยไม่จำเป็นต้องให้ส่งทหารมาดูแลโดยรับความเห็นชอบจากรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ความหวังสุดท้ายของชาวนานกิงจึงริบหรี่
กองทัพญี่ปุ่นใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศที่ว่า นานกิงนั้นถูกขนาบด้วยแม่น้ำถึงสองด้าน ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของโค้งแม่น้ำแยงซี ซึ่งเมื่อไหลมาจากทางเหนือแล้วก็เลี้ยวผ่านไปทางตะวันออก กองทัพญี่ปุ่นภายใต้การนำของพลเอก นาคาจิมา เคซาโกะ สามารถเดินทัพจากทางตะวันออกเฉียงใต้มาบรรจบกันที่ด้านหน้าของนานกิงในรูปครึ่งวงกลม โดยใช้แม่น้ำเป็นกำแพงธรรมชาติล้อมเมืองหลวงแห่งนี้ รวมทั้งสกัดการฝ่าหนีออกไป
ปลายเดือน พ.ย. ทหารญี่ปุ่นสามกองทัพดาหน้าเข้าหานานกิง ทัพหนึ่งมุ่งตะวันตกทางฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำแยงซี ทหารกองนี้เข้ามาทางแม่น้ำไป๋เหมา ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ โดยเดินทัพมาทางรถไฟสายนานกิง-เซี่ยงไฮ้
ทัพที่สองเตรียมตัวบุกจู่โจมนานกิงทั้งทางน้ำและทางบกอยู่ที่ทะเลสาบอ้ายหู ทัพนี้เคลื่อนจากเซี่ยงไฮ้ลงมาทางตะวันตก และเดินทัพอยู่ทางทิศใต้ของทัพของนาคาจิมา โดยผู้นำทัพนี้คือ พลเอกมัตสึอิ อิวาเนะ
ทัพที่สามภายใต้การนำของพลโทยานากาวา ไฮสุเขะ เดินห่างจากทัพของพลเอกมัตสึอิลงไปทางใต้และหักเลี้ยวเข้าหานานกิงจากทางตะวันตกเฉียงเหนือ
ราวบ่าย 2 โมงของวันที่ 12 ธ.ค 1937 แม้ทหารของจีนจะต่อต้านจนสุดฤทธิ์ แต่ในเวลาไม่นานนักทหารญี่ปุ่นก็ยึดเมืองนานกิงได้สำเร็จ และต่างบุกทะลวงเข้ามาในเมืองหลวงอย่างไม่ขาดสาย ทหารจีนพยายามสกัดแต่ไม่เป็นผล จนราห้าโมงเย็น นายพล ตัง เชง ไซ นายทหารชั้นสูงที่เป็นคนบังคับบัญชากองพลทหารก๊กมินตั๋งในการต้านทหารญี่ปุ่นก็ได้หนีข้ามแม่น้ำไป
ความสับสนทวีมากขึ้นเมื่อญี่ปุ่นยึดนานกิง ประชาชนนานกิงจำนวนมากยังคงหลบที่ร้านค้าและบริษัทเพื่อทำหน้าที่ปกป้องทรัพย์สินตัวเอง หรือตามคำสั่งของเจ้านาย ทำให้ถนนหนทางแทบจะเป็นถนนร้างเพราะผู้คนพากันหลบหนีไม่ออกมาเดินให้เห็นบนถนน
เวลาเดียวกัน ก็มีผู้อพยพมาจากส่วนนอกตัวเมืองที่ยังละล้าละลัง ซึ่งมีทั้งทหารจีนที่ได้รับบาดเจ็บมากบ้างน้อยบ้าง รวมทั้งคนแก่ และ เด็กๆ ที่ทะลักเช้ามาสู่ตัวเมืองเป็นจำนวนมาก เหตุที่พวกเขาเข้ามาในตัวเมืองกันก็เนื่องจากได้รับข่าวว่าตอนนี้นานกิง เป็นเขตปลอดภัย ตามประกาศของรัฐบาล
แต่ภายหลังผู้อพยพเหล่านี้ไม่สามารถหนีออกจากเมืองได้เพราะทหารก๊กมินตั๋งปิดประตูด่านต่างๆ เพื่อสกัดการบุกทหารญี่ปุ่น ดังนั้น บรรดาทหารที่ได้รับบาดเจ็บ คนแก่ เด็กๆ ทั้งหลายตกอยู่สภาพสิ้นหวัง ช่วยตัวเองไม่ได้ ทางเดียวที่จะพอทำได้ในตอนนี้คือหลบภัยจากญี่ปุ่นภายในบริเวณรอบๆ เท่านั้น
“พวกเขาจึงตกเป็นเหยื่อการสังหารโหดของทหารญี่ปุ่นในเวลาต่อมา !”
สถานการณ์ที่คับขันของนานกิงในช่วงเวลาหัวค่ำของวันที่ 12 ธันวาคม 1937 นั้นหฤโหดขึ้นเรื่อย แทนที่จะเป็นการสู้รบระหว่างทหารญี่ปุ่นกับทหารรัฐบาลก๊กมินตั๋งของจีน กลับกลายเป็นการสังหารชาวบ้านนานกิงที่อพยพตามถนนหนทางของญี่ปุ่นแทน
วันที่ 12-13 ธันวาคม 1937 กองทัพญี่ปุ่นสามารถยึดนานกิงได้สมบูรณ์แบบ กองทัพได้ยึดสถานที่สำคัญหลายๆ แห่ง ไม่ว่าสถานที่ราชการ โกดัง ธนาคารพาณิชย์ ฯลฯ
เมื่อสำเร็จตามเป้าหมาย กองทัพญี่ปุ่นยิ่งฮึกเหิม และจู่ๆ ก็มีคำสั่งจากเบื้องบนที่น่ากลัวลงมาว่า
“สังหารทุกสิ่ง ทุกอย่างที่ขวางหน้า เพื่อองค์จักรพรรดิ” ซึ่งเป็นการรับสั่งโดยตรงของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต
สาเหตุหลักของการสังหารหมู่ชาวนานกิงคือ “เชือดไก่ให้ลิงดู” ญี่ปุ่นต้องการให้หลายๆ เมืองที่ทราบข่าว จะได้หวาดกลัวและไม่กล้าต่อต้าน เพื่อที่จะสามารถยึดจีนได้โดยง่าย ประกอบกับเป็นการตัดปัญหาเรื่องเสบียงอาหารที่จะต้องใช้ดูแลชาวนานกิงที่เป็นเชลยเหล่านี้
จึงเป็นที่มาของการสังหารหมู่ที่โหดเหี้ยมที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก
กลุ่มผู้อพยพจำนวนมากพยายามหนีมายังท่าเรือทหารญี่ปุ่นเมื่อตามมาทันก็รัวปืนกลใส่ไม่ยั้ง บ้างก็ยิงด้วยไรเฟิลและปืนพกโดยไม่เลือกหน้าอย่างบ้าคลั่ง
ทุกครั้งที่สิ้นเสียงปืนนานาชนิดจากทหารญี่ปุ่น กลุ่มผู้อพยพร่วงสู่พื้นราวกับใบไม้ร่วงไม่ว่าจะเป็นคนชรา สตรี และเด็กๆ ตลอดจนทหารที่บาดเจ็บต่างล้มขาดใจตายทันที แต่บางรายที่ยังไม่ตายทันทีแต่ก็ส่งเสียงร้องครวญครางลั่นท้องถนน หรือไม่ก็พยายามพาร่างที่โชกเลือดหนีไปตามตรอกซอกซอยเล็กๆ ก่อนที่พวกทหารญี่ปุ่นจะตามมาเพื่อยิงซ้ำหรือไม่ก็ใช้ดาบปลายปืนแทงกระหน่ำราวกับเหยื่อนั้นไม่ใช้คน
การสังหารหมู่ในวันที่ 13 ธ.ค 1937 นั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่ในวันต่อมานั้นยิ่งโหดเหี้ยมขึ้นเป็นทวีคูณ เมื่อญี่ปุ่นเริ่มนำรถถังมากเข้ามาทั่วนานกิงและเริ่มเกม “ล่า”
บรรดาผู้อพยพที่ซ่อนตัวอยู่ตามซอกซอยหรือตามอาคารบ้านเรือน ถูกกระสุนสังหาร หรือไม่ก็ถูกขว้างระเบิดมือเข้าไปในบ้านอย่างต่อเนื่อง
ไม่นานนานกิงก็กลายเป็นเมืองแห่งความตาย ซากศพ เลือดมนุษย์นองท่วมเต็มพื้น ถนนทุกสาย รวมทั้งอาคารบ้านเรือนต่างๆ เต็มไปด้วยเลือดของชาวนานกิง ที่กระเซ็นไปทั่ว ราวกับขุมนรก
แต่การสังหารยังไม่เสร็จสิ้น หลังจากฆ่าเหยื่อภายในเมืองแล้ว กองทัพญี่ปุ่นเริ่มเปิดด่านและประตูเมือง จากนั้นจึงพากันออกไปสังหารชาวนานกิงกันนอกเมือง โดยกระสุนปืนกลและระเบิดมือใส่กลุ่มคนแบบไม่ขาดตอน
“ชาวนานกิงบางคนกระโดดลงน้ำที่เชี่ยวกราดเพราะยังดีกว่าโดนกระสุนและระเบิดของฝ่ายญี่ปุ่น บางคนถูกสายน้ำกลืนหายไปต่อหน้าต่อตา ในขณะที่บางคนก็ถูกสายน้ำพัดพาไปไกล
ส่วนผู้อพยพส่วนมากก็ถูกกองทัพญี่ปุ่นผลักดันไปที่ฝั่งแม่น้ำและบังคับให้กระโดดน้ำ และจมน้ำตายในทันที มีศพที่ตายโดยจมน้ำนับหมื่นๆ คน” ชาวบ้านนานกิงที่รอดชีวิตรำลึกความหลัง
วันที่ 16 ธ.ค. กองทัพญี่ปุ่นบุกไปยังอาคารโอเวอร์ซีส์ ซึ่งเป็นอาคารแบบเกสต์เฮ้าส์สำหรับชาวจีน มีการค้นหาชาวนานกิงที่รอดชีวิตที่นั้น ซึ่งพวกเขาเจอเหยื่อถึง 5,000 คน
ทหารญี่ปุ่นจึงจับผู้คนนานกิงที่พบในอาคารนั้นมามัดมือมัดเท้าและแบ่งกลุ่มขึ้นรถบรรทุกไปที่ไซกวน ก่อนที่จะสาดกระสุนสังหารจนตายหมดทุกคน จากนั้นก็นำศพทั้งหมดโยนแม่น้ำราวกับขยะ
แต่เพื่อให้แน่ใจว่าตายสนิท บรรดาทหารญี่ปุ่นก็พากันใช้ดาบปลายปืนทิ่มแทงไปที่เหยื่อกระสุนปืนกลที่ละรายๆ จนทั่ว หรือไม่ก็สาดน้ำมันก๊าดท่วมศพที่กองอย่างมหาศาล และจุดไฟเผา แต่ด้วยจำนวนเหยื่อนั้นมีจำนวนมากเกินไปทำให้ทหารญี่ปุ่นไม่ทันเผา ศพหมื่นศพจึงปล่อยทิ้งเอาไว้ข้ามเดือนข้ามปี จนกลิ่นศพที่เน่าเหม็นลอยไปไกลหลายสิบไมล์ที่เดียว
รายการสังหารโหด
กองทัพญี่ปุ่นนั้นสรรหาวิธีต่างๆมาสังหารเหยื่อที่นานกิง ทุกวิธีล้วนโหดเหี้ยมผิดมนุษย์ทั้งสิ้น แต่การสังหารโหดชาวเมืองนานกิงนั้นไม่มีหน่วยงานระดับชาติของจีน หรือหน่วยงานโลกใดๆ รับรู้หรือช่วยเหลือได้เนื่องจากรัฐบาลก๊กมินตั๋งกำหนดว่าเป็นจุดปลอดภัยจากสงคราม ส่วนกิงทัพพันธมิตรนั้นกำลังยุ่งกับสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่
ด้วยเหตุนี้กองทัพญี่ปุ่นจึงฆ่าคนอย่างโหดเหี้ยมโดยไร้การต่อต้านหรือช่วยเหลือ จากการบันทึกของผู้เห็นเหตุการณ์ และผู้รอดชีวิต พวกเขาได้เห็นวิธีที่ทหารญี่ปุ่นสังหารชาวเมือง นอกจากการมัดมือและยิงกระสุนอีก ยังมีหลายๆ วิธีที่ทหารญี่ปุนสังหารเหยื่อเพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซากจำเจ แต่ละวิธีนั้นสุดสยองแลัโหดร้าย อาทิ
เผาทั้งเป็นในแม่น้ำ
ที่เมืองซินอีเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีผู้คนถูกฆ่าสังหารอย่างทารุณ ผู้อพยพที่ถูกจับตัวหลายพันคนต่างมีทั้งเด็ก คนแก่ ทหารญี่ปุ่นต่างผลักดันให้ผู้อพยพพุ่งตัวลงแม่น้ำเบื้องล่าง จากนั้นกองทัพก็โยนกองฟางที่ชุบน้ำมันก๊าดที่โชกใส่กลุ่มผู้อพยพมากมายก่อนที่จะจุดไฟเผาให้ตายอย่างทรมานในแม่น้ำ โดยทั่วไปทหารญี่ปุ่นมองดูผลงานอย่างสบายใจ
ฝังคนทั้งเป็น
เป็นวิธีสังหารที่ใช้บ่อยในทหารญี่ปุ่นเนื่องจากง่าย เหยื่อชุดแรกที่ถูกสังเวยในการสังหารด้วยการฝังทั้งเป็นนั้นคือกลุ่มผู้อพยพที่หลบหนีไปยังเขาซีเจียง ถูกจับได้ราว 2,000 คน มีทั้งคนแก่ เด็ก ผู้หญิง และคนพิการด้วย ล้วนถูกผลัก และถีบกระเด็นบางรายก็ถูกดาบปลายปืนกระทุ้งให้ตกลงไปในหลุมใหญ่ จากนั้นทหารญี่ปุ่นก็ใช้รถเครนจัดการเกรดหินและดินทับหลุมทันทีอย่างโหดเหี้ยม โดยไม่สนเสียงร้อง เสียงตะโกนด่า สาบแช่งที่ดังระงมออกมาจากหลุมขณะทำการฝังกลบอย่างใดทั้งสิ้น
เกมจับปลาในทุ่งน้ำแข็ง
ในช่วงเวลาที่นานกิงโดนยึดโดยกองทัพญี่ปุ่นน่ะเป็นฤดูหนาวของจีน ทำให้หลายพื้นที่มีแต่ความหนาวเหน็บและมีเกล็ดน้ำแข็งจับตัวกันโดยทั่ว
กองทัพญี่ปุ่นจึงคิดเกมอย่างหนึ่งคือ “จับปลาที่ทุ่งน้ำแข็ง” โดยให้ผู้อพยพถอดเสื้อผ้าออกให้หมดเหลือแต่เรือนร่างที่เปลือยเปล่า แล้วให้กระโจมลงสู่บ่อน้ำที่มีแต่น้ำแข็งจับตามคำสั่ง
ใครที่ปฏิเสธและต่อต้านคำสั่งนี้ จะถูกสาดกระสุนใส่อย่างไม่ยั้ง ทำให้เหยื่อจำนวนมากตายก่อนที่จะเล่นเกมนี้ แต่กระนั้น คนที่กระโดดลงสระหรือบ่อน้ำเย็นจัดนั้น ทุกคนล้วนไม่รอด
เผาครึ่งตัว
ญี่ปุ่นจะเลือกเหยื่อเป็นชาวนานกิงหนุ่ม ที่ท่าทางกระด้างกระเดื่อง หรือมีลักษณะเงียบเฉย จากนั้นชายหนุ่มเคราะห์ร้ายก็ถูกจับมัดสายไฟขึ้นสูง และทหารญี่ปุ่นก็นำฟืนมาสุมไว้ข้างล่างและก่อไฟย่างหนุ่มคนนั้นราวกับเสียบปลาปิ้ง ความร้อนทวีมากขึ้นและทำให้ร่างกายท่อนล่างของเหยื่อดิ้นทุรนทุรายอย่างน่าเวทนาจนท่อนล่างไหม้เกรียม หลังจากนั้นพวกทหารญี่ปุ่นก็ออกไปจุดนั้น โดยทำอะไรเลย ปล่อยให้เหยื่อตายไปเองอย่างช้าๆ
ปาระเบิดใส่เหยื่อในน้ำ
เริ่มจากทหารญี่ปุ่นจะจับผู้อพยพมัดมือมัดเท้าอย่างหนาแน่นจำนวนหนึ่ง จากนั้นก็ช่วยกันจับผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้โยนในบ่อน้ำที่มีความลึกไม่มากนัก เนื่องจากทำให้มองเห็นเหยื่อได้ง่ายและระดับน้ำตื้นๆ นี้ทำให้อาวุธที่ทหารญี่ปุ่นทิ้งไปจะได้ออกฤทธิ์ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และจากนั้นสิ่งที่ญี่ปุ่นโยนลงบ่อน้ำหรือสระน้ำตื้นๆ คือระเบิดมือครั้งละหลายๆ ลูก
ยิ่งน้ำตื้นเท่าไหร่ แรงระเบิดและสเก็ตระเบิดก็จะพุงเข้าสู่เป้าหมายซึ่งก็คือเหยื่อก็ดิ้นกระแด่วๆ อยู่ใต้น้ำได้มากมาย รุนแรงและหวังผลได้แน่นอนเท่านั้น ดังนั้นทุกครั้งที่ระเบิดถูกขว้างลงไปพร้อมๆกันหลายๆจุดนั้นมีส่วนให้เหยื่อทั้งหลายในบ่อถูกแรงระเบิดอัดจนร่างแหลกเหลวชนิดที่เลือด เนื้อ และอวัยวะภายในถูกบีบอัดจนฉีดกระจายลอยขึ้นไปในอากาศสูงนับสิบๆ เมตร อย่างน่าสยดสยอง เป็นเกมอีกเกมหนึ่งของกองทัพที่มักเรียกร้องกันทำบ่อยที่สุด
เผาป่าฆ่าคนทั้งเป็น 30,000 คน
ทางตอนเหนือของเขตเซนเจียง ญี่ปุ่นจับทหารจีนและผู้อพยพกว่า 30,000 คนได้ จากนั้นก็มัดคนเหล่านี้และผลักดันให้เข้าไปในเขตป่าสงวน ตอนแรกก็ปล่อยให้คนเหล่านี้อดข้าวอดน้ำและผจญกับความหนาวเย็นในเดือนธ.ค อย่างหฤโหดระยะหนึ่ง เมื่อทรมานได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็จุดไฟเผาจากทุกทิศทุกทางจนให้คนที่อยู่ในป่านั้นตายทั้งหมด
ราดน้ำกรดใส่เหยื่อ
เหยื่อคนหนึ่งถูกกลุ่มทหารญี่ปุ่นที่บุกเข้าไปในร้านค้าแห่งหนึ่ง และจับชายคนนี้ได้ พวกกองทัพหัวเราะชอบใจเมื่อคิดค้นวิธีการที่จะทรมานเหยื่อคนนี้ได้ นั่นคือการเอาน้ำกรดไนตริก ราดร่างเหยื่อ เริ่มจากการจับหนุ่มรายนั้นแก้ผ้าเปลือยล่อนจ้อน จากนั้นก็เอากรดไนตริกเข้มข้นราดรดไปที่ร่างหนุ่มรายนั้นโดยราดจากส่วนหัวมาสู่เบื้องล่าง น้ำกรดรุนแรงกัดทั่วใบหน้าและเนื้อตัวของเหยื่อชาวจีนมีกลิ่นเหม็นคลุ้งไปทั่วบริเวณ จากนั้นทหารญี่ปุ่นก็ปล่อยให้ชายหนุ่มนี้เดินสะเปะสะปะไปตามทาง เมื่อชายหนุ่มนี้แช่งด่า ก็หัวเราะชอบใจ โดยไม่ทำอะไรกับชายคนนี้ทั้งสิ้น แต่ต่างเดินตบมือ เป่าปาก ส่งเสียงเชียร์หนู่มเปลือยที่ร่างถูกน้ำกรดกัดไปสักพักจนกระทั้งหนุ่มนานกิงรายนี้ล้มลงและขาดใจตายไปด้วยความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัสในที่สุด
ตัด ควัก อวัยวะ ก่อนนำไปเผา
นั้นคือการจับเหยื่อนับหลายร้อยรายมารวมกัน จากนั้นก็ควักตาออกมา พร้อมทั้งตัดหู ตัดจมูกเหยื่อให้ร้องร่ำคร่ำครวญดิ้นทุรนทุราย เมื่อสะใจมากพอแล้วก็เผาให้ตายทั้งเป็นจนกลิ่นเนื้อไหม้เหม็นไปทั่วบริเวณ
เกมหนีจากหลังคาตึกที่ไฟไหม้
ผู้อพยพนับร้อยๆ รายถูกบังคับให้เดินขึ้นบนหลังคาของอาคาร พวกเขาต่างคร่ำครวญ ร้องไห้ ร้องขอชีวิต แต่มีหรือว่าญี่ปุ่นจะเมตตา เมื่อเหยื่อทุกคนถูกต้อนขึ้นไปบนหลังคาครบถ้วนแล้ว ทหารญี่ปุ่นก็ยืนจังก้าอยู่เบื้องล่างต่างพากันจุดไฟเผาอาคารแห่งนั้นจนลุกโพลง คราวนี้เหยื่อจำนวนไม่น้อยต่างรู้ว่าพวกเขาคงต้องถูกย่างสดอยู่บนหลังคาตึกเป็นแน่ ต่างพากันกระโดดตึกฆ่าตัวตายกันหลายราย เสียงคนโดดลงมาคอหัก หลังหัก นั้นก่อให้เกิดความกดดันต่อพวกที่อยู่บนหลังคาอย่างมหาศาล ประกอบด้วยเสียงปืนของทหารญี่ปุ่นยิงขู่ และระดมยิงใส่ร่างเหยื่อเคราะห์ร้ายที่โดมาจากหลังคาตึกแล้วยังไม่ตายทันทีนั้นเสียดแทงบาดลึกจนถึงหัวใจ แต่ท้ายสุด พวกที่รอความตายที่อยู่บนหลังคาที่โดนไฟเผานั้นคือพวกที่ส่งเสียงร้องด้วยความทุกข์ทรมานมากที่สุดและใช้เวลานานพอสมควรที่จะตายด้วยการถูกย่างทั้งเป็น
ภาพคนที่วิ่งพล่าน ดิ้นทุรนทุรายไฟลุกท่วมจนตกหลังคาลงมาตายในที่สุดนั้นเป็นภาพชวนสลดหดหู่อย่างยิ่ง
เกมขมขื่นโหดหญิงท้องแก่
ผู้หญิงนานกิงที่กำลังตั้งครรภ์นั้นแทนที่จะได้รับการยกเว้นกลับเป็นเหยื่อที่ทหารญี่ปุ่นชอบทารุณกรรมมากที่สุด เริ่มต้นด้วยการถูกทหารญี่ปุ่นทั้งกลุ่มมาลงแขกก่อนเมื่อสำเร็จความใคร่แล้ว จากนั้นก็สังหารให้ตายคามือ และเมื่อเหยื่อตายแล้วก็ผ่าท้องเธอออกแล้วควักเอาทารกอ่อนที่อยู่ในครรภ์นั้นออกมา แล้วทารกนั้นก็กลายเป็นของเล่นที่ทหารญี่ปุ่นเอามาเล่นเป็นฟุตบอลกันในท้องถนนอย่างเพลิดเพลิน หากมีเจ้านายคนไหนผ่านมา พวกทหารเหล่านั้นก็หยอกล้อโดยใช้ดาบปลายปืนที่เสียบทารกนั้นทำการโบกปลายมาคล้ายกับเป็นการทำความเคารพแบบล้อเลียน
สิ่งที่ได้รับตอบกลับมาจากเจ้านายก็คือรอยยิ้ม
การข่มขืนครั้งใหญ่ที่นานกิง
การข่มขืนคือผลงานเลวร้ายของทหารญี่ปุ่นในนานกิงที่นานาชาติมักโจมตีญี่ปุ่นมากที่สุด
สตรีชาวนานกิงนั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้รับเคราะห์มากกว่าใครๆ
รายที่ขอความเมตตาอาจได้รับการไว้ชีวิต แต่สิ่งที่ที่ตามมาของผู้รอดชีวิตคือประสบการณ์วิปลาสที่ยังหลอกหลอนจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่นั้น สตรีนานกิงทุกเพศทุกวัยจะถูกขมขื่นราวกับสัตว์ป่า จากนั้นส่วนใหญ่จะถูกสังหารหรือไม่ก็ถูกทรมานโดยใช้ดาบปลายปืนตัดเฉือนเต้านมทั้งสองข้างทิ้งไปพร้อมๆ กัน บาดแผลนั้นเห็นซี่โครงอย่างน่าสยดสยอง บ่อยครั้งที่ทหารญี่ปุ่นจะทิ่มแทงหรือเสียบดาบปลายปืนพรวดเข้าไปหว่างขา(อวัยวะเพศ) หรือถูกคว้านอวัยวะขณะที่มีชีวิตอยู่ก็มี บางรายเมื่อตายแล้ว ทหารญี่ปุ่นก็ย่ำยีศพอีกด้วยการทิ้ง แท่งไม้ ท่อนเหล็ก กระทั้งหัวแครอท คาไว้อวัยวะเหยื่ออย่างนั้น
ระหว่างที่เสร็จสิ้นการสังหารแล้ว กองทหารก็พากันหัวเราะชอบใจ ปรบมืออย่างสนุกสนานกับสิ่งที่เขามีส่วนร่วมราวกับสัตว์นรก
ชาวนานกิงผู้หนึ่งได้พูดถึงเหตุการณ์ที่ประสบพบเจอว่า
“วันที่ 16 ธันวาคมนั้น ผมถูกกองทหารญี่ปุ่นคุมตัวไป มันไม่ได้สังหารผม แต่บังคับให้ผมทำหน้าที่เป็นพ่อครัวให้พวกมัน ขณะที่ผมเดินตามพวกมันไปตามถนนนั้น ผมเห็นชาวนานกิงที่เป็นชายเช่นเดียวกับผมนอนตายอย่างน่าเวทนานับเป็นร้อยๆศพ”
“แต่สิ่งที่น่าหดหู่ยิ่งกว่านั้นก็คือ บรรดาศพสตรีทั้งหลายที่พอประเมินได้ จากจำนวน 8 ใน 10 คนนั้นล้วนแต่ถูกของมีคมตัดขาดกระจุย เห็นไส้และอวัยวะภายในพุ่งทะลึกออกมาแทบทั้งสิ้น พวกเธอเหล่านั้นล้วนแต่เป็นหญิงท้องแก่ที่ถูกผ่าเอาทารกอ่อนภายในออกไปแล้ว ไม่เพียงเท่านั้น ทั้งหย่อมเลือด และเต้านมของพวกเธอเหล่านั้นถูกตัดหายเหี้ยนไปหมด”
นี้ก็อีกตัวอย่างหนึ่ง
ชายจีนอีกคนหนึ่งที่ทำหน้าที่ฝังศพชาวเมืองนานกิงให้สัมภาษณ์ว่า
“ผมเห็นศพมากมายในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ศพนั้นมีมหาศาลนับหมื่นศพ กระจัดกระจายไปตามบึงน้ำ หรือบ่อน้อยบ่อใหญ่ แม้แต่บนกองฟางก็มีมากมาย ภาพที่อยู่เบื้องหน้าทำให้ผมตะลึงจนเกือบช็อก มันเป็นเรื่องยากที่จะบรรยายออกเป็นคำพูดได้ แต่ภาพผู้หญิงที่เห็นแต่ละคนนั้นทำให้ผมเห็นความโหดร้ายของกองทัพญี่ปุ่นก่อนที่จะสังหารเธอ ใบหน้าของพวกเธอหมองหม่น ฟันร่วงหลุดจากปาก ช่วงแก้มก็บ่งบอกถึงรอยซ้ำจากการถูกของแข็งกระแทกจนกะโหลกแก้มหักร้าว เลือดที่แห้งคาปากชวนให้คิดว่าพวกเธอคงสำลักเลือดหรือไม่ก็ความเจ็บปวดสุดทรมาน”
“ผมเห็นทรวงอกเธอมีร่องรอยบาดแผลถูกของมีคมบาดจนเต้านมขาดกระจุย และมีแผลตัดลึกถึงซี่โครง ต่ำลงไปที่ช่องท้องของพวกเธอนั้นแทบทุกคนต่างก็ถูกของมีคมแทงทะลุแล้วคว้านไปมาทำให้ ตับ ไส้ พุง และพวงไส้ของพวกเธอหลุดจากร่างอย่างน่าสยดสยอง ส่วนที่ท้องน้อยนั้นมีรอยแผลจากดาบปลายปืนกระหน่ำแทงไปทั่ว”
นี้ก็อีกรายโหดไม่แพ้กัน
“ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1938 นั้น ครอบครัวใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวน 14 คนถูกสังหารโหดโดยน้ำมือทหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะบุตรสาวคนเล็กวัย 14 นี้ถูกลบหลู่และสังหารได้อย่างทารุณมากที่สุด”
“เด็กคนนั้นถูกทิ้งบนโต๊ะสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่นำมาต่อกัน สภาพร่างกายท่อนนั้นมีเสื้อสวมติดอยู่ แต่ท่อนร่างนั้นเปลือยเปล่า โดยที่เลือดเธอยังไหลนองท่วมโต๊ะนั้น และปริมาณเลือดมากมายนั้นหลั่งไหลออกมาจากช่องท้องและอวัยวะเพศที่ถูกดาบปลายปืนแทงเป็นสองครั้งด้วยกัน”
“ส่วนพี่สาวของเธอถูกสังหารตายคาเตียงโดยไม่มีสภาพแตกต่างกับน้องสาวเท่าใดนักส่วนมารดาเธอหรือ? เธอถูกสังหารตายคาโต๊ะขนาดใหญ่ตัวหนึ่งโดยกอดทารกวัยขวบในอ้อมอกของเธอ ทารกน้อยนั้นถูกฟันคอขาดกระจุยด้วยใบมีดคมกริบ และช่องท้องของเด็กน้อยนั้นมีบรรดาพวกไส้และอวัยวะภายในทั้งจุกทะลักออกมานอกช่องท้องอย่างน่าเวทนา”
หนึ่งผู้เห็นเหตุการณ์เหล่านั้น เขาได้บันทึกเหตุการณ์โหดเป็นฉากๆ เอาไว้เลยว่า
“14 ธันวาคม 1937 ตอนเที่ยง ทหารญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งเข้าไปในบ้านหลังหนึ่งที่ถนนเจียนยิน พวกนั้นลักพาตัวสาวๆ ในบ้านออกมา 4 คน จากนั้นมันก็ลงมือข่มขืนมาราธอน 2 ชั่วโมงเต็มๆ ”
“15 ธันวาคม 1937 ตอนกลางคืน ทหารญี่ปุ่นกลุ่มใหญ่พากันกรูไปในหอพักหญิงของมหาวิทยาลัย จากนั้นก็ข่มขืนสาวๆ ราว 30 คนด้วยกัน โดยเด็กสาวที่หน้าตาดีบางคนถูกรุมข่มขืนโดยทหารญี่ปุ่น 6 คนรวด”
“16 ธันวาคม 1937 กลุ่มทหารญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งบุกฉุดสาวๆ อายุตั้งแต่ 16-21 ปีไปจากมหาวิทยาลัย และย่ำยีทางเพศ ภายหลังมีสาวๆ 5 คนในกลุ่มถูกปล่อยออกมา พวกเธอบอกว่าถูกพวกมันข่มขืนต่อเนื่องวันล่ะ 6 ครั้ง ส่วน 2 คนที่เหลือไม่รู้ซะตากรรม”
“ในบ้านหลังหนึ่งซึ่งติดกับกำแพงเมืองที่ ด่านซินหยางนั้น ปรากฏว่ามีหญิงชราในวัย 60 มีสภาพศพขึ้นอืด และมีร่องรอยการข่มขืนอย่างทารุณ”
“อีกจุดหนึ่งของถนนยางพี นั้นก็มีศพเด็กผู้หญิงอายุ 12 ขวบ นอนตาย กางเกงในของเธอถูกดึงฉีกขาด ลูกตาทั้งสองข้างเธอปิดสนิทในขณะที่ปากอ้ากว้างคล้ายกับร้องขอเมตตา”
“เหยื่อการข่มขืน ยังมีพวกแม่ชีหรือแม้แต่อาจารย์ระดับศาสตรจารย์ ครูสอนหนังสือล้วนตกเป็นเหยื่อของทหารญี่ปุ่นไม่มีข้อยกเว้น”
ฯลฯ อีกมากมาย
เหตุข่มขืนแล้วต้องฆ่า นั้นก็เพราะพวกเขาถือหลักว่า “สังหารหลังข่มขืนเพื่อปิดปากมัน”
นี้คือข้ออ้างของบรรดาทหารญี่ปุ่นที่ถือปฏิบัติกันถ้วนหน้า สตรีนานกิงจึงต้องรับเคราะห์ไปอย่างช่วยไม่ได้ และเป็นที่น่าสังเกตว่าเหตุการณ์การข่มขืนนี้ไม่มีการห้ามปรามจากผู้บังคัญบัญชาระดับสูงแต่อย่างใด เสมือนว่าพวกเขาสนับสนุนกับการทำกระทำแบบสัตว์นรกโดยซ้ำ นี้เป็นการสนับสนุนของผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นเองน่ะเนี้ย เป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้บรรดาทหารญี่ปุ่นที่นานกิงโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีการจัดทำ เรียบเรียง จำนวนเหยื่อที่สังหาร และทำออกเป็นรายงานเพื่อประเมินว่าใครจะเป็นผู้ชนะในการสังหารเหยื่อชาวนานกิงด้วย การแข่งขันกันมีหลายจุด แต่จุดที่อัปยศที่สุดคือที่ ภูเขาซิจิน ถือว่าเป็นจุดที่ประณามจากทั่วโลกมากที่สุด
รายงานอัปยศระบุว่าทหารสองนายนาม ร้อยโทมูไกและร้อยโทโนเดะต่างทำสถิตสังหารชาวจีนในระดับ 105 และ 106 ศพตามลำดับ ทั้งสองสามารถทุบสถิติเก่าที่สนามแข่งขันอื่นที่ทำสถิต 89 และ 78 สำเร็จอย่างงดงาม และยังมีสถิติอัปยศอีกที่ถูกบันทึกไว้ว่า ร้อยโททานะกะ กูนิกิชิ เป็นผู้ทำลายสถิตสังหารเหยื่อโดยใช้ดาบปลายปืน ไม่ใช้กระสุนปืนเลย เป็นจำนวนถึง 300 ศพ ไม่มีใครโค่นลงได้ และรายงานทั้งหมดได้รับการแพร่กระจายกลับไปที่ญี่ปุ่นราวกับพวกเขาเป็นนักกีฬาดีเด่น
บทสรุปคดีที่นานกิง
เรื่องราวนี้เป็นเรื่องจริงในช่วงญี่ปุ่นบุกขยี้นานกิงในปี 1937 เป็นต้นมา ก่อนที่กองทัพญี่ปุ่นจะโดนขับไล่ออกจากนานกิง
แต่สิ่งหลงเหลือเอาไว้คือผลงานที่โหดร้ายที่ทหารญี่ปุ่นทำไว้กับชาวนานกิง โดยมีชาวนานกิงเสียชีวิตราว 40,000-300,000 คน
มันเป็นรอยด่างที่ทำให้โลกเห็นญี่ปุ่นเป็นชาติที่โหดร้ายของโลก
ญี่ปุ่นเองก็รับรู้ความเกลียดชังของชาวโลกนี้เป็นอย่างดี แต่ไม่เต็มใจนักที่จะรับผิดชอบหรือออกมายอมรับเต็มตัว
เหตุสังหารหมู่ชาวจีนในนานกิงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ญี่ปุ่นตกต่ำอย่างถาวรที่ไม่อาจฟื้นฟูขึ้นมาได้เลย เพราะชาวจีนได้โกรธแค้นญี่ปุ่นเป็นอย่างมากจึงได้ทำการต่อต้านญี่ปุ่นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ปัจจุบันญี่ปุ่นจะเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและรักสันติสุขและแม้แต่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นหรือสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต พระโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต ได้มากล่าวขอโทษด้วยตนเองก็ไม่อาจทำให้ชาวจีนยกโทษให้ ในเนื้อหาหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นก็ยังทำการบิดเบือนด้วยการข้ามกระทำอันโหดร้ายในนานกิงและบอกว่า เพียงแค่ยึดนานกิงเท่านั้น ทำให้ชาวจีนไม่พอใจญี่ปุ่นมาก
และมีคำถามที่สำคัญคือ การสังหารโหดที่นานกิงนั้นจะใช้เวลานานเท่าใดที่จะลบเลือนจากใจมนุษย์ได้
เปิดชีวิตผู้เฒ่า”Bai Fang Lee “มหาบุรุษคนยาก ผู้บริจาคเงินนับล้านเพื่อให้เด็กๆเรียนหนังสือ
“น้ำใจ” เป็นสิ่งที่ตามหาได้น้อยลงๆ ในสังคมโลกแห่งการแก่งขัน แย่งชิง สู้รบ ในการได้มาซึ่งเงินตรา อำนาจ การครอบครอง ยศฐาบรรดาศักดิ์ ฯลฯ แต่สำหรับ Bai Fang Lee ชายชราชาวจีนผู้ยากจนข้นแค้น ท่านนี้ กลับมีแก่นจุดยืนของตัวเองเพียงสิ่งเดียวคือ “การให้” ซึ่งกลายเป็นคุณค่ามหาศาลสำหรับเด็กๆ ชาวจีนผู้ด้อยโอกาส ที่ได้มีโอกาสเรียนหนังสือ
ผู้เฒ่า Bai Fang Lee เกิดบนผืนแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่ ในครอบครัวที่ยากจน นั่นทำให้เขาไม่ได้เรียนหนังสือ แต่เชื่อหรือไม่ว่า เขาใช้เงินทั้งหมดที่สะสมเล็กสะสมน้อย จากการปั่นสามล้อถีบมามากกว่า 20 ปี ราว 350,000 หยวน (ประมาณ 1,750,000 บาท) บริจาคให้กับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ในเมือง Tainjin เพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนจำนวนมาก
อาหารกลางวัน ของ คุณตา Bai Fang Lee เป็นแค่ขนมปัง กับน้ำเปล่า อย่างหรูขึ้นมาหน่อยก็ใส่เครื่องปรุงรสลงไปในน้ำ ส่วนมือเย็นก็เป็นเศษชิ้นเนื้อหรือไม่ก็ไข่ ซึ่งอาหารทั้งหมดของคุณตา Bai Fang Lee ล้วนขุดคุ้ยมาจากถังขยะที่มีคึนทิ้งๆไว้ ซึ่งกว่าจะเจอก็ช่างยากเย็นเสียเหลือเกิน ถ้าวันไหนโชคดี ก็จะได้กินเนื้อชิ้นโต ซึ่งต้องถือว่า เป็นอาหารอันโอชะที่สุดแล้ว
คุณตา Bai Fang Lee ตื่น 6 โมงเช้า ปั่นสามล้อถีบวันตลอด 365 วัน โดยไม่มีวันหยุด และกว่าจะเลิกอีกทีก็ หนึ่งทุ่ม สองทุ่ม เป็นอย่างนี้ทุกๆปี ไม่รู้นานเท่าไหร่แล้ว ทนทุกข์ท่ามกลางหิมะที่หนาวจัด กระทั่งไปจนถึงอากาศร้อนสุดๆ ที่บางวันก็ถึง50 องศาเซลเซียส
“ผมพอใจกับความทุกข์ยากที่เป็นอยู่ เพื่อให้เด็กๆยากจนได้เรียนหนังสือ” มหาบุรุษคนยาก เผย
เมื่อตอนที่ อายุ 90 ปี คุณตา Bai Fang Lee ได้มอบเงิน 500 หยวน ก้อนสุดท้ายบริจาคให้กับโรงเรียน Yao Hua โดยเขาบอกอย่างผิดหวังเล็กน้อยว่า “ผมไม่สามารถหาเงินได้มากไปกว่านี้แล้ว และนี่อาจเป็นก้อนสุดท้ายแล้วก็ได้”
อีกสามปีต่อมา คุณตา Bai Fang Lee จากโลกใบนี้ไปอย่างสงบ เมื่อสิ้นสุดลมหายใจ ในวัย 93 ปี สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้กับนักเรียนและครู อาจารย์ บนจีนแผ่นดินใหญ่นี้เป็นอย่างมาก
และนี่เป็นภาพสุดท้ายของ Bai Fang Lee มหาบุรุษคนยาก ผู้ยิ่งใหญ่ของเด็กๆ ที่ควรจารึกไว้ในความทรงจำของผู้คนทั่วโลก เป็นภาพแห่ง”ความรักที่จะให้”สุดพิเศษ ที่ควรต่อการเอาเยี่ยงอย่าง ของพวกเห็นแก่ตัว หวังแต่จะได้ ที่มีอยู่ดาดดื่นบนปฐพีสีน้ำเงินแห่งนี้…
เครดิต มติชนออนไลน์
ดร. ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล
เมื่อมีภารกิจทางราชการต้องไปอยู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน นานถึง ๕ เดือน เพื่อสอนวิชาประวัติวรรณคดีไทย วิชาการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม การออกเสียงภาษาไทย ของนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ และดูแลการทำภาคนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ อีก ๑๘ คน แถมเผยแพร่วัฒนธรรมไทยกับส่งเสริมการอ่านหนังสือภาษาไทยตามโอกาสที่มี การผ่อนคลายและได้ประโยชน์อีกหลายประการด้วยกันก็คือการอ่านหนังสือ … อย่างแน่นอน
ที่ภาควิชาภาษาไทย สถาบันภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยนานาชาติแห่งนครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai International Studies University) มีตู้หนังสือภาษาไทย และที่ห้องสมุดของสถาบัน ฯ ก็มีชั้นหนังสือของภาควิชาภาษาต่าง ๆ ได้แก่ อาหรับ เปอร์เซีย อินโดนีเซีย เกาหลี และไทย เป็นขุมทรัพย์เล็ก ๆ ที่ฝุ่นได้มาอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้าได้ไปรบกวนให้ฝุ่นฟุ้งขึ้น บางเล่มไม่เคยเห็น บางเล่มไม่เคยรู้ว่ามีจึงดีใจที่ได้เห็น และส่วนใหญ่ก็อ่านมาแล้วและคุ้นเคยกันดี
อยู่เมืองจีนควรจะรู้เรื่องจีน เท่าที่เคยอ่านมาก่อนนี้ยังเป็นเพียงกรวดทรายบางเม็ดในทะเลทรายโกบี เท่านั้น จึงต้องอ่านเติมเข้าไปอีกมาก เรื่องแรกที่ต้องสนใจคือเรื่องกิน หนังสือเล่มอื่น ๆ ว่าด้วยการกินของคนไทย มีเล่มเดียวว่าด้วยการกินของคนจีน นอกนั้นหากอยากทราบคงต้องเสาะหาในหนังสือพระราชนิพนธ์ว่าด้วยจีน ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๐ เล่ม ได้เพิ่มมาอีก ๗ เล่ม
เรื่องที่ว่านั้นก็มิใช่เรื่องอาหารอื่นใด แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับชา ชื่อว่า “ตำนานชาในตำราจีน” เหตุที่ข้าพเจ้าถือว่าเรื่องชาสำคัญ และสำคัญกว่าสิ่งอื่นใดที่คนจีนกินหรือดื่มนั้นมีประจักษ์พยาน อันได้แก่ภาพชีวิตจริง ๆ คือคนจีนที่เดิน ๆ นั่ง ๆ หรือขึ้นรถก็ตาม ๖ ใน ๑๐ คน จะถือขวดน้ำชา หรือเสียบขวดไว้ที่เป้หรือใส่กระเป๋า แบบพร้อมที่จะดื่มไม่ว่าจะเดินทางไปไกลหรือใกล้ ขณะเรียนหรือทำงานก็มีขวดน้ำชาวางอยู่ด้วย ขวดนี้มีประโยชน์นอกเหนือจากการดื่ม คือเอามือกอดไว้หรือเอาไปแนบอกเพื่อให้อบอุ่นในฤดูหนาว ดังที่ข้าพเจ้าก็ต้องทำ เพราะห้องเรียนในมหาวิทยาลัยไม่ติดเครื่องทำความอบอุ่น ข้าพเจ้าหาที่พึ่งเป็นบุคคลยังไม่ได้ จึงพึ่งขวดน้ำชาบ้าง กระเป๋าน้ำร้อนแบบประคบผู้ป่วยบ้าง และถุงเจลที่ทำให้ร้อนได้ด้วยวิธีแปลกบ้าง
ถ้าไม่ถือขวดน้ำชา ในยามไม่หนาว วัยรุ่นบางคนถือขวดน้ำชาประดิษฐ์หรือน้ำอัดลมเหมือนวัยรุ่นไทย ร้านบริการน้ำชาก็ช่างมีได้ทุกแห่ง ยกเว้นในมหาวิทยาลัย ต้องเข้าภัตตาคารใหญ่จึงจะได้ดื่มชารสเลิศและราคาสูง เพราะมิใช่แต่ว่าราคาใบชาจะสูงเท่านั้น น้ำที่ชงชาได้ก็แพง การบริการยิ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งนัก เพราะพอท่านดื่มพร่องไปหน่อย บริกรก็จะรีบเติม แต่ไม่ได้คิดเงินเพิ่มเหมือนกินน้ำมียี่ห้อตามร้านอาหารที่เมืองไทย
“ตำนานชาในตำราจีน” แปลโดยผู้รู้เรื่องจีนอย่างดี และมีพันธมิตรช่วยตรวจสอบการออกเสียงภาษาจีนให้ด้วย ท่านได้เล่าเรื่องย้อนไปถึงที่กล่าวไว้ในตำราเล่มแรกเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีก่อน ซึ่งกล่าวถึงชาวนาศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งค้นพบสมุนไพรวิเศษชนิดนี้ จักรพรรดิแต่ละองค์ในราชวงศ์ต่าง ๆ ทรงโปรดชาแบบใด อุปกรณ์ วิธีชง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับชา รวมทั้งบุคคลที่นำชามาถวาย จะได้ดีได้ร้ายก็เพราะชา ดูเอาเถิดว่าชาเป็นเรื่องของการเมืองไปด้วยเช่นกัน
บุคคลที่เขียนตำราชาคนแรกคือหลู่ ยู่ ผู้ได้สมญาว่านักบุญแห่งชา ตำรานั้นได้เป็นต้นแบบแห่งตำราในยุคหลัง ๆ ทุกเล่ม โดยเล่มนี้หวาง หลิงได้อ้างไว้หลายตอนด้วย หวาง หลิงเสนอภาพและเรื่องเกี่ยวกับชาหลายแง่มุม ทั้งศิลปะในพิธีการต่าง ๆ วัฒนธรรมโรงน้ำชา ชากับวรรณคดีและศิลปะ ศิลปะชาของชาวบ้านจีนในมณฑลต่าง ๆ ไปจนถึงอิทธิพลของชาทั่วโลก การเรียบเรียงของหวาง หลิง และการแปลของเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ นำเรื่องราวเหล่านั้นมาเสนออย่างมีชีวิตชีวา ข้อความหลายตอนทำให้ผู้อ่านต้องคิดหาความหมายที่ลึกซึ้งต่อไปอีก เช่น เรื่องน้ำที่ชงชา อาจมาจากน้ำตก แม่น้ำ และจากฝนซึ่งรองไว้อย่างที่คนไทยเรียกว่า “ฝนกลางหาว” จีนเรียก “น้ำที่ไม่มีราก” เพราะน้ำยังตกไม่ถึงพื้น ถือเป็นน้ำที่ธรรมชาติกลั่นกรองมาแล้วเป็นอย่างดี
แต่ว่า … ยุค พ.ศ.๒๕๔๘ จะไปหาฝนกลางหาวที่ไหนเลิศล้ำพอจะใช้ชงชาดื่มแล้วจะรู้สึกประหนึ่งขึ้นสวรรค์ได้เล่า….ในประเทศไทย
ตอนกลาง ๆ เล่ม มีเรื่องแหล่งชาที่ดีที่สุดในจีนและในโลก แห่งหนึ่งคือเมืองหางจู ซึ่งคนไทยเรียกหางโจว ที่ซึ่งมีทะเลสาบซีหู ต้นตำนานนางพญางูขาว ข้าพเจ้าไปเดินกรำฝนอยู่ ๓ วันในเมืองนั้นในช่วงวันหยุดวันชาติจีน ๑ – ๗ ตุลาคม ๒๕๔๘ ได้ดูสารพัดดู รวมทั้งดูคนประมาณ “ล้านเจ็ด” ไปเที่ยวพร้อมกัน (เข็ดแล้วค่ะ พอ ๆ กับไปเชียงใหม่ หรือขอนแก่น หรือ ถนนข้าวสาร ในช่วงสงกรานต์นั่นเทียว) ทว่าข้าพเจ้าหาได้ไปถึงสวรรค์แห่งชาที่หางโจวไม่ ไม่ได้ไปทั้งโรงน้ำชา พิพิธภัณฑ์ชา หรือซื้อชาสักหยิบมือเดียว ก็ในเมื่อเลือกได้หนึ่งรายการในบ่ายวันหนึ่งที่ฝนตก ข้าพเจ้าเลือกไปพิพิธภัณฑ์ผ้าไหม และไม่ได้ซื้ออะไรเกี่ยวกับไหมเช่นกัน เพราะว่าแพงและไม่ตรงความจำเป็น พอมาอ่านเล่มนี้จึงยิ่งรู้ว่าน่าจะกลับไปหางโจวอีกสักที (๓ ชม.) จากเซี่ยงไฮ้ เดี๋ยวจะไม่เหมือนคนไทยนับแสนที่พากัน (แห่) ไปซื้อชานานาชนิดกระป๋องละพันบาทมาราวกับของถูก ภายหลังเห็นเที่ยวแจกกันเป็นสามารถ เพราะอะไร จะเพราะด้วยหาน้ำบริสุทธิ์อย่างน้ำพุเสือเต้นไม่ได้ด้วยหรือเปล่า
ในหนังสือกล่าวถึงบ้านคหบดีโบราณ ชื่อ ยู่ หยวน หรือที่จีนออกเสียง อี้ หยวน ในเมืองเซี่ยงไฮ้นั้น ข้าพเจ้าไปมาแล้วสองรอบ ในใจกลางเป็นบ้านและสวนงามเลิศ มีห้องหับซับซ้อนหลายชั้น เครื่องเรือนโบราณ เครื่องตกแต่งบ้านน่าชม รอบนอกซึ่งดูได้โดยไม่ต้องตีตั๋วสี่สิบหยวนเข้าไปดูเหมือนข้างในนั้น เขาทำเป็นชุมชนท่องเที่ยว มีร้านรวงขายของสารพัด ร้านน้ำชาใหญ่ร้านหนึ่งมีกาน้ำชาใหญ่เท่าโอ่งมังกรกำลังเทน้ำชาลงสู่ถ้วย ใช้ไฟฟ้าทำให้ดูประหนึ่งสายน้ำจากพวยการินลงถ้วยตลอดเวลา ก็ได้ไปถ่ายภาพไว้ ช่วงเทศกาลปูขน ก็มีปูขนโฟมตัวใหญ่สีแดงเชิญชวนอยู่หน้าร้านด้วย ข้าพเจ้าไม่ได้กินปูและไม่ได้ดื่มชาที่ร้านนั้น ได้แต่มองเข้าไปเห็นคนจีนนั่งดื่มกินกันอย่างเท่ ในร้านนี้และร้านอื่น ๆ มีขนมประกอบการดื่มให้อร่อยและอิ่มอีกหลายขนาน ทำให้หวนคำนึงถึงเครื่องจันอับที่ผู้ใหญ่ที่ดื่มชาส่งให้เด็ก ๆ กิน และบอกว่าอย่าเพิ่งดื่มชาเลย เจ้ายังเล็กอยู่ หารู้รสของดีไม่ พอเด็กน้อยนั้นเป็นผู้ใหญ่ก็ยังไม่ได้เรียนรู้เรื่องชาสักเท่าใด นอกจากอ่านหนังสือบางเล่ม รวมทั้งเล่มนี้ซึ่งเมื่อได้ไปอ่านในดงร้านน้ำชาจริง ๆ ผสมกับจินตนาการแล้ว ข้าพเจ้าจึงรู้แน่ขึ้นไปอีกว่าการอ่านเป็นกำไรชีวิตโดยการลงทุนและลงเวลา น้อยที่สุด ความคิดของคนที่ดื่มน้ำตะไคร้นี้คงต่างจากคอชาจีนตัวจริงหลายหมื่นลี้ แต่สำหรับหนังสือนั้น ข้าพเจ้าได้ดื่มไปเรียบร้อยแล้วจึงเขียนแนะนำท่านได้
กลิ่นหอมของชากรุ่นกำจายลอดออกมาจากหนังสือ ผู้อ่านจินตนาการไปว่าเธอสวมชุดไหมสีชมพูอ่อนขลิบม่วง มีลายดอกเหมยแลก้อนเมฆปักประดับ งามราวเจ้าหญิงในเทพนิยาย (หรือเรื่องผีก็ไม่แน่ ผีจีนสวย ๆ มีหลายตน) สวยมาก นั่งอ่านบทกวีอยู่ในเก๋งประดับไม้ฉลุลายมังกร ริมทะเลสาบที่มีระลอกคลื่นไหวน้อย ๆ ตามละอองลมต้นฤดูใบไม้ร่วง เธอดื่มชาและกินขนมจันอับชิ้นเล็ก ๆ ไปพลาง สมองรื่นรมย์ อารมณ์แจ่มใส (เพราะชาทำให้เกิดสมาธิและอารมณ์ดีได้ – หนังสือบอก) เมื่ออ่านอยู่นั้นมีนกและผีเสื้อหลากสีบินมาฟัง เสียงเธอไพเราะปานเม็ดหยกร่วงลงกระทบแก้วเจียระไน (เพราะน้ำชาล้างลำคอให้โล่ง) ยามเธอลุกขึ้นย่างเท้าให้เข้ากับจังหวะของบทกวีนั้นร่างน้อยก็อ่อนโอนราว กิ่งหลิวต้องลม (เพราะชาไปล้างไขมันส่วนเกินให้) เธอเผลอเพลินอยู่กับบทกวีจนพระจันทร์ทอแสงสีเงินยวงและสะท้อนในน้ำดูแวบวับ (ชาทำให้สมองตื่น กระฉับกระเฉง ไม่ง่วงเหงาหาวนอน) โอ้ กระนี้ จะมิให้สรรเสริญยกย่องชาได้อย่างไร ถ้าดึกอีกหน่อยคงจะมีบัณฑิตหนุ่มที่เพิ่งสอบจอหงวนได้เข้ามาในฉากด้วย ครบสูตรพอดี
ข้อความที่ท่านอ่านจบไปนั้น หวาง หลิง มิได้เขียน และ เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ก็มิได้แปล หากท่านจะเห็นก็เห็นในจดหมายข่าวฉบับนี้เอง
ขอขอบคุณท่านที่ปรึกษาสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย ที่แปลหนังสือดี ๆ ของจีนออกมาให้ผู้อ่านซาบซึ้งและหลงเสน่ห์ชาผ่านตัวอักษร นักแปลที่ติดกาแฟ หากจะจิบชาแทน สุขภาพของท่านจะดี สมองแจ่มใส แปลได้ทนนาน หุ่นดี และอายุยืน มีผลวิจัยเป็นพยานมากมายสำหรับคนทั่วโลก ส่วนเฉพาะนักแปลนักเขียนซึ่งเป็นลูกค้าของน้ำดื่มมีรสเหล่านี้ ยังไม่มีใครวิจัยไว้ คงจะต้องเชื่อภูมิปัญญาสามพันปีของจีน ในหนังสือ “ตำนานชาในตำราจีน” นั่นแล
หวาง หลิง. ตำนานชาในตำราจีน แปลโดย เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์. กรุงเทพฯ มติชน, ๒๕๔๖. ๒๑๖ หน้า. ๑๕๐ บาท. ภาพประกอบ.
โดย :Thaitiat โพสเมื่อ [ วันจันทร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เวลา ๑๓.๔๕ น.]
http://thaitiat.com/8translation/letter8_1.html
|
||
|
โดย :Thaitiat โพสเมื่อ [ วันจันทร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เวลา ๑๓.๔๕ น.]
อควาเรึยมขนาด 50 สนามฟุตบอล ด้วยความสูงเท่ากับตึก 3 ชั้น ภายในดูไบมอลล์ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรต ดูไบอควาเรียม มีอุโมงค์แก้วให้นักท่องเที่ยวได้ตื่นตากับความอลังการณ์ของขนาดของโครงสร้าง และความหลากหลายของสัตว์น้ำที่จัดแสดง
อควาเรียมใหญ่ที่สุดในโลก จัดแสดง สัตว์ทะเล กว่า 100000 ขีวิต และกว่า 500 สายพันธุ์ แอตแลนตาอความเรียมในรัฐจอร์เจีย ของสหรัฐ ด้วยโครงสร้างอันน่าทึ่งที่จุน้ำทะเลถึง 8.1 ล้าน แกลลอน (คิดเป็นปริมาตรน้ำถึง 31000 ลูกบาศก์เมตร)
ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็นส่วนหนึ่งของ Ocean Expo Commemorative National Government Park ที่เมือง Motobu, Okinawa ญี่ปุ่น ด้วยความจุถึง 7500 ลูกบาศก์เมตร (1,981,290 แกลลอน) เป็นหนึ่งในสถานที่จัดแสดงสัตว์น้ำที่หลากหลายที่สุด Continue reading
ตามตำนานของชาวจีน จักรพรรดิเสินหนง เป็นผู้ค้นพบเครื่องดื่มชนิดนี้ ท่านเชื่อว่าการต้มน้ำดื่มสามารถป้องกันโรคต่างๆได้ แต่ด้วยความบังเอิญระหว่างการเดินทางในป่า ได้มีใบไม้ชนิดหนึ่ง ตกลงไปในด้วยน้ำร้อน แทนที่ท่านจะเทน้ำที่มีสีออกเหลืองนั้นทิ้งไปเสีย กลับทดลองดื่ม จึงได้มีเครื่องดื่มมหัศจรรย์ชนิดนี้เกิดขึ้น ก่อนคริสตกาลประมาณ 2,700ปี
คศ. 618-907 สมัยราชวงค์ถัง (Tang Dynasty) ชาได้กลายเป็นเครื่องดื่มประจำชาติจีน
คศ. 780 หลูหยู่ ได้เขียนบันทึกเล่มแรมเกี่ยวกับชา ชื่อ “ชาชิง” Ch’a Ching
คศ. 1107-1125 จักรพรรดิหุ่ยเซิง ทรงเขียนตำราชา ชื่อ “Ta Kuan Ch’a Lun”
จากนั้นวัฒนธรรมการดื่มชาได้แพร่กระจายไปยังประเทศอื่นๆ เริ่มจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ประเทศในตะวันออกกลาง จนกระทั่งปี 1620 ชาวดัชต์(ฮอลันดา) ได้นำชาเข้าสู่ประเทศฮอลแลนด์
ก่อนที่เราจะรู้จักชื่อทางวิทยาศาสตร์ของต้นชาที่เรียกว่า คาเมลเลีย ไซเนนซิส Camellia Sinensis ชาได้ถูกเรียกเป็นอีกหลายชื่อ เท่าที่พบตามหลักฐานในประวัติศาสตร์จีน ประเทศต้นกำเนิดของชา มีการบันทึกไว้ว่า คำว่า “ทู” (T’u) ที่แปลว่า ผักหรือใบไม้ที่มีรสขม คำว่า “เกียกิวทิว” แปลว่า ต้นไม้ใบเขียวตลอดปี เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกชา ชาวจีนมณฑลยูนนานเรียกชาว่า “มิ้ง” คล้ายกับคำว่า “เมี่ยง”ที่ภาคเหนือของประเทศไทยใช้เรียก เมี่ยงที่ผลิตจากใบชาเช่นเดียวกัน
ระหว่างปีคศ. 728-804 การดื่มชาได้แพร่หลายอย่างรวดเร็วในวัฒนธรรมของจีน บันทึกเกี่ยวกับชาเล่มแรกของโลก เขียนโดยหลูหยู่ ที่ชื่นชอบการดื่มชา จึงค้นคว้าหาแหล่งที่มาของชา วิธีการผลิต อุปกรณ์ชงชา การชงชาที่ถูกวิธี และธรรมเนียมการชาชง พร้อมกับเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ชา” แทนชื่ออื่นๆ และเป็นที่นิยมเรียกอย่างมาก
เมื่อชาวยุโรปล่องเรือเข้ามาทำการค้ากับจีน จึงนำใบชากลับไปด้วย นอกเหนือจากผ้าไหมและเครื่องเทศต่างๆ ชาวจีนมณฑลฟูเจี้ยนเรียกใบชาตามภาษาท้องถิ่นว่า “เต” (Tay) ซึ่งชาวฮอลันดาใช้ชื่อนี้เรียกชากลับไปด้วย ต่อมากลางศตวรรษที่ 18 คำว่า Tay ถูกนำมาสะกดและจำกัดความใหม่เป็น Tea และได้บรรจุไว้ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษมาจนถึงปัจจุบัน
เพิ่มเติมได้ที่ “ทำความรู้จักชา” http://www.time-for-tea.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=307857&Ntype=2
http://www.time-for-tea.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=361875
ชาเป็นพืชที่มาจากพืชในตระกูลคาเมลเลีย ชื่อทางพฤกษศาสตร์ของชาคือ คาเมลเลีย ไซเนนซิส (Camellia Sinensis) มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศจีน เจริญเติบโตในแถบที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูง อากาศเย็น สามารถขึ้นได้ดีในเขตอบอุ่น และมีฝน จึงทำให้แหล่งปลูกชากระจายอยู่ตั้งแต่ละติจูดที่ 45 องศาเหนือในรัสเซีย ถึง 50 องศาใต้ในทวีปแอฟริกา ชาปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 – 2,000 เมตร ผลผลิตชาส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปเอเชียโดยพื้นที่ที่มีการปลูกชามากจะอยู่ระหว่างแนวเหนือใต้ ตั้งแต่ ประเทศญี่ปุ่นถึงอินโดนีเซีย และแนวตะวันออก-ตะวันตก จากประเทศอินเดียถึงญี่ปุ่น เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้จะอยู่ในเขตมนสุมมีอากาศอบอุ่นและมีปริมาณน้ำฝนมาก เหมาะกับต้นชาที่กำลังเจริญเติบโต
ชามีสกุลย่อยๆ แยกออกได้อีกกว่า 3,000ชนิด แต่ว่าที่ปลุกกันเป็นหลักก็มีเพียงแค่ 3 สายพันธุ์ใหญ่ๆ คือ
1. ชาอัสสัม ชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia Sinensis Var. assamica (Mast.) เป็น ไม้พุ่มขนาดกลางถึงใหญ่ บางครั้งอาจพบได้ว่ามีความสูงถึง 17 เมตร และมีขนาดใหญ่กว่าชาในกลุ่มอื่นอย่างเด่นชัด ชาอัสสัมจะถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาจีนและชาดำ ชาอัสสัมจะเติบโตเร็ว ทนแล้ง สามารถแบ่งออกเป็นพันธุ์ย่อยๆได้ 5 สายพันธุ์คือ
1.1 พัีนธุ์อัสสัมใบจาง – ต้นมีขนาดเล็ก ยอดและใบมีสีเขียวอ่อน ลักษระในเป็นมันวาว ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอ ให้ผลผลิตต่ำและคุณภาพไม่ดี เมื่อนำมาทำชาจีนจะมีสีน้ำตาล
1.2 พันธุ์อัสสัมใบเข้ม ยอดและใบมีสีเขียวเข้ม ใบนุ่มเป็นมัน มีชนปกคลุม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี เมื่อนำมาทำชาจีนจะมีสีดำ
1.3 พันธุ์มานิปุริ เป็นพันธุ์ที่แข็งแรง ให้ผลผลิตสูง ใบมีสีเขียวเข้มเป็นประกาย ของใบหยักแบบฟันเลื่อย ทนแล้งได้่ดี
1.4 พันธุ์พม่า ใบมีสีเขียวเข้ม ใบแก่มีสีเขียวแกมน้ำเงิน ใบกว้าง แผ่นใบเป็นรูปไข่ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
1.5 พันธุ์ลูไซ ขอบใบหยักลึก ปลายใบเห็นได้ชัด
2. ชาจีน มีชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia Sinensis Var. sinensis เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-6 เมตร ชาจีนจะถูกนำไปใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาเขียวโดยใช้ยอดอ่อนที่มี 1 ยอดตูมและ 3-4 ใบบาน
ชาจีนจะทนทานต่ออุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่ผันแปรได้ดี ผลผลิตต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม ชาพันธุ์นี้ปลูกมากในประเทศจีน สายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะแตกต่างกันไป ในแต่ละท้องที่เช่น สายพันธุ์ชิงชิงอูหลง ชิงชิงต้าพัง เตกวนอิน เป็นต้น
3. ชาเขมร มีชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia Sinensis Var.Indo-China ชาในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นไม้พุ่มลำต้นเดี่ยวขนาดใหญ่ มีความสูงของทรงพุ่มประมาณ 5 เมตร
ต้น ชาเป็นพืชที่มีลักษณะเป็นพุ่ม ใบเขียว และหากปล่อยให้เจริญเติบโตเองในป่า มันจะให้ดอกสีขาวส่งกลิ่นหอมในฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเมื่อดอกชาเติบโตเต็มที่จะให้ผลชาที่ภายในมีเมล็ดเล็กๆ ตั้งแต่หนึ่งถึงสามเมล็ด ส่วนในการแพร่พันธุ์ ต้นชาจะต้องได้รับการผสมละอองเกสรกับต้นชาต้นอื่นๆ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนยีนและโครโมโซมซึ่งกันและกัน เมื่อชาต้นใหม่เจริญเติบโตมันจะคงคุณลักษณะที่เข้มแข็งบางส่วนของพ่อแม่ต้น พันธุ์ ด้วยวิธีการนี้ ต้นชาจึงถือได้ว่าเป็นพืชที่มีคุณลักษณะเด่นเฉพาะตัวของมันเอง
ต้น ชาสามารถเจริญเติบโตได้สูงตั้งแต่ 15-30 ฟุต แต่ในการปลูก เกษตรกรมักรักษาระดับความสูงของต้นชาให้อยู่ในระดับประมาณ 3-5 ฟุต เพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยวใบชาอ่อน นอกจากนี้การปล่อยให้ต้นชาสูงเกินไป ใบอ่อนที่เหมาะสำหรับการเก็บเพื่อผลิตชาแห้งนั้น จะถูกแสงแดดเผาไหม้ได้ และเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เกษตรกรมักปลูกต้นชาภายใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่อื่นๆ เช่นกัน
ส่วนที่เราต้องการจากต้นชาเพื่อมาทำเครื่องดื่มนั้น อยู่ส่วนบนสุดของต้นหรือใบอ่อน กล่าวคือ คุณภาพของชาที่ดีนั้นต้องผลิตจากใบอ่อน (ยอดบนสุด) และอีกสองใบถัดไป สิ่งที่น่าสนใจและจดจำคือการเก็บเกี่ยวใบอ่อนและยอดที่ได้รับการยอมรับว่าจะ ได้มาซึ่งผลผลิตชาที่ดีนั้น ถือว่าการใช้มือคนเก็บเป็นวิธีที่ดีที่สุด นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้แต่ประเทศที่ได้ผลิตชามาเป็นเวลานานเช่น จีน ไต้หวันหรือประเทศญี่ปุ่นที่มีค่าแรงสูง ก็ยังใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยวยอดชาใบอ่อน เพราะเครื่องจักรมักดึงเอาใบและหน่อส่วนที่หยาบ หรือเป็นเป็นกิ่ง ตลอดจนส่วนอื่นๆของต้นชา ที่สำคัญเครื่องจักรไม่สามารถแยกความแตกต่างของความอ่อน แก่ของใบชาได้ดีเท่าคน
ใบ ชาที่ดีที่สุดนั้นต้องเล็กที่สุด และที่ปลายต้องเรียว ที่หัวจะมีความคมและแหลม ใบชาแบบนี้จะมีราคาแพง ในอดีตจะมีเพียงกษัตริย์เท่านั้นที่ได้ดื่ม คุณภาพของชาที่ดีคือการใช้ใบที่เป็นใบแรก รองลงไปคือใบที่ 2-3 และ 4 ดังนั้นเกษตรกรปลูกชาจึงต้องดูแลต้นชาอย่างดีอยู่เสมอ เพราะถ้าใบชาแก่เกินไปคุณภาพจะลดลงและทำให้ราคาที่ได้ถูกลงด้วย บรรดา แมลงที่สามารถทำความเสียหายให้ต้นชานั้นมีถึง 150 ชนิดด้วยกัน และอีกทั้งมีเชื่อรามากกว่า 380 ชนิดที่สามารถทำความเสียหายต้นชาได้ตลอดเวลา
คุณภาพ และราคาของชา ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของการเก็บชา และฤดู ชาที่มีคุณภาพดีที่สุดต้องเป็นใบชาที่เก็บก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นเต็มที่ และเก็บอีกครั้งเมื่ออาทิตย์ตกดิน เพราะความร้อนจะไม่รุนแรงนัก แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เก็บในช่วงเช้า เพราะมีความชื้นสูง ดังนั้นจึงเลือกเก็บเวลากลางวัน ส่วนฤดูการเก็บเป็นปัจจัยต่อราคาของชาเช่นเดียวกัน ในฤดูใบไม้ผลิจะผลิตชาได้ีดีที่สุด แต่ถ้าเป็นช่วงต่อระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนคุณภาพจะตก ตามธรรมเนียมแล้ว ไม่มีใครเก็บชาในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว เพราะเป็นเวลาที่ต้นชาจะมีโอกาสฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิม แต่ในปัจจุบันการเก็บใบชาเก็บได้ทั้ง 4 ฤดู ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิตตลอดปี
http://www.time-for-tea.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=5319818
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา นั้นหมายถึง การจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ
“ชา” ตามความหมายที่เราต้องการ อ้างอิงตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ คือ น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง. ดังนั้นชาตามความหมายจากการอ้างอิงนี้เราหมายถึง พืชชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze วงศ์ Theaceae เมื่อนำใบมาผ่านกรรมวิธีต่างๆแล้วนำมาชงจะกลายเป็นเครื่องดื่ม
จากความเชื่อแต่โบราณที่ว่า ชาเป็นยาอายุวัฒนะและสามารถแก้โรคต่างๆ ได้สารพัดโรค ตั้งแต่ปวดศีรษะ ลดความเครียด ช่วยย่อยอาหาร ล้างสารพิษ ป้องกันโรคหัวใจ เพิ่มภูมิต้านทาน ไปจนกระทั่งป้องกันฟันผุ ซึ่งการวิจัยในปัจจุบันก็ยืนยันสนับสนุนความเชื่อเหล่านั้น แน่นอนว่าคุณสมบัติที่เป็นยาสารพัดโรคของชานั้นได้มาจากสารเคมีต่างๆที่อยู่ในใบชา นั่นเอง ซึ่งสาระสำคัญ ๆ ได้แก่ เคทิซิน คาเฟอิน แทนนิน เป็นต้น
ความลับของชาอยู่ที่ปริมาณสารเคทิซิน โพลีฟีนอล (Catechin Polyphenol) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาร Epigallocatechin-3-Gallate (EGCG) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก (เชื่อว่าดีกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า) จึงช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับความเสียหายจากอนุมูลอิสระ ช่วย กำจัดการลุกลามของเซลล์เนื้องอก ทั้งยังเข้าไปแทรกแซงในกระบวนการก่อตัวและในกระบวนการลุกลามของมะเร็ง โดยไม่ทำลายเนื้อ เยื่อส่วนดี โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมาก และ มะเร็งปอด การใช้สารสกัดจากชาเขียวในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการฉายแสงและเคมีบำบัดจะทำให้เซลล์ปกติถูกทำลายน้อยลง นอกจากนี้ ยังช่วยลดระดับ LDL คลอเรสเตอรอล และยับยั้งการก่อตัวแบบผิดปรกติของก้อนเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหัวใจวายและลมชัก มีรายงานจากทีมนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิจัยโรคมะเร็งในบริติชโคลัมเบียว่า ชาสามารถยับยั้งการสร้างไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง รุนแรงได้ ซึ่งสารไนโตรซามีนนั้นเป็นสารที่เกิดจากสารพวกดินประสิวในอาหารทำปฏิกิริยากับสารจำพวกโปรตีนที่มีในเนื้อสัตว์และอาหาร ทะเลกลายเป็นไนโตรซามีน ซึ่งกอ่มะเร็งได้หลายฃนิด ดังนั้นถ้านิยมบริโภคอาหารจำพวกไขมัน แอลกอฮอล ์ เนื้อสัตว์และไม่ค่อยรับ ประทานอาหารที่มีกากสูงก็ควรดื่มน้ำชาไปพร้อมๆ กันด้วย ก็จะช่วยลดไขมันหรือสพิษที่อาจปะปนในอาหารได้
สาร เคมีที่เรารู้จักกันดีนี้ก็มีอยู่ในชาประมาณร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนัก ซึ่งสารคาเฟอีนในน้ำชานี่เองที่ไปกระตุ้นให้สมองสดชื่นแจ่มใส หายง่วง เนื่องจากมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เพิ่มการเผาผลาญอาหาร เพิ่มการทำงานของหัวใจและไต แต่อย่างไรก็ตามเด็กและผู้ป่วยโรคหัวใจ ก็ไม่ควรดื่มชาเนื่องจากคาเฟอีนมีคุณสมบัติในการกระตุ้นประสาทและบีบหัวใจ ถ้าต้องการดื่มชาจริงๆ ก็ควรดื่มชาที่สกัดสารคาเฟอีนออก แล้ว ซึ่งในการชงชานั้นพบว่าใน 3 นาทีแรกจะได้คาเฟอีนออกมาในปริมาณที่สูง โดยทั่วไปในชา 1 ถ้วย จะมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 10-50 มิลลิกรัม และในน้ำชายังมีสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับคาเฟอีนชนิดอื่นๆ ที่ช่วยในการขับปัสสาวะ โดยไปกระตุ้นให้ไตขับน้ำปัสสาวะมากขึ้น และยังช่วยขยายหลอดลมอีกด้วย แต่มีงานศึกษาวิจัยบางชิ้นพบว่า น้ำชาที่ได้จากชาเขียวหรือชาดำที่สกัดเอาสารคาเฟอีนออกไป กลับ ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันการก่อมะเร็งหรือเนื้องอก ข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความสนใจขึ้นว่าบางทีคาเฟอีนในใบชาอาจจะเป็นสารออก ฤทธิ์ ตัวหนึ่งที่มีผลทางการแพทย์ก็เป็นได้้
ฝาดชา (Tannin) เป็นสารที่มีรสฝาด พบในใบชาแห้งประมาณร้อยละ 20-30 โดยน้ำหนัก ใช้บรรเทาอาการท้องเสียได้ ดังนั้นหาก
ต้องการดื่มชาให้ได้รสชาติที่ดีนั้น ไม่ควรทิ้งใบชาค้างไว้ในกานานเกินไป เพราะสารแทนนินจะออกมามาก ทำให้น้ำชามีรสขมฝาด
แต่ถ้าหากต้องการบรรเทาอาการท้องเสียก็ควรต้มใบชานานๆ เพื่อให้มีปริมาณสารแทนนินออกมามาก นอกจากนั้นสารแทนนินยัง
ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหัวใจและขยายผนังหลอดเลือด จึงทำให้ชาเขียวเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วย
นอกจากนี้ ชายังประกอบไปด้วยกรดอะมิโนคือ ธีอานีน (Theanine) สารแคโรทีนอยด์ คลอโรฟิลล์และโปรแอนโธไซยานิติน ที่พบ
ในสารสกัดจากเมล็ดองุ่น เปลือกสน บลูเบอร์รี่และใบแปะก้วย สารเหล่านี้จะถูกดูดซึมสู่ทางเดินอาหารได้ถึงร้อยละ 90 แล้วแผ่กระจาย
ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ภายใน 5 นาทีและยังคงออกฤทธิ์อยู่ในช่วงเวลา 6-14 ชั่วโมง ซึ่งสารพัดสารเคมีที่มีประโยชน์ในใบชาเหล่านี้นี่เอง
ที่ทำให้ชาเป็นยารักษาโรคได้สารพัดและเป็นยาอายุวัฒนะที่เชื่อถือกันมาตั้งแต่โบราณกาล
ที่มา http://www.time-for-tea.net