Tag Archives: ข้อคิด

Ashley Ann Kuzma ครูวัย 32 ปี เสียชีวิตจากมะเร็งกล่องเสียง เธอเขียน #obituary ให้ตัวเองก่อนตาย

Ashley Ann Kuzma ครูวัย 32 ปี เสียชีวิตจากมะเร็งกล่องเสียง เธอเขียน #obituary ให้ตัวเองก่อนตาย นัดหมายวันเวลาให้คนรู้จักมาในงานศพของตัวเอง เธอบอกว่า บทเรียนของชีวิตคืออย่าปล่อยให้อะไรที่ไม่สำคัญมาสร้างความรำคาญใจกับเรา

Continue reading

5 แนวคิดคนรวยจากเด็กอายุ 17 ปี ผู้ที่มีรายได้กว่า 1 ล้านบาทต่อเดือน

 แนวคิดคนรวยทั้ง 5 ข้อต่อไปนี้ ถ้าบอกว่าเป็นข้อคิดดี จากเด็กหนุ่มวัยเพียง 17 ปี ที่สามารถหาเงินกินขนมได้เดือนละ 1 ล้านกว่า อยากรู้ไหมว่าเขาทำได้ยังไงกัน

ตอนอายุ 17 เรากำลังทำอะไรกันอยู่ ? ถ้าลองย้อนนึก ๆ ดูคงเจอแต่ความสดใสในช่วงวัยรุ่น มีมิตรภาพดี ๆ ระหว่างเพื่อนและการเล่นสนุกไปวัน ๆ แต่กับเจ้าหนุ่มคนนี้ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะด้วยวัยเพียง 17 ปี ตอนนี้เขาก็สามารถหาเงินเข้าบัญชีได้เดือนละล้านกว่าบาทแล้ว

Screen Shot 2559-06-06 at 22.42.10

โดยในตอนที่ Temper Thompson หนุ่มน้อยชาวอเมริกันคนนี้กำลังเรียนอยู่เกรด 8 (ประมาณมัธยมศีกษาปีที่ 2) เขาก็คิดอยากหารายได้ด้วยตัวเอง เพื่อที่จะไม่ต้องแบมือขอเงินพ่อแม่อีกต่อไป แต่ด้วยความที่ไม่ค่อยถนัดงานขายอาหารอย่างคนอื่น เจ้าหนุ่มคนนี้เลยคิดจะอาศัยเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยหารายได้แทน เขาจึงเริ่มลงมือทำ Online Marketing ด้วยการขายหนังสือออนไลน์ผ่าน Kiddle Publishing เว็บไซต์หารายได้บนโลกออนไลน์ของ Amazon ที่ว่ากันว่าเป็นเว็บไซต์ Online Marketing อันดับต้น ๆ ในสหรัฐฯ ซึ่งในตอนนั้น Temper Thompson ก็ได้ตั้งเป้าว่าจะหาค่าขนมจากช่องทางนี้ให้ได้เดือนละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3,500 บาท

ทว่าไป ๆ มา ๆ ณ ปัจจุบัน Temper Thompson กลับสร้างรายได้จาก Online Marketing ได้ถึง 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว ๆ ล้านกว่าบาทต่อเดือน ซึ่งการดำเนินธุรกิจให้รุ่งโรจน์เช่นนี้ได้ Temper Thompson ก็ได้เผย 5 แนวคิดแบบคนรวย ที่อาจทำให้ผู้ใหญ่บางคนยังต้องอึ้ง !

1. ต้องลงมือทำ
Temper Thompson บอกว่า ถ้าไม่ลงมือทำ แล้วเมื่อไรจะสำเร็จ ฉะนั้นหากอยากประสบความสำเร็จก็ไม่ควรรีรอหรืออ้างเหตุผลอะไรอีกต่อไป แค่คุณลงมือทำสิ่งที่คิดไว้เท่านั้น ก็เท่ากับมีโอกาสเดินไปถึงความสำเร็จมากขึ้นแล้ว เหมือนอย่างที่เขาก็ลงมือสร้างธุรกิจของตัวเองตั้งแต่กำลังเรียนอยู่เกรด 8 นั่นยังไงล่ะ

2. อย่ากลัวที่จะล้ม
บทเรียนที่ทุกคนควรได้รับก็คือบทเรียนแห่งความพยายาม ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และบางครั้งเราก็ไม่สามารถจะควบคุมมันได้ แต่สิ่งเดียวที่เราทำได้คือการลุกขึ้นมาพยายามใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะฉะนั้นความผิดพลาดหรือการล้มไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่นั่นเป็นโอกาสให้เราได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาด และนำสิ่งเหล่านั้นมาพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นต่างหาก

3. มุ่งมั่น ตั้งใจ
ทุกวันนี้คนเรามักจะใส่ใจอะไรเพียงชั่วแวบเดียวเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เด็กหนุ่มวัย 17 ปีไม่ค่อยจะเห็นด้วยนัก เพราะเขามีแนวคิดที่ว่า เราจะสามารถเดินไปถึงเส้นชัยได้รวดเร็วขึ้น เมื่อเราให้ความใส่ใจหรือทุ่มเทกับอะไรเพียงแค่อย่างเดียว

4. อยู่กับคนที่คิดบวก
พลังแห่งความคิดบวกจะช่วยผลักดันให้คุณคว้าความสำเร็จมาได้ หรืออย่างน้อย ๆ คนคิดบวกก็อาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้คุณโดยไม่รู้ตัว เหมือนอย่างที่ครอบครัว Thompson ได้ทำ โดยพ่อและแม่ของเขาก็เป็นเจ้าของร้านกาแฟ และดำเนินธุรกิจของครอบครัวมาด้วยความสุขสันต์หรรษา ซึ่งนี่ก็เปรียบเสมือนแรงผลักดันให้ Temper อยากสร้างธุรกิจที่นำพาความสุขและรายได้มาให้ตัวเองเช่นกัน

5. อย่าสบายจนเคยตัว
ความสะดวกสบายที่มากเกินไปอาจทำให้เรากลายเป็นคนขี้เกียจได้ Temper คิดอย่างนั้น เขาจึงแนะนำให้ทุกคนมีความแอ็คทีฟ มีแรงผลักดันที่จะสานต่อในสิ่งที่ตัวเองทำ อย่างเช่นเขาที่ตั้งเป้าหารายได้ 100 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อครั้งเริ่มลงทุน ซึ่งเมื่อบรรลุเป้าหมายเขาก็ไม่อยู่เฉย พยายามคิดหาวิธีเพิ่มรายได้จนเขยิบมาที่ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน และยังขับเคลื่อนธุรกิจต่อมาจนรายได้แตะหลักหมื่นดอลลาร์ และจวบจนทุกวันนี้เจ้าหนุ่มน้อยก็ได้ตั้งเป้าให้ธุรกิจของตัวเองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่คิดจะหยุดพัฒนาตัวเอง

ทั้งนี้ Temper ยังฝากมาด้วยว่า ยิ่งคุณสบาย คุณก็จะยิ่งไม่ได้ทำอะไร แต่ยิ่งคุณเหนื่อยเท่าไร ก็เหมือนยิ่งเข้าใกล้ความสำเร็จที่อยากได้มากเท่านั้น

ที่มา :
http://money.kapook.com/view141623.html
http://wisethailand.com/ecetopics/viewtopic.php?id=11005117

คลิปหมอปลาให้ข้อคิด

อยากให้ได้ดูได้ฟังกัน…

ที่มา : ยูทูป คุณ Alice Kamonwan

การแชร์ภาพศพ

เห็นว่าน่าสนใจสำหรับคนทำสื่อหรือเผยแพร่ข่าวสารเรื่องราวที่สมัยนี้ไม่ใช่แค่การสื่อสารทางเดียวหรือเป็นการรับข่าวสารจากสื่อกระแสหลักแค่ไม่กี่เจ้าที่มีเอกสิทธิ์อย่างสมัยก่อนแล้ว เป็นเรื่องที่มีเรื่องให้ไตร่ตรอง คิด พิจารณา น่าสนใจอยู่มากทีเดียว

เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคมที่ผ่านมา หนุมอายุ ๑๓ ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก

สิ่งที่น่าศร้าก็เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์นี้ โดยมีสำนักข่าวบางสำนัก นักข่าวบางคน และผู้ใช้โซเซียลมีเดียจำนวนมาก เผยแพร่ภาพศพนองเลือดของผู้ที่เป็นเหยื่อ จริงๆ แล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีผู้คนจำนวนมากแชร์ภาพลักษณะเดียวกัน (ภาพศพนองเลือด) หลังจากมีเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต รวมไปถึงอุบัติเหตุบนถนนที่มีผู้เสียชีวิตเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เราต้องคิดก่อนว่า เราควรกระทำเช่นนี้หรือไม่ เพราะผมเชื่อว่า การกระทำเช่นนี้มีแต่ผลกระทบโดยไม่เป็นประโยชน์อะไรต่อฝ่ายใด

ภาพศพนองเลือดที่ปรากฏในข่าวและโซเซียลมีเดียเป็นภาพของคนที่ผมไม่รู้จักอย่างเป็นส่วนตัวทั้งนั้น แต่ผมก็ยังรู้สึกสงสารต่อเหยื่อ และนึกไม่ออกว่า ครอบครัวของเหยื่อจะรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นผู้คนหลายๆ คนแช่ภาพศพของสมาชิกครอบครัว เพราะถ้าหากว่าผมเป็นเหยื่อในเหตุรุนแรงหรืออุบัติเหตุแบบนี้ ผมก็ไม่อยากจะให้สื่อเผยแพร่ภาพศพของผม ถ้าสมมุติว่า ครอบครัวหรือเพื่อสนิทเป็นเหยื่อ สิ่งที่ผมไม่ต้องการที่สุดก็คือสื่อจะนำภาพศพและเผยแพร่

หลังจากสูญเสียลูกชายทั้งสามคนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน อ. บาเจาะ จ. นราธิวาสเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ปีที่แล้วก็มีการเผยแพร่ภาพศพของเด็กเหล่านี้ แต่เมื่อมีคนถามถึงการกระทำนี้กับผู้ที่เป็นแม่ของเด็กที่เสียชีวิต คุณแม่ก็อธิบายว่า ถ้าจะใช้ภาพของลูกก็ขอใช้ภาพของพวกเขาเมื่อพวกเขายังมีชีวิตอยู่ เพราะภาพศพนั้นกระทบความรู้สึกของตน

ด้วยเหตุนี้ เราก็ไม่ควรจะเผยแพร่ภาพศพ เพราะการเผยแพร่ภาพศพเป็นการกระทำที่ขาดความเคารพต่อความเป็นมนุษย์และความรู้สึกของครอบครัว ถ้าเราต้องการจะถ่ายทอดความรุนแรงและความโหดเหี้ยมก็ควรใช้วิธีการอื่น โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า เราสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้โดยใช้ภาษา และไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่เราต้องใช้ภาพศพ

งานศพเป็นหนึ่งในพิธีที่สำคัญในทุกศาสนา เพราะศาสนาทุกศาสนาก็สอนให้เรามีความเคารพต่อผู้เสียชีวิต เช่นในศาสนาอิสลาม เราควรฝั่งศพภายในเวลาอันไม่ช้า เพื่อไม่ให้ศพนั้นจะส่งกลิ่นเหม็น และในงานศพเราก็ไม่ควรกล่าวถึงข้อเสีย จุดอ่อนหรือปัญหาของผู้เสียชีวิตด้วย แม้แต่ในสงคราม ศาสนาอิสลามก็สอนให้ศาสนิกชนต้องเคารพศพ ไม่ว่าจะเป็นศพของคนที่อยู่ในฝ่ายเดียวกันหรือของศตรู การถ่ายภาพศพเพื่อนำมาเผยแพร่นั้นคงจะขัดกับหลักศาสนาทุกศาสนาที่ให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์

เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น หน้าที่ของนักข่าวคือถ่ายถอดเหตุการณ์หรืออุบัตุหตุนั้นให้สังคมทราบ นักข่าวก็มักจะอาศัยภาพต่างๆ เพื่อถ่ายทอดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุดังกล่าว แต่คำถามก็คือ ทำไมนักข่าว โดยเฉพาะนักข่าวไทย ไม่ว่ามาจากสื่อกระแสหลักหรือสื่อทางเลือก นิยมอาศัยวิธีการที่ง่ายที่สุดโดยเก็บภาพของศพและเผยแพร่ภาพดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ

ประเทศอื่นๆ หลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ มีกฎหมายที่ห้ามนำภาพศพเพื่อเผยแพร่ตามข่าว แต่ในประเทศไทย สื่อก็ยังอาศัยภาพศพที่ถูกนำมาเผยแพร่ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ แม้ว่ามีเซ็นเซอร์แค่นิดเดียว แต่เรายังเห็นได้ชัดว่า นี่คือภาพศพคำถามก็คือ นักข่าวไทยขาดความเป็นมืออาชีพขนาดนี้ จนถึงไม่สามารถถ่ายทอดเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต ถ้าไม่ภาพของผู้ที่เป็นเหยื่อหรือเปล่า โดยนำเผมแพร่ภาพเหล่านี้ นักข่าวก็ทำให้ผู้อ่านข่าวอยู่ในสภาพ “เสพภาพศพ” จนถึงผู้อ่านก็ไม่อยากอ่านข่าวเหตุรุนแรงถ้าไม่มีภาพศพ การนำภาพศพนองเลือดเพื่อเผยแพร่นั้นไม่ใช่งานของ “นักข่าว” ในความหมายอันแท้จริง แต่ฝีมือของไอ้พวกคนขายข่าวที่ไม่มีความเคารพต่อความเป็นมนุษย์และความรู้สึกจของครอบครัว

สุดท้ายนี้ ผมขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายงดเผยแพร่ภาพศพในสื่อ ไม่ว่าจะเป็นภาพศพของเหยื่อเหตุรุนแรงหรืออุบัติเหตุก็ตาม ตราบใดที่เรากระทำเช่นนี้ต่อ เราก็ไม่อาจจะสามารถสร้างสังคมที่มีความเคารพต่อมนุษย์ และคนในสังคมก็ไม่เห็นคุณค่าในชีวิตของผู้อื่นและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  การแชร์ภาพศพ

เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคมที่ผ่านมา หนุมอายุ ๑๓ ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก

สิ่งที่น่าศร้าก็เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์นี้ โดยมีสำนักข่าวบางสำนัก นักข่าวบางคน และผู้ใช้โซเซียลมีเดียจำนวนมาก เผยแพร่ภาพศพนองเลือดของผู้ที่เป็นเหยื่อ จริงๆ แล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีผู้คนจำนวนมากแชร์ภาพลักษณะเดียวกัน (ภาพศพนองเลือด) หลังจากมีเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต รวมไปถึงอุบัติเหตุบนถนนที่มีผู้เสียชีวิตเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เราต้องคิดก่อนว่า เราควรกระทำเช่นนี้หรือไม่ เพราะผมเชื่อว่า การกระทำเช่นนี้มีแต่ผลกระทบโดยไม่เป็นประโยชน์อะไรต่อฝ่ายใด

ภาพศพนองเลือดที่ปรากฏในข่าวและโซเซียลมีเดียเป็นภาพของคนที่ผมไม่รู้จักอย่างเป็นส่วนตัวทั้งนั้น แต่ผมก็ยังรู้สึกสงสารต่อเหยื่อ และนึกไม่ออกว่า ครอบครัวของเหยื่อจะรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นผู้คนหลายๆ คนแช่ภาพศพของสมาชิกครอบครัว เพราะถ้าหากว่าผมเป็นเหยื่อในเหตุรุนแรงหรืออุบัติเหตุแบบนี้ ผมก็ไม่อยากจะให้สื่อเผยแพร่ภาพศพของผม ถ้าสมมุติว่า ครอบครัวหรือเพื่อสนิทเป็นเหยื่อ สิ่งที่ผมไม่ต้องการที่สุดก็คือสื่อจะนำภาพศพและเผยแพร่

หลังจากสูญเสียลูกชายทั้งสามคนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน อ. บาเจาะ จ. นราธิวาสเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ปีที่แล้วก็มีการเผยแพร่ภาพศพของเด็กเหล่านี้ แต่เมื่อมีคนถามถึงการกระทำนี้กับผู้ที่เป็นแม่ของเด็กที่เสียชีวิต คุณแม่ก็อธิบายว่า ถ้าจะใช้ภาพของลูกก็ขอใช้ภาพของพวกเขาเมื่อพวกเขายังมีชีวิตอยู่ เพราะภาพศพนั้นกระทบความรู้สึกของตน

ด้วยเหตุนี้ เราก็ไม่ควรจะเผยแพร่ภาพศพ เพราะการเผยแพร่ภาพศพเป็นการกระทำที่ขาดความเคารพต่อความเป็นมนุษย์และความรู้สึกของครอบครัว ถ้าเราต้องการจะถ่ายทอดความรุนแรงและความโหดเหี้ยมก็ควรใช้วิธีการอื่น โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า เราสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้โดยใช้ภาษา และไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่เราต้องใช้ภาพศพ

งานศพเป็นหนึ่งในพิธีที่สำคัญในทุกศาสนา เพราะศาสนาทุกศาสนาก็สอนให้เรามีความเคารพต่อผู้เสียชีวิต เช่นในศาสนาอิสลาม เราควรฝั่งศพภายในเวลาอันไม่ช้า เพื่อไม่ให้ศพนั้นจะส่งกลิ่นเหม็น และในงานศพเราก็ไม่ควรกล่าวถึงข้อเสีย จุดอ่อนหรือปัญหาของผู้เสียชีวิตด้วย แม้แต่ในสงคราม ศาสนาอิสลามก็สอนให้ศาสนิกชนต้องเคารพศพ ไม่ว่าจะเป็นศพของคนที่อยู่ในฝ่ายเดียวกันหรือของศตรู การถ่ายภาพศพเพื่อนำมาเผยแพร่นั้นคงจะขัดกับหลักศาสนาทุกศาสนาที่ให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์

เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น หน้าที่ของนักข่าวคือถ่ายถอดเหตุการณ์หรืออุบัตุหตุนั้นให้สังคมทราบ นักข่าวก็มักจะอาศัยภาพต่างๆ เพื่อถ่ายทอดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุดังกล่าว แต่คำถามก็คือ ทำไมนักข่าว โดยเฉพาะนักข่าวไทย ไม่ว่ามาจากสื่อกระแสหลักหรือสื่อทางเลือก นิยมอาศัยวิธีการที่ง่ายที่สุดโดยเก็บภาพของศพและเผยแพร่ภาพดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ

ประเทศอื่นๆ หลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ มีกฎหมายที่ห้ามนำภาพศพเพื่อเผยแพร่ตามข่าว แต่ในประเทศไทย สื่อก็ยังอาศัยภาพศพที่ถูกนำมาเผยแพร่ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ แม้ว่ามีเซ็นเซอร์แค่นิดเดียว แต่เรายังเห็นได้ชัดว่า นี่คือภาพศพคำถามก็คือ นักข่าวไทยขาดความเป็นมืออาชีพขนาดนี้ จนถึงไม่สามารถถ่ายทอดเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต ถ้าไม่ภาพของผู้ที่เป็นเหยื่อหรือเปล่า โดยนำเผมแพร่ภาพเหล่านี้ นักข่าวก็ทำให้ผู้อ่านข่าวอยู่ในสภาพ “เสพภาพศพ” จนถึงผู้อ่านก็ไม่อยากอ่านข่าวเหตุรุนแรงถ้าไม่มีภาพศพ การนำภาพศพนองเลือดเพื่อเผยแพร่นั้นไม่ใช่งานของ “นักข่าว” ในความหมายอันแท้จริง แต่ฝีมือของไอ้พวกคนขายข่าวที่ไม่มีความเคารพต่อความเป็นมนุษย์และความรู้สึกจของครอบครัว

สุดท้ายนี้ ผมขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายงดเผยแพร่ภาพศพในสื่อ ไม่ว่าจะเป็นภาพศพของเหยื่อเหตุรุนแรงหรืออุบัติเหตุก็ตาม ตราบใดที่เรากระทำเช่นนี้ต่อ เราก็ไม่อาจจะสามารถสร้างสังคมที่มีความเคารพต่อมนุษย์ และคนในสังคมก็ไม่เห็นคุณค่าในชีวิตของผู้อื่นและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

– See more at: http://blogazine.pub/blogs/shintaro/post/5476#sthash.DwF2347d.dpuf
ขอบคุณที่มา : บล๊อคของshintaro@blogazine

“ชรากถา” น่าคิด

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชที่ ตอนอายุได้ 74 ปี เขียน “ชรากถา” น่าคิด
—————
กฏของการใช้ชีวิตในวัยทองอย่างมีความสุข

1.อาศัยอยู่ในบ้านของตัวเองอย่างเป็นส่วนตัวและเป็นอิสระ

2.ถือครองเงินฝากธนาคารและทรัพย์ไว้กับตัวเอง

3.อย่าไปคาดหวังว่าลูกเต้าจะดูแลตอนแก่

4.หาเพื่อนเพิ่มคบทุกวัย

5.อย่าเปรียบตัวเองกับคนอื่น

6.อย่าไปยุ่งวุ่นวายกับชีวิตลูก

7.อย่าเอาความชรามาเป็นข้ออ้าง เพื่อเรียกร้องความเคารพนับถือและความสนใจ

8.ให้ฟังเสียงผู้อื่นแต่ให้วิเคราะห์และปฏิบัติตามที่คิดอย่างอิสระ

9.ให้สวดมนต์แต่อย่าร้องขอจากพระ

10.ข้อสุดท้าย “อย่าเพิ่งตาย”
“Secret of old age” ๓๐ ข้อ สำหรับผู้เข้าสู่วัยชรา
๑)อย่ากลัวความแก่
๒)อย่าเสียใจที่แก่
๓)รีบหาความสุขเมื่อยังมีความสามารถ
๔)อย่ารอหาความสุขก่อนจะเสียดายภายหลัง
๕)รีบไปเที่ยวตามสถานที่ๆ อยากไป
๖)หาเวลาเจอเพื่อนเก่า
๗)สังสรรค์กับเขาเพราะเวลาเหลือน้อย
๘)เงินที่เก็บไว้ในธนาคาร ตายแล้วเอาไปไม่ได้
๙)ใช้เงินหาความสุขเมื่อยังมีชีวิต
๑๐)อยากกินอะไรที่ชอบก็กิน
๑๑)หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
๑๒)กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
๑๓)การเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมดา
๑๔)อย่าวิตกกลัวกับความเจ็บป่วย
๑๕)ทุกคนต้องผ่านการเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมดา
๑๖)ถ้าวิตกเรื่องแก่เจ็บตายแล้วมีความสุขก็ให้วิตกไปเถิด
๑๗)รีบจัดการปัญหาเสียก่อนตาย
๑๘)ปล่อยให้หมอดูแลสุขภาพ พระเจ้าดูแลชีวิต และตนเองดูแลอารมณ์
๑๙)อย่ากังวลกับลูกหลาน พวกเขาช่วยตัวเองได้
๒๐)สนใจดูแลสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้น
๒๑)สนใจดูแลคู่ชีวิตที่ชราด้วยกันให้มากขึ้น
๒๒)เก็บเงินเกษียณไว้กับตัวเอง
๒๓)พบเพื่อนเก่าให้บ่อยมากขึ้น เพราะเวลาเหลือน้อยลง
๒๔)ยิ้มให้ตนเองและคนอื่นทุกวัน
๒๕)ทำชีวิตให้มีความสุข
๒๖)ถ้าอยากร้องไห้ก็ร้องให้ดังๆ ไปเลย
๒๗)ความหวังสิ้นสุด ถ้าหยุดความเชื่อ
๒๘)ความรักจะสิ้นสุด ถ้าหยุดใส่ใจ
๒๙)ชีวิตจะสิ้นสุข ถ้าหยุดยิ้ม
๓๐)มิตรภาพจะสิ้นสุด ถ้าหยุดแบ่งปัน…
ขอให้โชคดี มีอายุยั่งยืน

ข้อคิดพื้นฐานในการเลือก เก็บ และดื่ม ชาผูเอ่อร์

ขอขอบคุณข้อคิดดีๆ จากคุณจาง..

ข้อคิดของชาผูเอ่อร์

ไปเจอบทความดีๆน่าสนใจ จึงเอามาฝากเพื่อนๆคอชาผูเอ่อร์ครับ
๑. ให้ซื้อชาผูเอ่อร์ที่ตนชอบจริงๆ ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าชาตัวที่ตนเองชอบราคาแพง ก็อย่าฝืนตนเองไปหาชาที่ย่อมเยาว์กว่า ให้อดทนแล้วออมตังค์ซื้อในภายหน้า หรืออาจจะหาเพื่อนมาหุ้นกันซื้อ
๒. พยยามซื้อชาด้วยเงินสด จะได้ไม่ปวดหัวเวลาจ่ายบัตรเครดิต
๓. ชื้อชาผูเอ่อร์ที่ตนเองชอบ ไม่ใช่ซื้อตัวที่ผู้อื่นชอบ ทุกคนอาจให้ความคิดเห็นมากมาย แต่จงจำไว้คนดื่มคือตัวคุณเอง
๔. ให้ความสำคัญกับคนรอบข้าง ถ้าคุณมีเพื่อนที่รักในการจิบชา ขอแสดงความยินดีด้วยครับ เป็นเรื่องดีกว่าที่เราได้ชาสุดยอดมาหนึ่งแผ่น แล้วชงดื่มคนเดียวอย่างหงอยเหงา อย่ารอช้า รีบชวนเค้ามาร่วมแบ่งปันชาของคุณด่วน
๕. อย่ารอถึงวันพิเศษถึงแกะชาดีๆดื่ม เพราะวันที่คุณเปิดชาดีๆดื่ม วันนั้นย่อมกลายเป็นที่ไม่ธรรมดาทันที