Tag Archives: การกิน

8 วิธีสังเกต “ร้านอาหารข้างทาง” เสี่ยง “ท้องเสีย-อาหารเป็นพิษ”

ร้านอาหารข้างทาง เป็นสิ่งที่อยู่คู่บ้านคู่เรือนไทยกันมาอย่างช้านาน และเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยไปแล้วก็ว่าได้ เพราะนักท่องเที่ยวหลายร้อยลายพันคนติดใจกับรสชาติอาหารที่จัดจ้านถูกปาก และยังราคาเป็นมิตรของร้านอาหารเหล่านี้กันถ้วนหน้า แต่ใช่ว่าร้านอาหารข้างทางทุกร้านจะดีต่อท้องไส้ของเราทุกร้านเสมอไป เลือกไม่ดีอาจทำให้เราท้องเสีย หรือหนักหน่อยก็อาจเป็นโรคอาหารเป็นพิษได้
ดังนั้น ก่อนเลือกทานอาหารจากร้านอาหารข้างทาง ควรสังเกตให้ดีว่าร้านอาหารเหล่านี้ “ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน” ด้านความสะอาดที่ควรจะมีหรือไม่

Continue reading

สูงวัยอย่างมีคุณภาพด้วย “สมุนไพร” ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร “เราอยากกระตุ้นให้ประชาชนขบถ”

สิ่งที่เรียกว่า “สังคมผู้สูงวัย” ดูเหมือนประเทศไทยไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้พ้น

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมรับมือแต่เนิ่นๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง

เช่นที่ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ผนึกกำลังกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ-เอกชน จัดงานด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อ “เฮลท์แคร์ 2016” ภายใต้ธีม “สร้างสุขผู้สูงวัย” นับเป็นงานมหกรรมสุขภาพเพื่อผู้สูงวัยครั้งแรกของไทย

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร คือหนึ่งในหน่วยงานด้านสุขภาพที่มีบทบาทเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องการแพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพรมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ด้วยความมุ่งหวังที่จะทำให้ภูมิปัญญาในการใช้สมุนไพรของประเทศไทยได้รับการสืบสาน ส่งต่อ ให้พืชสมุนไพรกลับมาเป็นที่แพร่หลายเหมือนดังแต่ก่อน

และผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในเรื่องนี้เห็นจะเป็นใครอื่นไปไม่ได้ ! Continue reading

การเลือกกินเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน

คนเรามีอายุมากขึ้นอาจมีปัญหาเรื่องตัวเตี้ยลง หลังค่อมจนเงยไม่ขึ้น ขาโก่งงอ หรือกระดูกหักง่าย ต้องระวังไม่ให้หกล้ม อาการเหล่านี้เป็นผลเกี่ยวเนื่องจากภาวะกระดูกพรุน คงไม่มีใครอยากมีอาการเช่นนี้ การหลีกปัญหากระดูกพรุน ทุกคนควรระมัดระวังพฤติกรรมต่างๆ ดังนี้

1. ระวังไม่กินอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะการกินโปรตีนมากเกินไปจะกระตุ้นให้ไตขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากผิดปกติ
2. ระวังไม่กินอาหารเค็มจัดหรือมีโซเดียมมาก เพราะเกลือโซเดียมที่มากเกินจะทำให้การดูดซึมของแคลเซียมจากลำไส้ลดลง ร่างกายจึงไม่สามารถนำแคลเซียมมาใช้ได้ และยังทำให้การสูญเสียแคลเซียมทางไตมากขึ้นด้วย
3. ไม่ควรดื่มน้ำอัดลมในปริมาณมาก เพราะในน้ำอัดลมมีส่วนผสมที่ชื่อ “กรดฟอสฟอริก” ที่ทำให้เกิดฟองฟู่ การดื่มน้ำอัดลมมากทำให้ความสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสเสียไป (มีฟอสฟอรัสมากขึ้น) ร่างกายจึงจำเป็นต้องสลายแคลเซียมออกจากคลังกระดูก เพื่อป้องกันไม่ให้ฟอสฟอรัสในเลือดสูงเกินไปจนส่งผลอันตรายต่อชีวิต
4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มจำพวกเหล้า เบียร์ ชา กาแฟ ช็อกโกแลต แอลกอฮอล์หรือกาเฟอีนในเครื่องดื่มเหล่านี้จะไปขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม ทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมามากขึ้น เพราะฉะนั้นไม่ควรดื่มชา กาแฟ เกินวันละ ๓ ถ้วย
5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ แคลเซียมมีบทบาทสำคัญในการรักษาความสมดุลระหว่างค่าความเป็นกรด-ด่างของเลือด การสูบบุหรี่ทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นกรด แคลเซียมจะเข้ามามีบทบาทในการสะเทินฤทธิ์กรดจากบุหรี่ ดังนั้น บุหรี่ทุกๆ มวนจึงเป็นตัวที่ทำให้แคลเซียมละลายจากกระดูก นอกจากนี้ บุหรี่ยังทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงต่ำกว่าปกติด้วย จึงยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน
6. ระวังการใช้ยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยาที่มีสารสตีรอยด์ ยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ ยาเหล่านี้เร่งการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย ดังนั้น หากจำเป็นต้องกินเป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

การป้องกันภาวะกระดูกพรุนที่ถูกต้องจึงควรประกอบด้วยการกินอาหารให้ครบหมวดหมู่ ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม งดเว้นปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวไว้ข้างต้น ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ขอบคุณเฟซบุ๊คเพจ : หมอชาวบ้าน


11061765_10153226132697028_4385977895006163560_n