Category Archives: ข่าวสาร,ประวัติศาสตร์ไทย – Thai History

การละเมิดสิทธิแรงงานภาคไอที ‘แรงงานบังคับ’ เบื้องหลัง ‘จอภาพ’ ของคุณ

แปลและเรียบเรียงโดย พัชณีย์ คำหนัก 28 ก.ค. 2562

รายงานการสืบสวนสอบสวนองค์กร Danwatch เผยให้เห็นถึงการบังคับใช้แรงงานและการละเมิดแรงงานข้ามชาติในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ประเทศมาเลเซีย

เมื่อเดือน มิ.ย. 2019 องค์กร Danwatch ได้สืบสวนสอบสวนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนแรงงานข้ามชาติที่ทำงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่แบรนด์และลูกค้าต่างๆ ในมาเลเซีย ได้แก่ บริษัท Infineon, Possehl, ST Micro, NXP, Panasonic, Toshiba, Vishay และ Texas Instruments คนงานให้สัมภาษณ์ว่า “มีการใช้แรงงานบังคับอยู่เบื้องหลังจอภาพของคุณ” คือ มีการเก็บค่าสมัครงานมากเกินไป มีการบังคับใช้แรงงาน ใช้ความรุนแรง ยึดหนังสือเดินทางและหักค่าจ้างอย่างผิดกฎหมาย

บริษัท Toshiba กล่าวกับ Danwatch ว่าจะตรวจสอบสถานประกอบการของตนเองว่าเป็นไปตามที่องค์กร Danwatch รายงานเช่นนั้นหรือไม่ และพานาโซนิค กล่าวว่า จะ “พิจารณา” ทำการสำรวจเชิงลึกเพิ่มเติม โดยจะไม่ได้อาศัยเพียงข้อมูลของซัพพลายเออร์ส่วน Infineon, Possehl และ ST Micro กล่าวว่ากำลังสืบสวนกรณีปัญหาเหล่านี้อยู่ ผู้อ่านสามารถอ่านความเห็นของบริษัทในวิดีโดและคอมเม้นท์ด้านล่างนี้ Danwatch ไม่ได้รับความเห็นใดๆ จาก NXP, Vishay หรือ Texas Instruments แต่อย่างใด

Continue reading

คำโกหกพกลมของพระบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย

โดย : Peera Songkünnatham

หมายเหตุ: บทความนี้เรียก “สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” สั้นๆ ว่า “ดำรง” และไม่ใช้ราชาศัพท์ เพื่อเรียกบุคคลด้วยนามอื่นที่ผู้เรียกมองว่าถูกต้องกว่า เช่นเดียวกับที่เจ้าชายดำรงได้ลบชนชาติลาวออกไปจากพื้นที่ใต้การปกครองสยาม กลายเป็น “คนไทยมิใช่ลาว”

ฉันได้อ่านบทความ The Invention of ‘Isan’ History” ของ Akiko Iijima นักวิชาการจาก Tenri University เพิ่งตีพิมพ์เผยแพร่ใน Journal of the Siam Society (วารสารสยามสมาคม) ฉบับล่าสุด (Vol. 106, 2018) แล้วมีความรู้สึกหลายอย่าง

ทั้งทึ่ง ทั้งอึ้ง ทั้งโมโหกับ “พระบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย”

ประเด็นสำคัญของบทความ “ประดิษฐกรรมของประวัติศาสตร์ ‘อิสาณ’” ของ อะคิโคะ อิอิจิมะ ไม่ใช่แต่เพียงว่า การเขียนประวัติศาสตร์ “อีสาน” ถูกปรุงแต่งขึ้นมาอย่างไร แต่ยังอยู่ที่การย้อนไปสืบดูว่า “แหล่งข้อมูล” ทางประวัติศาสตร์ไทยที่ถือกันว่าเป็น “ข้อเท็จจริง” นั้น แท้จริงแล้วถูกปรุงแต่งและจงใจบิดเบือนมาอย่างไร ก่อนจะปรากฏเป็นแหล่งข้อมูลฉบับตีพิมพ์ Continue reading

“ผณี” วีรสตรีไทยในสงครามโลกที่คนไทยไม่รู้จัก

แต่ถูกยกย่องจากทั่วโลกเธอโด่งดังมากในต่างแดน ในฐานะที่เธอช่วยเหลือชีวิตเชลยสงครามโลกไว้เป็นจำนวนมาก แต่น่าแปลกที่ในเมืองไทย น้อยคนนักที่จะเคยได้ยินเรื่องของเธอ

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 “ด.ญ.ผณี สิริเวชชะพันธ์” อายุได้ 14 ปี กำลังเรียนอยู่ที่ ร.ร. ราชินี ก็ถูกครอบครัวเรียกกลับมาที่กาญจนบุรีเพื่อหนีสงคราม แต่เปรียบได้กลับหนีเสือปะจระเข้เลยนะ เพราะตอนกลับไปถึงบ้าน เมืองกาญจน์นี่แหละ…หนึ่งในบริบทที่เศร้าที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศไทย

ที่นั่นทหารญี่ปุ่นเข้าควบคุมทุกพื้นที่ มีการตั้งค่ายเชลยตามจุดต่างๆ เพื่อสร้างทางรถไฟข้ามไปยึดอินเดียผ่านไทยไปทางพม่า ต้อนเชลยหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งเชลยชาวดัชท์ ออสเตรเลีย อังกฤษ อเมริกัน มารวมกันเพื่อการนี้ คนญี่ปุ่นบอกไว้ว่าจะไม่ทำอะไรคนไทยหรอก พวกเราเป็นพันธมิตรกันนี่นา แต่ถ้าคุณเข้ามาขวางเมื่อไหร่ ก็ไม่ปล่อยไว้เหมือนกันนะ Continue reading

ในประเทศกรุงเทพมีแต่คนชื่นชมโกโบริอยากเป็นอังศุมาลินจนตัวสั่น แต่ไม่รู้จักบุญผ่อง

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีแผนในการสร้างทางรถไฟเพื่อที่จะตัดต่อไปยังประเทศพม่า จึงมีการต้อนเชลยศึกซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารสัมพันธมิตรชาติอังกฤษ, ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ จากสิงคโปร์มาที่กาญจนบุรีเพื่อสร้างทางรถไฟ จึงได้มาติดต่อขอซื้ออาหารจากร้านบุญผ่องแอนด์บราเดอร์ ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว ของนายบุญผ่อง เพื่อให้ไปส่งถึงที่ค่ายที่บริเวณเขาช่องไก่ เลียบแม่น้ำแควน้อย (ช่องเขาขาด ในปัจจุบัน) นายบุญผ่องเ่มื่อได้เข้าไปถึงในค่ายเห็นสภาพความเป็นอยู่ของเชลยแล้วพบว่า มีความเป็นที่อยู่ที่ทรมานอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่บาดเจ็บล้มป่วยจากโรคมาเลเรียและการทำงานหนัก แต่ไม่มียารักษา จากสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าดิบทึบ มีเชลยที่ต้องเสียชีวิตจากการนี้เป็นจำนวนมาก นายบุญผ่องจึงแอบลักลอบนำยาตลอดจนอาหารและจดหมายติดต่อต่าง ๆ เข้าไปยังค่ายก่อสร้าง โดยซ่อนไว้ในหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ แม้จะต้องเสี่ยงต่อชีวิต ซึ่งในครั้งหลัง ๆ นายบุญผ่องได้ให้บุตรสาวเพียงคนเดียวเอาเข้าไปให้แทน จากการที่สร้างมิตรภาพแก่ทหารญี่ปุ่น จนได้รับความไว้วางใจ กระทั่งได้รู้จักกับ น.พ.เอ็ดเวิร์ด “เวียรี่” ดันล็อป แพทย์ทหารชาวออสเตรเลีย หนึ่งในเชลยศึก Continue reading

เกร็ดความรู้เล็กๆ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี

ลำดับสายพระโลหิต

รัชกาลที่ ๑.. เป็นพ่อ รัชกาลที่ ๒
รัชกาลที่ ๒.. เป็นพ่อ รัชกาลที่ ๓ และ ๔
รัชกาลที่ ๓.. เป็นพี่ รัชกาลที่ ๔
รัชกาลที่ ๔.. เป็นพ่อ รัชกาลที่ ๕
รัชกาลที่ ๕.. เป็นพ่อ รัชกาลที่ ๖ และ ๗
รัชกาลที่ ๕.. เป็นปู่ รัชกาลที่ ๘ และ ๙
รัชกาลที่ ๖.. เป็นพี่ รัชกาลที่ ๗
รัชกาลที่ ๖.. เป็นลุง รัชกาลที่ ๘ และ ๙
รัชกาลที่ ๗.. เป็นอา รัชกาลที่ ๘ และ ๙
แต่พ่อ ของรัชกาลที่ ๘ และ ๙
ไม่ได้ ขึ้นครองราชย์ เนื่องจาก เสียชีวิต ไปก่อนหน้านั้น
รัชกาลที่ ๘.. เลยขึ้น เถลิงถวัลย์ ราชสมบัติ
รัชกาลที่ ๘.. เป็น พี่รัชกาลที่ ๙
รัชกาลที่ ๙.. เถลิงถวัลย์ ราชสมบัติ ต่อ จน ๗o ปี แห่งการครองราชย์ พระชนมายุ ๘๙ พรรษา
รัชกาลที่ ๙.. เป็นพ่อ รัชกาลที่ ๑o

ระยะการครองราชย์ ในแต่ละรัชกาล…

🚩 ร.1 : 27 ปี
🚩 ร.2 : 15 ปี
🚩 ร.3 : 27 ปี
🚩 ร.4 : 17 ปี
🚩 ร.5 : 42 ปี 22 วัน
🚩 ร.6 : 15 ปี
🚩 ร.7 : 9 ปี
🚩 ร.8 : 12 ปี 99 วัน
🚩 ร.9 : 70 ปี 127 วัน

หมายเหตุ : ภาษาที่ใช้สื่อสารใช้ภาษาสามัญบางส่วนเพื่อความเข้าใจง่ายต่อบุคคลทั่วไป

ขอบคุณที่มา : cr: #แก้มแดงสงขลา #องุ่นอ้วนๆกลมๆ , ‎Far Teerawit Yuttasit > ผู้ใฝ่รู้ประวัติศาสตร์

โฆษณาไทยสมัยเก่า

รวบรวมโฆษณาการเก่าๆ ของไทยส่วนหนึ่งในยุคสมัยต่างๆ ที่ผ่านมากว่า 80 ปี

a5319117-179

a5319117-180

a5319117-181

a5319117-0 Continue reading

ทายาท พระยาพหลฯ ผู้ที่ไม่ยอมเข้าโรงเรียนนายร้อยด้วยวิธีพิเศษ

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ที่เรารู้จักกันในฐานะ หัวหน้า #คณะราษฎร ฝ่ายทหาร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย ที่ดำรงตำแหน่งถึง 5 สมัย และอดีตผู้บัญชาการกองทัพบก พระยาพหลฯนั้นได้ชื่อว่าเป็น นายกรัฐมนตรีที่ซื่อสัตย์และอาจเรียกได้ว่าเป็นนายกฯและนายทหารที่แทบจะมีเงินไม่มากนัก ถึงแม้ว่าตัวท่านจะเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 5 สมัยยาวนานเกือบ 6 ปี และผู้บัญชาการทหารบกก็ตาม เหตุนี้จึงทำให้ตอนท่านถึงแก่อสัญกรรมนั้น ครอบครัวของท่านไม่สามารถที่จะจัดงานศพของท่านได้เพราะครอบครัวไม่มีเงินเพียงพอ ครอบครัวพระยาพหลฯได้กล่าวถึงตอนพระยาพหลฯถึงแก่อสัญกรรมว่า “ทั้งบ้านมีเงิน 137 บาท” ดังนั้นจึงมีเงินไม่เพียงพอที่จะจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพอดีตนายกรัฐมนตรีได้ จนรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้เข้ามาช่วยเหลือจัดการงานศพของท่านแทน

15095555_1000914766679439_5729425048524325939_n

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นั้นท่านมีบุตรและธิดากับท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา 7 คนด้วยกัน ในที่นี้เราจะมาเล่าเรื่องราวของบุตรคนที่ 4 นั้นคือพันตรี พุทธินารถ พหลพลพยุหเสนา ผู้ที่เคยปฏิเสธการเข้าโรงเรียนนายร้อยโดยพิธีพิเศษ และเข้าเรียนในโรงเรียนนายสิบแทน เรื่องราวนั้นมีอยู่ว่า พ.ต.พุทธินารถ ในตอนนั้นไปสอบเข้าโรงเรียนนายสิบ แต่พ.ต.พุทธินารถ ถูกเชิญให้มาพบกับพลจัตวาชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น)ซึ่งเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายสิบยานเกราะ เชิญให้ไปพบพูดคุยด้วยเพราะเห็นนามสกุลแล้วคุ้นๆ จากนั้นคุณพุทธินารถจึงได้ไปพูดคุยกับพลจัตวาชาติชาย จากนั้น พล.จ.ชาติชาย ได้ถามพุทธินารถว่า :

Continue reading

“ไก่งวงวัดสระเกศ” ในวันคริสต์มาสอีฟ

“แร้งวัดสระเกศ” เป็นเรื่องที่ร่ำลือระบือลั่นกันในสมัยก่อน เมื่อฝูงแร้งมากมาย ขนาดที่เรียกได้ว่า มืดฟ้ามัวดิน แห่ลงกินซากศพ ที่กองอยู่เป็นภูเขาเลากาข้างภูเขาทอง นับเป็นภาพที่อุจาดต่อสายตา และน่าสยดสยองอย่างมากต่อผู้พบเห็น ซากศพคนตายเหล่านั้นตายด้วยอหิวาตกโรค ทิ้งเกลื่อนกลาด ที่วัดสระเกศ มีแร้งจิกกิน จนกระดูกข้าโพลน

10805758_776326415754972_5597881208550160582_n

ภาพประกอบ : อีแร้งวัดสระเกศ บันทึกภาพในปี พ.ศ.2440 ภาพศพและแร้งที่มากินศพในวัดสระเกศ สภาพของศพนั้นมีการเฉือนศพให้แร้งกินเพื่อถ่ายภาพ พวกแร้งในภาพนั้นอาจจะสังเกตยากซักหน่อย เพราะฟิล์มสมัยเก่าเป็นขาวดำ แร้งซึ่งมีโทนสีออกดำอยู่แล้ว เดินเกะกะอยู่รอบๆ กำแพงซึ่งโทนดำด้วยกัน ยิ่งทำให้ดูยากยิ่งขึ้น แต่ถ้าดูให้ดีก็จะเห็นหลายสิบตัวทีเดียว ผู้ชายที่ยืนอยู่ในรูปนั้นต้องถือไม้ไว้กันอีกแร้งไม่ให้แย่งศพในเวลาถ่ายรูป (ภาพจากหนังสือ “เปิดกรุภาพเก่า” ของ เอนก นาวิกมูล)

ในสมัย รัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2363 เกิดโรคห่าระบาดอย่างหนัก ในกรุงเทพมหานคร ขณะนั้น ยังไม่มีวิธีรักษา และรู้จักการป้องกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงใช้วิธีให้กำลังใจ โปรดฯ ให้ตั้งพิธีขับไล่โรคนี้ขึ้น เรียกว่า “พิธีอาพาธพินาศ” โดยจัดขึ้นที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีการยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดคืน อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุออกแห่ มีพระราชาคณะโปรยพระพุทธมนต์ตลอดทาง ทรงทำบุญเลี้ยงพระ โปรดให้ปล่อยปลาปล่อยสัตว์ และประกาศไม่ให้ประชาชนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อยู่กันแต่ในบ้าน

กระนั้นก็ยังมีคนตายเพราะอหิวาต์ประมาณ 3 หมื่นคน ศพกองอยู่ตามวัดเป็นภูเขาเลากา เพราะฝังและเผาไม่ทัน บ้างก็แอบเอาศพทิ้งลงในแม่น้ำลำคลองในเวลากลางคืน จึงมีศพลอยเกลื่อนกลาดไปหมด ประชาชนต่างอพยพหนีออกไปจากเมืองด้วยความกลัว พระสงฆ์ทิ้งวัด งานของราชการ และธุรกิจทั้งหลายต้องหยุดชะงัก เพราะผู้คนถ้าไม่หนีไปก็มีภาระในการดูแลคนป่วย และจัดการกับศพของญาติมิตร ในเวลานั้น วัดสระเกศ เป็นศูนย์รวมของแร้งจำนวนนับพัน Continue reading

“เมรุปูนวัดสระเกศ” เมรุเกียรติยศที่เหลือแต่ชื่อ

หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า “แยกเมรุปูน” ซึ่งแยกนี้เป็นแยกที่ตัดกับถนนบำรุงเมืองที่มาจากเสาชิงช้า ผ่านแยกสำราญราษฎร์ หรือที่เรียกกันว่า “ประตูผี” แล้วจึงผ่านแยก “เมรุปูน” ทอดยาวสู่แยกแม้นศรี แต่เดิมนั้นยังไม่มีถนนบำรุงเมือง ดังนั้นถนนบำรุงเมืองและบริเวณพื้นที่ทั้ง 2 ฟากฝั่งนี้ จึงเป็นพื้นที่ผืนเดียวกันกับวัดสระเกศฯ สำหรับจุดที่เป็นที่ตั้งของ “เมรุปูนวัดสระเกศ” ก็อยู่ภายในบริเวณวิทยาลัยสารพัดช่างพระนครในปัจจุบันนั่นเอง

1487442_776378565749757_4923563214272689535_n

ภาพประกอบ : เมรุปูน วัดสระเกศ ด้านบนเมรุจะเป็นนกแร้งเกาะอยู่เต็ม เนื่องจากในลานวัดสระเกศ จะใช้เป็นที่ทิ้งศพของชาวบ้าน ที่ไม่ได้เผา หรือ บางครั้งใช้ทิ้งศพที่เป็นโรคร้ายแรง ทำให้นกแร้งเหล่านี้มารอศพที่ถูกทิ้งเพื่อกินเป็นอาหาร

“เมรุปูนวัดสระเกศ” เป็นเมรุที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) แต่ครั้งยังเป็นพระยาพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็นนายช่างสร้างเมรุด้วยการก่ออิฐถือปูน ซึ่ง “เมรุปูนวัดสระเกศ” นี้ ถือได้ว่าเป็นเมรุเกียรติยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ เช่นเดียวกับเมรุราชอิศริยาภรณ์ ที่ตั้งอยู่ในวัดเทพศิรินทราวาสปัจจุบัน

Continue reading

โฆษณาการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในไทยสมัยก่อน

%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a1-%e0%b8%95%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a2

ท้าวความโดยย่อ :

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกได้เข้าสู่ยุคสงครามทางอุดมการณ์ระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ กับค่ายทุนนิยมเสรีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ สงครามดังกล่าวถูกเรียกขานกันในนามว่า “สงครามเย็น”

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าไปพัวพันกับสงครามเย็นอย่างลึกซึ้งผ่านสงครามอินโดจีน บวกกับการเข้ามาของทหารสหรัฐฯ จำนวนมากเพื่อตั้งฐานทัพในประเทศ

นับตั้งแต่เกิดการปฏิวัติสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นเมื่อปี 2492 รัฐบาลไทยก็ได้นำพาประเทศเข้าไปผูกพันกับสหรัฐฯ มากขึ้น มีการสร้างกลไกและหน่วยงานต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ รวมทั้งออกกฎหมายป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ในปี 2495

เมื่อจอมพลสฤษดิ์ขึ้นมามีอำนาจเบ็ดเสร็จหลังทำรัฐประหารยึดอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์และระดับความสัมพันธ์กับรัฐบาลอเมริกันก็ได้พัฒนาไปอย่างลึกซึ้งในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยสฤษดิ์ได้จัดระบบในสำนักนายกรัฐมนตรีเสียใหม่เพื่อกระชับอำนาจในการวางนโยบายและควบคุมข้าราชการให้เข้ามาอยู่ในความดูแลของนายกรัฐมนตรีอย่างเต็มที่ ส่งผลให้นโยบายการต่อต้านปราบปรามคอมมิวนิสต์ถูกรับไปปฏิบัติโดยหน่วยงานต่าง ๆ อย่างมีเอกภาพมากขึ้น Continue reading