Category Archives: ศาสตร์บำบัดและล้างพิษฟื้นฟูระบบ

ล้างพิษฟื้นฟูระบบ : น้ำแตงกวา มะนาว สะระแหน่

เครื่องดื่มนี้จะช่วยล้างพิษและฟื้นฟูระบบต่างๆ ของร่างกายของคุณได้อย่างง่ายๆ เป็นเครื่องดื่มที่ทำได้ไม่ยุ่งยากและไม่สิ้นเปลือง ใช้เวลาในการเตรียมไม่มาก สามารถเก็บไว้ดื่มได้นานสูงสุดถึง 15 วัน

powerful-cleansing-drink

ส่วนประกอบที่ต้องเตรียม :
– น้ำสะอาดสำหรับบริโภค 2 ลิตร
– เลมอน(มะนาวฝรั่ง) 1 ผล หรือจะใช้ มะนาวไทย 2 ลูก ก็ได้
– แตงกวา(ขนาดใหญ่หน่อย) 1 ลูก
– ใบสะระแหน่ 10 ใบ

การเตรียม :
– ล้างส่วนประกอบทั้งหมดให้สะอาด จากนั้นให้หั่น มะนาวและแตงกวาไว้เป็นแว่นๆ
– เติมใบสะระแหน่แล้วผสมให้เข้ากัน
– นำใส่ภาชนะที่เพียงพอสำหรับส่วนผสมทั้งหมดรวมถึงน้ำอีก 2 ลิตรด้วย
– ปิดฝาให้สนิทและนำเข้าตู้เย็น

การนำไปใช้ :
– ดื่มวันละ 2 แก้ว ทุกวัน จนกว่าจะหมด
– เครื่องดื่มจะมีประสิทธิภาพสูงสุดภายใน 15 วัน นับจากวันที่ทำ แต่อาจเก็บไว้ได้บริโภคได้นานกว่านั้น
– เพื่อเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องดื่มและช่วยระบบขจัดพิษและของเสียของร่าง ควรพยามงด หรือลด อาหารประเภท น้ำตาล และไขมัน

บทความแปลจาก http://worldtruth.tv/powerful-drink-clean-your-whole-organism/ และ http://naturalcuresnotmedicine.com/powerful-drink-clean-your-whole-organism/
สงวนสิทธิ์ในการนำไปใช้ในเชิงการค้าและห้ามนำไปใช้โดยไม่อ้างอิงที่มาของบทความ

การล้างพิษจากตับและถุงน้ำดี

หมายถึง การนำพิษออกจากร่างกายโดยกระตุ้นให้ตับและถุงน้ำดีขับพิษออกนอกร่างกาย ด้วยวิธีรับประทานอาหารพลังงานต่ำ หรือ อดอาหาร (ดื่มน้ำสมุนไพรแทน) และใช้ยาสมุนไพร ซึ่งสามารถนำพิษออกได้มากกว่าวิธีอื่นๆ เหมาะสำหรับคนที่มีพิษสะสมในร่างกาย ปริมาณมาก เช่น นิ่วในถุงน้ำดี เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

โดยปกติร่างกายของคนเรามีกระบวนการกำจัดพิษออกจากร่างกายได้หลายวิธี เช่น การไอ การจาม มีขน มีเมือกโบกพัดเชื้อโรคออกจาก ร่างกาย มีเม็ดเลือดขาวช่วยจับกินเชื้อโรค มีระบบภูมิคุ้มกันช่วยดูแลร่างกายให้แข็งแรง และยังมีตับเป็นอวัยวะที่รวบรวมพิษและกำจัดพิษออก จากร่างกายอีกด้วย ตับจึงมีความสำคัญต่อร่างกายมาก ตั้งอยู่ช่องท้องใต้ชายโครงขวา หนัก 1.3-3 กิโลกรัม ทำหน้าที่ในร่างกาย 40 อย่าง และยังมีหน้าที่ย่อย 500 อย่าง เช่น

  • เก็บสารที่ใช้ในการสร้างฮีโมโกลบิน
  • เก็บวิตามิน A , D , E , K, แร่ธาตุ และไขมัน
  • สร้างน้ำเหลือง ซึ่งเป็นตัวกลางในการนำพาเม็ดเลือดขาว ให้เคลื่อนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
  • ควบคุมสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย
  • ขับของเสียที่เกิดจากปฏิกิริยาเมตาโบลิซึ่ม
  • สร้างไลโปโปรตีน เอาไว้คอยส่งไขมันในเลือด
  • สร้างโปรตีนทั้งแอลบูมินและโกลบูลิน
  • ผลิตสารที่เป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือด ( Clotting factors)
  • ทำลายเม็ดเลือดแดงที่ใช้แล้ว
  • แปรรูปโมเลกุลของฮีโมโกลบินที่ได้จากการทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุจากม้าม เพื่อสร้าง เป็นรงควัตถุน้ำดี ( Bile pigment) เช่น บิลิรูบิน ( Bilirubin) และบิลิเวอดิน ( Bilivedin)
  • หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การกำจัดพิษออกจากร่างกาย

ถ้าเราไม่รู้จักวิธีดูแลตับ รู้จักวิธีเอาพิษออก อาจทำให้ตับถูกทำลายด้วยพิษ ทำให้เสียหน้าที่ต่างๆทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ การเอาพิษออกจากตับ ( Liver flushing) จึงเป็นวิธีการดูแลดับที่ดีมาก สามารถเอาพิษออกจากร่างกายได้ในปริมาณที่มาก จึงมีประโยชน์ดังนี้ 

  1. ช่วยสร้างเอ็นไซม์ชนิดต่างๆ หลายชนิดในร่างกายที่ช่วยตับในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
  2. ป้องกันตับจากสารพิษ ยา สารเคมี หรือแอลกอฮอล์
  3. ช่วยให้ตับฟื้นตัวเร็วขึ้น เร่งการขับสารพิษตกค้างในร่างกาย ปกป้องตับจากการทำเคมีบำบัด ในผู้ป่วยมะเร็ง เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ที่ช่วยต่อต้านการทำลายเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ตับไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ
  4. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง สามารถต่อต้านเชื้อโรคและสิ่ง แปลกปลอม บรรเทาความรุนแรงของหวัด หรืออาการภูมิแพ้
  5. ช่วยให้ร่างกายสามารถรีไซเคิลสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ กลับมาใช้ได้ใหม่ เช่น วิตามินซี
  6. ช่วยลดการสะสมของไขมันที่ตับ และลดการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด
  7. ช่วยป้องกันและต่อสู้กับโรคมะเร็ง ช่วยในการซ่อมแซมเซลล์ และคืนความสดชื่นให้กับเซลล์ ทั่วร่างกาย
  8. ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อในร่างกาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง คอลลาเจน อิลาสติน เส้นเอ็นและความแข็งแรง ยืดหยุ่นของหลอดเลือด

 

การล้างพิษตับทำอย่างไร?   แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1.

เตรียมตัวก่อน พร้อมทั้งกายและใจ 

1.1 ทำได้ในผู้ที่มีอาการพิษสะสม เช่น

  • อาการปวดศีรษะบ่อย หงุดหงิด
  • ปวดเมื่อยหลัง ไหล่ คอ
  • เบื่ออาหาร ท้องอืดบ่อย
  • หน้าตาหมองคล้ำ ไม่ขาวสดใส ผิวพรรณหยาบกร้าน
  • มีแผลร้อนในในปากเป็นประจำ
  • ดูดซึมสารอาหารจำพวกแป้งมากไปทำให้ร่างกายอ้วน
  • ขับถ่าย และละลายสารพิษไม่ออก จะเกิดสิวเสี้ยนบนใบหน้า และฝ้าดำบนใบหน้า
  • อ่อนเพลีย ง่วงนอน สมาธิไม่ดี ความจำเสื่อม
  • โรคท้องผูกและ ริดสีดวงทวาร
  • สตรีมีรอบเดือนมาไม่ปรกติ
  • ประสาทตึงเครียด และร่างกายไม่แข็งแรง เพศสัมพันธ์เสื่อม
  • ผิวหนังเป็นผื่นคัน ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ผายลมบ่อย
  • โรคเรื้อรัง เช่น โรคไต เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดตีบตัน
  • ภูมิแพ้ การต้านทานการติดเชื้อโรคของเด็ก และผู้สูงอายุ
  • ไตทำงานหนัก ( ขับพิษยาตกค้างแทน)

1.2 เจ็บป่วย โรคหรืออาการต่างๆ 

  1. สิว
  2. ไขมันในเลือดสูง
  3. โรคผิวหนัง ผื่นคันต่างๆ
  4. หอบ หืด
  5. ภูมิแพ้
  6. นิ่วตับและนิ่วถุงน้ำดี ปวดท้องจากนิ่วถุงน้ำดี ซึ่งนิ่วจะเป็นตัวขัดขวางการทำงานของตับทำให้เกิดโรคต่างๆได้ เช่นไขมันพอกตับ ตับแข็ง มะเร็งตับ ตับวาย
  7. โภชนาการพร่อง
  8. ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดแขน
  9. ปวดท้อง ปวดตับ
  10. ความดันโลหิตสูง
  11. โรคหัวใจ เจ็บหน้าอก
  12. โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ลำไส้แปรปรวน ท้องผูก
  13. มะเร็ง
  14. เอดส์
  15. พากินสัน
  16. อัลไซเมอร์
  17. ลมชัก
  18. อื่นๆ

1.3 มีความเข้าใจในการล้างพิษตับ มีความอดทน 

1.4 มีเวลาให้กับการล้างพิษตับ เวลาที่เหมาะสมกับการล้างพิษตับควรเป็นดังนี้

  • เวลาที่สะดวก ไม่เร่งรีบ
  • เป็นวันหยุด พักผ่อน
  • วันก่อนหรือหลังวันพระ 1 วัน

1.5 ข้อระมัดระวัง

  • สำหรับผู้ที่ร่างกายเพลียมากๆ เจ็บป่วยด้วยโรคเฉียบพลัน เช่น ไข้ ไข้หวัด โรคหัวใจบางชนิด เด็กในวัยเจริญเติบโต หญิงตั้งครรภ์ ควรงดหรือเว้น

ขั้นตอนที่2.

ล้างลำไส้ก่อนล้างตับ มีหลายวิธี เช่น ให้งดอาหารเนื้อ นม ไข่ น้ำมัน อาหารผัด ทอด หรืออดอาหารทุก อย่างโดยดื่มน้ำสมุนไพร แทนร่วมกับรับประทานยาสมุนไพรล้างลำไส้หรือร่วมกับวิธีสวนล้างลำไส้ใหญ่ ดังต่อไปนี้

  • ดื่มน้ำชาต่างๆ  เช่น น้ำชาข้าว น้ำด่าง น้ำมะขามผสมน้ำผึ้ง (วิธีทำแสดงในหัวข้ออาหารและน้ำปรับสมดุลร่างกาย)  โดยน้ำชาข้าว ดื่มตอนเช้า    ประมาณ 5 แก้ว น้ำด่างหรือน้ำอัลคาไลด์ ดื่มตลอดวัน น้ำมะขามผสมน้ำผึ้ง ดื่มเมื่อรู้สึกเพลีย 
  • รับประทานยาสมุนไพร สำหรับล้างพิษ ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำมะขามดื่ม 1/2 แก้ว 3  เวลา ก่อนอาหารซึ่งจะดื่ม 3 วัน (ยาจะช่วยทำ    ความสะอาดลำไส้) 
  • ให้สวนล้างลำไส้ใหญ่ด้วยน้ำสมุนไพร เช่น น้ำต้มสะเดา น้ำต้มหญ้าใต้ใบ กาแฟ หรือสมุนไพร ที่ถูกกับตัวเอง โดยทำ เช้า-เย็น หรือมากกว่า    เพื่อทำความสะอาดลำไส้ก่อนที่จะนำพิษออกจาก ตับและถุงน้ำดี 

ขั้นตอนที่3.

การล้างพิษตับ หลังจากล้างลำไส้แล้วก็จะล้างพิษจากตับ โดยวันที่ล้างพิษตับจะงดการรับประทานยาทุกชนิด งดรับประทานอาหาร ดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำชาต่างๆ แทน แต่ถ้างดอาหารทางปากได้ยิ่งดี

วันหลังจากล้างลำไส้แล้ว

  • ตอนเช้า ถ้างดอาหารได้จะดีให้ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้คั้น แต่ถ้างดไม่ได้ให้รับประทานอาหารเฉพาะผักและผลไม้
  • เวลา 14 .00 . ดื่มน้ำผลไม้ เช่นน้ำสับปะรด น้ำมะละกอ ประมาณ 1 แก้ว หลังจากนั้นงดน้ำงดอาหารทุกอย่าง ถ้าหิวมากให้จิบน้ำเปล่าหรือน้ำด่าง (น้ำอัลคาไลด์) หลังจากนั้นเอาพิษออกจากร่างกายด้วยวิธีต่างๆ อาบน้ำ
  • เวลา 18.00 ดื่มน้ำดีเกลือ โดยนำดีเกลือ 1 ช้อนชา ผสมน้ำเปล่า 1/2 แก้ว คนให้เข้ากันดื่ม หลังจากนั้นงดดื่มน้ำทุกอย่าง (ดีเกลือจะทำให้ตับและถุงน้ำดีพองตัวและอ่อนตัว ช่วยระบาย ทำให้ไขมัน นิ่วหลุดออกมาได้)
  • เวลา 19.00 . ดื่มเกลือดำแก้อาการเพลีย (รายละเอียดอยู่ที่การล้างพิษสูตรหมอณา )
  • เวลา 20.00 . ดื่มน้ำดีเกลือ โดยนำดีเกลือ 1 ช้อนชา ผสมน้ำเปล่า 1/2 แก้ว อีก 1 แก้ว หลังจากนั้นงดดื่มน้ำทุกอย่าง (ดื่มน้ำดีเกลือ ถ้ารู้สึกขมปากให้อมมะนาว หรือจิบน้ำมะนาว)
  • เวลา 22.00 . (ไม่ควรเกิน 22.15 น.) ดื่มน้ำมันมะกอก 150 ซี.ซี. ผสมกับน้ำมะนาว 150 ซี.ซี. (บางคนอาจใช้น้ำ มะนาว 75 ซี.ซี และน้ำส้มคั้น 75 ซี.ซี) เขย่าให้เข้ากัน ให้ยืนดื่มเพื่อป้องกันไม่ให้ท่อน้ำดีพับงอ แล้วรีบนอนลงให้ศีรษะสูง หรือนอนตะแคงขวาลำตัวตรงหรือนั่งดื่มโดย นั่งเหยียดขา เอนตัว 45 องศาแล้วค่อยๆนอนลงไปให้ศีรษะสูง นอนนิ่งจนถึง 02.00 น. ถ้าไม่สบายในท้องสามารถใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้อง ช่วยให้ขับพิษออกจากตับและถุงน้ำดี ดีมากขึ้น (น้ำมันมะกอกและน้ำมะนาวจะ ช่วยขับพิษจากตับและถุงน้ำดี) หลัง 02.00 น. สามารถเริ่มเก็บอุจจาระไว้วิเคราะห์โรคได้

ตื่นเช้าของวัน ต่อมา

  • เวลา 06.00 . ดื่มน้ำดีเกลือ โดยนำดีเกลือ 1 ช้อนชา ผสมน้ำเปล่า 1/2 แก้ว (ไม่ดื่มก็ได้)
  • เวลา 07.00 ดื่มเกลือดำแก้อาการเพลีย (รายละเอียดอยู่ที่การล้างพิษสูตรหมอณา)
  • เวลา 08.00 . ดื่มน้ำดีเกลือ โดยนำดีเกลือ 1 ช้อนชา ผสมน้ำเปล่า 1/2 แก้ว (ไม่ดื่มก็ได้) หลังขับถ่ายอุจจาระให้ดื่มน้ำสมุนไพรบำรุงกำลัง เช่น น้ำมะพร้าวสด น้ำขิง1 แก้ว (ถ้าไม่ขับถ่ายอุจจาระให้สวนล้างลำไส้    ก่อนดื่มน้ำ สมุนไพร)
  • เวลา 10.30 . สวนล้างลำไส้ใหญ่อีกครั้ง
  • หลังจากนั้น เริ่มรับประทานอาหารอ่อนๆ เพื่อบำรุงตับ (ศึกษาวิธีทำอาหารที่ หัวข้ออาหารและน้ำปรับสมดุลร่างกาย)


ขั้นตอนที่ 4.

ล้างลำไส้หลังล้างตับ หลังจากล้างพิษจากตับและถุงน้ำดีแล้ว การขับพิษต้องใช้เวลาในการเคลื่อนพิษออกจากร่างกาย จึงต้องรับประทานอาหารอ่อนๆประมาณ 3 วัน รับประทานยาบำรุงตับอย่างน้อย 7 วัน และสวนล้างลำไส้ใหญ่(ดีทอกซ์) อย่างน้อย 7 วัน เพื่อขับพิษออกจากร่างกายให้ประคบบริเวณหน้าท้องด้วยความร้อนโดยใช้ผ้าฝ้ายขนาดผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำมันมะกอกคลุมลงไปบริเวณหน้าท้อง แล้วใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางทาบลงไป ใช้ผ้าห่อหน้าท้องไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงจะช่วยให้การขับนิ่ว ของเสียออกได้ดี(ถ้าไม่พร้อมไม่ต้องทำก็ได้) ในช่วงเวลานี้อาจพบก้อนนิ่ว ไขมัน ของเสียต่างๆหลุดออกมาพิษที่ออกจากตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี มีลักษณะดังนี้ 

  1. ลอยอยู่ข้างบน คือ ไขมันจากตับ และนิ่วจากถุงน้ำดี ไขมันจากตับจะมีสีเหลือง สีเขียว สีดำ ก้อนขรุขระ หรือ เป็นน้ำสีดำ สีเหลือง สีเทา มันติดมือล้างไม่ออก ต้องใช้น้ำยาล้างจาน หรือสบู่ล้างหลายๆครั้ง
  2. ลอยอยู่ตรงกลาง จะเป็นเซลล์มะเร็ง มีลักษณะเหมือนเห็ดหูหนูขาว
  3. อยู่ล่างสุดคือเม็ดเลือดแดง ที่หมดอายุ
  4. ลักษณะนิ่วจากถุงน้ำดี จะมีสีเขียว เหลือง ดำ ก้อนค่อนข้างกลม


อาการหลังล้างพิษ

จะรู้สึกอ่อนเพลีย อย่าตกใจ เป็นอาการปกติให้พักผ่อน เอาพิษออกด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ตากแดด แช่มือ-แช่เท้า ให้รับประทาน อาหารอ่อนๆอย่างน้อย 3 วัน ค่อยรับประทานอาหารตามปกติ รับประทานยาบำรุงตับ และทำดีทอกซ์ เช้า – เย็น 7 วัน


ขั้นตอนที่ 5.

ฟื้นฟูตับ หลังจากที่ตับขับพิษออกแล้วอาจจะมีร่องรอยของแผลที่เกิดจากการหลุดลอกออกของนิ่ว ไขมัน หรือของเสียอื่นๆ อาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย การฟื้นฟูตับจึงเป็นสิ่งสำคัญสิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานยาบำรุงตับ
  • ดื่มและรับประทานอาหารบำรุงตับ เช่น น้ำผักผลไม้ปั่น ข้าวต้มเพื่อสุขภาพ (ดูรายละเอียดในหัวข้ออาหารและน้ำปรับสมดุลร่างกาย) โดยรับประทานอย่างน้อย 3 วัน หลังจากนั้นก็ปฏิบัติดูแลสุขภาพตนเองแบบพอเพียง ด้วยหลักปฏิบัติ 5 อ. (เอาพิษออก อาหารและน้ำปรับสมดุลร่างกาย อากาศ ออกกำลังกาย อารมณ์และจิตใจ) และหมั่นเอาพิษออกจากร่างกายเท่าที่รู้สึกสบาย

การล้างพิษตับและถุงน้ำดี    อาการ    ต่างๆจะหายได้อย่างชัดเจน ตามประสบการณ์มักพบว่าทำมากกว่า 5 ครั้งจะเห็นผลชัดเจน แต่บางราย 1 ครั้งก็เห็นผลได้    การล้างพิษตับ    และถุงน้ำดีควรทำห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์ สามารถทำได้ทุกเดือน หรืออย่างน้อยปีละ 2-4 ครั้ง

การล้างพิษตับและถุงน้ำดีมีหลายวิธี สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมแต่ถ้าเป็นไปได้ในครั้งแรกของการล้างพิษตับและถุงน้ำดี ควรล้างใช้เวลาล้างอย่างน้อย 4-6 วันก่อน จึงสามารถทำแบบ 1 วัน 2 วัน หรือ 3 วัน หรือ 4 วัน หรือ 5 วัน หรือ 6 วัน ดังต่อไปนี้

สูตรการล้างพิษตับ 6 คืน 7 วัน( สูตรหมอณา)

สิ่งที่ต้องเตรียม

เตรียมตัว

  • เตรียมใจ ใจต้องพร้อม อดทน เข้าใจวิธีและผลการล้างพิษ

เตรียมร่างกาย 

  • ได้ทุกคน ทุกโรค ยกเว้น เด็กในวัยเจริญเติบโต คนที่ป่วยด้วยโรคเฉียบพลัน เช่นตับอักเสบเฉียบพลัน ไข้ ไข้หวัดเฉียบพลัน เพลียมากๆ อดอาหารพวก เนื้อ นม ไข่ น้ำมัน ของทอด ไม่ได้
  • ฝึกรับประทานอาหารสุขภาพมาก่อน หรือเคยอดอาหารมาจะดีมาก

เตรียมเวลา

  • เวลาที่พร้อม ว่าง วันหยุด ไม่เร่งรีบ ก่อนหรือหลังวันพระ 1 วัน

เตรียมสถานที่

  • มีห้องน้ำพร้อม สะดวก โปร่ง โล่ง สบาย

เตรียมยาวัสดุอุปกรณ์

  • ยาผงสมุนไพรล้างลำไส้ 10 ช้อนชา
  • น้ำแอปเปิล 100% 6 ลิตร หรือ น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล 27-30 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์สกัดเย็น 125-150 ซี.ซี
  • น้ำมะนาวคั้น 75 ซี.ซี
  • น้ำส้มคั้น 75 ซี.ซี
  • น้ำสับปะรดคั้น 1 แก้ว
  • ดีเกลือ 4 ช้อนชา
  • เกลือดำ 3 ช้อนชา
  • ยาสมุนไพรบำรุงตับ
  • น้ำผึ้ง
  • น้ำสะอาด
  • อุปกรณ์เอาพิษออก เช่น กาแฟดีทอกซ์ ขวดดีทอกซ์ ชุดกัวซา อื่นๆ
วันที่ กิจกรรม หมายเหตุ
วันที่
1-5
  • ตอนเช้าให้อมน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นกลั้วปาก 10-15 นาที แล้วล้างปากด้วยน้ำเปล่า ออกกำลังกาย ตากแดด สวนล้างลำไส้ใหญ่
  • ดื่มน้ำแอปเปิล หรือน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิลผสมน้ำผึ้งผสมน้ำเปล่า
 เวลา 8.00 -10.00-12.00 – 14.00-16.00 น. (ประมาณ 200 ซี.ซี ต่อครั้ง ดื่มก่อนอาหาร 30 นาที หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง)
  • งดอาหาร เนื้อ นม ไข่ น้ำมัน(ผัด ทอด ย่าง ปิ้ง) เนย น้ำเย็น รับประทานอาหารสุขภาพ เช่นจากธัญพืช ผัก ผลไม้ไม่รับประทานอิ่มอาหารจนเกินไป
  • ดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 2 ลิตรหรือมากกว่านั้น
  • ก่อนนอน (เวลา 20.00 น.) ให้รับประทานยาล้างลำไส้ 2 ช้อนชา ผสมน้ำ
สะอาด 1 แก้ว ใส่ในขวดปากกว้างที่มีฝาปิดเขย่า 10-20 ครั้ง ให้เข้ากัน 
รีบดื่มแล้วดื่มน้ำเปล่าตาม 2 แก้ว(ดื่ม 5 วัน)
  • ในระหว่างล้างพิษอาจมีอาการไม่สบาย เช่น ปวดศีรษะ เพลีย ปวดตามร่างกาย ให้เอาพิษออกด้วยวิธีต่างๆ เช่น สวนล้างลำไส้ใหญ่ด้วยน้ำสมุนไพรที่ถูกกับร่างกาย เช้า-เย็นหรือมากว่า (ตอนเช้าควรใช้กาแฟดีทอกซ์ช่วยล้างพิษตับ แก้เพลีย โดยผสมยาบำรุงตับ เช่น ยาฉีด วิตามินบีรวม ยาเฮปาวิต อย่างใด อย่างหนึ่ง ดูดตัวยา 1 หลอด ผสมลงไปในน้ำกาแฟ ) แช่มือ-แช่เท้า-กัวซา
  • พอกทา-ตากแดด-อบแดด –กดจุดเส้นลมปราณ-ฝึกหายใจ
  • พักผ่อน อื่นๆ ให้จัดสรรเวลาตามความสะดวกและเหมาะสม
 – นอนหลับพักผ่อนไม่เกิน 3 ทุ่ม นอนดึกตับจะทำงานหนัก
วิธีผสมน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล
กับน้ำผึ้งและน้ำเปล่า
 โดยนำน้ำส้มสายชูหมัก100%  1 ช้อนโต๊ะ
  ผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 120-170 ซี.ซี คนให้เข้ากันดื่มแทนน้ำแอปเปิลใน
กรณีที่เป็นเบาหวานไม่ให้ดื่มน้ำแอปเปิลให้
ใช้น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิลแทน
วันที่ 6
  • อาหารเช้าควรเป็นน้ำข้าวกล้องงอก ห้ามกินน้ำตาลหรือน้ำตาลเทียม
 เครื่องเทศ นม เนย โยเกริ์ต ของมันทุกชนิด อาหารที่มีโปรตีน คือ เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว ต่าง ๆ ขนมต่าง ๆและของที่เกี่ยวกับนมเนย เพื่อให้ตับสะสมน้ำดีไว้ใช้งานเวลาล้างและอย่าให้อิ่มมาก
  • ดื่มน้ำแอปเปิล หรือน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิลผสมน้ำผึ้งผสมน้ำเปล่า
 เวลา 8.00 -10.00-12.00 น. (ประมาณ 200 ซี.ซี ต่อครั้ง ดื่มก่อนอาหาร
 30 นาที หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง)
  • เวลา 14.00 น ให้รับประทานน้ำผลไม้คั้นสด เช่นน้ำสับปะรด น้ำมะละกอดิบ หรือห่าม 1 แก้ว หลังจากนั้นให้งดอาหารทุกอย่างถ้าหิวให้จิบน้ำเปล่า ถ้างด
อาหารทุกอย่างได้จะดีมาก
  • เวลา 18.00 น . และ 20.00 น. ให้ดื่มน้ำดีเกลือ 1 ช้อนชา ผสมน้ำเปล่า 1/3 แก้ว ถ้าขมปาก เฝื่อนปากให้อมมะนาวจิ้มเกลือ ก่อนและหลังดื่มน้ำดี
เกลือให้งดน้ำอย่างน้อย 20 นาที
  • เวลา 19.00 น. ให้ดื่มเกลือดำผสม 4 แก้ว
  • เวลา 22.00 น. ไม่เกิน 22.15 น. ให้ดื่มน้ำมะนาว 75 ซี.ซี. ผสมกับน้ำส้มคั้น 75 ซี.ซี. น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์สกัดเย็น 125-150 ซี.ซี. เขย่าให้เข้ากันดื่ม
 โดยให้นั่ง 45 องศา (นั่งเอนหลังไม่ให้ท้องงอเหยียดขาออก แล้วดื่มให้หมด
 นอนลงไปไม่ให้ตัวงอใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้องจนถึง ตีสอง ถ้ารู้สึกไม่
 สบายให้อมมะนาวจิ้มเกลือ หรืออาจเดิน ห้ามนั่งหรือนอนตัวงอ อาจทำให้ 
ท่อน้ำดีพับงอของเสียระบายไม่ดี)
  • วันที่ 6 ให้ดื่มน้ำแอปเปิลถึง เที่ยง

วิธีผสมเกลือดำ

  • เกลือดำ 1 ช้อนชาครึ่งเคี่ยวกับ
น้ำตาลอ้อย 3 ช้อนโต๊ะ แล้วผสมน้ำต้มใบเตยอุ่น 4 แก้ว ดื่มเวลาละ 4 แก้ว
วันที่ 7
  • เวลา 02.00 น. ดื่มน้ำบีทรูท 1 แก้ว
  • เวลา 06.00 น. และ 08.00 น. ดื่มดีเกลือ
  • เวลา 07.00 น.ดื่มเกลือดำ/ถ้ารู้สึกไม่สบายสวนล้างลำไส้ใหญ่ด้วยกาแฟ
หรือน้ำสมุนไพรที่ถูกกับร่างกาย
  • เวลา 8.30. ดื่มน้ำขิงตามด้วยน้ำมะพร้าวสดหรือน้ำมะพร้าวเผา และรับประทานน้ำซุป (ยังไม่ทานข้าวต้มจนกว่าจะสวนล้างลำไส้ใหญ่เวลา 10.30 น.)
  • ตอนเช้าให้แช่มือ-เท้า–อาบน้ำอุ่น–ตากแดด
  • เวลา 10.30 น.ให้สวนล้างลำไส้ใหญ่อีกครั้ง (ครบ 12 ชั่วโมง ที่ของเสียเคลื่อนมาถึงลำไส้ใหญ่ ควรจะสวนล้างลำไส้ใหญ่)
  • เวลา 11.00 น.หลังจากนั้นรับประทานน้ำผักผลไม้ปั่นรวมรับประทานข้าวต้ม
ใส่ถั่วดำและพุทราจีน (เป็นหลักหรือจะแยกทำเป็นของหวาน)
  • รับประทานอาหารสุขภาพอย่างน้อย 3 วัน
  • รับประทานยาบำรุงตับ 7 วัน
  • ให้สวนล้างลำใหญ่ด้วยกาแฟ (ถ้าผสมวิตามินบำรุงตับ 1 หลอด เช่น เฮปาวิตลงไปด้วยจะดี) ในช่วงเวลาเช้า ถ้าเป็นตอนเย็นให้เลือกสมุนไพรที่ถูกกับ
ร่างกายถูกกับสภาพอากาศ เย็น น้ำต้มตะไคร้ น้ำต้มใบเตย อื่นๆ 
อย่างน้อย 7 วัน
ให้สังเกตของเสียที่เริ่มขับออกมาตั้งแต่
     เวลา 02.00 น.

  1. ลอยอยู่ข้างบน คือไขมันจากตับ และ
นิ่วจากถุงน้ำดี ไขมันจากตับจะมี
 สีเหลือง สีเขียว สีดำ ก้อนขรุขระ หรือ
เป็นน้ำสีดำ สีเหลือง สีเทา มันติดมือ
ล้างไม่ออก ต้องใช้น้ำยาล้างจาน หรือสบู่
ล้างหลายๆครั้ง
  2. ลอยอยู่ตรงกลาง จะเป็นเซลล์มะเร็ง
 มีลักษณะเหมือนเห็ดหูหนูขาว
  3. อยู่ล่างสุด คือเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ
  4. ลักษณะนิ่วจากถุงน้ำดี จะมีสีเขียว เหลือง
 ดำ ก้อนค่อนข้างกลม

 

ลูกประคบ Herbal Compress

ลูกประคบ Herbal Compress
ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบ
– ไพล (500 กรัม) แก้ปวดเมื่อย เคล็ด ขัดยอก ลดการอักเสบ
– ขมิ้นชัน (100 กรัม) ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
– ตะไคร้บ้าน (100 กรัม) แต่งกลิ่น
– ผิวมะกรูด (200 กรัม) ถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
– ใบมะขาม (300 กรัม) แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว
– ใบส้มป่อย (100 กรัม) ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน
– เกลือ (1 ช้อนโต๊ะ) ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น
– การบูร (2 ช้อนโต๊ะ) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
ลูกประคบสมุนไพร คือ      ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำสมุนไพรหลายชนิดมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดแล้วนำมาหั่นหรือสับให้เป็นชิ้นตามขนาด
ที่ต้องการตำพอแตก ใช้สดหรือทำให้แห้ง นำมาห่อหรือบรรจุรวมกันในผ้าให้ได้รูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงกลม หมอนสำหรับใช้นาบ
หรือกดประคบส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ถ้าเป็นลูกประคบสมุนไพรแห้ง ก่อนใช้ต้องนำมาพรมน้ำ
แล้วทำให้ร้อนโดยนึ่ง
ลักษณะทั่วไปของลูกประคบสมุนไพร
ลูกประคบสมุนไพรต้องห่อผ้าปิดสนิทรูปทรงต่าง ๆ ภายในบรรจุสมุนไพรสดหรือแห้งหลายชนิดรวมกัน กรณีทำเป็นรูปทรงกลมปลายผ้าต้องรวมแล้วมัดให้แน่น ทำเป็นด้ามจับ ต้องมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพรที่ใช้
อุปกรณ์การทำลูกประคบสมุนไพร
1. ผ้าสำหรับห่อลูกประคบ ต้องเป็นผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบที่มีเนื้อผ้าแน่นพอที่จะป้องกันไม่ให้สมุนไพรร่วงออกมาได้
2. สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบต้องหั่นหรือสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ สด/แห้ง ต้องไม่มีราปรากฏให้เห็นเด่นชัด และต้องมีพืชสมุนไพรหลักที่มีน้ำมันหอมระเหยอย่างน้อย 3 ชนิด เช่น ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ และผิวหรือใบมะกรูด/กลุ่มสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เช่น ใบมะขาม ใบส้มป่อย และกลุ่มสารที่มีกลิ่นหอม จะระเหยออกมาเมื่อถูกความร้อน เช่น การบูร พิมเสน และเกลือ ช่วยดูดความร้อน
3. หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบและจานรองลูกประคบ
4. เชือกสำหรับมัดผ้าห่อลูกประคบ
วิธีทำลูกประคบ
1. นำหัวไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด ล้างทำความสะอาด นำมาหั่นหรือสับให้เป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการตำพอหยาบ ๆ
2. นำใบมะขาม ใบส้มป่อย ผสมกับสมุนไพรในข้อ 1 เสร็จแล้วใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แต่อย่าให้แฉะเป็นน้ำ
3. แบ่งสมุนไพรที่คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเป็นส่วนเท่า ๆ กัน โดยใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบมัดด้วยเชือกให้แน่น
4. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที
วิธีการใช้ลูกประคบสมุนไพร
– นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งประมาร 15-20 นาที เมื่อลูกประคบร้อนได้ที่แล้ว ก่อนนำมาใช้ประคบควรมีการทดสอบความร้อนโดยแตะที่ท้องแขนหรือหลังมือก่อน และในช่วงแรกที่ลูกประคบยังร้อนอยู่ ต้องประคบด้วยความเร็ว ไม่วางลูกประคบไว้บนผิวหนังนาน ๆ เพียงแตะลูกประคบแล้วยกขึ้น แต่เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงสามารถวางลูกประคบได้นานขึ้นพร้อมกับกดคลึงจนกว่าลูกประคบคลายความร้อน แล้วจึงเปลี่ยนลูกประคบไปใช้ลูกใหม่แทน (ใช้แล้วนำไปนึ่งแทน)
ข้อควรระวังในการประคบสมุนไพร
– ไม่ควรใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่เคยเป็นแผลมาก่อนหรือบริเวณที่มีกระดูดยื่น และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อัมพาต ในเด็กและผู้สูงอายุ เพราะมักมีความรู้สึกในการรับรู้และตอบสนองช้า อาจทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ง่าย
– ไม่ควรใช้การประคบสมุนไพรในกรณีที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก เพราะจะทำให้อักเสบบวมมากขึ้นและอาจมีเลือดออกมากตามมาได้
– หลังจากประคบสมุนไพรเสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปล้างตัวยาจากผิวหนัง และร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน (ร้อนเป็นเย็นทันทีทันใด) อาจทำให้เกิดเป็นไข้ได้
การเก็บลูกประคบสมุนไพร
ลูกประคบสมุนไพรที่ใช้ครั้งหนึ่งแล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน 3-5 วัน หลังจากใช้แล้วควรผึ่งลูกประคบให้แห้ง เก็บใส่ถุงหรือภาชนะปิดฝาให้แน่นแช่ตู้เย็นจะเก็บได้นานขึ้น ให้สังเกตถ้าลูกประคบมีเชื้อราปรากฏให้เห็นและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว หรือสีเหลืองจางลง แสดงว่าตัวยาเสีย ไม่มีคุณภาพไม่ควรนำมาใช้อีกต่อไป เพราะจะใช้ไม่ได้ผล
ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร (จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน)
1. กระตุ้นหรือเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
2. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวดเมื่อย
3. ลดการติดขัดของข้อต่อบริเวณที่ประคบและทำให้เนื้อเยื่อ พังผืดยืดตัวออก
4. ลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือบริเวณข้อต่อต่าง ๆ หลังจาก 24-48 ชั่วโมงไปแล้ว
เอกสารอ้างอิง
1. นางสาวกุสุมา ศรียากูล. วิทยานิพนธ์, รูปแบบที่พึงประสงค์ในการให้บริการนวด อบ ประคบสมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ : กรณีศึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
2543. หน้า 24-30
2. พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ พญ.อัญชลี อินทนนท์ นพ.ธารา อ่อนชมจันทร์. คู่มือปฏิบัติงานการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชน.
โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2539. หน้า 84-85
3. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. การแพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3
: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2546. หน้า 34-38
4. เอกสารอัดสำเนา มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. ลูกประคบสมุนไพร. จำนวน  4 หน้า

http://ittm.dtam.moph.go.th/product_champion/herb5.htm

สุคนธบำบัด (Aromatherapy)

ดร. ประคองศิริ บุญคง

ส่วนวิจัยอุตสาหกรรมเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

คำว่า “AROMA (สุคนธา)” แปลว่า กลิ่นหอม และ “THERAPY ” คือการบำบัดรักษา   ดังนั้น สุคนธบำบัด
จึงหมายถึงการบำบัดรักษาเพื่อให้บรรเทาหรือทุเลาอาการต่าง ๆ ด้วยเครื่องหอม(1) เครื่องหอมที่มีประสิทธิผลดี
มาจากธรรมชาติ ถึงแม้จะมีความพยายามนำสารสังเคราะห์เลียนแแบบธรรมชาติมาใช้แต่ก็ไม่สู้จะประสบความสำเร็จ
เครื่องหอมส่วนใหญ่จะเน้นไปถึงน้ำมันหอมระเหย (คือ น้ำมันที่สกัดได้จากส่วนต่างๆของพืชและสมุนไพร)

ประวัติความเป็นมา ได้มีการใช้เครื่องหอมในการรักษาโรค ทำให้สงบ หรือกระตุ้นมานานกว่า 6000 ปีแล้ว
แต่คำว่า “Aroma therapy”  เป็นที่รู้จักกันเมื่อ  Gattefosse  นักเคมีชาวฝรั่งเศสถูกไฟลวกที่มือในขณะที่กลั่นน้ำมัน
หอมระเหย  ทำให้ค้นพบโดยบังเอิญว่าน้ำมันลาเวนเดอร์สามารถช่วยให้หายเร็วและป้องกันแผลเป็น  เขาจึงศึกษา
น้ำมันหอมระเหยอย่างจริงจัง และยังพบว่าน้ำมันหอมระเหยดีกว่าสารสังเคราะห์หรือสารเคมีแต่ละตัวที่แยกออกมา
จากน้ำมันหอมระเหยเอง Dr.Jean Valnet ซึ่งเป็นทั้งหมอและนักวิทยาศาสตร์ ได้ใช้น้ำมันหอมระเหยในการรักษา
โรคบางชนิดและโรคประสาท ซึ่งได้พิมพ์หนังสือเสนอผลงานออกมาชื่อ “The Practice of Aromatherapy” ซึ่งทำให้
มีการตื่นตัวในการบำบัดโดยเครื่องหอม Madame Marguerite Maury ได้ประยุกต์งานวิจัยของ  Dr.Jean Valnet
ไปในทางบำรุงความงาม เธอพบว่า ถ้าเลือกน้ำหอมและผสมให้เหมาะสมก็จะได้ยามากมายเนื่องจาก Aromatherapy
มีรากฐานอยู่กับความเชื่อถือของชาวบ้าน จึงจำเป็นที่จะต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน ในปีพ.ศ. 2525
Olfactory Research Fund  ได้ตั้งนิยาม  “aromachology”  ซึ่งเกี่ยวกับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถึงความสัมพันธ์
ระหว่างจิตวิทยาและเครื่องหอม และได้ให้ทุนวิจัยเกี่ยวกับอิทธิพลของกลิ่นต่อการรับกลิ่น และพฤติกรรมของมนุษย์

บางท่านอาจเข้าใจว่า “Aromatherapy”  เป็นการบำบัดโดยนาสิกสัมผัสและอารมณ์    แต่ตามความเป็นจริง
นอกจากกลิ่นแล้ว    น้ำมันหอมระเหยแต่ละตัวยังมีสารมากมายหลายชนิดเป็นองค์ประกอบซึ่งจะทำปฏิกริยาโดย
ตรงกับสารเคมีของร่างกาย ทำให้มีผลต่ออวัยวะหรือระบบต่าง ๆ ของร่างกาย   เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยเป็น
กรรมวิธีหนึ่งของการสกัดสมุนไพร ดังนั้นอาจจัดได้ว่าสุคนธบำบัดเป็นการรักษาด้วยสมุนไพร  ถึงแม้กรรมวิธีการ
ผลิตและวิธีการใช้อาจจะแตกต่างกันบ้าง

การออกฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยมีสามชนิด ได้แก่
1. ฤทธิ์ที่เกิดจากบางส่วนของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยน้ำมันหอมระเหยเข้าสู่กระแสโลหิต
ไปทำปฏิกริยากับฮอร์โมน เอนไซม์ ฯลฯ
2. ฤทธิ์โดยที่น้ำมันหอมระเหยไปกระตุ้นบางส่วนของร่างกายให้หลั่งสารเคมีออกมา ซึ่งจะไปมีผลต่อการ
ทำงานของร่างกาย เช่น ไปกระตุ้นหรือ ระงับระบบประสาท
3. ฤทธิ์ทางด้านจิตใจโดยเมื่อสูดดมกลิ่นเข้าไปก็จะมีปฏิกริยากับกลิ่นนั้น ๆ

วิธีการใช้สุคนธบำบัด(1)
กฎทั่วไปของสุคนธบำบัด คือ ใช้น้ำมันหอมระเหยเฉพาะภายนอกเท่านั้น   เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยมี
ความเข้มข้นสูง มีฤทธิ์ก่อการระคายเคือง  และทำลายต่อเยื่อบุในจมูกและในกระเพาะอาหาร รูปแบบของน้ำมัน
หอมระเหยที่จะใช้ภายนอกคือนำมาผสมกับน้ำมันหรือขี้ผึ้งน้ำมันหอมระเหยจะถูกดูดซึมผ่านผิวหนังหรือค่อยๆ
ระเหยเพื่อสูดดมเข้าไป เมื่อสูดดมเข้าไปจะมีผลต่ออารมณ์หรือความรู้สึก   และในขณะเดียวกันก็มีผลต่อระบบ
การทำงานในร่างกาย ซึ่งแตกต่างจากสมุนไพรทั่ว ๆ ไปที่อาจจะเหมาะเมื่อใช้ภายใน แต่ไม่ให้ผลต่ออารมณ์และ
ความรู้สึก

ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย
-ก่อนใช้น้ำมันหอมระเหยควรทดสอบว่าแพ้น้ำมันหอมระเหยชนิดนั้นหรือไม่   เพราะแต่ละบุคคลมีการ
ตอบสนองต่อสารเคมีแตกต่างกัน
-ต้องให้แน่ใจว่าน้ำมันหอมระเหยนั้นไม่มีพิษ ไม่ก่อให้เกิดการไวต่อแสง   หรือระคายเคืองต่อผิวหนัง
(น้ำมันโหระพา น้ำมันอบเชย น้ำมันกานพลู น้ำมันสะระแหน่)   หรือทำให้เกิดการแพ้ง่าย  (น้ำมันตะไคร้หอม
น้ำมันกระเทียม น้ำมันขิง น้ำมันมะลิ น้ำมันมะนาว น้ำมันตะไคร้ น้ำมันขมิ้น)
-ไม่ควรใช้น้ำมันหอมระเหยบางอย่าง  เช่น  hyssop, rosemary, sage   และ thyme  กับผู้ที่มีความดัน
โลหิตสูง
-ผู้ป่วย  Homeopathic ไม่ควรใช้ น้ำมันพริกไทดำ น้ำมันการบูร น้ำมันยูคาลิปตัส  และน้ำมันสะระแหน่
-ใช้น้ำมันหอมระเหยปริมาณเพียงครึ่งหนึ่งของที่ระบุไว้     และดูว่าน้ำมันหอมระเหยนั้นมีข้อควรระวัง
สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรือไม่
-ทารกและเด็กต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ตามขนาดที่ปรับเข้ากับอายุ

ฤทธิ์และวิธีใช้น้ำมันหอมระเหย
1. ทางผิวหนัง
-ระงับเชื้อจากบาดแผล แมลงกัดต่อย ฯลฯ  เช่น  น้ำมันไทม์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันกานพลู
น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันมะนาว
-แก้อาการอักเสบ สำหรับแผลพุพอง บาดแผลติดเชื้อ กระทบกระแทก ฟกช้ำ ฯลฯ เช่น
น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมันลาเวนเดอร์
-ฆ่าเชื้อรา โรคน้ำกัดเท้า ขี้กลาก เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันยางไม้หอม
-ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อสมานแผล เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันกุหลาบ และน้ำมันเจอเรเนียม
-ระงับกลิ่น ผู้ที่มีเหงื่อออกมาก ทำความสะอาดบาดแผล เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันไทม์ และน้ำมันตะไคร้
-ไล่ แมลงและฆ่าปาราสิท พวก เหาหมัด เห็บ ยุง มด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระเทียม น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันกานพลู และน้ำมันไม้ซีดาร์
2. ระบบการไหลเวียน กล้ามเนื้อ และข้อต่อ
น้ำมัน หอมระเหยถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ง่ายทางผิวหนังและเยื่อบุ ทำให้กระจายไปทั่วร่างกาย น้ำมันที่ทาแล้วร้อนไม่มีผลเพียงแต่การไหลเวียนของโลหิตเท่านั้นแต่มีผลต่อ อวัยวะภายในด้วย ความร้อนทำให้
เส้นโลหิตขยายจึงมีผลในการลดอาการบวมน้ำ
-ลดความดันโลหิต ความเครียด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระดังงา น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันมะนาว
-เพิ่ม ความดัน สำหรับคนที่มีโลหิตไหลเวียนไม่ดี โรคหิมะกัดเท้า เซื่องซึม ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสะระแหน่ และน้ำมันลาเวนเดอร์
-ปรับการไหลเวียนของโลหิต สำหรับแก้บวม อักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมันมะนาว
3. ระบบหายใจ
น้ำมันหอมระเหยเหมาะที่จะรักษา การติดเชื้อทางจมูก ลำคอ และปอด เพราะใช้สูดดมตัวยาก็จะผ่าน
ไปถึงปอดซึ่งก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็วกว่าให้ยาโดยการรับประทาน
-ขับเสมหะ สำหรับหวัด ไซนัส ไอ ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสน น้ำมันไม้จันทน์ และน้ำมันยี่หร่า
-คลายกล้ามเนื้อกระตุกในโรคหืด ไอแห้ง ไอกรน ฯลฯ เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมันมะกรูด
-ฆ่าเชื้อสำหรับ ไข้หวัดใหญ่ คอเจ็บ ต่อมทอนซิลอักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมันสน น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันพิมเสน
4. ระบบย่อยอาหาร
น้ำมันหอมระเหยที่ใช้สำหรับระบบนี้ค่อนข้างมีขอบเขตจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับยาที่ใช้รับประทาน
-แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเนื่องจากปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม
-ขับลมและแก้ปวดท้องเนื่องจากมีกรดมาก คลื่นไส้ เช่น น้ำมันกะเพรา และน้ำมันสะระแหน่
-ขับน้ำดี เพื่อเพิ่มน้ำดีและกระตุ้นการทำงานของถุงน้ำดี เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันสะระแหน่
-ทำให้เจริญอาหาร เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม
5. ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบต่อมไร้ท่อ
น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อระบบนี้โดยการดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต หรืออาจจะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางฮอร์โมนส์
-แก้กล้ามเนื้อเกร็ง สำหรับปวดท้องประจำเดือน ตอนใกล้คลอด ฯลฯ เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ น้ำมันมะลิ และน้ำมันลาเวนเดอร์
-ขับระดู สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนน้อยหรือไม่มี เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมันสะระแหน่
-ระงับเชื้อและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ น้ำมันกำยาน น้ำมันกุหลาบ และน้ำมันมะกรูด
-ขับน้ำนม เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันมะลิ และน้ำมันตะไคร้
-ปลุก กำหนัดสำหรับกามตายด้านหรือไม่ค่อยมีความรู้สึก เช่น น้ำมันพริกไทดำ น้ำมันกระวาน น้ำมันมะลิ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันกระดังงา และน้ำมันไม้จันทน์
-ลดความกำหนัด เช่น น้ำมันการบูร
-ฤทธิ์ต่อไต กระเพาะปัสสาวะ และระบบปัสสาวะ ยังไม่มีรายงาน
6. ระบบภูมิคุ้มกัน
ส่วนใหญ่น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดขาว
-ป้องกัน เชื้อแบคทีเรียและไวรัส ทำให้ไม่เป็นหวัด เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันกระเพรา น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการบูร และน้ำมันกานพลู
-ใช้ลดไข้ เช่น น้ำมันกระเพรา น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันมะนาว และน้ำมันยูคาลิปตัส
7. ระบบประสาท
ได้ มีการพิสูจน์แล้วว่าน้ำมันหลายชนิดมีผลต่อระบบประสาท เช่น น้ำมันไม้จันทน์ น้ำมันมะกรูด และน้ำมันลาเวนเดอร์ มีผลในการสงบระงับประสาทส่วนกลาง น้ำมันมะลิ น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันกระเพรา น้ำมันกานพลู และน้ำมันกระดังงา มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท
8. จิตใจ
น้ำมันหอมระเหยมีอิทธิพล ทางด้านจิตใจมาช้านานแล้ว นับตั้งแต่การใช้ในศาสนพิธีและพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่ากลิ่นมีผลต่อสมองและอามณ์    ผลของกลิ่นมีต่อบุคคลขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย
ประการดังนี้
-วิธีที่ใช้
-ปริมาณที่ใช้
-สภาวะที่กำลังใช้อยู่
-สภาวะของบุคคลที่ใช้ (อายุ เพศ บุคคลิก)
-อารมณ์ในขณะที่จะใช้
-ความรู้สึกในอดีตเกี่ยวกับกลิ่นที่จะใช้
-ความไม่รับรู้ต่อกลิ่นบางอย่าง
ดังนั้นเราต้องจัดกลิ่นให้เหมาะกับผู้ใช้
น้ำมันหอมระเหยสามารถแสดงความเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับความต้องการของบุคคล  กุหลาบ
เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะดอกกุหลาบเองก็หมายถึง ความงาม ความรัก และทางด้านจิตใจที่เกี่ยวข้องกับนิยายและ
ศาสนา แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกนำไปใช้รักษาเกี่ยวกับผิวหนัง คุมประจำเดือน เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ทำให้
เลือดบริสุทธิ์ และบำรุงหัวใจ ดังนั้นเมื่อเราได้กลิ่นกุหลาบก็จะเชื่อมโยงเราไปสู่ความสัมพันธ์เหล่านี้ ซึ่งจะมีผลต่อ
จิตใจ และตามมาด้วยผลต่อร่างกาย ซึ่งผลเหล่านี้ได้ถูกครอบคลุมอยู่ในจิตใจของเขาอยู่แล้ว

การใช้น้ำมันหอมระเหยที่บ้าน(2), (3)
มีหลายวิธีที่จะใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างง่าย ๆ และมีประสิทธิภาพ สำหรับให้กลิ่นหรือทางเครื่องสำอาง
หรือยา การเก็บน้ำมันหอมระเหยต้องใส่ขวดสีชา ไม่ให้แสงและอากาศทำปฏิกริยาและเก็บในที่เย็น ห่างไกลจาก
มือเด็ก
ในที่นี้จะแนะนำวิธีใช้บางวิธีที่ง่าย ๆ
1. นวด เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับนักสุคนธบำบัดอาชีพ ซึ่งจะนวดทั่วร่างกาย น้ำมันหอมระเหย จะถูก
เลือกให้เหมาะกับสภาพและอารมณ์ของคนไข้ ผสมกับน้ำมันอื่น เช่น น้ำมันแอลมอนด์ หรือน้ำมันเมล็ดองุ่น
ปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่ใช้อยู่ระหว่าง 1-3 % ขึ้นอยู่กับชนิดของอาการ แต่ต้องให้แน่ใจว่าน้ำมันได้ถูก
ดูดซึมผ่านผิวหนังและเข้าสู่กระแสโลหิต โดยหลักทั่ว ๆ ไป โรคปวดในข้อ หรือ อาหารไม่ย่อย ต้องใช้ความเข้มข้น
มากกว่าโรคที่เกี่ยวกับอารมณ์และประสาท การนวดด้วยตัวเองต้องนวดเป็นจุดไปโดยเฉพาะ เท้า มือ และส่วนต่าง ๆ
ของร่างกายที่ทำให้ไม่สบาย เช่น นวดท้องตามเข็มนาฬิกาด้วยน้ำมันสะระแหน่ที่เจือจางแล้ว เพื่อช่วยระบบย่อยอาหาร
2. น้ำมันและโลชั่นบำรุงผิว   การเตรียมน้ำมันหอมระเหยเหมือนวิธีนวด ยกเว้นควรเติมน้ำมันที่บำรุงลง
ไปด้วย เช่น น้ำมันโจโจบา อโวคาโดร หรือ แอพริคอท จุดประสงค์เพื่อรักษาผิวหนังที่มีปัญหาเฉพาะ ส่วนใหญ่การ
ใช้นิ้วมือนวดเบา ๆ เป็นวงกลมก็เป็นการเพียงพอที่จะให้น้ำมันซึมซาบเข้าผิวหนัง น้ำมันกุหลาบเหมาะกับผิวหนังที่
แห้ง หรือเหี่ยวย่น น้ำมันมะกรูด หรือน้ำมันมะนาวช่วยรักษาสิวและผิวหน้าที่มันมาก
น้ำมันหอมระเหยสองสามหยดผสมกับครีมหรือโลชั่นธรรมดา หรือเติมไปกับที่พอกหน้า เช่น ข้าวโอ้ต น้ำผึ้ง
หรือ ดิน กับผลไม้ต่าง ๆ  ในบางกรณี  เช่น ติดเชื้อเฮอร์ปีส์ หรือน้ำกัดเท้า  ควรใช้โลชั่นที่มีส่วนประกอบของ
แอลกอฮอลล์มากกว่าครีม โดยนำน้ำมันหอมระเหย 6 หยดผสมกับไอโซโปรปิลแอลกอฮอลล์หรือเหล้าวอดก้า 5 ซีซี
ทำให้เจือจางด้วยน้ำต้มเดือดและทิ้งให้เย็น 1 ลิตร รักษาแผลที่เปิดหรือตุ่มใสที่เกิดจากอีสุกอีใส หรือเชื้อเฮอร์ปีส์
ที่อวัยวะเพศ
3. การประคบร้อนหรือเย็น ได้ผลดีต่อการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อลดการปวดหรืออักเสบ การประคบ
ร้อนทำโดยเทน้ำร้อนจัด ๆ ลงในอ่าง เติมน้ำมันหอมระเหย 4-5 หยด เอาผ้าที่พับแล้วจุ่มลงไป บีบน้ำออกพอ
หมาด ๆ วางลงบนส่วนที่ต้องการจนรู้สึกผ้าเย็นก็ทำซ้ำ วิธีนี้มีประโยชน์ต่อการปวดหลัง ปวดตามข้อและกระดูก
บวม ปวดหู และปวดฟัน
การประคบเย็น วิธีการเช่นเดียวกันแต่ใช้น้ำเย็นแทนน้ำร้อน เหมาะสำหรับโรคปวดศีรษะ เคล็ด เครียด และ
การบวมอักเสบ
4. การบำรุงรักษาผมอาจจะใช้น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดเมื่อสระผมครั้งสุดท้าย หรือผสมลงในแชมพู
วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการบำรุงผม ก็คือ ใช้น้ำมันหอมระเหยประมาณ 3% ผสมกับน้ำมันมะกอกกับโจโจบา หรือน้ำมัน
แอลมอนด์ นวดให้ซึมหนังศีรษะ และห่อด้วยผ้าขนหนูอุ่น ๆ ประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมง น้ำมันโรสแมรี่ น้ำมัน
แคโมมิลล์ ช่วยปรับสภาพและทำให้ผมงอก น้ำมันลาเวนเดอร์ช่วยไล่เหา น้ำมันมะกรูดช่วยคุมรังแค
5. ใช้ไอระเหย การใช้ที่เผาน้ำมันหรือที่กระจายกลิ่นหอมเป็นวิธีที่ดีที่จะให้ห้องมีกลิ่นหอมแทนการใช้
ธูปหอมซึ่งก่อให้เกิดฝุ่นหรือควัน แต่ต้องวางในที่ที่ปลอดภัยและห่างจากเด็กหรือสัตว์เลี้ยง อาจจะหยดน้ำมัน
หอมระเหย ลง 2-3 หยดที่ขอบโป๊ะหลอดไฟฟ้า หรือหยดลงในชามน้ำที่วางบนเครื่องที่ให้ความร้อน น้ำมันตะไคร้
หรือตะไคร้หอมใช้ไล่แมลงและขจัดกลิ่นของบุหรี่ น้ำมันกำยาน หรือน้ำมันยูคาลิปตัสใช้ในห้องนอนเพื่อช่วยแก้
ปัญหาการหายใจขัดหรือแก้ไอในเด็ก
6. การสูดไอน้ำ วิธีนี้เหมาะกับคนที่เป็นไซนัส หรือติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ โดยเอาผ้าคลุมศีรษะ
และอ่างที่ใส่น้ำร้อนผสม น้ำมันสะระแหน่หรือน้ำมันไทม์ประมาณ 5 หยด สูดหายใจลึก ๆ 1 นาทีและทำซ้ำ วิธีนี้
อาจใช้อบหน้าได้ โดยใช้น้ำมันมะนาวแทนซึ่งจะช่วยเปิดรูที่อุดตันและลบริ้วรอยบนใบหน้า
7. ใช้ภายใน เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยเข้มข้นมาก ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ที่บ้าน แม้แต่สมาคม
สุคนธบำบัดนานาชาติก็ไม่ให้ใช้วิธีนี้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยสามารถถูกดูดซึมเข้าในร่างกายได้ง่าย
จึงมีผลต่ออวัยวะภายในโดยการใช้ภายนอก ในกรณีที่เป็นโรคข้ออักเสบซึ่งเกิดจากการสะสมสารพิษที่ข้อต่อ การใช้
น้ำมันบางชนิด เช่น น้ำมันไพล น้ำมันนิเปอร์ หรือ น้ำมันเบิร์ชสามารถไปชำระล้างพิษ และในขณะเดียวกันก็ลดการ
ปวดและอักเสบได้
ถึงแม้ว่า Aromatherapy จะมีมานานแล้วก็ตาม แต่ในวงการเครื่องสำอางเพิ่งจะนิยมมากเมื่อปี 2540 เช่น
Coty’s Healing Garden ผลิตขึ้นเมื่อเดือนกันยายน และ Shiseido ผลิต Relaxing Fragrance  ในเดือนตุลาคม
ปัจจุบันนี้ผู้คนส่วนใหญ่หาวิธีที่จะรักษาสุขภาพของตนเองโดยปรับตัวเองไปสู่ธรรมชาติมากที่สุด   Aromatherapy
เป็นวิธีหนึ่งที่เขาจะดูแลสุขภาพของตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งหมอ นอกจากนี้ยังมี Aroma Technology โดยใช้
เครื่องมือควบคุมการปล่อยเครื่องหอมเพื่อให้บรรยากาศดี หรือเพื่อฆ่าเชื้อตามบ้าน สำนักงานโรงแรม ฯลฯ (3-5)

หนังสืออ้างอิง
1. วนิดา จิตต์หมั่น และ ทวีศักดิ์ สุวคนธ์ กลยุทธ์คลายเครียด เอกสารการประชุมวิชาการเภสัชกรรม ชุมนุม ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2541.
2. Lawless J. The Encyclopaedia of Essential Oil. Barnes & Noble Inc, 1995: 226.
3. Peltier M. DCI. 1998; 162(3): 22-24.
4. Buckle J. Nurse Times 1993; 89(20): 32-35.
5. Anon N-Z-Pharm 1993; 13: 9-10.