“เฮโรอีน” จากยาที่หวังว่าจะมีประโยชน์กลายเป็นสารเสพติดตัวร้าย

ในสมัยก่อนมอร์ฟีนถูกใช้เป็นยาระงับปวดอย่างแพร่หลาย แต่มีปัญหาการเสพติดได้ง่าย จึงมีการพยายามหาอนุพันธ์ของมอร์ฟีนที่มีประสิทธิภาพ แต่ติดได้ยากขึ้น จนในปี 1874 Charles Romley Alder Wright ( คนเขียนหนังสือในรูป )นักเคมีชาวอังกฤษ ได้ทำการเติมหมู่ Acetyl 2 ตัวเข้าไปในโมเลกุลของมอร์ฟีน เกิดเป็นสาร diacetylmorphine ซึ่งมีฤทธิ์แรงกว่ามอร์ฟีนสี่เท่าและออกฤทธิ์เร็วกว่า

Wright ยินดีกับสิ่งที่พบ เขาเชื่อสารนี้จะไม่ทำให้ติดยาเหมือนมอร์ฟีน และหวังว่าจะถูกนำไปใช้ประโยชน์มากมายในอนาคต แต่ผลงานของเขาขณะนั้นไม่มีใครสนใจ

จนกระทั่งในปี 1898 Felix Hoffmann ( คนสวมหมวก ) นักเคมีชาวเยอรมันประจำบริษัท Bayer ( เขาเป็นคนแรกที่สังเคราะห์แอสไพรินด้วย ) ได้สังเคราะห์ diacetylmorphine ขึ้นมาอีกครั้ง และพบว่านอกจากจะออกฤทธิ์แก้ปวดได้ดีแล้ว มันยังลดการไอได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขาจึงให้ชื่อมันว่า “เฮโรอีน” ซึ่งแผลงมาจาก “heroic” แปลว่า ฮีโร่ แข็งแรง หรือสง่างาม

บริษัท Bayer จัดจำหน่ายเฮโรอีนอย่างแพร่หลายตั้งแต่ 1898 – 1910 ในฐานะอนุพันธ์ของมอร์ฟีนเพื่อใช้ลดอาการปวดและแก้ไอ และโฆษณาในขณะนั้นด้วยว่า เฮโรอีนสามารถรักษาการติดมอร์ฟีนได้

แต่จากนั้นไม่นาน Bayer ก็ต้องพบกับความขายหน้าที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท เพราะพวกเขามาค้นพบทีหลังว่าเฮโรอีนสามารถถูกเปลี่ยนเป็นมอร์ฟีนในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว มิหนำซ้ำยังทำให้เกิดการเสพติดที่รุนแรงยิ่งกว่ามอร์ฟีนมาก เนื่องจากหมู่ Acetyl ที่เติมเข้าไปในอนุพันธ์ของมอร์ฟีนจนกลายเป็นเฮโรอีนนั้นทำให้ยาตัวนี้ผ่านเข้าไปในสมองได้ง่ายขึ้นมาก ทำให้บริษัทต้องประกาศเลิกผลิตไปด้วยความอับอาย และต่อมา เฮโรอีนก็กลายเป็นยาเสพติดตัวร้ายที่ถูกห้ามไปทั่วโลก

ขอบคุณที่มา : Kiattiyod Buranawanich