ไปดูชาวบ้าน ตก/ทำ แมงกะพรุนที่ระยอง

เป็นอาชีพเสริมของชาวบ้านในจังหวัดระยอง ว่างจากงานอื่นๆ และการทำสวนยางก็จะมาหากินจากการทำแมงกะพรุนที่จะจับได้เฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาวเท่านั้น ชาวบ้านเล่าว่าแมงกะพรุนลอยตามน้ำมาตามชายฝั่งทะเลไทยเริ่มมาจากทางใต้ก่อนแล้วค่อยๆ ไล่มาทางตะวันออก

แมงกะพรุนมีหลายพันธุ์แต่กินไม่ได้ทุกพันธุ์ คุยกับชาวบ้านเยอะพอสมควรแต่จำชื่อไม่ได้หมด ที่ชาวบ้านจับๆ กันในละแวกหาดแม่รำพึงและใกล้เคียงจะมีอยู่ 3-4 พันธุ์ที่นำมาทานได้

แมงกะพรุนมีอวัยวะที่มีพิษ ทุกคนมีปฏิกริยาต่อพิษแมงกะพรุนต่างกัน ไม่ใช่ทุกคนจะจับแมงกระพรุนมือเปล่าอย่างที่เห็นในคลิปได้ ชาวบ้านบอกว่า บางคนแพ้มากๆ โดนแค่นิดหน่อย บางทีบวมแดง ไหม้ หรือบางคนอาการหนักมากต้องส่งโรงพยาบาล หรือถึงตายเลยก็มี เพราะฉะนั้นต้องระวังมากๆ ชาวบ้านบอกว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะจับแมงกะพรุนมือเปล่าหน้าตาเฉยได้เหมือนลุง ต้องเป็นคนที่แพ้ไม่มากแล้วชินแล้วจริงๆ หรือคนที่ไม่แพ้อย่างลุง

แมงกะพรุนมีพิษไม่ได้รับประทานได้ทุกส่วนชาวบ้านจับมาได้ต้องทำการตัดแยกเอาเฉพาะส่วนที่ใช้ได้แยกเก็บไว้ก่อนและจะต้องมีกระบวนการแช่ดองน้ำฝาดและอื่นๆ ตามสูตรของเค้าเพื่อเก็บรักษาเพราะแมงกะพรุนไม่ได้มีให้จับทั้งปี ชาวบ้านบอกว่าทางใต้บ้านเรามีโรงงานใหญ่รับแมงกะพรุนจากชาวบ้านเข้ากระบวนการเพื่อนำส่งออกต่างประเทศเลยก็มี

แมงกะพรุนที่เราบริโภคกันนี้เป็นผลจากการจับช่วงหนึ่งๆ ของปีแล้วสต๊อกไว้เพื่อทะยอยนำออกป้อนตลาด อาหารที่เรากินก็ในสุกี้ จิ้มจุ่ม อาหารทะเล หรือเย็นตาโฟ มาจากแมงกระพรุนแบบนี้ทั้งนั้น

วิดีโอฉบับเต็ม

วิดีโอฉบับย่อ

สะพานปลาเก่า หน้าสถานีประมงระยอง
หาดแม่รำพึง ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง
09/2559

:: blog.etcpool.com

ไหนๆ แล้วก็ค้นเกี่ยวกับเรื่องแมงกะพรุนบางส่วนนำมารวบรวมไว้สำหรับท่านที่สนใจ

เกี่ยวกับแมงกะพรุน

1024px-palau_stingless_jellyfish

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99#/media/File:Palau_stingless_jellyfish.jpg

รูปร่าง

แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวโปร่งใส ร่างกายประกอบด้วยเจลาตินเป็นส่วนใหญ่ สามารถมองเห็นเข้าไปได้ถึงอวัยวะภายใน เป็นสัตว์ที่ไม่มีทั้งสมองหรือหัวใจ[2] ลำตัวด้านบนของแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม เรียกว่า “เมดูซ่า” ซึ่งศัพท์คำนี้ก็ใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของแมงกะพรุนด้วยเช่นกัน

แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วกว่า 505 หรือ 600 ล้านปี[2][3] มีวงจรชีวิตที่ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ[4]

วงจรชีวิต

หลังจากผสมพันธุ์แล้ว แมงกะพรุนเมื่อได้ปฏิสนธิแล้ว หลังจากนั้นตัวอ่อนจะพัฒนาขึ้นมา มีลักษณะเหมือนขนหรือหนอนตัวเล็ก ๆ มีขนละเอียดรอบตัว เรียกว่า “ซิเลีย” จากนั้นจะพัฒนาไปเป็น “พลานูลา” จะคืบคลานไปหาที่ ๆ เหมาะสมเพื่อเกาะและเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็น “โพลิป” ซึ่งมีสันฐานเหมือนดอกไม้ทะเลขนาดจิ๋ว คือ มีลำตัวที่เหมือนกับแจกันเกาะอยู่กับวัสดุต่าง ๆ ลำตัวหงายขึ้น โดยมีหนวดอยู่รอบปากด้านบน ซึ่งแตกต่างไปจากแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เมื่อโพลิปได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และจำเพาะก็จะเกิดการแตกหน่อซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ซึ่งคือ แมงกะพรุนขนาดเล็กที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ จะหลุดและลอยไปตามกระแสน้ำ ที่เรียกว่า “อีฟีรา” หรือ “เมดูซ่า” มีลักษณะเหมือนแมงกะพรุนตัวเต็มวัย คือ ลำตัวคว่ำลง หนวดอยู่ด้านล่าง หากแมงกะพรุนในขั้นนี้ได้รับอาหารที่พอเพียง อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะเจริญเติบโตกลายเป็นแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ต่อไปก็จะเข้าสู่วงจรเหล่านี้ใหม่อีกครั้ง[1]

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99#/media/File:Reproductive_cycle_of_jellyfish.jpg

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99#/media/File:Reproductive_cycle_of_jellyfish.jpg

แผนที่การกระจายพันธุ์แมงกะพรุนทั่วโลก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99#/media/File:Jellyfish_population_trends_by_LME.jpg

แผนที่การกระจายพันธุ์แมงกะพรุนทั่วโลก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99#/media/File:Jellyfish_population_trends_by_LME.jpg

พิษ

แมงกะพรุนหลายชนิดมีพิษ โดยบริเวณหนวดและแขนงที่ยื่นรอบปาก เรียกว่า “มีนีมาโตซีส” หรือเข็มพิษ ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อ หรือทำให้เหยื่อสลบก่อนจับกินเป็นอาหาร ซึ่งโดยมากเป็น ปลา และใช้สำหรับป้องกันตัว ปริมาณของนีมาโตซีสอาจมีจำนวนถึง 80,000 เซลล์ ใน 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ภายในนีมาโตซีสนี้เองมีน้ำพิษที่เป็นอันตรายทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่น บวมแดง เป็นรอยไหม้ ปวดแสบปวดร้อน และเป็นแผลเรื้อรังได้ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับแมงกะพรุนแต่ละชนิด ในชนิด Chironex fleckeri ซึ่งเป็นแมงกะพรุนกล่องชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเซลล์เข็มพิษมากถึง 4-5,000,000,000 ล้านเซลล์ ในหนวดทั้งหมด 60 เส้น[5] [6] ซึ่งมีผลทางระบบโลหิต โดยไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้โลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตลงได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[2]

การจำแนกและคุณลักษณะ

แมงกะพรุนไฟ ที่จัดอยู่ในชั้นไซโฟซัวโดยทั่วไปแล้ว แมงกะพรุนมีหลายชนิดที่สามารถรับประทานได้ โดยชาวประมงจะเก็บจากทะเล และผ่าออกทำการตากแห้งและหมักกับเกลือ, สารส้ม และโซเดียม[7] ก่อนจะนำออกขาย โดยประกอบอาหารได้หลายประเภท อาทิ ยำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเย็นตาโฟ ซึ่งแมงกะพรุนชนิดที่รับประทานได้ คือ แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema spp.) และ แมงกะพรุนจาน (Aurelia spp.) ซึ่งชาวจีนมีการรับประทานแมงกะพรุนมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ปีแล้ว คุณค่าทางอาหารของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรีต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย [8]

แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่พบได้ในท้องทะเลทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทั้งส่วนที่หนาวเย็นเป็นน้ำแข็งเช่น มหาสมุทรอาร์กติก หรือในที่ ๆ ลึกเป็นพัน ๆ เมตรที่แสงสว่างส่องลงไปไม่ถึง คาดการว่ามีแมงกะพรุนทั้งหมดราว 30,000 ชนิด แต่ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีราว 2,000 ชนิด และเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษราว 70 ชนิด ที่มีอันตรายต่อมนุษย์[2]

ขณะที่แมงกะพรุนชนิดที่มีพิษ จะถูกเรียกรวม ๆ กันว่า แมงกะพรุนไฟ (Crysaora spp.) ส่วนใหญ่มีลำตัวสีแดงหรือสีส้ม จะมีพิษที่บริเวณหนวดที่มีน้ำพิษ ใช้สำหรับเพื่อล่าเหยื่อและป้องกันตัว สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่ถูกต่อยได้ บริเวณที่ถูกต่อยนั้นจะปรากฏรอยคล้ายรอยไหม้เป็นผื่น จากนั้นในอีก 20-30 นาทีต่อมา จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็นแผลเล็ก ๆ และแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง กล้ามเนื้อเกร็งและบังคับไม่ได้ จุกเสียด หายใจไม่ออก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสิ่งที่สามารถปฐมพยาบาลพิษของแมงกะพรุนไฟได้เป็นอย่างดี คือ ใบของผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) ใช้ร่วมกับน้ำส้มสายชูขยี้บริเวณที่ถูกพิษ จะช่วยทุเลาอาการได้ และหากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาจำพวก แอสไพรินได้ ก่อนจะนำส่งสถานพยาบาล[9] หรือการปฐมพยาบาลแบบง่ายที่สุด คือ ใช้น้ำทะเลราดบริเวณที่ถูกต่อย เพื่อให้เข็มพิษของแมงกะพรุนนั้นหลุดไป จากนั้นจึงใช้น้ำส้มสายชูราดลงไป ก็จะทำลายพิษได้ ห้ามใช้น้ำจืดเด็ดขาด เพราะจะทำให้พิษกระจายตัวและออกมาจากถุงพิษมากขึ้น [10]

มีสัตว์บางประเภทที่ถูกเรียกว่า แมงกะพรุน เช่นกัน แต่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืด คือ แมงกะพรุนน้ำจืด (Craspedacusta spp.) จัดเป็นแมงกะพรุนขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำจืดของสหรัฐอเมริกาและทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย แต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นไฮโดรซัว[11]

แมงกะพรุนชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงกะพรุนขนสิงโต (Cyanea capillata) ที่เมื่อแผ่ออกแล้วอาจมีความกว้างได้ถึงเกือบ 3 เมตร และยาวถึง 37 เมตร ปรกติพบในอาร์กติก, มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ[12]

อ้างอิง

  1. หน้า 134, วงจรชีวิตของกะพรุน คอลัมน์ คลินิกสัตว์ทะเล โดย ดร.วรเทพ มุธุวรรณ. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 3 ฉบับที่ 31: มกราคม 2013
  2. “ท่องโลกกว้าง: แมงกะพรุนแห่งท้องทะเล”. ไทยพีบีเอส. 17 June 2014. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
  3. บรรพบุรุษรุ่นแรกของ พืชและสัตว์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
  4. ไนดาเรีย
  5. พิษแมงกะพรุน
  6. แมงกะพรุน (jellyfish) จากกรมประมง
  7. ทะเลสตูลคึกคักจับแมงกะพรุนส่งนอก
  8. แมงกะพรุน (Jelly fish)
  9. แมงกระพุนมีพิษกับไม่มีดูความแตกต่างอย่างไร?
  10. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผศ.ดร., บทสัมภาษณ์ในรายการ 101 องศาข่าว ทาง F.M. 101 Mhz: วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554
  11. ชัยวุฒิ กรุดพันธ์, “แมงยุ้มแยะ” กะพรุนน้ำจืด แห่งเมืองอุบล คอลัมน์ Aqua Life หน้า 45-47 นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 1 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนเมษายน 2011
  12. British Jellyfish

ที่มา : th.Wikipedia.org 17/11/59

พิษของแมงกะพรุนไฟมาจากไหน?

พิษของแมงกะพรุนมาจากเข็มพิษ หรือ nematocyst  ภายในนีมาโตซีสมีน้ำพิษที่เป็นอันตราย ปกติแมงกะพรุน เขาใช้ในการล่าเหยื่อ  ทำให้เหยื่อสลบไปก่อนที่จะรับประทาน เมื่อไหร่ที่เราบังเอิญไปโดนพิษแมงกะพรุนไฟ หรือ บางทีเป็นเพียง หนวดหรือเข็มพิษของเขาลอยตามน้ำมา เท่านั้น เข็มพิษ จะทำให้เรา ปวดแสบ ปวดร้อน ทันที แม้อยู่ในน้ำ เกิดอาการคัน เป็นผื่น บวมแดง เป็นรอยไหม้ บางรายทำให้เกิดอาการจุกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เป็นไข้ และแมงกะพรุนไฟบางประเภทมีอันตรายที่  ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ (ยังไม่พบแมงกะพรุนชนิดนี้ในประเทศไทย) แผลที่เกิดขึ้นจากแมงกะพรุนไฟนี้ มักจะเป็นรอยไหม้ และเป็นแผลเรื้อรัง จนอาจจะเป็นแผลเป็นได้

การไปเที่ยวทะเลในฤดูฝน สิ่งหนึ่งที่เราพึงระวัง คือ แมงกะพรุน ซึ่งเป็นสัตว์มีพิษในทะเลชนิดหนึ่งที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่จะอยู่ในทะเล แต่ก็มีบางชนิดที่อยู่ในน้ำจืด แมงกะพรุนเป็นสัตว์ในพวกเดียวกับปะการัง มีเซลล์ที่ใช้ต่อยและมีพิษมากกว่าปะการังมาก แมงกะพรุนบางชนิดอาจทำให้ผู้ถูกต่อยถึงช็อคเสียชีวิตได้ แม้จะพบแมงกะพรุนตายติดตามชายหาดก็ไม่สมควรจะนำมาเล่น  เพราะพิษยังอาจจะมีอยู่และทำให้เกิดอันตรายได้ เมื่อถูกแมงกะพรุนอาจจะมีสายหนวดของแมงกะพรุนติดอยู่ต้องรีบแกะออกโดยเร็ว แต่อย่าใช้มือเปล่าเพราะมือจะถูกต่อยได้ด้วย ให้ใช้ผ้าหนาๆ เศษไม้ ทรายแห้งๆ หรือแป้งผงถูเบาๆ ให้หลุดออก อย่าถูแรงเพราะถุงบางอันยังไม่คายพิษ  ถ้าถูแรงจะทำให้พิษถูกปล่อยออกมาเพิ่มขึ้น แล้วล้างบริเวณนั้นเบาๆ ด้วยน้ำทะเล น้ำมันแอลกอฮอล์ แอมโมเนีย หรือโลชั่นที่หาได้ใกล้ตัว ชาวบ้านใช้ผักบุ้งทะเล เพื่อทำให้สภาพพิษซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีนเสื่อมลง เมื่อถูกพิษแมงกะพรุนแล้วให้ขึ้นจากน้ำทันที เพราะถ้าเกิดอาการรุนแรงจะทำให้จมน้ำตายได้
(
“แมงกะพรุน” สืบค้น 26 ก.ค.2551: http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-3736.html)

จากประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่โดนพิษแมงกะพรุนชนิดไม่รุนแรง จากการเล่นน้ำทะเลในฤดูฝน สัมผัสพิษวินาทีแรกจะ รู้สึกปวดแสบ ปวดร้อนมาก  หลังจากขึ้นน้ำทะเลจะมีอาการผื่นแดง บริเวณผิวหนังที่โดนพิษอย่างชัดเจน  โดยส่วนมากแล้วโรงแรมที่พัก จะมีพนักงานคอยดูแลและปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวที่มาพักในโรงแรมนั้นๆ  และถ้านักท่องเที่ยวโดนพิษแมงกระพรุน  เจ้าหน้าที่จะทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและให้คำแนะนำในการดูแลตามอาการ ดังนี้

1. ล้างพิษตรงผิวหนังที่โดนพิษด้วยน้ำทะเลโดยด่วน (หลีกเลี่ยงการใช้น้ำจืด เพราะน้ำจืดจะไปช่วยกระตุ้นพิษให้กระจายมากขึ้น)  รีดเซลล์ของแมงกระพรุน ด้วยของมีคมบางๆ เท่าที่หาได้ เช่น นักท่องเที่ยวอาจจะมีบัตรเครดิต ให้ใช้คมของบัตรนั้นรีดพิษออก ซึ่งสมัยก่อนชาวบ้านใช้ทรายขาวๆ สะอาดถูกเบาๆ แต่สมัยนี้จะหาทรายขาว สะอาดๆ หายาก

2.ใช้ผักบุ้งทะเลขยี้กับน้ำส้มสายชูความเข้มข้น 5% แล้วประคบผิวหนังบริเวณที่โดนพิษ ห่อด้วยผ้าขาวบางทิ้งไว้ ประมาณ 30-60นาที ขึ้นอยู่กับว่าอาการปวดแสบปวดร้อนจะค่อยๆ หายไปหรือไม่ ถ้าโดนพิษแมงกะพรุนที่ไม่รุนแรงมาก อาการปวดแสบปวดร้อนก็จะลดลง เหลือแค่อาการคันๆ  และร่องรอยของจุดที่โดนเซลล์ของแมงกะพรุนต่อย

3. ผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุนอาจจะมีอาการแพ้พิษทำให้เป็นไข้ หรืออาเจียน หรือเกิดอาการอื่นๆ ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน เช่น ผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุนที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ เขาจะมีอาการที่เป็นผื่นรุนแรง และปวดแสบปวดร้อนมากกว่าคนไทย ซึ่งปกติแล้วผู้ป่วยที่โดนพิษแมงกะพรุนชนิดที่ไม่รุนแรง  ก็จะหายจากอาการปวดแสบปวดร้อนและผื่นแดง หลังจากล้างพิษด้วยผักบุ้งทะเลขยี้กับน้ำส้มสายชูประมาณ 30-60นาที หลังจากนั้นจะมีอาการแพ้พิษอื่นๆ ให้รักษาตามอาการและจะหายภายใน 2-3 วัน แต่ยังคงเหลือร่องรอยของการโดนพิษซึ่งจะปรากฎให้เห็นอยู่เป็นเดือน  ถ้าเจอกับแมงกระพรุนไฟ หรือแมงกระพรุนชนิดร้ายแรง ก็จะกลายไปเป็นแผลเป็นไปในที่สุด

4. สำหรับผู้ป่วยที่โดนพิษแมงกะพรุนไฟ (Portuguese man-of-war) ซึ่งจะมีความรุนแรงมากโดนพิษครั้งแรกจะปวดแสบปวดร้อน และผิวหนังที่โดนจะเป็นรอยไหม้ และเป็นแผลเรื้อรัง จนอาจจะเป็นแผลเป็นได้  ต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

โดยนำใบผักบุ้งทะเลขยี้กับน้ำส้มสายชูแล้วมาประคบผิวหนังบริเวณโดนพิษไว้ และห่อด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ประมาณ 30-60 นาที  ขึ้นอยู่กับอาการปวดแสบปวดร้อนจนบรรเทาลง ทิ้งไว้รอให้อาการปวดแสบปวดร้อนคลายลงและดูอาการแพ้พิษอื่นๆ และรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น

จากประสบการณ์ดังกล่าว อาจจะเป็นอุทาหรณ์ช่วยเตือนภัย สำหรับคนที่ชอบเที่ยวทะเลในฤดูฝน หรือต้องการที่จะไปเที่ยวทะเลในช่วงฤดูนี้  ขอให้สังเกตุและระวังอันตรายจากการเล่นน้ำทะเลหลังฝนตกใหม่ๆ  โดยส่วนมากแล้ว ที่พักเขาจะมีป้ายเตือนระวังอันตรายจากภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากธรรมชาติ คลื่นทะเลแรง หรือสัตว์ทะเลที่มีพิษ ฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงขยายพันธุ์ของแมงกะพรุน เขาจะลอยตัวมากับคลื่นทะเลกระทบฝั่งจะมีมากตามชายฝั่งทะเล และโดยธรรมชาติแล้วชายฝั่งทะเลไหน มีแมงกะพรุนมาก ธรรมชาติก็จะให้ผักบุ้งทะเลเกิดบริเวณใกล้ๆ ริมหาดทรายเหล่านั้นด้วย  ซึ่งเป็นคำบอกเล่าของชาวบ้านคนที่อาศัยอยู่ใกล้กับทะเลนั้น ได้ถ่ายทอดความรู้นี้ และถ้าคุณบังเอิญโชคร้ายโดนพิษแมงกะพรุนขึ้นมา ขอให้รู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนที่จะเกิดอาการที่ร้ายแรงยากที่จะเยียวยารักษา

ผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุน เมื่อรู้สึกตัวว่าโดนพิษแมงกะพรุนควรจะขึ้นจากน้ำทะเลโดยเร็ว จะเกิดรอยผื่น บวมแดง และเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนดังภาพ

ผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุน เมื่อรู้สึกตัวว่าโดนพิษแมงกะพรุนควรจะขึ้นจากน้ำทะเลโดยเร็ว
จะเกิดรอยผื่น บวมแดง และเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนดังภาพ

นำใบผักบุ้งทะเลที่เกิดใกล้ริมหาดทรายมาขยี้กับน้ำส้มสายชู 5%

นำใบผักบุ้งทะเลที่เกิดใกล้ริมหาดทรายมาขยี้กับน้ำส้มสายชู 5%

jellyfish6

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยนำใบผักบุ้งทะเลขยี้กับน้ำส้มสายชูแล้วมาประคบผิวหนังบริเวณโดนพิษไว้ และห่อด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับอาการปวดแสบปวดร้อนจะบรรเทาลง ทิ้งไว้รอให้อาการปวดแสบปวดร้อนคลายลงและดูอาการแพ้พิษอื่นๆ และรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น

สถานภาพของแมงกะพรุนปัจจุบันเป็นที่น่าสนใจมาก แมงกะพรุนบางชนิดสามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้ และการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโลก เกิดภาวะโลกร้อน น้ำทะเลร้อนขึ้นฆ่าแหล่งอาหารของปลาอันได้แก่ Phytoplankton ชนิดต่างๆ (นอกจากเป็นอาหารแล้ว ยังแปลงคาร์บอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจนแบบเดียวกับพืชด้วย) ส่วนปลาบางพันธุ์ เช่น eelpouts และ cod  นั้นก็อาจไม่สามารถทนต่อปริมาณออกซิเจนที่ลดลงได้ จนเป็นสาเหตุให้ปริมาณของปลาเหล่านี้ลดลง ผกผันกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น แต่แมงกะพรุน (jellyfish)จะทนได้สถานการณ์นี้จึงเป็นข่าวร้ายสำหรับปลาหลายๆ ชนิด เช่น cod,salmon และอื่นๆ  เพราะนอกจากแมงกะพรุนจะแย่งอาหารปลาแล้ว ยังกินปลาเป็นอาหารด้วย ดั้งนั้นในอนาคต จ้าวทะเล น่าจะเป็นแมงกะพรุน

สำหรับมนุษย์เราควรต้องมีการปรับตัว หันมาบริโภคแมงกะพรุนเป็นอาหาร ก่อนที่แหล่งอาหารสำคัญของเราจะลดน้อยถดถอยตามไปด้วย
(“Global Warming Sunday, แมงกะพรุนจะครองทะเล” สืบค้น 26 ก.ค. 2551 : http://www.rangwan.com/category/global-warming/)

จากการศึกษาส่วนหนึ่งของนักวิจัยจาก Harvard Medical School พบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรค Arthritis (ข้ออักเสบ)  และ Bronchitis (หลอดลมอักเสบ) ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย
(“แมงกะพรุน: อาหารใหม่สำหรับประเทศตะวันตก” สืบค้น 30 ก.ค. 2551:

บรรณานุกรม
“Global Warming Sunday, แมงกะพรุนจะครองทะเล” สืบค้น 26 ก.ค. 2551:http://www.rangwan.com/category/global-warmingg
“แมงกะพรุน: อาหารใหม่สำหรับประเทศตะวันตก” สืบค้น 30 ก.ค. 2551:http://library.uru.ac.th/webdb/images/charpa_jellyfish.html
“แมงกะพรุน” สืบค้น 26 ก.ค. 2551: http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-3736.html
“เรื่องของแมงกะพรุนไฟ กับนักดำน้ำ” สืบค้น 30 ก.ค. 2551 :http://www.siamscubadiving.com/content/view.php?id=7&cat=article

ภาพประกอบ
” Jellyfish Lake”  สืบค้น 30 ก.ค. 2551 :http://www.siamscubadiving.com/board/view.php?tid=1921&PHPSESSID=0613f30111d960f86e16c581e6c8feb6
“เรื่องของแมงกะพรุนไฟ” สืบค้น 30 ก.ค.2551 :http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=18870
“แมงกะพรุนไฟ” สืบค้น 30 ก.ค. 2551 :http://mithrandia.exteen.com/20070505/part2
“แมงกะพรุนไฟ” สืบค้น 30 ก.ค. 2551 :http://summersalt.exteen.com/20080428/entry
ภาพการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยว ของเจ้าหน้าที่ โรงแรมโนโวเทล ริมเพ จ.ระยอง

ที่มา : http://www.lib.ru.ac.th/journal/jellyfish.html

แมงกะพรุนแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ แมงกะพรุนที่ใช้บริโภคและแมงกะพรุนที่เป็นพิษ

1. แมงกะพรุนที่ใช้บริโภค จากการสำรวจของ พจณา บุณยเนตร (๒๕๒๑, ๒๕๒๒) รายงานว่าแมงกะพรุนที่ถูกนำมาใช้บริโภคในอ่าวไทยมีอยู่ ๓ ชนิด คือ

1.1 แมงกะพรุนลอดช่อง (Lobonema smithii) ลำตัวใส สีฟ้า ขาว ชมพู หรือ ม่วงคราม ผิวนอกของร่มมีรยางค์คล้ายวุ้น เป็นเส้นตรงเหมือนเส้นลอดช่องสิงคโปร์ รยางค์ที่อยู่ตรงกลางใต้ร่มมีขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางร่ม ที่พบว่านำมาใช้ทำแมงกะพรุนแห้งอยู่ระหว่าง ๒๐-๕๐ เซนติเมตร

1.2 แมงกะพรุนหนัง (Rhopiloma hispidum) หรือแมงกะพรุนส้มโอ ลำตัวสีขาว หรืออาจมีจุดประสีน้ำตาล ผิวหยาบขรุขระค่อนข้างแข็งคล้ายเปลือกส้มโอ

1.3 แมงกะพรุนหอม (Mastigias sp.) ลำตัวสีน้ำตาลไหม้ ผิวนอกของร่มเป็นปุ่มนูนยาวคล้ายผิวมะกรูด

2. แมงกะพรุนที่เป็นพิษ ในอ่าวไทยยังไม่มีการจำแนกชนิดที่แน่นอน แต่ที่รู้จักกันดี คือ แมงกะพรุนไฟ (Physalia physalis Linnaeus, ๑๗๕๘) มีรูปร่างคล้ายแมงกะพรุนหนังแต่มีขนาดเล็กกว่า มีร่างกายส่วนที่เป็นร่มค่อนข้างแบนบริเวณขอบร่มบาง ส่วนที่คล้ายด้ามร่มเป็นสายพันกันไปมา และบางส่วนพองเป็นถุง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของร่มประมาณ ๓๐ ซม. และมีสีน้ำตาลอมม่วง นอกจากนี้มีแมงกะพรุนสาหร่าย และแมงกะพรุนหวี ลักษณะที่คล้ายกันของสาหร่ายพิษ คือ มีหนวดเป็นสายยาวต่อจากลำตัวหลายเส้น แต่ละเส้นยาวประมาณ ๑.๕๐ เมตร ถ้าหนวดนี้ขาดหลุดออกไปก็สามารถทำอันตรายกับผู้ที่ถูกสายนี้ได้

วิธีการจับแมงกะพรุน

เครื่องมือประมงที่ใช้ทำการประมงแมงกะพรุนมี ๒ ประเภท คือ

1. สวิงช้อนหรือตัก ลักษณะของสวิงทำด้วยเหล็กเส้นหรือแสตนเลส ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ มิลลิเมตร ขดเป็นรูปวงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๑ เซนติเมตร เชื่อมติดกับข้อต่อทำด้วยเหล็กแป็บ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔.๕ เซนติเมตร ยาว ๘-๑๘ เซนติเมตร สวมเข้ากับด้ามไม้ไผ่ยาวประมาณ ๔ เมตร ตัวตาข่ายทำด้วยอวนเบอร์ ๑๐๐ ขนาดตาอวน ๑๐ เซนติเมตร

catch

วิธีทำประมง : ชาวประมงจะออกเรือในช่วงเวลา ๐๕.๐๐-๑๕.๐๐ น. ค้นหาแมงกะพรุนที่ลอยอยู่ตามผิดน้ำ เมื่อพบจะใช้สวิงช้อนขึ้นเรือ เรือแต่ละลำใช้คน ๒-๓ คน

2. อวนลาก ลักษณะของอวนลากประกอบด้วยอวน ๒ ผืน คือผืนล่างและผืนบน นำมาเย็บตะเข็บเข้าด้วยกัน ส่วนของปีกจะยื่นเรียวยาวออกไปข้างหน้า เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการจับ บางรายใช้อวนลากกุ้งหรืออวนลากปลามาดัดแปลงโดยเปลี่ยนอวนก้นถุงให้มีขนาดตาใหญ่และยาวกว่าเดิม

วิธีทำประมง : ชาวประมง จะออกทำการประมงระหว่างเวลา ๐๕.๐๐-๑๕.๐๐ น. ค้นหาฝูงแมงกะพรุน เมื่อพบแล้วจะทำการปล่อยอวนใช้เรือลากช้าๆ เมื่อได้แมงกะพรุนจนเต็มถุงอวน แล้วจะทำการกู้อวนขึ้นเรือ เหลือไว้แต่เฉพาะส่วนถุงแมงกะพรุน แล้วผูกมัดปากถุงลากเข้าฝั่ง เพื่อนำไปขายให้แก่ผู้ประกอบ การหมักแมงกะพรุน

วิธีการผลิตแมงกะพรุนแห้ง

แมงกะพรุนแห้ง เป็นอาหารที่เมื่อนำไปแช่น้ำแล้วมีลักษณะกรอบนุ่มคล้ายเห็ดหูหนูขาว ก่อนที่จะได้แมงกะพรุนแห้งเพื่อนำมาบริโภคนั้น มีกระบวนการหลายขั้นตอนในการผลิต ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การสร้างโรงเรือนบ่อหมัก

บ่อหมักมีความจำเป็นต่อการผลิตแมงกะพรุนแห้ง ขนาดของบ่อหมักไม่ได้กำหนดแน่นอนขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ผลิต แต่โดยทั่วไปขนาดของบ่อหมักจะมีขนาด ๓x๓x๑ เมตร ทำด้วยเหล็กแป๊บน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ นิ้ว หรือใช้ไม้หน้า ๓ นิ้ว หรือไม้ไผ่ แล้วกรุด้วย ผ้าเต็นท์หรือผ้าพลาสติกที่เย็บเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากรอบบ่อ จำนวนบ่อที่สร้างต้องสร้างอย่างน้อย ๔ บ่อขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อใช้หมุนเวียนในการหมักแมงกะพรุนครั้งต่อๆ ไป ราคาค่าก่อสร้างต่อบ่อขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ถ้าทำด้วยไม้ไผ่ และกรุด้วยผ้าพลาสติกคุณภาพปานกลาง ราคาจะตกประมาณบ่อละ ๑,๒๐๐-๑,๕๐๐ บาทต่อบ่อ แต่ถ้าทุนมากและทำแบบชนิดถาวรก็จะทำด้วยเหล็กแป๊บน้ำ และกรุด้วยผ้าเต๊นท์อย่างดี ซึ่งจะใช้งานได้หลายปี ราคาก็จะตกประมาณ บ่อละ ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ บาท ปากบ่อต้องมีหลังคาหรือใช้ผ้าพลาสติกคลุมเพื่อป้องกันแสงแดดและน้ำฝน ซึ่งจะมีผลทำให้ได้การผลิตแมงกะพรุนแห้งไม่สวย

2. การหมักแมงกะพรุน

ส่วนผสมที่ใช้ในการหมักแมงกะพรุนประกอบด้วย ส่วนผสม ๓ ชนิด คือ :
– เกลือ
– สารส้มป่น
– โซเดียมไบคาร์บอเนต(NaHCO)

กรรมวิธีในการหมักมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ :

ขั้นตอนที่ 1

นำแมงกะพรุนสดมาตัดส่วนที่เป็นอกออกแยกจากกัน (อก คือส่วนของรยางค์ที่อยู่ตรงกลางใต้ร่ม) แล้วนำเฉพาะส่วนร่มไปใส่ในบ่อหมักผสมสารส้มป่นและโซเดียมไบคาร์บอเนตในอัตราส่วน ๕:๑ กิโลกรัม ต่อแมงกะพรุน ๑,๐๐๐ ตัว แล้วสาดให้ทั่วบ่อ จากนั้นจึงลงไปในบ่อคลุกเคล้าแมงกะพรุนให้ทั่วถึง ทิ้งไว้ประมาณ ๑ คืน หรือ ๑๒ ชั่วโมง

mix

หมายเหตุ : ส่วนอกที่ตัดแยกออกมานั้นเราจะไม่ทิ้ง แต่จะนำมาหมักเช่นกัน โดยนำส่วนอกที่ตัดออกมาใส่บ่อทิ้งไว้ ๑ คืน โดยไม่ต้องใส่สารใดๆ หลังจากนั้นจึงนำมาหมักในน้ำของขั้นตอนที่ ๒ เป็นเวลา ๑ คืน แล้วนำไปหมักเกลือทิ้งไว้ประมาณ ๕-๖ วัน

ขั้นตอนที่ 2

นำแมงกะพรุนที่ผ่านขั้นตอนที่หนึ่งมาแล้วมาล้างเมือกออกโดยใช้น้ำในบ่อหมัก (อย่าใช้น้ำจืดล้าง) เสร็จแล้วนำไปใส่ในบ่อถัดไป โดยวางเรียงเป็นชั้นๆ ผสม สารส้มป่นและโซเดียมไบคาร์บอเนตในอัตราส่วน ๑๐:๑ กิโลกรัม สาดให้ทั่วในแต่ละชั้น แล้วจึงสาดเกลือตามประมาณชั้นละ ๒๐ กิโลกรัม หลังจากนั้น หมักไว้ประมาณ ๒-๓ วัน

mix-2

ขั้นตอนที่ 3

นำแมงกะพรุนที่ผ่านขั้นตอนที่สองแล้วไปใส่บ่อใหม่โดยเรียงเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นสาดด้วยเกลือเพียงอย่างเดียวให้ทั่วถึง แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ ๖-๗ วัน แมงกะพรุนจะมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ สีเหลืองแกมน้ำตาลอ่อน พร้อมที่จะส่งไปจำหน่าย

mix_3

ผังขั้นตอนการทำแมงกะพรุน

step

ที่มา : www.aquatoyou.com