เห็ดหลินจือ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเห็ดหลินจือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ganoderma Lucudum
ชื่ออังกฤษ : Reishi,Ling Zhi
ชื่อท้องถิ่น : เห็ดหลินจือ,เห็ดหมื่นปี หรือ เห็ดหิมะ

ตามประวัติเห็ดหลินจือเป็นยาจีน (Chinese traditional medicine) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนมีคนนับถือมากที่สุดได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็น “เทพเจ้าแห่งชีวิต” (Spiritual essence) มีพลังมหัศจรรย์บำรุงร่างกายใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และยังสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ชาวจีนโบราณต่างยกย่องเห็ดหลินจืออย่างเหนือชั้นว่าดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน นอกจากจะมีสรรพคุณเหนือชั้นกว่าแล้วยังปลอดภัยไม่มีพิษใด ๆ ต่อร่างกาย

เห็ดหลินจือธรรมชาติสายพันธุ์ Ganoderma lucidum เกาะอยู่บนต้นไม้ปกคลุมด้วยมอสสีเขียว อาศัยอยู่ท่ามกลางบรรยากาศกลางป่าเย็นชุ่มฉ่ำ ชวนให้เพลิดเพลินเป็นสุขใจแก่ผู้พบเห็น มีลักษณะดอกคล้ายใบพัด มีก้านดั่งไม้เท้าชูดอกงามสง่า มีลวดลายงดงามเหมือนลายโบราณที่เรียกว่า“หยู่อี้” มีความหมายในทำนองสมใจปรารถนาชาวจีนโบราณต่างยกย่องให้เห็ดหลินจือเป็น เห็ดสิริมงคล เป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตและโชคลาภ ดังจะเห็นได้จากบรรดารูปปั้นกังใสหรือรูปเทพเจ้า “ฮก ลก ซิ่ว” ที่มีความหมายถึง ความเป็นสิริมงคลทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่ามีเทพเจ้าบางองค์ถือดอกเห็ดหลินจืออยู่ในมือ อุปมา ดั่งคุณธรรมอันสูงส่งแก่ผู้มีไว้ครอบครอง

เห็ดหลินจือ มีสารอาหารที่จะเจ้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้ทำหน้าที่เป็นปกติ สามารถต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ต้านการจับตัวของบิ่มเบิอด ลดน้ำตาลในเลือด ฯลฯ หลายท่านบอกว่าเป็นยาอายุวัฒนะ คือเป็นยาที่รับประทานให้ชีวิตยืนยาวและสุขภาพดี

สรรพคุณ :
โบราณกล่าวกันว่า เห็ดหลินจือทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น ใช้บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีกำลัง ทำให้ความจำดีขึ้น ทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ชัดเจนดีขึ้น ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสีหน้าแจ่มใส ชะลอความแก่ ส่วนสรรพคุณอื่นๆที่ได้รวบรวมไว้ได้แก่ รักษาและต้านมะเร็ง รักษาโรคตับ ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ ปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำ ภาวะมีบุตรยาก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคภูมิแพ้ โรคประสาท ลมบ้าหมู เส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปวดเมื่อย ปวดข้อ โรคเก๊าท์ โรคเอสแอลอี เส้นเลือดหัวใจตีบ ตับแข็ง ตับอักเสบ ปวดประจำเดือน ริดสีดวงทวาร อาหารเป็นพิษ แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ และความเชื่อดังกล่าวยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

เห็ดหลินจือ คือราชาสมุนไพรอันวิเศษ ที่มีประสิทธิภาพสูง มีเกียรติประวัติอันยาวนาน มากด้วยสรรพคุณมากกว่าสมุนไพรใดๆ เป็นยาอายุวัฒนะที่มีประสิทธิภาพสูงช่วยทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายเกิดความสมดุลตามธรรมชาติ โดยเฉพาะระบบทั้ง 3 ของร่างการ ได้แก่

– ระบบทางเดินอาหาร
โรคกระเพาะอักเสบ – ลำไส้อักเสบ – ทางเดินอาหารอักเสบเรื้อรัง – อาหารเป็นพิษ – สารพิษตกค้าง – ร่างกายมีกรด – เบื่ออาหาร – ท้องผูก – ริดสีดวงทวาร

– ระบบทางเดินหายใจ
โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง – ไข้หวัด – หืดหอบ – ภูมิแพ้ – อาการไอ – ริดสีดวงจมูก

– ระบบไหลเวียนโลหิต
โรคที่เกิดจากคอเลสเตอรอลในเลือดสูง – เส้นเลือดอุดตัน – หลอดเลือดแข็งตัว – ความดันโลหิตสูง – ความดันโลหิตต่ำ – โรคเบาหวาน – โรคหัวใจ – รอบเดือนไม่ปกติ

– โรคมะเร็งมะเร็ง
เนื้องอก

– โรคปวดหัวข้างเดียว
โรคเครียด – นอนไม่หลับ – ผิวแตกมีน้ำเหลือง – นิ่ว – สิว – ฝี

– เป็นแผล ภายใน-นอก
โรคเก๊าท์ – มีบุตรยาก – อัมพาต – อัมพฤกษ์ – โรคจิตอย่างอ่อน – ริดสีดวงจมูก – โลหิตจาง – ปวดในข้อ – เท้าเปื่อย (ฮ่องกงฟุต) – คางทูม – คอพอก

– พิษสุราเรื้อรัง
หลังผ่าตัด – หลังคลอด – โรคบวมน้ำ – โรคอ้วน

– โรคอื่นๆ
โรคตับอักเสบ – โรคไตอักเสบ – การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ – โรคประสาท – ลบบ้าหมู

ผู้ที่รับประทานเห็ดหลินจือ จะพบว่าร่างกายมีสภาพภูมิคุ้มกันภายในร่างกายดีขึ้น ตัวอย่าง เช่น กรณีที่ผู้ป่วยที่ต้องฉายรังสี และใช้สารเคมีบำบัด ปกติจะมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก เมื่อมีการใช้เห็ดหลินจือรักษาควบคู่ไปด้วย อาการข้างเคียงหรืออาการแพ้จะลดลง หรือไม่เกิดอาการ

การใช้เห็ดหลินจือเพื่อบริโภค

สำหรับการรับประทานเห็ดหลินจือที่เป็นดอกแห้ง มักจะฝานให้เป็นแผ่นบางๆ เสียก่อนเพื่อให้สารออกฤทธิ์ละลายตัวได้ดี แต่อาจจะสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ขนาด 1×1 หรือจะบดเป็นผงเลยก็ได้ รูปแบบที่ใช้ก็อาจต้มแช่ในน้ำหรือดองเหล้า โดยการแพทย์แผนจีนแนะนำให้ใช้เห็ดแห้งในปริมาณวันละ 1.5-9 กรัม แพทย์ญี่ปุ่นให้ใช้วันละ 2-10 กรัม ใช้น้อยเมื่อต้องการเพียงบำรุงร่างกายใช้ขนาดปานกลางเมื่อยามเจ็บป่วย และใช้มากเมื่อป่วยหนัก การใช้เห็ดเพื่อบริโภคมีหลายวิธี สามารถเลือกได้ตามต้องการหรือตามความชอบของแต่ละคนได้แก่

1. การรับประทานเป็นอาหาร ใช้เห็ดแห้งหนัก 1.5-9 กรัม ตุ๋นกับหมู ไก่ ปลา เนื้อสัตว์หรือต้มกับผักที่ต้องการ แต่ไม่ต้องรับประทานเนื้อเห็ด

2. สำหรับผู้ที่ชอบดื่มเป็นยาดองเหล้า ใช้เห็ดแห้ง 20-30 กรัม ดองเหล้าขาว 100-150 ซี.ซี ทิ้งไว้ 15 วัน ดื่มครั้งละ 10 ซี.ซี วันละ 2-3 เวลา

3. การต้มเพื่อใช้บำรุงร่างกายที่นิยมใช้ทั่วไปในประเทศไทย ใช้เห็ดแห้ง 2-30 กรัม จะมากหรือน้อยตามต้องการ ใส่น้ำ 1-2 ลิตร ต้มให้เดือดแล้วหรี่ไฟ เคี่ยวต่อ 10-15 นาที แบ่งดื่มให้หมดใน 1-2 วัน

4. ตามตำรับการต้มยาจีน ใช้เห็ดแห้ง 20-30 กรัม เติมน้ำให้ท่วมเห็ดเล็กน้อย ทิ้งไว้ให้ตัวยาละลาย 20 นาที ต้มให้เดือดนาน 10 นาที จึงหรี่ไฟ เคี่ยวต่ออีก 20 นาที แบ่งดื่มวันละ 2-3 เวลาให้หมดใน 3-7 วัน

5. การใช้ระบบต้ม 2 ครั้ง มีการอธิบายไว้สำหรับเห็ดหลินจืออย่างดีที่เพาะปลูกจากมณฑลจี้หลิน ประเทศจีนและส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยใช้เห็ดแห้ง 25 กรัม เติมน้ำ 600 ซี.ซี หรือ 3 ถ้วย ต้มจนเดือด แล้วหรี่ไฟเคี่ยวต่ออีก 10 นาที เทหรือกรองเฉพาะน้ำเห็ดออก ใส่ภาชนะใหม่ เติมน้ำเพิ่มอีก 400 ซี.ซี ต้มครั้งที่สองให้เดือดแล้วหรี่ไฟ เคี่ยวต่ออีก 10 นาที เหมือนต้มครั้งแรกแบ่งดื่มเวลาใดก็ได้ ให้หมดใน 3-7 วัน

6. ใช้เห็ดแห้งตามต้องการหรือกากเห็ดที่เหลือใช้ ใส่น้ำให้มาก ต้มดื่มเหมือนน้ำชา

การต้มเห็ดให้ได้สารออกฤทธิ์มากที่สุด จะต้องต้มจนถึงจุดเดือดเท่านั้น ถ้าต้มจนเดือดได้นานถึง 20 นาที แล้วจึงหรี่ไฟ เคี่ยวต่อด้วยไฟอ่อนก็จะเป็นการดี ถ้าต้มไม่เดือดหรือเพียงนำเห็ดแช่หรือชงในน้ำร้อนเหมือนชาชาก็จะได้สารละลายที่มีประโยชน์ไม่เพียงพอ

น้ำเห็ดที่ได้จากการต้มจะมีรสขม อาจเติมน้ำให้เจือจาง หรือผสมน้ำผึ้งน้ำตาลให้ออกรสหวาน น้ำเห็ดที่เหลือสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้หลายวัน ไขที่ลอยเป็นฝ้าเป็นโปรตีนที่มีประโยชน์ ให้ดื่มปนไปกับน้ำเห็ดได้ อาจจะดื่มขณะเย็นหรืออุ่นใหม่ หรือใช้น้ำเห็ดผสมในน้ำแกง น้ำชาก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทิ้งกากเห็ดที่เหลือ ให้ต้มซ้ำได้อีกจนน้ำใส จึงนำไปผสมอาหารสัตว์ หรือทำปุ๋ย

7) เห็ดหลินจือสกัดชนิดเม็ดและแค็ปซูล บรรจุหลายขนาด ทั้ง 150, 225, 240, 300, 350 และ 500 มิลลิกรัม (mg) กรรมวีในการสกัดมีหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่สกัดด้วยน้ำ คุณภาพอาจแตกต่างกันตามความสามารถและเทคนิคของผู้ผลิต ก่อนจะใช้ต้องแน่ใจว่าเป็นเห็ดสกัด ไม่ใช่เป็นเห็ดดิบตากแห้งนำมาบดเป็นผลโดยไม่ได้ผ่านการต้มหรือใช้สารละลายที่เหมาะสมสกัดมาก่อน เพราะเห็ดดิบให้ประโยชน์ได้ไม่มากนัก สำหรับวิธีใช้โดยทั่วไป จะใช้ในปริมาณรวมวันละ 150-900 มิลลิกรัม ในกรณีป่วยหนัก อาจใช้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว การให้ยาแบ่งเป็นวันละ 1-3 เวลา ก่อนอาหาร หลังอาหาร หรือ ก่อนนอน การให้ในขณะท้องว่าง ลำไส้จะดูดซึมสารสกัดเห็ดได้ดีที่สุด

8) เห็ดหลินจือที่เป็นรูปแบบอื่น ยังมีอีกหลายชนิด มีวิธีใช้ตามสลากกำกับของผลิตภัณฑ์นั้นๆ แต่ยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันสรรพคุณอย่างเด่นชัด ผู้บริโภคจึงควรพิจารณาให้ดีเสียก่อน

เมื่อเริ่มบริโภคเห็ดใหม่ๆ อาจมีอาการถ่ายท้องเล็กน้อยเพราะยังไม่เคยชิน แพทย์แผนโบราณอธิบายว่าเป็นเสมือนการขับพิษหรือสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ออกไปจากร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และอาจมีอาการคอแห้ง แต่มักจะเป็นอยู่ออกไปจากร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และอาจมีอาการคอแห้ง แต่มักจะเป็นอยู่สองสามวันก็หายไป ส่วนบางรายอาจมีผื่นคันบวมซึ่งอาจเป็นเพราะเห็ดไม่บริสุทธิ์ ให้แก้ไขด้วยการหยุดรับประทาน ดื่มน้ำสะอาดให้มาก และรับประทานยาแก้แพ้ เช่น คลอเฟนิรามีน ขนาดเม็ดละ 4 มิลลิกรัม ครั้งละ 1/2 – 1 เม็ด ให้ซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง ส่วนเห็ดที่มีคุณภาพดี มักไม่มีอาการผิดปกติ ถ้าหากกังวลว่าจะรับยาไม่ได้ ควรเริ่มต้นในขนาดเจือจาง หรือวันละ 1 เม็ด/แค็ปซูล แล้วค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้น หรือปริมาณขึ้นทีละน้อย สำหรับผลต่อร่างกาย ก็อาจจะรู้สึกดีขึ้นเร็วภายในสัปดาห์แรก หรืออาจยืดเวลาออกไป จึงต้องมีความอดทนแต่บางรายก็อาจไม่รู้สึกว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง ผู้ใช้จึงต้องประเมินผลด้วยตนเอง

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้เห็ดหลินจือขึ้นทะเบียนเป็นอาหารชนิดหนึ่ง การจะใช้เป็นยารักษาโรคยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา การค้าขายในลักษณะของยาและการเผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือสื่อใดๆ ที่เป็นการโฆษณา หรือระบุถึงสรรพคุณในการบำรุงร่างกายหรือการรักษาโรคจะต้องได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเสียก่อนอย่างไรก็ตามผู้สนใจจะใช้เห็ดหลินจือเพื่อแก้ปัญหาความเจ็บป่วยหรือการส่งเสริมสุขภาพก็สามารถกระทำได้ แต่ก็ควรจะศึกษารายละเอียดของสรรพคุณให้ดีว่าเหมาะสมกับร่างกายของตนเองหรือไม่ ได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดถูกต้องแล้วหรือยัง หากมีข้อสงสัยก็ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญได้ ไม่ควรคิดว่าเห็ดหลินจือเป็นยาเทวดา ที่จะบำบัดรักษาได้ทุกโรคหรือต้องทำให้ร่างกายแข็งแรงมีกำลังวังชาขึ้นได้อย่างทันตาเห็นเสมอไป อย่างไรก็ตามเห็ดหลินจือก็มีข้อดีที่ไม่มีพิษไม่มีภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายและสามารถใช้ร่วมกับการรักษาอย่างอื่นได้ โดยเฉพาะถ้าได้มีโอกาสใช้ร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันก็จะเป็นการสนับสนุนการแพทย์ชนิดผสมผสานที่สามารถใช้สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

 

ganoderma

น้ำเห็ดหลินจือ

ทำง่ายและราคาถูก กว่าที่ซื้อมาก หาซื้อแบบฝานเป็นชิ้นตากแห้ง ได้ตามร้านขายสมุนไพรและร้านขายเครื่องยาจีน ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งก็มือขายในแผนกอาหารและยา

ส่วนผสม :

เห็ดหลินจือแห้ง 6 กรัม (ประมาณ 10 ชิ้น)
น้ำสะอาด 2 ลิตร (หรือมากกว่า)

วิธีทำ :
1. นำเห็ดหลินจือแห้ง และน้ำสะอาด ใส่ลงในหม้อเคลือบ หรือหม้อดิน
2. ยกขึ้นตั้งไฟ ต้มจนเดือด แล้วหรี่ไฟลงพอให้น้ำยังเดือดปุดๆ ต้มต่อไปอีกประมาณ 15-20 นาที ยกลง
3. ตั้งทิ้งไว้เย็นพอดื่มได้ คือประมาณ อุ่นเล็กน้อย (ประมาณ 37-38 องศาเซลเซียส) จะทำให้สารออกฤทธิ์ทำงานได้ดี และสามารถดื่มแทนน้ำได้โดยไม่ต้องแช่เย็น

ขอบพระคุณที่มา :
http://202.129.59.73/nana/frwater/ganoderma.htm
http://www.thinentry.com/ganoderma/consumption.html