ผมเคยเขียนเรื่องท่านอิกคิว ไว้นานโขและสัญญากับท่านหนึ ่งว่าจะเขียนประวัติยาวๆ อย่างละเอียด ล่าสุดเขียนเรื่องชนช้ันบุร ะคุมิน คุยกับผุ้อ่านท่านหนึ่งว่า เคยอ่านมังงะเรื่องของอิกคิ ว มีตอนหนึ่งที่ท่านไปคลุกคลี กับชนชั้นล่างในสังคม ซึ่งเป็นช่วงออกจากวัดหลวงไ ปฝึกเซนกับท่านเคนโอใหม่ๆ ตอนนี้จะเขียนเรื่องท่าอิกค ิวยาวๆ เสียที
ท่านอิกคิว โซจุน เป็นพระโอรสของจักรพรรดิโกะ โคะมัตสึ กับพระสนมจากตระกูลฟุจิวะระ ซึ่งเป็นสกุลทรงอิทธิพลทางก ารเมือง พระสนมเป็นคนโปรดขององค์จัห รพรรดิ ยังความริษยาแก่องค์จักรพรร ดินี จึงใส่ความพระสนมว่าเอนเอีย งเข้าข้างราชสำนักฝ่ายใต้ จนถูกขับออกจากราชสำนัก ไปอยู่อย่างสามัญชน เรื่องนี้ต้องเท้าความก่อนว ่า รัชสมัยของจักรพรรดิโกะโคะม ัตสึคาบเกี่ยวกับยุคนัมโบคุ โจ หรือยุคราชวงศ์เหนือใต้ ซึ่งราชสำนักเกิดการชิงอำนา จ มีผู้อ้างราชบัลลังก์ 2 ฝ่าย คือฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ เกิดศึกสงครามบ่อยครั้ง ครั้นถึงยุคของโกะโคะมัตสึ ราชสำนักฝ่ายใต้ยินยอมสละอำ นาจ ทำให้ญี่ปุ่นมีราชสำนักเพีย งแห่งเดียว แต่ความขัดแย้งทางการเมืองก ็ยังคงมีอยู่ และทำให้อิกคิวกับมารดาต้อง กลายเป็นสามัญชน
ใครดูการ์ตูนสมัยก่อนคงคุ้น กันดีว่า ท่านอิกคิวถูกส่งไปบวชที่วั ดอังโคะคุจิ ในเกียวโต ซึ่งเป็นความจริงในประวัติศ าสตร์ แต่ในการ์ตูนไม่ได้บอกว่าชี วิตของอิกคิวที่วัดอังโคะคุ ตจินั้นไม่ได้โลกสวยผ่องใสเ หมือนในการ์ตูน ประการแรก อิกคิวคงไม่อยากจะบวชเท่าไร นัก แต่เป็นธรรมเนียมของชนชั้นส ูงที่จะต้องส่งบุตรไปบวชเรี ยน เพื่อไต่เต้าขึ้นมาครองวัดค รองนิกาย นัยว่าเป็นการรวบอำนาจของชน ชั้นสูงทั้งทางโลกทางธรรม มารดาของท่านยังส่งไปบวชก็เ พื่อให้ปลอดภัยจากการคุกคาม ของผู้ไม่หวังดีจากราชสำนัก ดังนั้นการบวชของท่านที่วัด อังโคะคุจิจึงไม่พึงปรารถนา นัก
ที่สำคัญในยุคนั้นการเสพสัง วาสในพระอารามเป็นเรื่องแพร ่หลายและปฏิบัติกันทั่วไป นับตั้งแต่ยุคเฮอังแล้วที่เ จ้าวัดจะเลี้ยงเด็กชายหน้าต าดีๆ ไว้คอยรับใช้ (เมืองไทยเราเรียกลูกสวาท) ในหมู่พระเณรก็เล่นสวาทกันเ ป็นเรื่องธรรมดา อิกคิวก็เช่นกันได้เรียนรู้ การเล่นสวาทกับชายที่วัดแห่ งนี้ และยังได้เขียนเพลงยาวบอกรั กระหว่างคนหนุ่มไว้จำนวนหนึ ่ง (ท่านใดสนใจเรื่องเหล่านี้ ผมแนะนำให้อ่านหนังสือเรื่อ ง The Red Thread: Buddhist Approaches to Sexuality ท่านจะได้รับความกระจ่างมาก ขึ้น)
ชีวิตของอิกคิวในวัดอังโคะค ุจิไม่สู้ดีนัก แม้จะมีปัญญาหลักแหลมเหมือน ในการ์ตูนก็จริง แต่สังคมที่อยู่เต็มไปด้วยค วามฉ้อฉล พระชั้นผู้ใหญ่อวดมั่งอวดมี อวดยศช้างขุนนางพระ จนท่านเอ่ยปากว่าที่อังโคะค ุจิเป็นสถานทีอันไร้ยางอาย อีกทั้งท่านยังแสวงหาอาจารย ์สอนเซน จึงตัดสินใจออกมาแล้วฝากตัว เป็นศิษย์กับท่านเคนโอ เพราะเลื่อมใสที่ท่านผู้นี้ อยู่เพียงลำพังในวัดโทรมๆ คอยช่วยเหลือคนชั้นล่าง ที่ถูกเหยียดหยามและถูกกดขี ่อย่างหนักจากพวกคนชั้นสูง แม้นตัวท่านเองมีเลือดขององ ค์จักรพรรดิ แต่เพราะได้ร่ำเรียนกับอาจา รย์เคนโอ จึงซึมซับเอาความเห็นอกใจคน ชั้นล่างเอาไว้มาก
ทว่า ไม่นานนัก ท่านเคนโอมรณภาพ โดยไม่ได้สอนอะไรมากนัก อิกคิวอยังรู้สึกท้อใจจนคิด ฆ่าตัวตาย แต่ต่อมาคิดได้แล้วไปฝากตัว กับท่านคะโซ แต่สำนักท่านคะโซเข้มงวดดุด ันมาก นอกจากทำงานหนักแล้ว ต้องปฏิบัติธรรมอย่างหนัก อาหารน้อย นอนก็น้อย แต่ด้วยแรงกดดันสารพัดเหล่า นี้ ทำให้ อิกคิวได้ดวงตาเห็นธรรมในที ่สุด ระหว่างปฏิบัติธรรมนอกสำนัก บนเรือกลางทะเลสาบบิวะ ท่านคะโซ ผู้เป็นอาจารย์ถึงกับมอบสาร ตราตั้งให้เป็นธรรมทายาท แต่อิกคิวโยนตราตั้งลงกับพื ้นแล้วหันหลังจากไป ท่านคะโซรำพึงว่า “อิกคิวเป็นธรรมทายาทของเรา แต่วิสัยโผงผาง”
หลังจากนั้น ท่านอิกคิวออกจาริกไปทั่ว คลุกคลีกับคนจรจัด พวกยาจก คนอนาถา เป็นที่รักของพวกคณิกา เพราะท่านมักเข้าออกโรงหญิง งามเมืองอยู่บ่อยๆ เพราะเหตุนี้คนจึงมองว่าท่า นสติไม่ดี ตัวท่านเองเรียกตัวเองว่า “เคียวอุน” หรือ “เมฆาคลั่ง” หมายถึงคนบ้าที่ล่องลอยเป็น อิสระราวกับเมฆ ด้วยความที่ท่านรักคนชั้นล่ างมาก ท่านจึงมักช่วยเหลือคนเหล่า นี้อยู่บ่อยๆ เพราะท่านเองก็เป็นที่ศรัทธ าของพวกพ่อค้า (ซึ่งก็ถือเป็นชนชั้นล่างเห มือนกัน) เมื่อท่านได้เงินจากพวกพ่อค ้า ท่านจะนำมาแจกคนยากจนอยู่เส มอ และท้าทายพวกเจ้าที่ดินชนชั ้นสูงที่ชอบกดขี่ขูดรีดภาษา ชาวนาชาวไร่อยู่บ่อย
แม้จะคลุกคลีกับคนยากจน ที่ท่านมีฝีมือทางศิลปะและว รรณศิลป์ชั้นสูง เขียนบทกวีไว้นับพันๆ บท หลายบทกวีมิใช่ทางธรรม แต่เป็นสาส์นรักระหว่างท่าน กับหญิงคณิกา โดยเฉพาะคณิกาที่ชื่อจิโกคุ ดะยู ที่ถือกันว่าเป็นคู่รักของท ่านอิกคิว (แต่ผู้เขียนเชื่อว่าน่าจะเ ป็นคู่บารมีโพธิสัตว์) คณิกานางนี้บรรลุธรรมหลังจา กได้ปรนนิบัติท่านอิกคิว หลังจากนั้นนางจะแต่งกายด้ว ยกิโมโนลายภาพผีนรกหรือผีเป รต เพื่อแสดงถึงหลักอนิจจัง ผู้คนจึงเรียกนางว่า จิโกะคุ (นรก) ดะยู (คณิกา)
ที่ท่านเสพสังวาสไปทั่ว เข้าหอนางโลม มอบรักนางคณิกา ท่านว่าการสังวาสคือการเข้า ถึงธรรม
แม้จะประพฤตินอกลู่นอกทาง แต่ผู้คนเชื่อว่าท่านมีภูมิ ธรรมสูง ในเวลาต่อมาจึงอาราธนาให้ท่ านมาเป็นเจ้าอาวาสหลายแห่ง แต่ท่านอยู่ไม่ติดที่สักแห่ ง มาปักหลักที่วัดไดโตะคุจิ เอาในช่วงปลายชีวิตโดยที่ท่ านไม่ค่อยอยากจะรับนัก แต่ก็รับมาและถือเป็นบูรพาจ ารย์สำนักเซนเห็นไดโตะคุจิน ับแต่นั้น ท่านมรณภาพในปีพ.ศ. 2025 รวมอายุ 87 ปี
เรื่องภูมิธรรมของท่านอิกคิ วและพฤติกรรมของท่านั้นยังเ ป็นปริศนา ชาวพุทธฝ่ายเถรวาทย่อมมองว่ าเป็นเรื่องยากจะรับได้ แม้แต่ฝ่ายมหายานเช่นในจีนแ ละเกาหลีเองก็ไม่อาจรับได้ สำนักเซนญีปุ่นบางแห่งก็รับ ไม่ได้ เพราะท่านเล่นเสพสังวาสทั้ง หญิงทั้งชาย เขียนเพลงยาวแสดงรักและอาลั ยอยู่ไม่น่อย แต่นี่เป็นลักษณะพิเศษของพุ ทธศาสนาในญี่ปุ่นที่มีความย ืดหยุ่น (หรือหย่อนยาน) มาก อย่างไรก็ตาม บางท่านเทียบว่า พฤติกรรมของอิกคิวคล้ายกับจ ริยาของคุรุฝ่ายวัชรยานมากก ว่าจะเป็นเซน ซึ่งก็น่าคิดอยู่ไม่น้อย
ถ้าคิดจะเข้าใจท่านอิกคิว บางทีลิขิตฉบับสุดท้ายของมา รดาอาจช่วยขความกระจ่างได้ ในปัจจฉิมลิขิตนั้นพระสนมสอ นว่า
” … คำสอนของพระพุทธองค์ก็เพื่อ ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้รู้ แจ้งเห็นจริง หากลูกยึดติดกับวิธีการใดวิ ธีการหนึ่ง ลูกก็ไม่ผิดอะไรกับสัตว์ตัว น้อยที่หลงงมงายในอวิชชา พระพุทธรรมนั้นมีถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ หากลูกศึกษาทั้งหมดแล้วยังไ ม่พบพุทธภาวะในตัวเอง ลูกก็จะไม่เข้าใจอะไร แม้แต่ความนัยของจดหมายฉบับ นี้ นี่คือความตั้งใจและคำกล่าว สุดท้ายของแม่ … ”
อาจเป็นเพราะคำสั่งเสียของม ารดา ทำให้ท่านเลือกที่จะใช้วิธี ที่ประหลาดในการสอนธรรมะก็เ ป็นได้
*ภาพอิกคิวใช้ไม้เท้าชูหัวก ะโหลกหยอกล้อคณิกาจิโกคุดะย ู ภาพพิมพ์แกะไม้ของโยชิโทชิ ปีคศ. 1886 สมบัติของพิพิธภัณฑ์ LACMA
ที่มา : Kornkit Disthan
Like this: Like Loading...