ความเป็นมาและจุดจบ เบนิโต มุโสลินี

10647198_1458439007764045_2768353455916148671_n   10403037_1458438744430738_8564441868075892409_n

29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 วันเกิด เบนิโต มุสโสลินี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) ผู้สถาปนาลัทธิ “ฟาสซิสม์” (Fascism) นายกรัฐมนตรีและผู้นำจอมเผด็จการของอิตาลี เกิดในครอบครัวที่ยากจนในเมืองเปรแดปปิโอ (Predappio) แคว้นเอมิเลีย-โรแมกนา (Emilia-Romagna) ทางตอนเหนือของอิตาลี มารดาเป็นครู บิดาเป็นช่างเหล็กที่เลื่อมใสลัทธิสังคมนิยม ตอนแปดขวบเขาถูกไล่ออกจากโบถส์เพราะแกล้งผู้อื่น จากนั้นถูกส่งเข้าโรงเรียนประจำแต่ก็ถูกไล่ออกเพราะทำร้ายร่างกายนักเรียนคนอื่นและครู ตอนอายุ 19 ปีเขาหนีหนารโดยย้ายไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำงานไมเป็นหลักแหล่งจนถูกจับในข้อหาคนจรจัด ในที่สุดก็ต้องกลับบ้านเกิดไปเกณฑ์ทหาร ต่อมาเขาเข้าเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมของอิตาลี (Italian Socialist Party) เป็นหนึ่งในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ของพรรคคือ “L’Avvenire del Lavoratore” (อนาคตของกรรมาชีพ) เขาเขียนนิยายเรื่อง “Claudia Particella, l’amante del cardinale” (The Cardinal’s Mistress) ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในปี 2453 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (2457-2462)

ในฐานะกระบอกเสียงคนสำคัญของพรรคสังคมนิยม เขาพยายามผลักดันให้พรรคเห็นด้วยกับฝ่ายรัฐบาลในการเข้าร่วมสงคราม ในที่สุดก็ถูกขับออกจากพรรค เขาถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารและได้รับบาทเจ็บเพียงเล็กน้อย หลังสงครามสงบลง มุสโสลินีก็สถาปนาลัทธิฟาสซิสม์ขึ้นที่เมืองมิลานเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2461 โดยได้รับอิทธิพลจาก ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ปีต่อมามุสโสลินีก่อตั้ง “พรรคฟาสซิสม์” (National Fascist Party) ขึ้นที่กรุงโรม เพื่อเตรียมกองกำลังปฏิวัติอิตาลีในปี 2465 เปลี่ยนอิตาลีเป็นรัฐฟาสซิสม์ และก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2465 ประชาชนผู้เลื่อมใสต่างเรียกเขาว่า “il Duce” (ท่านผู้นำ) จากนั้นเขาก็สถาปนาตนเองเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ บังคับให้ยกเลิกระบบรัฐสภา แทนด้วย “รัฐบรรษัท” (Corporate State) รวบอำนาจอย่างเป็นทางการ จัดตั้งรัฐวาติกัน ยึด อบิสซีเนีย (เอธิโอเปียปัจจุบัน) เป็นเมืองขึ้นในปี 2479 พร้อมกับเข้าร่วมกับฝ่าย นายพลฟรังโก (Francisco Franco) ใน สงครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) และผนวก อัลบาเนีย (Albania) เป็นส่วนหนึ่งของอิตาลี ปี 2483 เขานำอิตาลีเข้าร่วมฝ่าย “อักษะ” (Axis Power) ของฮิตเลอร์ ผู้นำนาซีเยอรมันในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 (2482-2488) หลังจากพ่ายแพ้ในสงครามอย่างต่อเนื่อง มุสโสลินีก็ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้นำอิตาลีในปี 2486 เขาถูกควบคุมตัวอยู่ในเคหสถาน จากนั้นหน่วยคอมมานโดของเยอรมันบุกชิงตัวออกมาได้ ฮิตเลอร์ช่วยจัดตั้งรัฐบาลหุ่นให้เขาที่เมืองซาโล (Salo) เขตยึดครองของเยอรมนีริมทะเลาสาบการ์ดา (Garda Lake) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบ มุสโสลินีก็ถูกฝ่ายต่อต้านเผด็จการจับกุมตัวได้ในปี 2488 ถูกสำเร็จโทษในวันที่ 28 เมษายน 2488 แล้วนำศพของเขาไปแขวนประจานที่เมืองโคโมและเมืองมิลาน ทั้งนี้ “ฟาสซิสม์” คืออุดมการณ์ทางการเมืองที่เชิดชูอำนาจของผู้นำและลัทธิชาตินิยม โดยผู้นำจะรวบอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมไว้อย่างเบ็ดเสร็จ ฟาสซิสม์เชื่อว่ารัฐมีความสำคัญกว่าปัจเจกบุคคล จึงสนับสนุนให้ประชาชนอุทิศตนเพื่อชาติเหนือสิ่งอื่นใด ประชาชนจึงต้องทำงานเพื่ออุทิศแก่รัฐ ฟาสซิสม์มีแนวคิดแบบทหารขวาจัด ดูถูกประชาธิปไตย แต่ชิงชังคอมมิวนิสต์ เคยเฟื่องฟูในช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้ง เริ่มเสื่อมความนิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟาสซิสม์เคยมีอิทธิพลในหลายประเทศ เช่น อิตาลี สเปน เยอรมนี ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

10593076_1458438621097417_241873438678263550_n

ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 World War II : การสู้รบที่เกิดจากความขัดแย้งทั่งโลกระหว่างมหาอำนาจพันธมิตรกับมหาอำนาจอักษะ ตั้งแต่ปี 1939 จนถึงปี1945 สงครามครั้งนั้นยุติลงโดยชัยชนะเป็นของฝ่ายพันธมิตร) ใกล้อุบัติ มุสโสลินีประกาศเจตนาอันชัดแจ้งของเขาในการผนวกดินแดนของมอลตา, กอร์สีกา และตูนิส ขณะเดียวกันเขาก็พูดถึงการสร้าง “จักรวรรดิโรมันใหม่” หรือ “จักรวรรดิอิตาลี” ที่จะแผ่อาณาเขตด้านตะวันออกไปถึงปาเลสไตน์และด้านใต้ไปทั่วลิเบีย อียิปต์ และเคนยา เมื่อเดือนเมษายน 1939 หลังสงครามอุบัติขั้นไม่นาน เขาผนวกเอาดินแดนแอลเบเนียมาเป็นของอิตาลี มุสโสลินีประกาศถึงการคงสถานะไม่เป็นประเทศคู่สงครามกับประเทศใดในความขัดแย้งที่ใหญ่หลวงขึ้นทุกขณะ อยู่จนกรทั่งเขาแน่ใจว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะ
10 มิถุนายน ค.ศ. 1940 มุสโสลินีประกาศสงครามกบอังกฤษและฝรั่งเศส 28 ตุลาคม ค.ศ. 1940 มุสโสลินีโจมตีกรีซ แต่หลังจากประสบชัยชนะในรยะแรกเริ่มได้ไม่นาน กองทัพอิตาเลียนก็ถูกการตีโต้อย่างไม่ระย่อของทหารกรีก ถูกบีบให้ถอยร่นจนต้องสูญเสียพี้นที่ครอบครองในแอลเบเนียถึงหนึ่งในสี่ จนกระทั่งฮิทเลอร์ถูกบังคับให้ต้องกระโดดเข้าช่วยเขาโดยการโจมตีกรีซ เดือนมิถุนายน ค.ศ.1941 มุสโสลินีประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต
ปี ค.ศ. 1943 หลังความปราชัยของอักษะในแอฟริกาเหนือ นานาอุปสรรคที่แนวรบด้สนตะวันออกและการยกพลขึ้นบกของอังกฤษอเมริกันที่เกาะสีศีลีหรือซิซิลี เพื่อนร่วมงานคนสำคัญของมุสโสลินี (รวมทั้งเคาน์ท กาเลอัซโซ ชีอาโน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและบุตรเขยของเขา) หันมาต่อต้านเขาในที่ประชุมสภาใหญ่ฟาสซิสต์
เมื่อ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 พระเจ้าวิตตอรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้มุสโสลีนีเข้าเฝ้าและปลดอำนาจอนล้นหลามของผู้เผด็จของเขา หลังจากออกจากพระราชวัง มุสโสลินีถูกจับกุมโดยทันที
เขาถูกส่งตัวไปยังกราน สัสโสที่พักตากอากาศบนภูเขาในภาคกลางของอิตาลี อันเป็นการโดดเดี่ยวและตัดขาดจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิง
ตำแหน่งของมุสโสลินีถูกแทนที่โดยจอมพลแห่งอิตาลี ปีเอโตรบาโดกลีโอ (28 กันยายน 1871 – 1 พฤศจิกายน 1956 ; ทหารและนักการเมืองคนสำคัญ) ผู้ประกาศตนอย่างเฉียบพลันด้วยสุนทรพจน์ที่มีชท่อเสียง “สงครามดำเนินต่อไปโดยเคียงข้างพันธมิตรเยอรมนีของเรา” แต่ทว่าเป็นการดำเนินการเจรจาเพื่อการยอมจำนนแทน โดย 45 วันถัดมา (8 กันยายน) บาโดกลีโอได้ลงนามเพื่อการสงบศึกกับกองทัพฝ่ายพันธมิตร บาโดกลีโอ เอมานูเอลที่ 3 กลัวการแก้แค้นของเยอนรมัน จึงพากันหลบหนีออกจากกรุงโรม ปล่อยให้กองทัพอิตาเลียนทั้งหมดตกอยู่ในภาวะไร้ระเบียบ หลายหน่วยถูกตีแตกกระจัดการจายอย่างง่ายดาย บางหน่วยก็หนีไปตั้งอยู่ในเขตควบคุมของพันธมิตร มีอยู่เพียงไม่กี่หน่วยที่ตัดสินใจเริ่มทำสงครามกู้ชาติต่อต้านนาซี และอีกไม่กี่หน่วยไม่ยอมเปลี่ยนข้าง และยังคงเป็นพันธมิตรที่เหนียวมั่นกับกองทัพเยอรมัน

ไม่กี่วันต่อมา มีการช่วยชีวิตซึ่งวางแผนลักพาตัวโดยพลเอกคูร์ท ฌทูเดินท์(12 พฤษภาคม 1890 – 1 กรกฎาคม 1978 แม่ทัพแห่งกองทัพอากาศเยอรมนีนาซี ผู้นำการต่อสู้ทางภาคอากาศที่แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่ 1 และผู้บัญชาการทหารพลร่มระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ) และปฏิบัติการโดยออทโท สคอร์เซนี มุสโสลินีจึงประกาศสถาปนาสาธารณรัฐสังคมแห่งอิตาลี รัฐบาลฟาสซิสต์ในตอนเหนือของอิตาลี ในห้วงนี้เข้าพำนักที่การ์ญาโน แต่ก็ตกอยู่ในสภาพของหุ่นเชิดภายใต้การคุ้มครองของบรรดาผู้ปลอดปล่อยชาติของเขาเท่านั้น ใน “สาธารณรัฐสาเลาะ” นี้ มุสโสลินีหวนกลับไปสู่ความคิดดั่งเดิมของเขาเกี่ยวกับสังคมนิยมและการรวมหมู่ เขายังประหารชีวิตผู้นำฟาสซิสต์ที่ทิ้งเขาไป รวมทั้งบุตรเขยของเขาเอง

บ่ายวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1945 ใกล้หมู่บ้านดอนโก (ทะเลสาบโกมา) ก่อนที่กองทัพพันธมิตรเคลื่อนทัพถึงมีลาโน ขณะที่พวกเขามุ่งหน้าสู่กีอาเวนนาเพื่อขึ้นเครื่องบินหนีไปยังสวิตเซอร์แลนด์ มุสโสลีนีกับภริยาลับของเขา กลาเรตตา หรือแคลรา เปทัชชี ถูกพลพรรคคอมมิวนิสต์อิตาเลียนจับตัวได้หลังจากความพยายามที่ล้มเหลวหลายครั้งในการนำตัวไปยังโกโม พวกเขาจึงถูกนำตัวไปยังเมซเซกรา พวกเขาใช้เวลาคืนสุดท้ายในบ้านของตระกูลเด มารีอา
วันต่อมา 28 เมษายน มุสโสลินีกับภริยาลับของเขาถูกประหารชีวิตพร้อมกับอีกสิบห้าคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสาธารณรัฐสังคมอิตาเลียน

วันถัดมา สาธารณะต่างพบกับร่างของมุสโสลินีกับภริยาลับถูกแขวนด้วยการมัดเท้า ให้ศีรษะห้อยลงบนที่แขวนเนื้อสัตว์ที่จัตุรัสโลเรโตในเมืองมิแลนหรือมีลาโน พร้อมกับพลพรรคฟาสซิสต์คนอื่นๆ โดยเฉพาะรัฐมนตรีคนสำคัญในรัฐบาลของเขา เพื่อแสดงให้ชาวอาณาประชาราษฎร์เห็นว่าจอมเผด็จผู้นี้เสียชีวิตแล้ว การณ์นี้ยังเป็นทั้งการปราบมิให้บรรดาพลพรรคฟาสซิสต์ต่อสู้อีกต่อไป และเป็นปฏิบัติการแก้แค้นต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของฝ่ายอักษะที่แขวนคอพลพรรคกู้ชาติจำนวนมากในสถานที่เดียวกันนี้

——————————————————————–

ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ: บทเรียนจากการขึ้นสู่อำนาจ ของมุสโสลินีกับฮิตเลอร์

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มติชนรายวัน 21 เมษายน 2557

ใน ประดาข้อถกเถียงเรื่องการเลือกตั้งว่านำมาซึ่งผู้เผด็จการในประวัติศาสตร์ นั้น เป็นข้อถกเถียงที่มักจะละเลยความเป็นจริงในทางประวัติศาสตร์ คนจำนวนไม่น้อยไม่ได้ศึกษาในรายละเอียด จึงมักกล่าวในทำนองที่ว่า ฮิตเลอร์มาจากการเลือกตั้ง และไม่มีคำอธิบายว่าเหตุใดเบนิโต มุสโสลินีจึงกลายเป็นผู้เผด็จการของอิตาลีได้

บทความนี้ต้องการ อธิบายวิถีการเข้าสู่อำนาจของผู้เผด็จการทั้งสอง เพื่อเป็นอนุสติแก่หลายๆ คนที่เรียกร้องอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเชื่อว่าจะนำพาบ้านเมืองพ้นวิกฤตได้นั้น อาจต้องคิดทบทวนกันอีกสักครั้งว่า การเป็นนักปฏิรูปที่ใจเร็วด่วนได้ มักหันเข้าไปสยบยอมกับเผด็จการ และหวังว่าอำนาจเบ็ดเสร็จนั้นจะช่วยคุ้มภัยให้สามารถคงสถานะแบบเดิมๆ ได้ มีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์รองรับอย่างใดบ้าง

เบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini) วางแผนขึ้นสู่อำนาจโดยอาศัยกองอาสาพลเรือนที่เรียกว่าพวกเชิ้ตดำ (Blackshirts ภาษาอิตาเลียนใช้คำว่า Squadritisti หรือชื่อเต็มคือ กองอาสาเพื่อปกป้องความมั่นคงแห่งชาติ, VMNS: Voluntary Militia for National Security) ยึดที่ทำการไปรษณีย์ (ทำนองเดียวกับการยึด กสท. และสถานีวิทยุโทรทัศน์สมัยนั้น) และสามารถควบคุมพื้นที่ทางตอนเหนือของอิตาลีแล้วยึดรถไฟลำเลียงกำลังมุ่งมา ยังมิลานและตรงเข้าสู่กรุงโรมเพื่อยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ

ยุทธการนี้มีชื่อว่า “การยาตราสู่กรุงโรม” (รู้จักกันในชื่อ March on Rome)

การ ยาตราสู่กรุงโรมเกิดขึ้นระหว่าง 22-29 ตุลาคม พ.ศ.2465 (ค.ศ.1922) ก่อนหน้านั้น มุสโสลินีเคยลงเลือกตั้ง แต่พรรคของเขาพ่ายแพ้การเลือกตั้งปี พ.ศ.2462 (ค.ศ.1919) อย่างหลุดลุ่ย จนการเลือกตั้งปี พ.ศ.2464 (ค.ศ.1921) จึงได้รับโอกาสให้เข้าทำงานในสภา

ในเวลานั้น พวกเชิ้ตดำที่ก่อตั้งมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นเริ่มอยู่ภายใต้การ ชี้นำของเขาแล้ว เพราะมีการสั่งการให้กองกำลังเชิ้ตดำสังหาร Giordana ผู้นำฝ่ายขวาและสมาชิกสภาเมืองโบโลญญาแล้ว พวกเชิ้ตดำถูกใช้เป็นเครื่องจักรสังหารฝ่ายสังคมนิยมอีกด้วย

การ ยาตรายึดกรุงโรม มีจตุรเทพนำขบวน คือ นายพล Emilio De Bono, Italo Balbo, Machael Bianchi, และ Cesare Maria de Vecchi ส่วนมุสโสลินีหนุนหลังในฐานะท่านดยุค (the Duce หรือ the Duke นั่นเอง) และคอยโอกาส หากแพ้ก็จะหลบหนีไปสวิตเซอร์แลนด์

มีคนชั้นนำที่มีชื่อเสียงหลายคน ทั้งภาคธุรกิจ กระทั่งกองทัพต่างสนับสนุนการยาตรายึดกรุงโรม เพราะเชื่อว่าสามารถ “คุม” มุสโสลินีได้

ใน วันที่ 22 ตุลาคม มุสโสลินีกล่าวต่อหน้าผู้มาประชุมร่วมกับพรรคฟาสซิสต์ประมาณหกหมื่นคนว่า “เป้าหมายของพวกเรานั้นง่ายมาก เราต้องการปกครองอิตาลี” ขณะที่พวกเชิ้ตดำเริ่มยึดกุมพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญๆ

ขณะที่การ ชุมนุมของฝ่ายเชิ้ตดำเริ่มกล้าแข็งมากขึ้น อดีตนายกรัฐมนตรีอันโตนิโอ ซาแลนดรา (Antonio Salandra) เตือนนายกรัฐมนตรีลุยจิ แฟคต้า (Luigi Facta) ว่าไม่ควรยอมลาออกตามที่มุสโสลินียื่นคำขาด แต่แฟคต้าไม่เชื่อ เพราะเห็นว่ามุสโสลินีจะอยู่ฝ่ายตนอย่างลับๆ

เมื่อแฟคต้าลาออก แต่ยังรักษาการอยู่ เขาได้สั่งให้ประกาศภาวะฉุกเฉิน โดยใช้กำลังตำรวจ 400 นายสกัดขบวนรถไฟของพวกเชิ้ตดำที่มีกว่าสองหมื่นคนตามเมืองต่างๆ โดยพวกเชิ้ตดำฝ่าแนวกั้นของตำรวจได้กว่า 9,000 คน เดินเท้าเข้าสู่กรุงโรมในวันที่ 28 ตุลาคม

แม้ในสภาพของเหล่าเชิ้ตดำ ที่อยู่ในเปียกชุ่มด้วยฝน เครื่องแบบโทรมๆ เพราะไม่ได้เปลี่ยนหลายวัน ไม่มีอาวุธ อาหารและน้ำ แต่รักษาการนายกรัฐมนตรีแฟคต้าก็ไม่สามารถทำอะไรกับพวกเชิ้ตดำได้ เพราะกษัตริย์วิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่สาม (Victor Emmanuel III, 1900-1946) ทรงปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธยในการประกาศกฎอัยการศึกเพื่อใช้อำนาจในทางทหาร การปราบพลพรรคเชิ้ตดำ แต่กลับหันไปสนับสนุนมุสโสลินี ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นทางแฟคต้าเองก็ขอตั้งรัฐบาลผสม โดยยื่นข้อเสนอให้มุสโสลินีมาร่วมรัฐบาล

และ ในที่สุดแฟคต้าก็เสนอให้ตั้งรัฐบาลผสมโดยไม่มีมุสโสลินี แต่กษัตริย์วิคเตอร์ทรงหันมาสนับสนุนมุสโสลินี เพราะมุสโสลินีเองยื่นคำขาดต่อกษัตริย์ว่าหากจะให้ยอมแพ้ก็ต้องใช้กำลังทหาร ปราบปรามพวกเชิ้ตดำนับหมื่นในกรุงโรมให้ราบคาบซึ่งจะทรงถูกนานาชาติประณาม แน่ๆ

ในอีกด้านหนึ่ง มีข้อสันนิษฐานว่า หากสั่งให้ใช้กำลังกับพวกเชิ้ตดำ กองทัพอาจหันไปร่วมมือกับพวกเชิ้ตดำ และดยุคแห่งออสต้า (the duke of Aosta) อาจร่วมมือกับพวกเชิ้ตดำล้มราชบัลลังก์ของพระองค์ได้

ว่ากันว่า การยาตราสู่กรุงโรมเป็นการเกทับลักไก่ หรือ “บลั๊ฟ” กัน ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นการเดิมพันอำนาจและลักไก่ที่มุสโสลินีได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะเหล่าอนุรักษนิยมไม่ยอมเสี่ยงใช้กำลังกับพวกเชิ้ตดำ และแลกมาด้วยยุคมืดและความพังพินาศของอิตาลี

ในวันที่ 31 ตุลาคม เมื่อมุสโสลินียึดอำนาจสำเร็จ เขาแจกจ่ายเครื่องแบบใหม่และให้สวนสนามรอบกรุงโรม จากนั้นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็ส่งพวกเชิ้ตดำออกจากจากกรุงโรมทันทีด้วยรถไฟ ขบวนพิเศษกว่า 50 ขบวน

ในความเป็นจริง การยาตราสู่กรุงโรมไม่ใช่การเอาชนะด้วยกองกำลังเชิ้ตดำ แต่เป็นการบังคับเร่งรัดให้ดำเนินการโอนถ่ายอำนาจตามรัฐธรรมนูญ การโอนถ่ายอำนาจแบบนี้เกิดขึ้นโดยการสมคบคิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และภาคธุรกิจเชื่อว่าจะสามารถควบคุมมุสโสลินีได้ เพราะเชื่อว่ามุสโสลินีจะสนับสนุนการค้าเสรีและกลไกตลาดอย่างที่เขาปราศัยใน ช่วงแรกๆ

ที่น่าสนใจไม่น้อยก็คือ เรื่องเล่าที่พวกฟาสซิสต์สร้างขึ้นในชั้นหลังก็คือการเดินเข้าสู่กรุงโรม เป็นการเสียสละขั้นสูงสุด เป็นการกระทำตามเจตจำนงและพลังของเหล่าเชิ้ตดำ

วันที่ 28 ตุลาคม กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นศักราชของพวกฟาสซิสต์และเป็นวันหยุดแห่งชาติในปี 2470 (ค.ศ.1927)

การ ยาตราสู่กรุงโรมเป็นแรงบันดาลใจให้ฮิตเลอร์ก่อกบฏโรงเบียร์ (Beer Hall Putsch) ระหว่างวันที่ 8-9 พฤศจิกายน พ.ศ.2466 (ค.ศ.1923) ฮิตเลอร์พยายามก่อรัฐประหารที่โรงเบียร์แต่ล้มเหลว ถูกจำคุกข้อหากบฏโรงเบียร์เพียงแปดเดือน ก็ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2467 (ค.ศ.1924) ทั้งๆ ที่ถูกตัดสินโทษจำคุก 5 ปี

กบฏโรงเบียร์เป็น การนำคนราวสองพันคนเดินไปยึดโรงเบียร์หรือร้านเบียร์ที่มักเป็นแหล่งปราศรัย ทางการเมืองขณะนั้น ฮิตเลอร์นำเกอริ่งและพรรคพวกเข้าคุมโรงเบียร์แล้วยิงปืนขึ้นเพดาน กระโดดขึ้นบนเก้าอี้และประกาศว่านี่คือการปฏิวัติประชาชาติ ห้ามใครออกไปไหนโดยเด็ดขาด แต่เพียงไม่นาน ความพยายามของฮิตเลอร์ก็ล้มเหลว

เมื่อ พ้นโทษ ฮิตเลอร์ได้ไต่เต้าทางการเมืองจากการเลือกตั้งมาจนถึงช่วงวิกฤตการณ์ของ สาธารณรัฐไวมาร์ ในท่ามกลางความหวาดเกรงว่าเยอรมนีจะตกเป็นประเทศที่ปกครองตามแบบคอมมิวนิสต์ ตามแบบพรรคบอลเชวิคในเยอรมนี

คืนหนึ่งมีการเผารัฐสภาแล้วใส่ร้ายว่า เป็นฝีมือของพวกคอมมิวนิสต์ จึงได้มีกฎหมาย Reichstag Fire Decree หรือ Reichstagsbrandverordnung (ชื่อเต็มคือ Decree of the Reich President for the Protection of People and State หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนและรัฐ) โดยความยินยอมของประธานาธิบดีฮินเดลแบร์กผู้อัญเชิญฮิตเลอร์มาเป็น “คนกลาง” เพื่อนำการบริหารรัฐบาลผสม เมื่อ 30 มกราคม พ.ศ.2476

กฎหมายฉบับนี้ ผ่านออกมาได้ เพราะมีการวางเพลิงเผารัฐสภา เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2476 (ค.ศ.1933) ก่อนการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรเพียง 6 วัน โดยถูกขยายผลว่าเป็นการเตรียมการ “เผาบ้านเผาเมือง” ของพวกคอมมิวนิสต์ และ “ก่อการร้าย” ต่อทรัพย์สินเอกชนและทำให้เกิดการคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินและความสงบของ สาธารณชน

กฎหมายฉบับนี้ถูกปรับแก้โดยรัฐมนตรีมหาดไทยปรัสเซีย คือเกอริ่ง และประธานาธิบดีฮินเดลแบร์กลงนามในวันรุ่งขึ้นหลังเพลิงเผาอาคารรัฐสภา กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐไวมาร์ภายใต้มาตรา 48 สามารถดำเนินการตามความเหมาะสมในอันที่จะยับยั้งกิจการใดที่คุกคามต่อความ สงบสุขของสังคมโดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา

กฎหมายฉบับไฟไหม้รัฐสภามีเพียง 6 มาตรา มาตราที่ 1 มีผลในการจำกัดเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐไวมาร์ รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร เสรีภาพในการชุมนุมทางการเมือง ความเป็นส่วนตัวในการโทรศัพท์และไปรษณีย์และอื่นๆ

ส่วนมาตรา 2, 3 ให้อำนาจรัฐบาลของรัฐบาลไรซ์ทำการแทนรัฐบาลของสหพันธรัฐไวมาร์ มาตรา 4 สามารถลงโทษคนที่ขัดขวางจนถึงประหารคนที่วางเพลิงสถานที่ราชการ มาตรา 6 ระบุว่า มีผลบังคับใช้ทันที

กฎหมายฉบับนี้มีผลในทางการทอนสิทธิทาง สังคมของพลเมืองในหลายประการ เช่น การจำคุกคนที่มีความเห็นในทางการคัดค้านพรรคนาซี การควบคุมยึดสิ่งพิมพ์ที่ “ไม่เป็นมิตร” กับพรรคนาซีและมีผลบังคับใช้ตลอดยุคนาซี

นั่นหมายความว่าอำนาจสูงสุดของฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

แต่ มาจากการสร้างความหวาดกลัว ความเกลียดชังให้ฝ่ายตรงข้าม จนประชาชนส่วนหนึ่งหวาดกลัว และสร้างสถานการณ์เพื่อ “มอบอำนาจสูงสุดและเด็ดขาด” ให้กับฮิตเลอร์

ดังนั้น ผู้เขียนอยากจะขอร้องให้เลิกพูดเสียทีว่า ฮิตเลอร์มาจากการเลือกตั้ง

บท เรียนสำคัญจากการขึ้นเถลิงอำนาจของมุสโสลินีและฮิตเลอร์ก็คือ การสร้างคู่ตรงข้ามทางการเมืองและสร้างความหวาดกลัวกับฝ่ายตรงข้าม ในสมัยนั้นก็คือภัยคอมมิวนิสต์เพื่อให้ฝ่ายอนุรักษนิยมที่มีบทบาทสำคัญหัน มาสนับสนุนฝ่ายเผด็จการ โดยหวังว่าอำนาจเบ็ดเสร็จจะช่วยกำกับความผันผวนเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ดี กว่าการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ถูกทำให้เห็นว่ามีแต่ความปั่นป่วน ไร้เสถียรภาพ แย่งอำนาจกันในหมู่นักการเมือง

ทั้งฮิตเลอร์และมุสโสลินีแสดงตัวเป็น “คนกลาง” ในยามวิกฤตที่พวกเขาสร้างขึ้น

แต่ ท้ายที่สุด การฝากความหวังไว้กับเผด็จการเบ็ดเสร็จ กลับไม่ได้ช่วยกำกับให้สังคมสงบสุขแต่อย่างใด หากนำพาชาติทั้งสองไปสู่ยุคสมัยที่มืดมนอนธการที่สุดสมัยหนึ่งของมนุษยชาติ

ที่มา เรื่อง ภาพ :
เฟซบุ๊คเพจ ข่าวดัง ทั่วโลก 18+
ข่าวสดออนไลน์