เป็นเวลา 20 กว่าปีแล้วที่ภาพยนตร์เรื่อง “Shindler′s List ชะตากรรมโลกไม่ลืม”ได้ทำให้ผู้คนทั่วโลกร่วมกันระลึกและสรรเสริญเรื่องราวความกล้าหาญเสียสละของนายออสการ์ชินด์เลอร์นักอุตสาหกรรมชาวออสเตรียผู้ช่วยชีวิตชาวยิวกว่า5,000คนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อันทารุณของทหารนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่2ซึ่งวีรกรรมของนายชินด์เลอร์นั้นก็เป็นบทพิสูจน์ว่ามนุษยธรรมไม่มีเส้นแบ่งระหว่างเชื้อชาติใดๆ
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ชินด์เลอร์ผู้เดียวเท่านั้นที่ได้หยิบยื่นความช่วยเหลือแก่ชาวยิวยังมีวีรบุรุษอีกผู้หนึ่งที่ปิดทองหลังพระช่วยเหลือชาวยิวให้พ้นจากความตาย
วีรบุรุษผู้นี้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น”ชินด์เลอร์ชาวจีน”เขามีนามว่าดร.โฮเฟิ่งชานกงสุลใหญ่ของสถานกงสุลจีนในเมืองเวียนนาประเทศออสเตรียโดยขณะที่เขาปฏิบัติหน้าที่ณสถานกงสุลอยู่นั้นเขาได้ช่วยชีวิตชาวยิวราว 1,200 คนให้รอดจากเงื้อมมือทหารนาซีได้ แต่การกระทำของเขานั้นกลับไม่ได้ปรากฏต่อสาธารณะเพราะเขาได้เก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับแม้กระทั่งตอนที่จากโลกนี้ไปแล้วเมื่อปี1997ในวัย96ปี
ตลอดชีวิตอันยาวนานเขาไม่เคยเผยเรื่องราวชีวิตในช่วงสงครามโลกแก่ใครเลยแม้แต่ภรรยาหรือลูกๆแต่การกระทำอันสูงส่งของเขาก็เป็นที่รับรู้ในที่สุดหลังจากที่เขาเสียชีวิตโดยเรื่องนี้ถูกเปิดเผยด้วยความบังเอิญ เมื่อแมนลี ลูกสาวของดร.โฮ ที่เป็นผู้ประกาศข่าวในตอนนั้นได้เขียนประกาศมรณกรรมให้พ่อของเธอ ซึ่งในนั้นก็ได้มีเรื่องราวของดร.โฮ ขณะที่กำลังเผชิญหน้ากับเกสตาโป ตำรวจลับของนาซี ที่จ่อกระบอกปืนเพื่อสังหารเขาขณะที่เขากำลังช่วยเพื่อนชาวยิวคนหนึ่ง ซึ่งนี่เป็นเรื่องราวระหว่างช่วงสงครามเพียงเรื่องเดียวที่เขาเล่าให้ลูกสาวฟัง
จากนั้นไม่นาน ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งได้อ่านประกาศมรณกรรมนี้และรู้สึกสนใจประเด็นที่ดร.โฮ ให้การช่วยเหลือชาวยิว เขาจึงติดต่อไปยังแมนลีซึ่งได้ทำให้เธอรู้สึกสงสัยในชีวิตของพ่อในระหว่างช่วงสงครามโลกเธอจึงตัดสินใจย้อนรอยประวัติของเขาอย่างจริงจังเป็นเวลาถึง10ปีดังนั้นความลับที่ดร.โฮรักษามานานจึงเป็นที่ประจักษ์แก่ทุกคน
จากประวัติของดร.โฮอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นนักการทูตคนแรกที่ได้ออกมาช่วยชาวยิวเพราะขณะที่ชาวยิวที่กำลังดิ้นรนหาหนทางหนีตายหลังจากออสเตรียถูกนาซียึดครองกงสุลประเทศอื่นๆปฏิเสธที่จะออกวีซ่าให้พวกเขาเนื่องจากกลัวว่าจะเป็นศัตรูกับรัฐบาลนาซี มีเพียงสถานทูตจีนเท่านั้นที่มีกงสุลใหญ่อย่างดร.โฮใช้อำนาจหน้าที่ช่วยออกวีซ่าให้ชาวยิวเข้าประเทศได้
วีซ่าของดร.โฮนั้นเป็นวีซ่าที่มีความพิเศษมากเพราะเป็นวีซ่าที่อนุญาตให้เข้าไปยังเมืองเซี่ยงไฮ้เท่านั้นซึ่งโดยปกติแล้วชาวต่างชาติสามารถเข้าเมืองนี้แม้จะไม่มีวีซ่าก็ตามโดยสาเหตุที่ดร.โฮออกวีซ่าให้เข้าเมืองที่ไม่ต้องใช้วีซ่านั้นมีความซับซ้อนลึกซึ้งเพราะว่าเขาได้วางแผนไว้แล้วว่าชาวยิวผู้ถือวีซ่านั้นไม่จำเป็นที่ต้องเดินทางไปยังเซี่ยงไฮ้แต่จะสามารถใช้เอกสารดังกล่าวเพื่อรับวีซ่าเดินทางผ่าน(TransitVisa)และสามารถหลบหนีไปพื้นที่อื่นได้เช่นสหรัฐอเมริกาปาเลสไตน์และฟิลิปปินส์
แน่นอนว่าเรื่องวีซ่าไปยังเซี่ยงไฮ้ที่เป็นเหมือนทางรอดเดียวก็ได้แพร่ออกไปในชุมชนชาวยิวแมนลีกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า”ทันทีที่ชาวยิวได้ยินเรื่องวีซ่าเซี่ยงไฮ้ขณะที่กำลังหาหนทางหนีอยู่ชื่อของเมืองเซี่ยงไฮ้ก็ถูกพูดถึงอย่างรวดเร็วเหมือนไฟลามทุ่ง”ดังนั้นเซี่ยงไฮ้ในขณะนั้นจึงเป็นดั่ง”เรือของโนอาห์”สำหรับผู้ลี้ภัยชาวยิวกว่า 25,000 คนที่หนีจากทหารนาซีและย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่นี่
อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจำนวนหนังสือที่ดร.โฮเป็นคนออกให้มีจำนวนเท่าไหร่กันแน่เพราะหลักฐานต่างๆก็ได้สูญหายไปตามเวลาแต่จากการตรวจสอบหมายเลขวีซ่าทำให้มีการคาดการณ์ว่าอาจจะมีวีซ่าหลายพันฉบับที่ได้รับการอนุมัติโดย
หนึ่งในผู้โชคดีที่ได้รับวีซ่านั้นคือนายอีริคโกลด์สตาวบ์ที่ขณะนั้นเขาอายุเพียง17ปีและขอวีซ่าจำนวน20เล่มสำหรับครอบครัวจากบันทึกของเขาได้ระบุไว้ว่าเมื่อนาซีได้ผนวกรวมออสเตรียเข้าไปด้วย เขาก็เริ่มหาวีซ่าที่จะหนีออกจากออสเตรียแต่ก็ถูกปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่า และปาฏิหารย์ก็เกิดขึ้นในความพยายามครั้งที่ 50 เมื่อเขามาสะดุดเข้ากับสถานกงสุลจีน เขาพบกับดร.โฮที่ต้อนรับเขาอย่างดีและออกวีซ่าให้อย่างง่ายดาย
แม้ว่านายโกลด์สตาวบ์ได้เสียชีวิตไปแล้วเมื่อปี2012ในวัย91ปีณเมืองโตรอนโตประเทศแคนาดาแต่หลานชายของเขาได้เผยว่าวีซ่าเมืองเซี่ยงไฮ้ทำให้ครอบครัวโกลด์สตาวบ์ไม่ต้องเผชิญกับการพลัดพรากหากดูจากแผนผังครอบครัวแล้วถ้าไม่มีกงสุลใหญ้ผู้นี้คงมีหลายคนที่ไม่มีชีวิตมาถึงตอนนี้
ด้านชีวิตส่วนตัวของดร.โฮ แมนลีได้เล่าว่าพ่อของเธอป็นชายที่ถ่อมตัว แม้ว่าเขามีชีวิตที่ยากจนและไม่มีพ่อเลี้ยงดูแต่เขาก็ได้กลายเป็นนักการทูตที่ทรงเกียรติ หลังจากสงครามแล้ว เขาใช้ชีวิตที่เหลือในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอเนีย เธอเผยว่า “หลักประจำใจของพ่อคือ ′หากคุณได้รับสิ่งต่างๆมามาก คุณก็ต้องแบ่งปันไปให้คนอื่นๆด้วย′ พ่อยึดถือแบบนั้นมาตลอด” นอกจากนี้ จากบันทึกส่วนตัวของดร.โฮที่เขียนเป็นภาษาจีนที่ตีพิมพ์ในปี 1990 เขาได้บรรยายความรู้สึกสะเทือนใจที่เห็นชะตาชีวิตของชาวยิวไว้ว่า “พอผมเห็นชีวิตของพวกเขาที่ถูกลิขิตให้ตายแล้ว เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องรู้สึกสงสารและจากจุดยืนของนักมนุษยธรรมอย่างผมแล้ว ก็ต้องช่วยพวกเขา”
สำหรับการกระทำอันสูงส่งของวีรบุรุษผู้ปิดทองหลังพระผู้นี้ก็ได้รับการยกย่องในที่สุดโดยเมื่อปี2000ประเทศอิสราเอลได้ยกย่องดร.โฮว่าเป็น”ผู้ผดุงคุณกรรมในบรรดาประชาชาติทั้งมวล(RighteousAmongtheNations)”ที่ร่วมต่อต้านความป่าเถื่อนของนาซีซึ่งดร.โฮเป็นคนจีนหนึ่งในสองคนที่ได้รับการยกย่องอันเป็นเกียรตินี้อีกผู้หนึ่งคือนายพันยุนชุนที่ได้ให้ที่หลบภัยแก่เด็กหญิงชาวยิวขณะที่มีการยึดครองพื้นที่บางส่วนของโซเวียต นอกเหนือจากอิสราเอลแล้ว วุฒิสภาสหรัฐฯได้มีมติมอบเหรียญกล้าหาญให้ดร.โฮเมื่อปี 2008 อีกด้วย
แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดมาหลายทศวรรษแล้ว แต่ก็ไม่มีใครลืมความน่าสะเทือนใจที่มนุษย์ด้วยกันเองจะต้องก่อสงครามฆ่าล้างมนุษย์อีกเผ่าพันธุ์หนึ่งด้วยคิดว่าเชื้อชาติของตนเองนั้นสูงส่ง ถึงสงครามจะเป็นช่วงเวลาที่มีผู้คนมากมายเปิดเผยความชั่วร้ายที่ซุกซ่อนออกมาและความโหดร้ายของสงครามก็มีอานุภาพที่จะบีบบังคับให้เราเห็นแก่ตัวแต่เรื่องราวของนาย”โฮเฟิ่งชาน”ชินด์เลอร์ชาวจีนผู้นี้ก็เป็นดั่งหลักฐานว่าสงครามนั้นไม่อาจทำลายมนุษยธรรมไปได้ความรักและเมตตาระหว่างเพื่อนมนุษย์ยังเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงแม้ว่าโลกของเราจะเข้าสู่ความดำมืดแค่ไหนก็ตาม
ที่มา : เว็บไซต์มติชนออนไลน์