นิโคลา เทสลาคือนักประดิษฐ์ชาวโครเอเชียผู้คิดค้นระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเขาเป็นบิดาของอุปกรณ์ไฟฟ้าและการสื่อสารไร้สายก็ว่าได้ เพราะเขาเป็นผู้ประดิษฐ์ขดลวดเทสลา หรือ Tesla coil และยังค้นพบวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า จึงเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลา อีกทั้งยังเป็นผู้ค้นพบวิธีการสื่อสารแบบไร้สายอีกด้วย แต่เรื่องที่คนส่วนใหญ่พูดถึงเขานั้นจะเกี่ยวกับความเพี้ยนของเขามากกว่า
นิโคลา เทสลานั้นเกิดในหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชื่อ สมิลจาน ในประเทศโครเอเชีย ในเวลาเที่ยงคืนของระหว่างวันที่ 9 กับวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1856 ซึ่งการที่เขาตกฟากตอนเที่ยงคืนตรง ดูเหมือนจะเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตที่น่าพิศวงของนักประดิษฐ์คนนี้ ทางด้าน มิลูติน พ่อของเขาหวังจะให้เขาเป็นนักบวชเหมือนกับตนเอง แต่ นิโคลา กลับเหมือนดจูกาแม่ของเขา ที่ชอบประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงต่างๆ ไว้ใช้เองในบ้านมากกว่า โดยเขาได้ฉายแววของการเป็นนักประดิษฐ์ตั้งแต่เด็ก สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของเขาคือเครื่องมือจับกบที่ทำมาจากเชือกกับตะขอ และใช้ได้ผลดีมากถึงขนาดที่ว่าแทบจะไม่มีกบเหลืออยู่ในหมู่บ้านของเขาเลย
นอกจากนี้เขายังได้สร้างระหัดวิดน้ำชนิดไม่มีใบพัด ซึ่งเจ้าสิ่งนี้เองที่เป็นแรงจูงใจให้เขาสร้างเครื่องกังหันน้ำที่ไม่มีใบพัดในเวลาต่อมา นอกจากนี้เขายังได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้พลังงานจากแมลงจูน (June Bugs) ที่เขาได้จับเอาแมลงจูนแบบเป็นๆ ถึง 16 ตัว มาติดกาวลงบนใบพัดกังหันอันเล็กๆ โดยเมื่อแมลงจูนกระพือปีก นั่นก็คือกลไกที่ทำให้กังหันนั้นหมุนได้นั่นเอง แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เด็กคนหนึ่งมากินแมลงจูนจากสิ่งประดิษฐ์ของเขา นั่นจึงเป็นสาเหตุให้เขาไม่แตะต้องแมลงใดๆ อีกเลย
นอกจากเขาจะเกิดมาพร้อมสมองอันชาญฉลาดแล้ว เขายังมีพลังจิตอีกด้วย โดยตั้งแต่เด็กเขามักจะเห็นแสงไฟแวบเข้าตาตามด้วยภาพหลอน และหลายครั้งที่เพียงแค่เขาได้ยินชื่อของสิ่งของ เขาก็จะเกิดภาพรายละเอียดของสิ่งของชิ้นนั้นๆ ขึ้นในใจ และนั่นคือสิ่งที่สร้างความรำคาญใจให้เขาเป็นอย่างมาก
ครั้งหนึ่งเขาเคยล้มป่วยเป็นโรคประหลาดที่หาสาเหตุไม่ได้ โรคนั้นทำให้ประสาทรับรู้ต่างๆ ของเขาไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ แค่เพียงได้ยินเสียงเข็มนาฬิกาเดินก็ทำให้เขาทรมานเป็นอย่างมาก จนเขาต้องนำแผ่นยางมาวางรองไว้ที่ขาเตียงเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ อีกทั้งการอยู่ในสถานที่ที่มีแสงจ้า นอกจากจะทำให้เขาปวดตาแล้ว มันยังแผดเผาผิวหนังของเขาจนเป็นแผลพุุพองอีกด้วย แต่หลังจากที่อาการประหลาดของเขาทุเลาลง เขาก็ได้รู้แจ้งถึงกรรมวิธีสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับอันโด่งดัง
ทว่าด้วยอาการประหลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเขา ทำให้เขากลัวการสัมผัสทางร่างกายกับบุคคลอื่น เขาจึงปฏิเสธความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม และการแตะเนื้อต้องตัวหรือการจับมือกับใคร ได้แต่โกหกว่ามือของเขาได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในห้องทดลอง อีกทั้งเขายังมีพฤติกรรมแปลกๆ อย่างการทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันซ้ำกันหลายๆ ครั้ง จนกว่าจะได้จำนวนที่หารด้วย 3 ลงตัว ถ้าไม่อย่างนั้นเขาก็จะทำใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งจำนวนครั้งที่เขาชอบเป็นพิเศษ คือ 27 เพราะมันเท่ากับเอา 3 มายกกำลัง 3 นอกจากนั้นเขายังกำหนดปริมาณอาหารที่เขากินในแต่ละมื้อ ด้วยการนำไม้บรรทัดมาวัดดูว่าภาชนะที่ใช้บรรจุอาหารของเขานั้นมีความจุเท่าใด
โดยในปี ค.ศ. 1884 เขาได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งที่ไม่มีเงินติดกระเป๋าแม้แต่สตางค์แดงเดียว จะมีก็เพียงสมองอันชาญฉลาดของเขาเท่านั้น ต่อมาเขาได้ค้นพบมอเตอร์เหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1888 และเขาก็ได้พยายามขายสิทธิบัตรมอเตอร์ไฟฟ้านี้ แต่ก็ถูกปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่าจนต้องไปเป็นกรรมกรในนิวยอร์กอยู่หลายเดือน ซึ่งเขาต้องย่ำต๊อกอยู่กว่า 10 ปี กว่าจะสามารถทำให้มอเตอร์เหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าได้รับการยอมรับ จึงทำให้ชื่อของเขาถูกนำมาใช้เป็นหน่วยหลักของแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อเป็นเกียรติในเวลาต่อมา
แต่เมื่อนึกถึงนักประดิษฐ์ ผู้คนมักจะนึกถึง โทมัส เอดิสัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ นิโคลา เทสลา นั้นดูเหมือนว่าทั้งสองจะมีแนวคิดที่ต่างกันคนละขั้วเลยทีเดียว เทสลานั้นเป็นเจ้าของแนวความคิดเรื่องไฟฟ้ากระแสสลับ ที่สามารถให้พลังไฟฟ้าในขอบเขตที่กว้างกว่าไฟฟ้ากระแสตรง ที่เป็นแนวคิดของเอดิสัน โดยเอดิสันได้คิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าที่ใช้ในการประหารนักโทษขึ้นมา เพียงเพื่อแสดงให้เห็นอันตรายจากการใช้ไฟฟ้ากระแสสลับเท่านั้น ซึ่งว่ากันว่าอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เอดิสันนั้นไม่เข้าใจหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับตามที่เทสลาอธิบาย นี่จึงเป็นการประกาศว่าเอดิสันไม่ยอมรับสิ่งประดิษฐ์ของเทสลานั่นเอง
ที่น่าเศร้าก็คือนักประดิษฐ์อย่างเขา กลับต้องมาเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยวที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองนิวยอร์ค ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ในขณะที่เขามีอายุได้ 86 ปี ซึ่งไม่สามารถระบุวันเวลาที่แน่นอนของการเสียชีวิตได้ แต่มีการคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างช่วงบ่ายของวันที่ 5 มกราคม ถึงช่วงเช้าของวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1943 โดยตลอดชีวิตของเขานั้นถูกคนในวงการวิทยาศาสตร์ดูถูกในความคิดของเขาที่ดูจะเพี้ยนๆ อีกทั้งประชาชนทั่วไปก็แทบจะไม่มีใครรู้จักชื่อของเขาเลยด้วยซ้ำ ยิ่งไปกว่านั้นในการ์ตูนยอดฮิตเรื่องซูเปอร์แมนยังนำชื่อของเขาและสิ่งประดิษฐ์ของเขามาแต่งเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ชื่อ“เทสลา” ที่พยายามทำลายล้างโลกด้วยเครื่องยิงลำแสงมหาประลัย หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Death Ray
หลังจากที่เขาเสียชีวิตลง เอฟบีไอได้สั่งการให้สำนักงานทรัพย์สินคนต่างชาติ หรือ The Office of Alien Property เข้ายึดทรัพย์สินทุกชิ้นของเขา ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเนื่องจากเขาได้รับสัญชาติอเมริกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1891 แล้ว โดยว่ากันว่าจุดประสงค์ที่กระทำการเช่นนี้ก็เพื่อค้นหาข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่เขาได้เคยคิดค้นขึ้นมานั่นเอง
บั้นปลายชีวิตของเขาจึงแตกต่างจาก โทมัส เอดิสัน มาก ในขณะที่ เอดิสัน กลายเป็นบุคคลสำคัญของโลกที่ได้รับการเชิดชูว่าเป็นสุดยอดนักประดิษฐ์ แต่เขากลับเป็นเพียงนักวิทยาศาสตร์สติเพี้ยนในสายตาของคนทั่วไป เขาจึงได้ชื่อว่าเป็น “นักประดิษฐ์ที่โลกลืม”
http://hilight.kapook.com/view/26340==============================================
ประวัติของ นิโคลา เทสลา ผู้คิดค้นระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (The History of Nikola Tesla)
นิโคลา เทสลา เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1886 ในพื้นที่ที่เป็นประเทศโครเอเชีย (Croatia) ในปัจจุบัน มีพ่อแม่เป็นชาวเซิร์บ (Serbian) เทสลาเป็นเด็กฉลาด อยากรู้อยากเห็น แต่ก็ออกจะมีนิสัยแปลกๆอยู่สักหน่อย
เขาสนใจในทุกสิ่งรอบตัว มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เทสลาพยายามบิน โดยถือร่มคันหนึ่งไว้ในมือแล้วกระโดดลงมาจากหลังคาโรงนา และเขาประดิษฐ์มอเตอร์พลังแมลงโดยใช้แมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ต้องล้มเลิกการทดลองนี้ไป เมื่อมีเพื่อนกินแมลงบางส่วนเข้าไป นอกจากนี้ยังเคยพยายามสร้างกระแสไฟฟ้าโดยนำแมวสองตัวมาถูกัน การทดลองนี้ได้ผลลัพธ์เป็นแมวโมโหสองตัวและเทสลาที่โดนข่วนทั่วตัว
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1884 เทสลาเดินทางมาถึงสหรัฐอเมริกา โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) จ้างงานเขาให้มาดูแลงานวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น จนสุดท้ายเทสลาได้ออกแบบเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ขับเคลื่อนธุรกิจของเอดิสัน
เอดิสันเสนอเงิน 50,000 ดอลลาร์ให้เทสลา หรือเทียบเท่าเงินประมาณ 1,100,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน เพื่อค้นคว้าพัฒนาเครื่องจักรนี้ หลังจากทำงานเสร็จสิ้น เทสลาได้ทวงถามค่าแรง แต่เอดิสันไม่ยอมจ่าย โดยอ้างว่าเขาไม่ได้พูดจริงและเทสลาเองที่ไม่เข้าใจอารมณ์ขันของชาวอเมริกัน
สุดท้าย เทสลาก็ลาออกจากบริษัทของเอดิสัน และไปร่วมงานกับ จอร์จ เวสติงเฮาส์ ในปี ค.ศ. 1888 เพื่อทำให้ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) ของเขาเป็นไปในเชิงพาณิชย์มากขึ้น ปัญหาอยู่ตรงที่ระบบไฟฟ้ากระแสสลับนี้จะต้องแข่งขันกับระบบไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) ซึ่งเป็นระบบที่เอดิสันผูกขาดอยู่เพียงเจ้าเดียว นี่เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามระหว่างกระแสไฟฟ้าสองระบบ
เอดิสันเริ่มกระจายข่าวสาดโคลนไปที่เทสลาและกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ และพยายามให้ผู้คนหวาดกลัวระบบนี้จนไม่กล้าใช้ เขาทั้งกระจายข้อมูลเท็จ วิ่งเต้นล๊อบบี้ต่อต้านการใช้ระบบกระแสสลับ และยังแสดงการช๊อตไฟฟ้าช้างละครสัตว์ต่อหน้าสาธารณะชนอีกด้วย
พูดรวมๆแล้ว เอดิสันร้ายมาก เพราะระบบไฟฟ้ากระแสตรงก็มีข้อเสียมากมาย โดยเป็นต้นเหตุให้เด็กหลายคนต้องเสียชีวิตและทำให้เกิดอัคคีภัยกับที่พักอาศัยมากมาย นอกจากนี้ ระบบไฟฟ้ากระแสตรงสามารถส่งกระแสไฟฟ้าออกไปได้มากที่สุดเพียงสองไมล์เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าย่อยจำนวนมากเพื่อให้กระแสไฟฟ้ามีกำลังพอส่งไปตามระยะทางไกลๆได้ หากเรายังใช้ระบบนี้จนถึงปัจจุบัน ก็คงต้องสร้างโรงไฟฟ้าย่อยๆมากมายเพื่อให้ส่งกระแสไฟฟ้าไปได้ทั่วสหรัฐอเมริกา ส่วนระบบไฟฟ้ากระแสสลับของเทสลานั้นสามารถส่งกระแสไฟฟ้าออกไปได้เป็นร้อยๆไมล์ และแสงไฟจากไฟฟ้ากระแสสลับจะเป็นแสงสีขาวสว่าง ไม่เหมือนแสงสีเหลืองหม่นจากกระแสไฟฟ้ากระแสตรง
ในที่สุด เอดิสันก็ต้องยอมจำนนต่อฝูงชน และยอมแพ้ให้กับระบบกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ อิทธิพลของเทสลายังส่งผลไปในด้านอื่นๆนอกจากเรื่องกระแสไฟฟ้าด้วย เขาได้จดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ไว้กว่า 700 ฉบับ และเป็นต้นคิดให้หลากหลายความคิด อย่าง หุ่นยนต์ หัวเทียน เครื่องเอกซ์เรย์ กังหันไร้ใบ การสื่อสารแบบไร้สาย มอเตอร์ไฟฟ้า เทคโนโลยีเลเซอร์ ไฟนีออน อุปกรณ์ควบคุมระยะไกล การสื่อสารผ่านระบบเซลลูลาร์ วิทยุ อ่างอาบน้ำไฟฟ้าเพื่อฆ่าเชื้อโรค เรดาร์ และอื่นๆอีกมากมาย
เทสลาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวในห้องโรงแรมในเมือง นิวยอร์ก ซิตี้ เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1943 ถึงแม้ว่าเขาจะมีชื่อเสียงและมีอิทธิพลต่อโลกของเรามาก เขากลับเสียชีวิตทั้งที่มีหนี้สินมากมายและอย่างโดดเดี่ยว เอดิสันเป็นที่รู้จักกันในนามนักประดิษฐ์แห่งศตวรรษ ส่วนเรื่องราวของเทสลากลับมีความยาวเพียงแค่หนึ่งย่อหน้าในหนังสือประวัติศาสตร์
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_youtube.php?youtube_id=482==============================================
นิโคลา เทสลา อัจฉริยะสติเฟื่อง ที่โลกลืม
การส่งพลังงานแบบไร้สายด้วยต้นทุนต่ำเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวดต่อมนุษย์ เพราะมันจะทำให้เขาเป็นนายเหนือท้องฟ้ามหาสมุทร และทะเลทราย ทำให้เขาสามารถขจัดความจำเป็นในการขุดเจาะ สูบ ขนส่ง และเผาผลาญเชื้อเพลิง และดังนั้นจึงกำจัดแหล่งที่มาไม่รู้จบของความสิ้นเปลืองอันชั่วร้าย
นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla, ๑๘๕๖-๑๙๔๓)
…………………
ประวัติ
นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) เกิดเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 – ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี) เป็นนักประดิษฐ์ นักฟิสิกส์ วิศวกรเครื่องกล และวิศวกรไฟฟ้าที่เปี่ยมด้วยอัจฉริยภาพ
เทสลาถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง
เขาไม่เพียงเป็นอัจฉริยะเจ้าของสิทธิบัตรกว่า ๓๐๐ รายการ หากยังเป็นบิดาแห่งวงการวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า มีชื่อเสียงโด่งดังทัดเทียมเอดิสันในครึ่งแรกของชีวิต เป็นผู้ประดิษฐ์และค้นพบสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย อาทิ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวสติงเฮาส์เอาชนะเอดิสันในสงครามคลื่นได้) ขดลวดเทสลา (Tesla coil) เครื่องวัดความเร็วติดรถยนต์ การกระจายเสียงผ่านวิทยุ และวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า อันเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลาซึ่งวิศวกรรุ่นหลังตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
การค้นพบเหล่านี้ล้วนเป็น “ฟันเฟือง” สำคัญที่ทำให้สังคมได้รับประโยชน์อย่างยั่งยืนจากงานของเอดิสัน มาร์โคนี เวสติงเฮาส์ และนักประดิษฐ์อีกจำนวนมาก จนกล่าวได้ว่าวิถีชีวิตสมัยใหม่ที่เราคุ้นเคยไม่อาจสัมฤทธิผลได้ถ้าปราศจากงานของเทสลา
นิโคลา เทสลา ในห้องทดลองของเขาที่เมืองโคโลราโด สปริงส์ วันที่ 31 ธันวาคม 1899
ถ่ายคู่กับเครื่องส่งกระแสไฟฟ้ายักษ์ ซึ่งมีความถี่สูงมากจนสามารถส่งกระแสไฟนับล้านวัตต์
มอเตอร์กระแสไฟฟ้าสลับของเทสลา
ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ ๑๐ ชิ้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
—————————————
อัจฉริยะจอมเพี้ยน หรือผู้มีพลังจิต ?
นอกจากเขาจะ เกิดมาพร้อมสมองอันชาญฉลาดแล้ว เขายังมีพลังจิตอีกด้วย โดยตั้งแต่เด็กเขามักจะเห็นแสงไฟแวบเข้าตาตามด้วยภาพหลอน และหลายครั้งที่เพียงแค่เขาได้ยินชื่อของสิ่งของ เขาก็จะเกิดภาพรายละเอียดของสิ่งของชิ้นนั้นๆ ขึ้นในใจ และนั่นคือสิ่งที่สร้างความรำคาญใจให้เขาเป็นอย่างมาก
ครั้งหนึ่งเขาเคยล้มป่วยเป็นโรคประหลาดที่หาสาเหตุไม่ได้ โรคนั้นทำให้ประสาทรับรู้ต่างๆ ของเขาไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ อีกทั้งการอยู่ในสถานที่ที่มีแสงจ้า นอกจากจะทำให้เขาปวดตาแล้ว มันยังแผดเผาผิวหนังของเขาจนเป็นแผลผุผองอีกด้วย
ด้วยอาการประหลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเขา ทำให้เขากลัวการสัมผัสทางร่างกายกับบุคคลอื่น เขาจึงปฏิเสธความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม และการแตะเนื้อต้องตัวหรือการจับมือกับใคร ได้แต่โกหกว่ามือของเขาได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในห้องทดลอง
พฤติกรรมเพี้ยน ๆ อีกเรื่องของนิโคลา ก็คือ เขามักจะทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันซ้ำ ๆ หลายครั้ง จนกว่าจำนวนครั้งที่ทำจะหารด้วย 3 ได้ลงตัว ถ้าไม่ลงตัวเขาจะทำใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น การนับก้าวเดิน จำนวนครั้งที่นิโคลาชอบเป็นพิเศษคือ 27 เพราะว่ามันเท่ากับ 3 ยกกำลัง 3 ( 3x3x3 ) เทสลาพูดได้หลายภาษาและอ่านหนังสืออย่างกว้างขวาง
นอกจากนั้นเขายังกำหนดกะเกณฑ์ปริมาณอาหารที่เขากินในแต่ละมื้อ ด้วยการนำเอาไม้บรรทัดมาวัดดูว่า
ภาชนะที่ใช้บรรจุอาหารของเขานั้นมีปริมาตร ความจุเท่าใด
ในบั้นปลายของชีวิต นิโคลาเสียชีวิตอย่างเงียบๆ ที่โรงแรมในนครนิวยอร์ค ตลอดชีวิตเขาถูกคนในวงการวิทยาศาสตร์ดูถูกในความคิดที่ดูเพี้ยน ๆ ขณะที่ประชาชนทั่วไปแทบจะไม่มีใครรู้จักเขาเลย
ชีวิตของเขาจึงแตกต่างจาก โทมัส เอดิสัน มาก ในขณะที่ เอดิสัน กลายเป็นบุคคลสำคัญของโลกที่ได้รับการเชิดชูว่าเป็นสุดยอดนักประดิษฐ์ แต่เขากลับเป็นเพียงนักวิทยาศาสตร์สติเพี้ยนในสายตาของคนทั่วไป เขาจึงได้ชื่อว่าเป็น “นักประดิษฐ์ที่โลกลืม” ซ้ำร้ายกว่านั้นชื่อและสิ่งประดิษฐ์ของเขาถูกนำมาแต่งเป็นผู้ร้ายในการ์ตูนยอดฮิต ซูเปอร์แมน ( Superman ) มีอยู่ตอนหนึ่ง ซูเปอร์แมนต้องต่อสู้กับนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่องชื่อ ” เทสลา ” ที่พยายามทำลายล้างโลกด้วยอาวุธลำแสงมหาประลัย ( Death Ray )
แต่ทว่า เทสล่ามีความคิดที่น่ายกย่องนั้นก็คือ ทำอย่างไร ผู้คนถึงจะใช้ไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องพึ่งสายไฟ ซึ่งเป็นที่มาของ เทคโนโลยี wireless ที่เราใช้กันในปัจจุบัน
คู่ปรับตลอดกาลของโทมัส อัลวา เอดิสัน
เมื่อนึกถึงนักประดิษฐ์ ผู้คนมักจะนึกถึง โทมัส เอดิสัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ นิโคลา เทสลา นั้นดูเหมือนว่าทั้งสองจะมีแนวคิดที่ต่างกันคนละขั้วเลยทีเดียว เทสลานั้นเป็นเจ้าของแนวความคิดเรื่องไฟฟ้ากระแสสลับ ที่สามารถให้พลังไฟฟ้าในขอบเขตที่กว้างกว่าไฟฟ้ากระแสตรง ที่เป็นแนวคิดของเอดิสัน
โดยเอดิสันได้เห็นแย้งกับความคิดของนิโคลา โดยการสาธิตการคิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าที่ใช้ในการประหารนักโทษขึ้นมา เพียงเพื่อแสดงให้เห็นอันตรายจากการใช้ไฟฟ้ากระแสสลับเท่านั้น ซึ่งว่ากันว่าอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เอดิสันนั้นไม่เข้าใจหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับตามที่เทสลาอธิบาย นี่จึงเป็นการประกาศว่าเอดิสันไม่ยอมรับสิ่งประดิษฐ์ของเทสลานั่นเอง
เทสล่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกวิศวกรรมไฟฟ้ายุคใหม่ ซึ่งทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจคณิตศาสตร์อย่างถ่องเเท้ทำให้เขาสามารถทำนายได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เขาศึกษาคณิตศาสตร์เเละผลงานต่างๆของนักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อนๆที่เคยศึกษามาก่อนทำให้สามารถเข้าใจว่าไฟฟ้ามีการทำงานอย่างไร เทสล่าไม่ได้ทำงานเเบบเดาสุ่ม (trial and error) เเบบที่เอดิสันชอบทำ เขาจะใช้ความคิดเเก้ปัญหาให้ได้ก่อนที่จะสร้างสิ่งประดิษฐ์ใดๆ
ดังนั้นเมื่อเทสล่าพบเอดิสันครั้งเเรกเขาจึงรู้สึกไม่ค่อยประทับใจในความไม่มีระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ของชายผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ เทสล่ากล่าวว่า ‘ถ้าให้เอดิสันหาเข็มเเท่งหนึ่งที่ตกอยู่ในกองฟาง เขาจะเริ่มหาในทันที อย่างบากบั่น ขยัน พากเพียร เหมือนผึ้ง โดยเขาจะหาโดยละเอียดจากฟางที่ละเส้นๆ จนพบเข็ม ‘
อัจฉริยะสติเฟื่อง
ผลงานที่เป็นรูปธรรมของเทสล่าก็คือ ระบบไฟฟ้ากระแสสลับและการส่งพลังงานแบบไร้สาย ในสมัยนั้นนักวิทยาศาสตร์ร่วมยุค ขนานนามเทสล่าว่า นักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง mad scientist เพราะเค้าชอบคิดอะไรที่ล้ำหน้ามากๆ เช่น อาวุธลำแสงมหาประลัย สิ่งประดิษฐ์ชิ้นหนึ่งของเขาที่ถูกปิดเป็นความลับมานานเกือบร้อยปี เครื่องมือที่มีอานุภาพร้ายแรง ขนาดแยกโลกของเราให้แตกออกเป็นสองส่วนได้

http://architectureofdoom.tumblr.com/image/74523107675
นิโคลา เทสลา ในห้องทดลองของเขาที่เมืองโคโลราโด สปริงส์ วันที่ 31ธันวาคม 1899
ถ่ายคู่กับเครื่องส่งกระแสไฟฟ้ายักษ์ ซึ่งมีความถี่สูงมากจนสามารถส่งกระแสไฟนับล้านวัตต์
นอกจากนี้ เขายังพยายามที่จะทำโลกทั้งใบให้เป็นสื่อนำไฟฟ้า เพื่อให้สามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปให้คนทุกคนในโลก ได้ใช้กระแสไฟฟ้าอย่างเสรี
ช่วงบั้นปลายชีวิต หากคนทั่วไปจะจำเทสลาได้ พวกเขาก็จำได้แต่ในฐานะคนประหลาดที่เขียนบทความส่งหนังสือพิมพ์ (ด้วยหัวข้ออย่าง “คลื่นยักษ์ของเทสลาในการทำสงคราม”, “การนอนหลับด้วยไฟฟ้า”, “วิธีส่งสัญญาณไปดาวอังคาร” ฯลฯ)
แต่ทว่า ในทศวรรษ 1980 ความคิดของเทสลาได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง ผลการวิจัยเรื่องการสูญเสียพลังงานในพัลซาร์ดาวคู่นิวตรอน (double neutron star pulsar) ชื่อ PSR 1913+16 ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นไอน์สไตน์ในช่วงนั้น ได้ถูกพิสูจน์ว่าคลื่นแรงโน้มถ่วงมีอยู่จริง
ในปี 1940 หลังวันเกิดครบรอบ 84 ปีไม่กี่วัน เทสลาให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The New York Times ว่า
“…เขาพร้อมที่จะเปิดเผยความลับเกี่ยวกับพลัง ‘โทรกำลัง’ (teleforce) ต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกา พลังนี้มีอานุภาพหลอมละลายเครื่องยนต์ของเครื่องบินจากระยะไกลถึง ๒๕๐ ไมล์ ทำให้สามารถสร้างแนวกำแพงป้องกันรอบประเทศแบบกำแพงเมืองจีน แต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า”
หลังจากเขาเสียชีวิต ประธานาธิบดี เจ. เอดการ์ ฮูเวอร์ (J. Edgar Hoover) ได้ส่งบันทึกไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่า เรื่องราวทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ นิโคลา เทสลา ต้องถูกจัดการอย่างลับที่สุด และทุกฝ่ายต้องรักษาความลับของสิ่งประดิษฐ์ของเขาให้เป็นความลับตลอดไป
ด้วยเหตุนี้ งานทั้งชีวิตของเขาถูกรัฐบาลอเมริกันตีตรา “ลับที่สุด” และห้ามใครพูดถึงในที่สาธารณะจวบจน 100 ปีให้หลัง
ศูนย์ HAARP ในมลรัฐอะแลสกา
100 ปีให้หลัง กับศูนย์วิจัย HAARP
100 ปี ให้หลัง รังสีหายนะของเทสลากลับกลายเป็นเรื่องจริง วงการวิทยาศาสตร์เพิ่งตามเขาทัน ในเรื่อง “รังสีหายนะ” (Death Ray ชื่อที่หนังสือพิมพ์ขนานนามขีปนาวุธ “โทรกำลัง” Teleforce ของเขา)
ในปี 1993 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เริ่มก่อสร้างศูนย์วิจัยไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere คือชั้นบรรยากาศโลกที่ความสูงตั้งแต่ ๗๐-๕๐๐ กิโลเมตร) ในเมืองกาโคนา มลรัฐอะแลสกา ศูนย์นี้มีชื่อว่า HAARP (High Frequency Active Auroral Research Program) ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งในการดำเนินโครงการเพื่อศึกษาคุณสมบัติการสะท้อน (resonant properties) ของโลกและชั้นบรรยากาศโลก โครงการนี้มีความเกี่ยวโยงกับงานของเทสลาอย่างชัดเจน กล่าวคือ HAARP กำลังศึกษาปรากฏการณ์เดียวกันกับที่เทสลาค้นคว้าที่โคโลราโดเมื่อกว่า 100ปีก่อน
ปัจจุบันเราอยู่บนโลกใบนี้ เมื่อมองไปรอบๆตัวเราก็จะเห็นเเต่มรดกต่างๆที่เทสล่าทิ้งไว้ ขอบคุณ นิโคล่า เทสล่า
http://www.sarakadee.com/2012/03/01/tesla/
http://www.clipmass.com/movie/383496855256429
http://app.eduzones.com/portal/health/41183/
=====================================