เขียน อ่าน จัดการ แบ่งปัน เอกสารบนอินเตอร์เน็ต (PDF)

ก็คงไม่แปลก ที่จะหาอีบุ๊ค อ่านบนอินเตอร์เน็ต เพราะมีอยู่เยอะแยะทั่วไปหมด แต่ 3 เว็บนี้ เป็นเว็บที่รองรับไฟล์ PDF และรองรับการตีพิมพ์สื่อออนไลน์ผ่านไฟล์ PDF ซึ่งปกติจะต้องเป็นไฟล์อีบุ๊ค ซึ่งยุ่งยากในการสร้าง และต้องใช้โปรแกรมที่ไม่ค่อยจะแพร่หลายนัก หรือต้องเสียตังค์ในการโหลดหามาอ่าน..

Google Docs

คุ้นเคยกันดีกับบริการเอกสารออนไลน์จาก Google ที่ให้คุณสามาถ ดาวน์โหลด เขียน และ เก็บเอกสารของคุณออนไลน์ ผ่านเว็บบราวเซอร์ โดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมออฟฟิศต่างๆ ที่ติดตั้งในเครื่อง กูเกิ้ลด็อคส์ ซัพพอร์ทไฟล์เอกสารมาตราฐานมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Word, Excel, Powerpoint, Odt หรือ PDF

google-docs-shot1

ลูกเล่นของการจัดการออกจะคล้ายกับจีเมล์ คือสามารถจัดหมวดหมู่ของเอกสารได้, ใส่ดาว ซ่อน, ทำให้เป็นเอกสารสาธารณะ (ให้คนอื่นเข้ามาดูได้), จัดแบ่งและกำกับสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของ (Opened by me, Owned by me) และสามารถจัดแฟ้มแยกหมวดหมู่และหัวข้อของไฟล์ได้.

การใช้งานออกจะเป็นแบบตู้เก็บเอกสารออนไลน์ส่วนตัวซะมากกว่า เพราะถึงแม้จะสามารถแชร์กับผู้ใช้คนอื่นได้ แต่ก็ต้องมีบัญชีของกูเกิ้ลและล๊อคอินเท่านั้น ถึงจะใช้งานเอกสารร่วมกันได้.. แต่ถึงยังไงก็ถือว่าเป็นเครื่องมือจัดการเอกสารออนไลน์ที่มีประโยชน์มากตัวนึง

Scribd

หลายคนคงคุ้นเคยกันดี เพราะเห็นเอกสารภาษาไทยอยู่เยอะพอสมควรบนเว็บนี้… Scribd ให้บริการเก็บเอกสาร เผยแพร่ และแบ่งปัน..

scribd-shot1

ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ก็จะคล้าย ๆ เว็บฝากไฟล์ทั่วๆ ไปเพียงแต่รับฝากเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์เท่านั้น.. ซึ่งจะต่างกับกูเกิ้ลด๊อคส์ตรงที่ไม่สามารถสร้างไฟล์ได้ ได้เพียงแต่อัพโหลดขึ้นไปเก็บเท่านั้น ซึ่งก็ซัพพอร์ทไฟล์มาตราฐานต่าง ๆ คล้าย ๆ กูเกิ้ลด๊อคส์

Microsoft Office: Microsoft Word Files doc, docx Microsoft Powerpoint Files ppt, pptx, pps Microsoft Excel Files xls, xlsx

PDF: PDF pdf, ps

Open Office: Open Office Documents odt, odp, sxw, sxi, etc.

Text: Text Documents txt, rtf

การจัดหมวดหมู่ใน Scribd ออกจะจัดแยกออกเป็นประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ (แยกตามประเภทสิ่งพิมพ์ (hardcopy)) ซะมาก จากนั้นจึงมีเรื่องย่อยลงมา

ลูกเล่นของ Scribd ก็เห็นจะมีในเรื่องของการอ่าน ที่เลือกอ่านได้แบบเป็น

– หน้าเดี่ยวเรียงกันลงมาเรื่อย ๆ

– หรือจะเป็นหน้าคู่ แบบหนังสือก็ได้

– หรือจะเป็นสไลด์โชว์เหมือนโปรแกรมดูภาพทั่วๆ ไป (แล้วใครจะไปอ่านทันล่ะนั่น ถ้ามันเป็นหน้าหนังสือยาวๆ ?

(ฟังก์ชั่นพวกนี้ก็เหมือนใน Adobe Reader หรือ Free PDF Reader หลายๆ ตัวในลินุกซ์) และที่เห็นอีกอย่างก็เห็นจะเป็น Document Information (รายละเอียดของเอกสาร) ที่ให้ข้อมูลไว้ได้ละเอียดดี มีนับคำ นับบรรทัด นับหน้า นับตัวอักษรกันอะไรประมาณนั้น

scribd-shot2

Scribd ยังมีการโปรโมทนักเขียนที่มีผู้ติดตามมากอีกด้วย นอกจากคุณจะเลือกหางานเขียนอ่านจากการจัดหมดหมู่ตามประเภทต่างๆ แล้ว ยังสามารถเลือกอ่านงานจากนักเขียนชั้นนำของทางเว็บได้อีกทางด้วย ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เป็นการผนวกเอาความเป็นชุมชนในลักษะเว็บบล๊อคเข้ากับสังคมของนักเขียนและผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

scitbd-shot3

Issuu

จะว่าไป Issuu ก็คงจะคล้ายๆ กับ Scribd แต่คุณจะไม่รู้ความแตกต่าง จนกว่าคุณจะได้ลองใช้ด้วยตัวคุณเอง เมื่อนั้น คุณจะพบว่า คุณหลงไหลมันเข้าให้ซะแล้ว.. จากการทดลองใช้ส่วนตัว ฟังก์ชั่นทั่วๆ ไปก็จะคล้ายๆ กันหมดสำหรับเว็บฝากไฟล์เอกสาร เช่นเดียวกับ Scribd ที่ต่างจาก Google Docs ตรงที่ไม่ซัพพอร์ทการเขียน เหมือนเว็บสำหรับ writing อื่นๆ Issuu รับฝากไฟล์ และเผยแพร่มันเท่านั้น เช่นเดียวกันกับ ที่คุณสามารถหางานเขียนและเอกสารของสมาชิกอื่นๆ อ่านได้ เช่นเดียวกัน เอกสารของ Issuu หลากหลายมาก ต่างกับ Scribd ตรงที่การจัดหมดหมู่ จะเป็นไปในลักษณะของหนังสือ และการจัดประเภทเนื้อหาของหนังสือซะมากกว่า (ความเห็นส่วนตัว)

issuu-shot1

รูปร่างหน้าตา Interface ของ Issuu จะคล้ายกับหน้าตาของโปรแกรม ebook หรือ flash ebook ที่พบเห็นตามอินเตอร์เน็ตทั่วไป สามารถซูมเข้า-ออกได้ พลิกหน้าได้ ให้ความรู้สึกเหมือนหนังสือจริง ในขณะเดียวกันก็สามารถเลือกไปยังหน้าต่างๆ ที่ต้องการ และมีตัวนำทาง (navigate)  ให้ Theme ของ Issue โดยรวมสร้างอารมณ์ให้คุณรู้สึกเหมือนเข้าไปในห้องสมุดหรือร้านหนังสือ แล้วเลือกหนังสือจากชั้นจริง และอ่านหนังสือจากหนังสือจริงๆ ถือว่าทำได้ค่อนข้างได้อารมณ์มากทีเดียว … ลองดูเถอะ ..​แล้วคุณจะรัก Issuu

issu-shot2

อ้อ.. Issuu ถ้่าคุณสมัครสมาชิกจะมีอ๊อปชั่นสำหรับ ค้นหาสื่อสำหรับผู้ใหญ่ด้วย เหอๆ ตอนสมัครใหม่ๆ ฟังก์ชั่นนี้จะเปิดอยู่ (คือ ไม่ให้ค้นสื่อสำหรับผู้ใหญ่ ต้องไปปิดก่อน) แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะดาวน์โหลดลงมาไม่ได้ ในขณะที่เอกสารประเภทอื่นส่วนใหญ่จะสามารถดาวน์โหลดลงมาเก็บไว้ได้ถ้าคุณล๊อคอิน

ข้อสรุป (มั๊ง) :

ข้อดีของ Google Docs คือ มันเหมือนกับกระเป๋าเก็บเอกสารส่วนตัวออนไลน์ของคุณ ที่ที่คุณสามารถทั้ง เชียน อ่าน และรวบรวมเอกสารของคุณได้ในที่เดียวกันไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน น่าจะเหมาะกับคนที่เป็นนักอ่านแต่ต้องเดินทางบ่อยต้องเกี่ยวข้องกับไฟล์เอกสาร แต่ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง.. หรือเหมาะกับผู้ที่ต้องการแบ๊คอัพเอกสารต่างๆ โดยไม่ต้องพึ่งบริการแบ๊คอัพแบบเป็นรูปธรรม (บริการแบบนี้เมืองไทยไม่ค่อยมีให้เห็นเท่าไหร่) (และถ้าคุณไว้ใจการฝากข้อมูลของคุณไว้บนอินเตอร์เน็ต สำหรับหลายๆ คนที่แพนิคกับเรื่องความปลอดภัยข้อมูลมากๆ อาจจะไม่ค่อยแฮปปี้นักกับบริการประเภทนี้..)

ข้อดีของทั้ง Issuu และ Scribd คือ คุณสามารถเผยแพร่งานเขียน หรือสื่อของคุณใน รูปแบบ PDF ผ่านเว็บนี้ได้ เพียงอัพโหลดไฟล์ของคุณ ระบุข้อมูลกาาจัดหมวดหมู่ต่างๆ สำหรับผู้อ่าน ตั้งสิทธิ์ไฟล์ให้เป็นไฟล์สาธารณะ คุณก็เหมือนกับมีชั้นวางหนังสือโชว์ผลงานของตัวเองแล้ว เรียกได้ว่ามีหน้าร้านหนังสือเป็นของตัวเองเลย เพียงแต่มันไม่ได้ขายได้เป็นเงินต่อเล่มเหมือนหนังสือจริงเท่านั้นเอง..

ความต่างระหว่าง Issuu และ Scribd น่าจะอยู่ที่หน้าตา Theme อารมณ์ และลักษณะการแบ่งหมดวหมู่ของสื่อ ที่ Issuu ทำได้ดีในการสร้างอารมณ์ของการอ่านหนังสือจริงๆ ในขณะที่ Scribd จะเป็นอารมณ์ของการใช้งานง่าย ลักษณะหน้าตาจะคล้ายกับหน้าตาของโปรแกรมอ่านเอกสารที่เราคุ้นเคยในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเอง…

ข้อมูลจาก http://www.makeuseof.com/tag/websites-to-publish-share-your-pdfs-online/ เขียนใหม่