ศิลปะการชงชาแบบจีน สุดยอดวิชาฝึกจิต! สมาธิดี-เรียนดีขึ้น

นักเรียนไทยในไต้หวัน ชี้พิธีชงชาจีนเจ๋ง ช่วยฝึกจิตสร้างสมาธิในการเรียนให้ดีขึ้นได้ เผยมหาวิทยาลัยในไต้หวันจัดเป็นคอร์สเสริมนักเรียนต่างชาติ พร้อมสอนวิธีชงชาที่ถูกต้องตามหลักศิลปะจีนโบราณ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านใบชา แนะ 4 ปัจจัยเสริมชงชาจีนให้ได้รสชาติดี

ยุค สมัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สังคมยิ่งเข้าสู่ความวุ่นวายมากเท่าไร คนเราก็จะเริ่มไขว่คว้าหาความสุขความสงบใกล้ตัวมากขึ้น ทำให้ยิ่งนานวันวัฒนธรรมตะวันออก ก็ยิ่งได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากขึ้น โดยเฉพาะศิลปะที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานของจีนอย่างการชงชา ซึ่งนอกจากจะช่วยในเรื่องสุขภาพ และช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียดได้ดีแล้ว ในอดีตศิลปะการชงชาของจีนยังได้ชื่อว่าเป็นเครื่องมือการฝึกจิตให้คนธรรมดา กลายเป็นปราชญ์เมธีอีกด้วย’

‘ภาพมืดสนิท เสียงเงียบได้ยินเพียงลมหายใจ ก่อนที่ทำนองไพเราะของดนตรีแผ่วแบบนุ่มนวล หนัก เบา อ่อนหวาน เข้ากันอย่างลงตัว จากเครื่องดนตรีจีนกู๋เจิงยังคงก้องดังสายลมผ่าน รอบๆ ตัวของทุกคนในห้องชงชา กลิ่นเทียนยังแตะจมูกของฉันแผ่วปลาบ ก่อนที่เสียงทำนองดนตรีจะเปลี่ยนจากอ่อนหวาน เป็นเสียงสูงดังลมกระทบใบไม้ ความรู้สึกที่อบอุ่นของเสียงเพลงยังคงผ่านเข้ามาทำให้รู้สึกผ่อนคลาย’ความ คิดในหัวเริ่มลดลง เปลี่ยนกลายสลายหายเป็นความรู้สึกที่ผ่อนลงจากความคิดมากมายของทั้งวัน’ทุก คนเปิดเปลือกตาอย่างช้าๆ เมื่อทำนองดนตรีหยุดลง’

บทความ ของน้ำฟ้า หรือ ธรรมพร เรืองศรีอรัญ ในเวป www.homeschooldd.com ทำให้ ‘ผู้จัดการรายสัปดาห์ 360องศา’ติดต่อกลับน้ำฟ้า ทำให้ทราบว่าน้ำฟ้าได้รับการเรียนการสอนในระบบ homeschool มาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ โดยคุณแม่เป็นผู้จัดการเรียนการสอนเอง จนปัจจุบันนี้น้องน้ำฟ้ามีอายุ 16 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ 3 ปี คุณแม่ได้จ้างอาจารย์พิเศษมาสอนภาษาจีนน้ำฟ้า และน้ำฟ้ามีความสนใจและมีความชอบมาก จึงทำให้น้ำฟ้าตัดสินใจไปเรียนภาษาจีนที่ประเทศไต้หวัน เพราะเป็นประเทศที่ยังอนุรักษ์การเรียนการสอนภาษาจีนแบบตัวเต็ม และมีการถ่ายทอดศิลปะจีนโบราณด้วย ปัจจุบันน้ำฟ้าได้เดินทางไปเรียนภาษาจีนที่ประเทศไต้หวันเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว

ศิลปะการชงชาจีน-ฝึกสมาธิ

น้ำ ฟ้า กล่าวว่าปัจจุบันได้เข้าเรียนภาษาจีนที่ มหาวิทยาลัยฉือจี้ ประเทศไต้หวัน ซึ่งในการเรียนภาษาจีนนั้น จะไม่ได้เรียนวิชาภาษาจีนอย่างเดียว แต่จะมีวิชาพิเศษซึ่งจะเป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมจีนโบราณด้วย และวิชาชงชา หรือ (ch? d?o k?) ก็เป็นวิชาที่น่าสนใจมาก

‘วิชา ชงชาเป็นวิชาที่มหาวิทยาลัยจัดให้เป็นชั่วโมงพิเศษที่สอนให้นักเรียนรู้จัก วิธีสงบใจ และรู้สึกตัวทุกขณะ ซึ่งเมื่อสงบจิตใจได้ดีแล้ว ก็จะส่งเสริมให้นักเรียนสามารถไปเรียนในวิชาปกติได้ดีขึ้น’

ก่อน การเข้าเรียน อาจารย์จะมีการดีดดนตรีกู่เจิงให้นักเรียนทุกคนได้ฟังเสียงเพลง ถือเป็นจุดเริ่มต้นทำใจให้สงบก่อนเข้าสู่พิธีชงชาแบบจีน โดยศิลปะการชงชาแบบจีนนั้น จะเน้นความเชื่องช้า การกำหนดจิตให้รับรู้ทุกความรู้สึก ทุกความเคลื่อนไหว จึงเป็นวิธีที่ช่วยในการทำใจให้สงบ เหมือนกับการเดินจงกรมของทางพระพุทธศาสนา ที่จะต้องกำหนดสติรู้แต่ละก้าวย่าง โดยการชงชาก็ต้องกำหนดสติรู้ในทุกขั้นตอน ถึงจะเกิดสมาธิ

ทุกขั้นตอน ‘ชงชา’ใช้สติกำหนดรู้

ใน ขั้นตอนของการชงชานั้น จะเริ่มต้นจากการเตรียมอุปกรณ์การชงชา ซึ่งจะประกอบด้วย กาน้ำ บรรจุน้ำร้อน (ขนาดกลาง),เครื่องวัดอุณภูมิความร้อน,เตาแก๊สความร้อนขนาดเล็ก,กาน้ำชงชา (เฉพาะชงชา),เหยือกน้ำดินเผา สำหรับชงชา,ถ้วยรองน้ำทิ้ง,แก้วชา,ใบชา (ชนิดแล้วแต่ต้องการ),ช้อนตักใบชาและขนมหวาน

โดย อุณหภูมิในน้ำร้อนชงชา เป็นอันดับแรกที่ผู้ชงจะต้องให้ความสำคัญ และกำหนดสติรู้ให้ได้ว่า จะต้องรักษาอุณหภูมิให้คงที่ไว้ที่ 92 องศาเซลเซียส หากตัววัดอุณหภูมิความร้อนสูงขึ้นหรือต่ำลง ให้เติมเชื้อไฟหรือลดเชื้อเพลิงรักษาระดับความร้อนไว้ที่ 92 องศา

จาก นั้นให้เปิดฝากาน้ำดินเผา ด้วยท่าวงกลม ขณะที่เปิดก็ต้องกำหนดจิตไว้ที่การเปิดฝากาน้ำชาด้วย ว่ากำลังเปิดฝากาน้ำ จากนั้นเทน้ำร้อนอุณหภูมิ 92 องศาฯ ลงในกาน้ำดินเผา คอยเฝ้าดูน้ำร้อนไหลลงสู่ถ้วยชานั้น พร้อมกับตั้งสติรับรู้ว่าน้ำร้อนกำลังไหลลงสู่ถ้วยชาช้าๆ จากนั้นปิดด้วยท่าวงกลมอ้อมเหยือกอย่างช้าๆ อีกครั้งหนึ่ง

ทิ้ง ไว้ 2 นาที แล้วจึงเทน้ำร้อนลงเหยือกน้ำเล็กจนหมด จากนั้นปิดฝากาน้ำด้วยท่าวงกลมอ้อมเหยือกอีกครั้งหนึ่งด้วยจิตใจสงบอย่า วอกแวก

ตามด้วยการประคองเหยือกด้วยมือทั้ง 2 ข้าง ก่อนจะเทลงบนแก้วน้ำชาทุกใบ ทุกขั้นตอนต้องตั้งใจ และใจจดจ่ออยู่กับท่าทางที่กำลังทำอยู่ จากนั้นรอระยะหนึ่ง แล้วจึงเทน้ำจากแก้วน้ำชาลงในถ้วยรองน้ำทิ้งทุกใบ ขณะที่เทน้ำทิ้งก็ต้องรับรู้ว่า กำลังเทน้ำ น้ำกำลังไหลจากแก้วน้ำชาสู่ถ้วยรองน้ำทิ้งอย่างช้าๆ

จากนั้นเปิดฝากาน้ำดินเผาด้วยท่าวงกลม เทน้ำร้อนอุณหภูมิ 92 องศาฯ ลงในกาน้ำดินเผา และปิดด้วยท่าวงกลมอ้อมเหยือก

นำ ช้อนไม้ไผ่ทรงกระบอกรูปช้อนทรงกลมสี่เหลี่ยม ตักใบชาในปริมาณตามความนิยมของผู้ดื่ม หากต้องการรสชาติออกขม ก็ใส่มากหน่อย หรือหากชอบชาในรสชาติจางๆ ก็ใส่ใบชาจำนวนน้อยลง จากนั้นปิดฝาด้วยท่าวงกลม

ทิ้งไว้ประมาณ 2 นาทีกว่าๆ กลิ่นหอมของชาจะลอยขึ้นมา เมื่อรับรู้ถึงกลิ่น ผู้ชงก็จะหยิบเหยือกชาดินเผาขึ้นช้าๆ แล้วเทลงในเหยือกน้ำเล็กอีกที วางกาน้ำชาลงและปิดด้วยท่าวงกลมอีกครั้งหนึ่ง

จากนั้นประคองเหยือกเล็กด้วยมือทั้งสองข้าง และเทน้ำชาลงบนแก้วน้ำชาทุกใบอย่างช้าๆ ซึ่งชาจะมีกลิ่นและควันสีขาวจางๆลอยขึ้นมา

เมื่อ รับรู้ถึงกลิ่น และเห็นควันสีขาวจางขึ้นมาจากแก้ว ให้ผู้ดื่มหยิบยกแก้วน้ำชาขึ้นจิบ ลิ้นจะสัมผัสได้ถึงความหนักเบาของชาที่ผู้ชงชาได้ใส่ลงในเหยือกชา น้ำชายังคงอยู่ในปากรับรู้ถึงความร้อน ความหอมถึงชา ก่อนจะอุ่นลง จากนั้นให้กระดกแก้วดื่มจนหมด เพื่อสัมผัสความอุ่นผ่านคอช้าๆ

ตาม ด้วยการรินน้ำชาแก้วที่ 2 เพื่อดื่มกับขนมหวาน ชาในแก้วที่ 2 นี้จะมีรสชาติต่างจากชาแก้วแรก โดยรสชาติจะบางลงกว่าแก้วแรก ถือว่าจบพิธีการชงชาแบบจีน

น้ำฟ้า กล่าวว่า จากที่ได้ฝึกการชงชาแบบจีนมา ทำให้รู้สึกจิตใจสงบมากขึ้น และรู้สึกชอบที่จะได้เรียนวิชานี้ แม้จะเป็นวิชาเพิ่มเติมก็ตาม ซึ่งครั้งแรกๆนั้น อาจจะยังทำได้ไม่คล่องตัวนัก แต่ถ้ามีการฝึกบ่อยๆ ก็จะเริ่มชิน และสามารถชงชาได้อย่างคล่องตัว ซึ่งเป็นการฝึกสมาธิไปในตัวด้วย

โดยหลังจากเรียน วิชาการชงชาแบบจีน น้ำฟ้าได้รู้สึกสงบนิ่งมากขึ้น และนำไปปรับใช้กับการเรียนภาษาจีน ซึ่งน้ำฟ้าเลือกเรียนตัวอักษรจีนตัวเต็ม ซึ่งมีความยาก และต้องใช้สมาธิในการเรียนอย่างมากถึงจะจดจำตัวอักษรจีนได้ ซึ่งการฝึกสมาธิจากการชงชาก็ช่วยทำให้การเรียนภาษาจีนดีขึ้นด้วย

4 ปัจจัยหนุนการชงชาจีนให้ได้รสชาติดี

ใน ด้านความรู้จากใบชา นารีรัตน์ ชีวินกุลทอง ผู้สืบทอดร้านใบชาจรรยา กล่าวว่า เนื่องจากครอบครัวได้ทำธุรกิจใบชา ทำให้ได้จ้างผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันมาควบคุมการผลิตชาของร้านด้วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านชาจากไต้หวันได้ถ่ายทอดความรู้ในการชงชาไว้จำนวนมาก

โดยนอกจากวิธีชงชาที่ถูกต้องแล้ว การชงชาให้ได้รสชาติดียังต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ 4 ประการ คือ

  1. ปริมาณ การใช้ใบชา นอกจากความชอบในการดื่มชาอ่อน หรือแก่แล้ว จะขึ้นอยู่กับลักษณะของใบชาด้วย เช่น ชาที่มีรูปร่างกลมแน่น กลมหลวม หรือเป็นเส้น ถ้าใช้ใบชาที่มีลักษณะกลมแน่น ควรใช้ชาในปริมาณ 25% ของกาชา ใบชา เมื่อแช่อยู่ในน้ำร้อน จะเริ่มคลี่ตัวออกมาทีละน้อย จนเป็นใบชัดเจน ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้การคลายตัวไม่สะดวก ซึ่งรสชาติ ที่ชงออกมาจะไม่ได้มาตรฐานของชานั้นๆ และการคลายตัวของใบชา เมื่อคลายตัวออกมาเต็มที่แล้ว ควรจะมีปริมาณประมาณ 90 % ของกาชา อย่างไรก็ตาม ขึ้น อยู่กับความชอบของแต่คนละด้วย ว่าต้องการรสชาติ เข้มข้นมากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับคุณภาพของใบชาแต่ละชนิดด้วย
  2. อุณหภูมิ น้ำ หากอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสขึ้นไป เหมาะสำหรับชงชาแน่นกลม แต่อุณหภูมิที่ลดลงมาที่ 80-90 องศาเซลเซียสจะเหมาะสำหรับชงชาที่มีรูปร่างบอบบาง แตกหักง่าย หรือใบชาที่มีใบชาอ่อนมาก และอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 80 องศาเซลเซียสจะเหมาะสำหรับชงชาเขียว
  3. เวลาชงชา ขึ้นอยู่กับความชอบดื่มน้ำชาอ่อนหรือแก่ของแต่ละคนด้วย แต่ปกติชาประเภทกลมแน่น จะใช้เวลาในครั้งแรกประมาณ 40 – 60 วินาที ครั้งต่อๆ ไป เพิ่มอีกครั้งละ 10 – 15 วินาทีต่อครั้ง
  4. กาน้ำชานั้น ควรใช้เป็นกาดินเผา เพราะจะเก็บความร้อนได้ดีกว่า และรักษากลิ่นชาได้ดีกว่า

‘การ ชงชาต้องพิถีพิถันตั้งแต่น้ำที่นำมาใช้ ควรใช้น้ำบริสุทธิ์ไม่กลิ่นคลอรีนเจือปน ส่วนกาชา กาดินเผาถ้าใช้นานๆ น้ำชาจะซึมเข้าไปในตัวกา ทำให้ยิ่งชงยิ่งอร่อย ดังนั้นกาดินเผาใบหนึ่งๆ หากใช้ในการชงชาประเภทใดแล้ว ควรใช้ชงชาประเภทนั้นตลอด จะทำให้มีรสชาติและกลิ่นกลมกล่อมมากขึ้น แต่หากไปใช้ใบชาชนิดอื่นมาชง กลิ่นและรสชาติจะตัดกัน ไม่ได้รสชาที่แท้จริง’

นอกจาก นี้ สำหรับผู้นิยมดื่มชามากๆ แนะนำว่าหากใช้กาที่ผลิตมาจากดินสีม่วง จะสามารถเก็บรสชาติและกลิ่นได้ดีกว่ากาดินเผาธรรมดา และจะมีแร่ธาตุจากดินเข้าสู่ชาด้วย ซึ่งกาชนิดนี้จะมีราคาที่สูง หายาก

อย่างไร ก็ดีคนจีนมีการดื่มชามาแล้ว 2,000 ปี ส่วนสมัยที่ศิลปการชงชาของจีนรุ่งเรืองมากที่สุดอยู่ในสมัยราชวงศ์ถัง (คศ.618-907) จนปัจจุบันในประเทศจีน ชาได้รับการยกย่องว่าเป็นเครื่องดื่มแห่งชาติ เป็นเครื่องดื่มสำคัญที่มีความหมายทางวัฒนธรรมและศิลปะโบราณ ควบคู่กับ พิณจีน หมากรุก ศิลปะอักษรจีน การวาดภาพ การแต่งโคลงกลอนจีน และการดื่มสุรา โดยศิลปะการชงชานั้นก็ได้รับความสำคัญในระดับชาติของจีนด้วย

http://blog.spu.ac.th/print.php?id=18267