เลนส์สัมผัส (Contact Lens)

เลนส์สัมผัส (Contact Lens)

เลนส์สัมผัส หมายถึง เลนส์ที่ใส่แล้วสัมผัสโดยตรงกับส่วนหน้าของลูกตา เลนส์สัมผัสที่ใช้อยู่
ในปัจจุบันจะเป็นชนิดที่ใส่ปิดครอบคลุมเฉพาะบริเวณกระจกตา

ชนิดของเลนส์สัมผัส

แบ่งตามวัสดุที่ใช้เป็น 2 ชนิด
1.1 เลนส์สัมผัสชนิดแข็ง (hard or rigid lenses) เป็นเลนส์ที่คงรูปร่างในสภาพปกติได้ ทำจาก
พลาสติกชนิดเมททิลเมททราครัยเลท (PMMA)
1.2 เลนส์สัมผัสชนิดอ่อน (soft lenses) เป็นเลนส์ที่ไม่สามารถคงรูปร่างในสภาพปกติได้ เนื่องจาก
ทำด้วยสารไฮโดรเยล (hydrogel) ซึ่งเป็นสารที่มีลักษณะเป็นเยล (gel) และมีน้ำอยู่ อาจผลิตได้โดย
การใช้ของเหลวใส่ลงในแบบพิมพ์ที่หมุนด้วยอัตราความเร็วและอุณหภูมิตามที่กำหนด เพื่อให้ได้เลนส์
ที่มีแบบความโค้ง และกำลังขยายที่ต้องการหรืออาจผลิตโดยใช้เครื่องจักรในการขัดหรือปรับรูปร่างให้ได้
ตามที่ต้องการเลนส์สัมผัสชนิดอ่อนส่วนใหญ่จะทำด้วยสารไฮดร๊อกซีเมททิลเมททราครัยเลท (HEMA)
เป็นพื้นฐาน และผสมด้วยสารโพลีเมอร์ตัวอื่น นอกจากนี้ยังอาจทำจากสารอื่นที่ไม่ใช่ HEMA ได้ เช่น
กลีเซอรอล เมททิลเมท-ทาครัยเลท (glycerol methylmethacrylate)

แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้เป็น 7 ชนิด
2.1 ชนิดใช้ใส่ได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง ต้องถอดออกเวลาหลับ เรียกว่า daily wear lenses
2.2 ชนิดใส่ได้เป็นเวลาติดต่อกันนานเกินกว่า 24 ชั่วโมง เรียกว่า extended wear หรือ
prolonged-wear lenses
2.3 ชนิดที่ผสมสี ใส่เพื่อความสวยงามไม่ใช่เพื่อแก้ไขความบกพร่องทางสายตา เรียกว่า
cosmetic lenses
2.4 ชนิดที่ใช้ปิดคลุมกระจกตา (corneal) เพื่อป้องกันกระจกตาจากภายนอกและช่วยให้แผลที่กระจกตา
หายเร็วขึ้น เรียกว่า bandage lenses
2.5 ชนิดที่ใส่เพื่อแก้ไขอาการสายตาเอียง เรียกว่า toric lenses
2.6 ชนิดที่ใส่ได้เป็นเวลานานแบบ extended wear แต่ใช้ใส่ได้ครั้งเดียว ไม่สามารถนำกลับมาใช้อีก
เรียกว่า disposable lenses
2.7 ชนิดที่ใช้ในรายที่มีอาการสายตาสั้นและสายตายาวอยู่ด้วยกัน ซึ่งจะมีจุดโฟกัสต่างกันในแต่ละส่วนของ
การมอง (optical zone ) เรียกว่า bifocal หรือ multifocal lenses

คุณสมบัติของเลนส์สัมผัส

การมีคุณสมบัติตามที่แพทย์สั่ง เลนส์สัมผัสต้องมีรูปร่างลักษณะภายนอก กำลังการหักเห เส้นผ่านศูนย์กลาง
รัศมีความโค้ง ความหนา เป็นไปตามที่แพทย์สั่งโดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินตามที่กำหนด

คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้

2.1 วัสดุของเลนส์สัมผัสชนิดแข็งต้องไม่มีฟองอากาศ สิ่งแปลกปลอม รอยร้าวอยู่ภายใน
หรือการเปลี่ยนสี และต้องมีเสถียรภาพทางเคมีและฟิสิกส์
2.2 หากเป็นวัสดุที่มีสี สีที่ใช้ต้องเป็นสีไม่ทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ (inert pigment) และการกระจาย
ของสีต้องมีความสม่ำเสมอทั่วเนื้อเลนส์
2.3 กำลังหักเหของวัสดุที่ใช้ ต้องมีความสม่ำเสมอทั่วเนื้อของเลนส์ และคงตัวในอากาศ คุณสมบัติของ
เลนส์สัมผัสสำเร็จรูป
3.1 ปราศจากรอยตำหนิ เช่น จุด รอยขีดข่วน รอยที่เกิดจากการขัด หรือ อื่น ๆ เมื่อขยายด้วยเครื่อง
ที่มีกำลัง 10 เท่า
3.2 ผิวเลนส์ด้านที่ติดกับตา ต้องมีความสม่ำเสมอ เมื่อวัดระยะจากศูนย์กลางไปยังขอบของบริเวณที่มี
กำลังหักเหในจุดต่าง ๆ กัน ต้องมีความคลาดเคลื่อนหรือต่างกันได้ไม่เกินที่กำหนด
ค่าที่กำหนดต่าง ๆ ที่เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงคุณสมบัติของเลนส์สัมผัส ประกอบด้วยรัศมีความโค้ง
เส้นผ่านศูนย์กลางของทุกส่วนโค้งบนเลนส์ กำลังหักเห ความหนาที่ศูนย์กลางหรือขอบสี และการสลัก
สัญญลักษณ์บนเลนส์สัมผัส

โรคที่เกิดจากการใช้เลนส์สัมผัส

เกิดตุ่มอักเสบบนหนังตาด้านใน พบมากในผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสชนิดอ่อน สาเหตุเกิดจากการระคายเคือง
เนื่องมาจากเลนส์ถูกดึงขึ้นข้างบนโดยตุ่มที่หนังตาบนด้านใน (papilla) เมื่อเวลาหนังตาบนเคลื่อนไหว
และสารตกค้างบนผิวของเลนส์ยังกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น ส่วนอาการอื่นที่เกิดต่อเนื่องมาคือ ภาวะ
หนังตาตก ตาแดง ระคายเคือง มีการสร้างสารจำพวกโปรตีนที่ละลายได้ (mucoid)  มองภาพไม่ชัด
มีน้ำตา ตาไม่สู้แสง

เกิดการอักเสบของกระจกตา และเยื่อตาขาวส่วนที่สัมผัสกับของเลนส์สัมผัส อาการนี้ หากเกิดจากการแพ้
หรือจากพิษข้างเคียงของวัตถุกันเสียหรือสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อ เยื่อตาขาวส่วนล่างจะแสดงอาการอักเสบ
เนื่องจากน้ำยาจะไหลลงมาด้านล่างเป็นอาการแพ้ที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 ปี

อาการอักเสบของกระจกตา (Contact Keratoconjunctivitis) พบมากในรายที่ฆ่าเชื้อเลนส์ด้วยวิธีใช้
สารเคมี นอกจากนั้น การเกิดสิ่งสะสมบนเลนส์ หรืออาการตาแห้ง จะทำให้อาการอักเสบเกิดมากขึ้น

อาการตาแห้งซึ่งเกิดจากการแพ้ พบ ในผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสมานาน 2-3 ปี นอกจากนี้ผู้ใช้ยาขับปัสสาวะ หรือยารักษาโรคหัวใจประเภทเบต้าบล๊อกเกอร์ ก็อาจเกิดอาการตาแห้งได้เช่นกัน ปัจจัยอื่นที่ทำให้ตาแห้ง เช่น

  • การกระพริบตาที่ผิดปกติที่เกิดจากเส้นประสาทที่ 5 และที่ 7 เป็นอัมพาต
  • ตาโปนผิดปกติ (exophthalmos)
  • ผิวของลูกตาผิดปกติ เนื่องจากมีจุดเหลือง ๆ บนกระจกตาหรือต้อลม (pingueculum)หรือต้อเนื้อ (pterygium)
  • ผิวเลนส์สัมผัสไม่เรียบ

ผู้ป่วยที่มีอาการตาแห้งจึงไม่ควรใช้เลนส์สัมผัสชนิดที่เข้ากับน้ำได้ดี (hydrophilic) เนื่องจากเลนส์ชนิดนี้
จะดูดซับน้ำตาและสารที่ตาสร้างขึ้นมาเคลือบผิวลูกตาโดยเฉพาะส่วนของกระจกตา

การอักเสบ ลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ ที่เยื่อบุผิวของกระจกตา เนื่องจากเกิดบาดแผลหรือการช้ำที่เยื่อตา ตาแห้ง
มีอาการแพ้ หรือขาดออกซิเจน ซึ่งแผลจุดเล็ก ๆ อาจมารวมกันเข้าเป็นบริเวณใหญ่ และเกิดการติดเชื้อ ซึ่งเป็น
อันตรายได้ จึงจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยหยุดการใช้เลนส์สัมผัส จนกว่าแผลจะหายเสียก่อนการอักเสบของเยื่อตา
บริเวณขอบตาขาวต่อกับตาดำด้านบน เนื่องจากตาแห้ง เป็นโรคภูมิแพ้ หรือขาดออกซิเจน  โดยอาการที่พบ
ในขั้นแรก คือกลุ่มเส้นเลือดหรือท่อน้ำเหลืองเกิดขึ้นมากที่บริเวณผิวตื้น ๆ ต่อมาจะมีความผิดปกติของขอบ
กระจกตา มีอาการบวมและมีอาการคล้ายเยื่อมูกอักเสบ หากยังใส่เลนส์ต่อไปจะเกิดมีเนื้อเยื่อแข็งกลายและเป็น
แผลเป็นขึ้นที่กระจกตา

การติดเชื้อ เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการใช้เลนส์สัมผัสที่เป็นอันตรายที่สุด เนื่องจากทำให้ตาบอดถาวรได้
พบในผู้ที่ใช้เลนส์ชนิดที่ใส่ติดต่อกันได้นาน ๆ หรือจากการเกิดรอยถลอกเนื่องจากการเคลื่อนไหวของเลนส์
ที่ใส่อยู่เป็นประจำหรือการขาดออกซิเจนและการมีรอยช้ำอยู่ประจำจนทำให้เกิดแผลขึ้น โดยเฉพาะในกรณี
ที่ผู้ใช้มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็จะเกิดแผลที่กระจกตาได้ง่ายกว่าปกติ

สาเหตุที่เกิดการติดเชื้อยังอาจมาจากตัวผู้ใช้เอง หรือมาจากน้ำยาที่ใช้กับเลนส์ หรือภาชนะบรรจุเลนส์
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจำนวนคนที่ใช้เลนส์สัมผัสแล้วเกิดการติดเชื้อยังมีไม่มาก ยังคงพบว่าการใช้เลนส์สัมผัส
ชนิดที่ใส่นานๆจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนขึ้น

การป้องกันอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการใช้เลนส์สัมผัส อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับตาในผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสอาจป้องกันได้ ดังนี้

  • การคัดเลือกผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง เพราะการประกอบเลนส์สัมผัสให้ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงสภาวะของผู้ใช้ว่าเหมาะสม หรือไม่ มีข้อห้ามอะไรหรือไม่
  • การประกอบเลนส์สัมผัสที่เหมาะสมต้องเลือกเลนส์สัมผัสให้เหมาะกับผู้ใช้เฉพาะรายไป
  • การสาธิตวิธีการใช้ให้ผู้ใช้ เช่น การใส่ ถอด ทำความสะอาด และวิธีดูแลรักษา การฆ่าเชื้อเลนส์ นอกจากนี้ต้องแนะนำผู้ใช้รู้จักปรึกษากับผู้ประกอบเลนส์สัมผัสในกรณีมีอาการ ผิดปกติเกี่ยวกับตา
  • การดูแลในภายหลัง จำเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ใช้เลนส์สัมผัสชนิดที่ใช้ใส่ติดต่อเป็นเวลานาน ๆ ( extended wear) เพราะการใช้เลนส์ชนิดนี้ต้องดูแลระมัดระวังเป็นพิเศษ

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อจะซื้อ คอนแทคเลนส์

เลนส์ชนิด Disposable หมายถึงเลนส์ที่ใช้แล้วไม่ต้องล้างเลย ใช้แล้วถอดทิ้งเหมือนเราใช้กระดาษทิชชู
และ Planned Replacement หมายถึงเลนส์ที่ใช้แล้วใช้ซ้ำอีกได้ แต่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ  มีอายุการใช้งาน
ค่อนข้างสั้น ทุก 2-4 สัปดาห์

เลนส์ทั้งสองประเภท เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อยๆมีความเข้าใจผิดของผู้ใช้อยู่เสมอว่า เลนส์พวกนี้
เป็นเลนส์ Free size ดังนั้นเมื่อไปหาซื้อเลนส์ ผู้ใช้มักบอกคนขายแต่เพียงว่า ต้องการ ACUVUE
เบอร์ -3.00 หรือ ต้องการ FOCUS เบอร์ -4.75 เท่านั้น และ คนขายก็มักหยิบเลนส์มาให้ได้เสียด้วย

ที่จริงแล้ว บนหน้าซองบรรจุเลนส์ คุณจะเห็นว่านอกจากค่ากำลังของเลนส์ หรือ power -3.00 D หรือ
-4.75D แล้วยังมี
ตัวอักษร B.C. 8.8 หรือ B.C. 8.6 กำกับมาด้วย ให้คุณแน่ใจได้เลยว่า นั่นย่อมไม่ได้หมายความว่าเลนส์
ชิ้นนั้น ผลิตขึ้นก่อนคริสตกาล แต่มันสำคัญอย่างไรด้วยหรือ หรือฝรั่งทำเกินมา เฉยๆ
ค่า B.C. ย่อมาจาก Base Curve หมายถึงรัศมีความโค้งด้านหลังของเลนส์ชิ้นนั้น ซึ่งเป็นด้านจะต้อง
สัมผัสกับดวงตาของเรา เลนส์ที่มี B.C. 8.8 มิลลิเมตร หมายถึงเลนส์ชิ้นนั้น แบนกว่าเลนส์ที่มี B.C. 8.4
มิลลิเมตร  ซึ่งจะทำให้ เลนส์ 8.4 ติดแน่น บีบรัดดวงตามากกว่า
ส่วนเลนส์ 8.8 จะรู้สึกหลวมเลื่อนได้มากกว่า

เมื่อคุณซื้อเลนส์ คุณอาจเพิ่มหรือลด กำลังของเลนส์ได้ตามใจชอบ เช่น อยากให้ภาพคมชัดขึ้นอาจลองซื้อ
เลนส์กำลังสูงขึ้นสัก 0.25 แต่ถ้าใส่แล้วไม่ชอบใจ อยากใส่ให้ภาพนุ่มนวลลงก็อาจซื้อเลนส์อ่อนลงสัก 0.25 ได้
ไม่เสียหายอะไรนอกจากรู้สึกมึนๆนิดๆ
แต่การเปลี่ยนค่า Base Curve ขอให้เป็นหน้าที่ของจักษุแพทย์นะครับ เพราะการใส่เลนส์คับหรือหลวม
เกินไปอาจเป็นอันตรายได้ ควรซื้อเลนส์ Base Curve เดิมเสมอ ห้ามเปลี่ยนเองครับ

โดย นพ.คำนูณ อธิภาส จักษุแพทย์

http://www.thailabonline.com/eye5.htm

การเริ่มต้นใช้เลนส์อย่างถูกวิธี

  • ควรบอกจักษุแพทย์ เป็นผู้เลือกเลนส์ที่น่าจะเหมาะสมกับคุณ
  • บอกความต้องการของคุณให้ชัดเจนว่า ต้องการใช้เลนส์อะไร
  • เอาเลนส์นิ่มหรือแข็ง อยากให้ชัดมากๆ หรือเอาสบายๆ เข้าไว้
  • อยากใส่เลนส์ทุกวันหรือเฉพาะวันตีกอล์ฟ
  • เอาแบบเปลี่ยนรายวัน หรือเอาแบบประหยัด
  • ถ้าคุณเป็นคนแพ้ง่าย ก็บอกไปด้วย
  • งานอาชีพของคุณ ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ เป็นพนักงานบนเครื่องบิน เป็นศัลยแพทย์ มีข้อพิจารณา ข้อระวังในการ เลือกเลนส์เหมือนกัน

คุณหมอจะให้คุณลองคอนแทคเลนส์ที่เลือกไว้ ประเมินผลเบื้องต้นถ้าพอดี ก็ให้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันสัก 2-3 วัน แล้วนัดกลับมาตรวจอีกครั้งให้แน่ใจว่าเลนส์พอดี แต่พอไปใส่ทำงาน เมื่อตาแห้งเลนส์หลวมลง
เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยคุณควรขอใบ Prescription จากคุณหมอ เพื่อสั่งซื้อเลนส์ในคราวต่อๆ ไป ซึ่งอาจซื้อตามร้านค้า หรือเดี๋ยวนี้สั้งทำทาง Internet ก็ได้

เมื่อได้เลนส์มา ควรตรวจสอบที่ข้างกล่องว่า ตรงกับใน Prescrition หรือไม่ ซึ่งประกอบด้วย

  • Lens Power สั้นยาว เอียง เท่าไร
  • Base Curve ซึ่งย่อว่า B.C. หมายถึง ความคับหลวมของเลนส์
  • Diameter หรืเส้นผ่านศูนย์กลาง

เลนส์ต่างยี่ห้อที่กำลังเท่ากัน มี Base curve เท่ากัน อาจจะใส่ไม่พอดีเหมือนเดิม ถ้าใส่เลนส์อะไรพอดีแล้ว ควรใช้แบบเดิมตลอด ไม่ควรเปลี่ยนบ่อยๆ
หลายคนใช้คอนแทคเลนส์ไปเรื่อยๆ โดยไม่เคยมาพบแพทย์เลย ลองคิดดูนะครับ การใช้คอนแทคเลนส์ต้องเสียเงินอย่างต่ำ ปีละ 4- 5 พันบาทอยู่แล้ว แถมการใช้ที่ไม่ถูกต้องยังเสี่ยงกับสุขภาพตาได้ การให้คุณหมอช่วยเลือกเลนส์ให้ คุณจะมั่นใจว่า คุณจะใช้เงินของคุณอย่างคุ้มค่า ได้ดวงตาที่มีสุขภาพ

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C